X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ไซซ์จุกนม 100 สิ่งแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 42 เลือกอย่างไรให้เหมาะกับลูก?

บทความ 5 นาที
ไซซ์จุกนม 100 สิ่งแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 42 เลือกอย่างไรให้เหมาะกับลูก?

ขวดนมคืออุปกรณ์ที่ช่วยให้ลูกน้อยดื่มนมแม่ที่ปั๊มออกมาได้สะดวกมากขึ้น คุณแม่ก็จะได้สลับพักเต้าหลังจากปั๊มนมด้วย การเลือก ไซซ์จุกนม จึงต้องเลือกให้เหมาะกับลูกตัวน้อยทั้งขนาดและวัสดุ เพื่อให้ลูกน้อยรู้สึกถึงความคุ้นชินของเต้านมแม่ นอกจากนี้คุณแม่สามารถเลือกไซซ์จุกนมให้เหมาะกับอายุของลูกจะช่วยให้กินนมได้ต่อเนื่องและป้องกันการสำลักได้ค่ะ

 

การเลือกจุกนมให้เหมาะกับลูก

  • แบบที่นิยมใช้

    • จุกนมแบบยาง : ทำจากยางพารา เป็นสีน้ำตาลนิ่ม ๆ อายุการใช้งานประมาณ 3 เดือน ทนความร้อนได้เพียง 100 องศา ห้ามผ่านความร้อนสูงบ่อย ๆ
    • จุกนมแบบซิลิโคน : มีสีขาวใส เป็นที่นิยม เนื่องจากมีความทนทาน ทนความร้อนถึง 120 องศา อายุการใช้งานนานถึง 6 เดือน

 

  • รูปทรงของจุก

    • จุกนมปลายมน : เป็นจุกนมที่เห็นทั่วไป ที่มีปลายจุกกลมมน รูปทรงคล้ายระฆัง
    • จุกนมปลายแบนเรียบ : เป็นจุกนมที่มีฐานกว้าง โดยมีปลายจุกนมแบนราบ เป็นชนิดที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเปลี่ยนให้เด็กดื่มนมผง หรือนมที่ปั๊มไว้ แทนนมจากอกแม่
    • จุกนมปลายแหลมแบน : ออกแบบรองรับกับเพดานปาก เหงือก และลิ้นของเด็ก โดยปลายที่แบนออกมาจะวางพอดีบนลิ้น ขณะที่เด็กดูดนม

 

  • ขนาด

จุกนมจะมีด้วยกัน 3 ไซซ์ S M L มีการระบุไซซ์ข้างกล่อง

    • Size S หรือ SS เหมาะกับเด็กแรกเกิด จนถึง 3 เดือน เนื่องจากเด็กเล็กจะดูดนมได้ช้า และปริมาณน้อย เนื่องจากกล้ามเนื้อช่องปากยังไม่แข็งแรง ถ้ารูจุกนมกว้างเกิน จะทำให้เด็กสำลักได้
    • Size M เหมาะสำหรับเด็ก อายุ 3-6 เดือน
    • Size L เหมาะสำหรับเด็ก อายุ 6 เดือนขึ้นไป
    • Size พิเศษ หรือ จุกนมขนาดพิเศษ ที่เหมาะกับเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ หรือสำหรับเด็กที่มีแรงดูดน้อยมี 2 ขนาด คือ ขนาดมาตรฐาน (R) และขนาดเล็ก (S) ลักษณะปลายจุกนมตัดเป็นรูปตัว Y ด้านที่มีรูอากาศจุกนมจะบางกว่าอีกด้านหนึ่ง เพื่อช่วยให้เด็กใช้ลิ้นและริมฝีปากดูดน้ำนมได้ดียิ่งขึ้น และยังมีวาล์วป้องกันการไหลย้อนกลับของน้ำนม ขณะที่ดูดอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : การเลือกขวดนม และจุกนมที่คุณแม่ควรรู้!! ขวดนมเด็กแรกเกิด เลือกยังไง?

Advertisement

 

ไซซ์จุกนม

 

ถึงเวลาเปลี่ยนจุกนม

อายุที่อยู่บนกล่องผลิตภัณฑ์ หรือตัวผลิตภัณฑ์ เป็นข้อแนะนำ หรือเป็นการประมาณช่วงอายุที่ควรเปลี่ยนจุกนม เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีขนาดตัวไม่เท่ากัน แรงดูดก็อาจจะไม่เท่ากัน

คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกต ปริมาณการไหลของน้ำนมจากจุกว่ายังเพียงพอต่อความต้องการของลูกหรือไม่ เพราะถ้าหากจุกนมเล็กไปจนปริมาณน้ำนมที่ไหลไม่เพียงพอ ลูกน้อยก็จะส่งสัญญาณบอก การเปลี่ยนจุกนมใหม่ นอกจากจะดูที่ความต้องการของเด็กแล้ว ยังจะต้องหมั่นตรวจสอบคุณภาพของจุกนม ทุก ๆ 2 – 3 เดือน เพื่อในแน่ใจว่าจุกนมสำหรับลูกอันเป็นที่รักนั่นยังอยู่ในสภาพดี เนื่องจากอายุการใช้งานของจุกนมขึ้นอยู่กับชนิดและลักษณะการใช้งาน ควรเปลี่ยนจุกนมหากจุกนมมีลักษณะดังนี้

การเปลี่ยนจุกนม คุณพ่อคุณแม่ต้องพิจารณาอยู่ 2 ปัจจัยหลัก สำหรับการเปลี่ยนจุกนม

1. ความต้องการของลูกน้อยของคุณ

2. การเสื่อมสภาพของจุกนม

 

จุกนมเสื่อมคุณภาพสังเกตจากอะไร

  • ปกติแล้วน้ำนมที่ไหลออกจากจุกนมจะต้องไหลออกมาเป็นหยด หากน้ำนมไหลออกมาเป็นสาย หรือไหลออกมาไม่สม่ำเสมอ ก็แสดงว่าจุกนมนั้นเริ่มเสื่อมคุณภาพแล้ว เพราะรูของจุกนมนั้นใหญ่เกินไป
  • จุกนมเมื่อใช้ไปนาน ๆ ผ่านการต้มฆ่าเชื้อโรคบ่อย ตัวเนื้อยางจะบางลง และเสียรูปทรง สามารถทดสอบได้โดยการดึงจุกนม ออกมาตรง ๆ แล้วปล่อย ถ้าจุกนมหดกลับสู่สภาพเดิมก็แสดงว่าจุกนมยังอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ แต่ถ้าไม่กลับไปอยู่ในรูปเดิมก็แสดงว่า จุกนมเสื่อมสภาพ
  • สังเกตจากลักษณะของจุกนม หากจุกนมบวม เนื้อยางบวมนิ่ม เวลาที่ลูกดูดจุกนมจะแบนจนน้ำนมไม่ไหล แสดงว่าจุกนมเสื่อมสภาพแล้ว
  • หากจุกนมมียางแตกหรือขาด ต้องเลิกใช้ทันที เพราะอาจมีเศษยางหลุดปนเข้าไปในปากขณะที่ลูกดูดนม เศษยางอาจจะไปติดหลอดลม ทำให้เกิดอันตรายต่อเด็กได้
  • ตอนที่เด็กเริ่มออกแรงมากในการดูดนม หรือสังเกตง่าย ๆ ว่าเด็กจะออกแรงดูดจนแก้มบุ๋ม
  • เมื่อลูกน้อยดูดนมไปได้สักพักแล้วร้องงอแง เสียงร้องนั่นก็อาจเป็นการบอกคุณพ่อคุณแม่ว่าน้ำนมไหลไม่ทันใจลูกน้อย
  • ลูกน้อยดูดนมไปเพียงนิดเดียวก็หอบเหนื่อยและหลับไป โดยอีกไม่นานก็ตื่นอีกเพราะหิว หากมีสัญญาณจากลูกน้อยแล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็ควรเปลี่ยนขนาดจุกนม เพื่อให้ปริมาณน้ำนมไหลปกติ เด็กก็จะอารมณ์ดีไม่ร้องบ่อย

 

ทำความสะอาดจุกนมอย่างไร

เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดกับลูกรัก ควรใส่ใจทำความสะอาดอุปกรณ์ทุกชนิดที่ใช้กับทารกรวมทั้งจุกนม โดยมีวิธีล้างและเก็บรักษาจุกนม ดังนี้

  • หลังซื้อจุกนมมาใหม่ ๆ ให้ฆ่าเชื้อจุกนมโดยนำไปต้มทิ้งไว้ในหม้อประมาณ 5 นาที จากนั้นล้างจุกนมด้วยสบู่และน้ำอุ่นแล้วผึ่งทิ้งไว้ให้แห้ง
  • หลังการใช้งานให้ล้างจุกนมด้วยสบู่และน้ำอุ่นทันที โดยใช้แปรงล้างจุกนมเพื่อให้สามารถทำความสะอาดในบริเวณที่เข้าถึงได้ยาก และต้องระมัดระวังไม่ใช้แปรงนี้ทำความสะอาดผลิตภัณฑ์ชนิดอื่น
  • หลังล้างจุกนมแล้ว ให้ผึ่งจุกนมจนแห้งสนิทก่อนนำไปใช้งานอีกครั้ง
  • หากเป็นจุกนมชนิดที่สามารถล้างในเครื่องล้างจานได้ ให้วางจุกนมไว้ที่ชั้นบนสุดในเครื่องล้างจาน
  • ห้ามใช้จุกนมที่มีสภาพบุบสลายหรือปลายจุกมีรอยแตก โดยทิ้งจุกนมนั้นทันทีหากพบปัญหาดังกล่าว
  • เมื่อต้องนำจุกนมไปใช้งาน ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนหยิบจับจุกนมและขวดนม

บทความที่เกี่ยวข้อง : ขวดนมและจุกนมของลูกควรเปลี่ยนตอนไหน รู้ไหมว่า แค่ล้างแล้วใช้ยาว ๆ ไม่พอนะ

 

ไซซ์จุกนม

 

จุกหลอก คืออะไร

จุกหลอก คือ จุกนมที่ช่วยให้ทารกรู้สึกผ่อนคลาย ป้องกันเด็กดูดนิ้ว และช่วยเบี่ยงเบนความสนใจให้เด็กหยุดร้องไห้ โดยจุกหลอกที่วางขายในปัจจุบันมีให้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทั้งตามขนาดที่ขึ้นอยู่กับอายุของเด็ก และตามวัสดุที่ใช้ผลิตทั้งยางและซิลิโคน

 

  • เด็กควรเริ่มใช้เมื่อไร

หากเด็กยังดูดนมจากอกแม่ ควรรอให้เด็กมีอายุ 3-4 สัปดาห์ก่อน จึงค่อยเริ่มให้ใช้จุกหลอก เพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับการดื่มนมจากอกแม่ แต่หากเด็กจำเป็นต้องดูดนมจากขวดนมตั้งแต่แรกก็สามารถเริ่มใช้จุกหลอกได้ทันที เนื่องจากจุกจากขวดนมและจุกหลอกนั้นมีลักษณะคล้ายกัน

 

  • เด็กควรหยุดใช้จุกหลอกเมื่อไร

พ่อแม่ควรให้เด็กเล็กเลิกใช้จุกหลอกตั้งแต่อายุ 6 เดือนจนถึง 1 ปี อย่างไรก็ตาม เด็กส่วนใหญ่มักเลิกใช้จุกหลอกไปเองในช่วงอายุ 2-4 ปี แต่หากเด็กติดดูดจุกหลอกจนไม่สามารถเลิกเองได้ พ่อแม่ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาวิธีช่วยให้เด็กเลิกติดจุกหลอก

 

เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว คุณแม่ก็สามารถเลือก ไซซ์จุกนม ให้ลูกได้อย่างเหมาะสมแล้วนะคะ เพราะฉะนั้นคุณแม่ก็สามารถดูข้อมูลแล้วไปเลือกซื้อกันได้เลย ทั้งนี้อย่าลืมเลือกจุกนมที่มีมาตรฐานและใช้วัสดุที่ปลอดภัยนะคะ เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้ลูกกินนมได้สะดวก แถมยังปลอดภัยต่อสุขภาพลูกอีกด้วยค่ะ

 

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
วิธีเลือกยาสีฟันเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้
วิธีเลือกยาสีฟันเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เลิกจุกนมได้เมื่อไหร่ เลือกจุกนมแบบไหน ให้ลูกดูด

10 จุกนมหลอกเด็ก จุกหลอกทารก ชวนเหล่าคุณพ่อคุณแม่ช้อปปิ้ง

จุกนมหลอก จุกนมปลอม เสี่ยงทำให้ลูกพูดช้า ฟันไม่สวย ฟันเก จริงไหม

ที่มา : 1, parentsone

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

nantichaphothatanapongbow

  • หน้าแรก
  • /
  • การให้นมลูก
  • /
  • ไซซ์จุกนม 100 สิ่งแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 42 เลือกอย่างไรให้เหมาะกับลูก?
แชร์ :
  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • 4 ท่าให้นม ลดเสี่ยงสำลัก : ให้นมลูกถูกท่า ปลอดภัยกับลูกน้อย

    4 ท่าให้นม ลดเสี่ยงสำลัก : ให้นมลูกถูกท่า ปลอดภัยกับลูกน้อย

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • 4 ท่าให้นม ลดเสี่ยงสำลัก : ให้นมลูกถูกท่า ปลอดภัยกับลูกน้อย

    4 ท่าให้นม ลดเสี่ยงสำลัก : ให้นมลูกถูกท่า ปลอดภัยกับลูกน้อย

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว