X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

10 วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้เด็ก ปลอดภัยจากเหตุการณ์ฉุกเฉินในบ้าน

บทความ 5 นาที
10 วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้เด็ก ปลอดภัยจากเหตุการณ์ฉุกเฉินในบ้าน10 วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้เด็ก ปลอดภัยจากเหตุการณ์ฉุกเฉินในบ้าน

อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกะทันหัน โดยเฉพาะกับวัยเด็กมักจะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย อาจเป็นเพราะลูกน้อยของคุณกำลังอยากเรียนรู้ อยากทดลอง โดยไม่รู้ว่าสิ่งนั้นจะเกิดโทษหรืออันตรายต่อตนเอง เพราะเหตุนี้เองจึงเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้เด็ก ความรู้พื้นฐานที่คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะเรียนรู้ เพราะว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดกับลูกน้อยคงคุณก็อาจจะช่วยเหลือพวกเขาเบื้องต้นก่อนถึงมือแพทย์ได้ มาดูกันดีกว่า 10 วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้เด็ก ปลอดภัยจากเหตุการณ์ฉุกเฉินในบ้าน ไปดู การปฐมพยาบาลเบื้องต้น 10 วิธี กัน

 

อุปกรณ์ปฐมพยาบาลที่ควรมีติดบ้าน มีอะไรบ้าง?

ปกติแล้วแทบจะทุกบ้านจะมีตู้ยาประจำบ้านหรืออาจจะเป็นกล่องใส่ยาหรืออุปกรณ์ปฐมพยาบาลต่าง ๆ เมื่อเวลาที่เด็กประสบอุบัติเหตุจะได้นำมาใช้อย่างทันท่วงที ก่อนอื่นมาดูกันว่าตู้ยาหรือจะเป็นกล่องยานั้น  ควรจะมีสิ่งใดบ้างติดบ้านไว้เป็นประจำ

  1. ผ้ากอซ หรือสำลีที่ฆ่าเชื้อโรคแล้ว พร้อมทั้งพลาสเตอร์ และผ้าพันแผล
  2. เข็มกลัดซ่อนปลาย
  3. ยาฆ่าเชื้อ ยาใส่แผลสด (ควรให้เภสัชกรแนะนำยาชนิดที่เหมาะสมกับเด็ก)
  4. กรรไกรขนาดเล็ก
  5. ยาแก้ปวด ลดไข้ เช่น พาราเซตามอล  ยาสำหรับเด็ก  (ควรให้เภสัชกรแนะนำยาชนิดที่เหมาะสมกับเด็ก)
  6. ครีมสำหรับทาแมลงสัตว์กัดต่อย

บทความที่น่าสนใจ : ระวัง! พ่อแม่ใช้ยาผิด ลูกตกอยู่ในอันตรายถึงชีวิต ห้ามทำพลาดเด็ดขาด

 

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้เด็ก 1

 

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น 10 วิธี เบื้องต้นให้เด็ก รอดพ้นอันตราย

เด็กในวัย 3-5 ขวบ ยังอยู่ในช่วงพัฒนาการของกล้ามเนื้อยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ทำให้การเล่น การวิ่ง การกระโดด และความซุกซนตามวัยก่อให้เกิดอันตรายง่าย บ้านไหนที่มีเด็กผู้ชายความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุมากกว่าเด็กผู้หญิงเป็นทวีคูณ เพราะเด็กผู้ชายมักชอบปีนป่าย ซุกซนมากกว่าเด็กผู้หญิงนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตามเมื่ออุบัติเหตุนั้น ๆ เกิดขึ้นแล้วคุณแม่ควรเรียนรู้วิธีปฐมพยาบาลลูกน้อยเพื่อลดความเจ็บปวดลง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

1. การปฐมพยาบาลเด็ก แผลถลอก

วิธีการคือกรณีที่มีเศษหินติดอยู่ให้ชะล้างบาดแผลด้วยน้ำสะอาดและสบู่ ใช้ผ้าสะอาดซับให้แห้ง ทายารักษาแผลสด เช่น โพวิดีน (Povidine) หรือยาแดง แล้วปิดแผลด้วยผ้ากอซหรือผ้าสะอาด ถ้าบาดแผลมีลักษณะตื้น และมีเลือดไหลซิบ ๆ เท่านั้น ให้ทายาโดยไม่ต้องใช้ผ้าปิดบาดแผลก็ได้

 

2. แผลถูกของมีคมบาด

หากถูกมีดบาดของเล่นบาด โดยมากจะมีเลือดไหลต้องห้ามเลือดก่อน หากเป็นแผลเล็ก ๆ และของที่บาดนั้นไม่สกปรก เพียงแต่ทำความสะอาดแผล และใส่ยาเหมือนแผลถลอก ถ้าหากเป็นแผลใหญ่เมื่อห้ามเลือดแล้วควรรีบนำเด็กส่งโรงพยาบาล เพราะอาจต้องเย็บแผลสำหรับแผลที่สกปรกมาก หรือสิ่งที่บาดนั้นมีสนิมต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก สำหรับแผลใหญ่ เลือดออกมากให้ใช้วิธีกดห้ามเลือดไม่ได้ผล ให้ใช้วิธีรัดส่วนเหนือของแผลด้วยผ้าแล้วใช้ไม้สอดเข้าไปในผ้านั้น พร้อมหมุนไม้ไปทางเดียวกันขันจนแน่น การห้ามเลือดวิธีนี้จะปิดกั้นไม่ให้เลือดไหลผ่านบริเวณที่มีบาดแผลทำให้เลือดหยุดไหลแต่ต้องคลายผ้าเป็นระยะเพื่อป้องกันเนื้อเยื่อตาย เช่น รัดนาน 5 นาที คลายออก 1 นาทีและรีบนำเด็กส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

 

3. สิ่งแปลกปลอมเข้าจมูก

อย่างแรกที่เมื่อคุณพบว่าลูกของคุณมีสิ่งแปลกปลอมเข้าจมูก คุณจะต้องบอกให้เด็กอ้าปากหายใจทางปากแทน หยอดน้ำมันพืชเข้าไปทางจมูกที่มีสิ่งแปลกปลอม ถ้าเป็นเมล็ดพืชจะช่วยไม่ให้เมล็ดพืชนั้นบวมปิดรูจมูกแน่นขึ้น ถ้าเป็นแมลงเข้าจมูกจะช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อนในรูจมูกและทำให้แมลงหยุดเคลื่อนไหว หลังจากนั้นให้เด็กสั่งน้ำมูกให้สั่งเบา ๆ วิธีนี้จะทำให้สิ่งแปลกปลอมหลุดออกมา หากเป็นพวกเศษผ้าหรือเศษกระดาษ ให้ใช้คีมปลายมนค่อย ๆ คีบออกมา

 

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้เด็ก 2

 

4. หัวโน ห้อเลือด ฟกช้ำ

ในระยะแรกภายใน 24 ชั่วโมง ให้ประคบด้วยความเย็น โดยใช้ถุงพลาสติกใส่น้ำแข็งหรือใช้ cold - hot pack เป็นถุงที่ใช้ได้ทั้งร้อนและเย็น เพื่อประคบเส้นเลือดให้หดตัวทำให้เลือดหยุดไหล ห้ามนวดคลึงเพราะจะทำให้เลือดที่ออกใต้ผิวหนังยิ่งออกมากขึ้น ไม่ควรใช้ยาหม่อง หรือของร้อนอื่น ๆ ทาบริเวณที่โน เพราะยาหม่องจะทำให้ปวดแสบปวดร้อนและเลือดมาคั่งอยู่บริเวณแผลมากขึ้น หลังจาก 24 ชั่วโมงไปแล้ว จึงเริ่มประคบร้อนเพื่อให้เลือดที่ออกถูกดูดซึมกลับเข้าไปในเส้นเลือดเร็วขึ้น

 

5. ปฐมพยาบาลเด็ก แมลงเข้าหู

เมื่อพบว่ามีแมลงเข้าหูของลูกน้อยของคุณ อย่างแรกคือต้องทำให้แมลงตายโดยใช้น้ำมันพืช เช่น น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันพืชที่ใช้ทำอาหาร หยอดเข้าไปในหู ทิ้งไว้สักครู่แมลงจะตายและลอยขึ้นมาให้ตะแคงหูเพื่อให้แมลงและน้ำมันไหลออกมาให้หมด แล้วใช้สำลีเช็ดทำความสะอาดอีกครั้ง

บทความที่น่าสนใจ : แมลงเข้าหู ลูกน้อย ทำอย่างไรดี วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

 

6. สุนัข หรือแมวกัด

ควรรีบเข้าไปหาลูกน้อยของคุณในที และไล่ให้สัตว์เลี้ยงของคุณนั้นออกให้ห่างกับพวกเขาให้ไกลที่สุด หรือให้คนนำไปขังแยกไว้ เพื่อที่จะได้ไม่เกิดการเข้ามาซ้ำขณะที่คุณกำลังปฐมพยาบาลเบื้องต้นอยู่ และควรพาลูกน้อยของคุณไปที่ก๊อกน้ำทันที เพื่อรีบล้างแผลให้สะอาดด้วยน้ำเปล่าและสบู่ ซับแผลให้แห้ง ปิดแผลด้วยผ้ากอซหรือผ้าสะอาด นำเด็กส่งโรงพยาบาล

 

7. สิ่งแปลกปลอมติดคอ

จับเด็กนั่งโดยใช้มือพยุงหน้าอกของเด็กไว้ โน้มศีรษะของเด็กให้ต่ำกว่าหน้าอกหรืออยู่ในระดับเดียวกับหน้าอก ใช้มืออีกข้างกระแทกเร็ว ๆ 4 ครั้ง ติดต่อกันค่อนข้างแรงตรงบริเวณระหว่างสะบักทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้สิ่งที่ติดอยู่หลุดออกมา ถ้ายังไม่หลุดควรกระแทกซ้ำ หากยังไม่ออกอีกต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล

 

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้เด็ก 5

 

บทความจากพันธมิตร
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ  ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
5 เคล็ดลับการเลือก รถยนต์อเนกประสงค์สำหรับครอบครัว ปลอดภัย พร้อมไปทุกที่ได้อย่างมั่นใจ
5 เคล็ดลับการเลือก รถยนต์อเนกประสงค์สำหรับครอบครัว ปลอดภัย พร้อมไปทุกที่ได้อย่างมั่นใจ

8. กลืนและดมสารพิษ

หากเด็กกลืนสารพิษพวกน้ำหอม ยาทาเล็บ ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม ดีดีที ยาเบื่อหนู ยากำจัดแมลงสาบ หรืออื่น ๆ ที่ไม่ใช่สารเคมีพวกกรดด่างหรือสารประกอบปิโตรเลียมให้เด็กดื่มนม 1-2 แก้ว เพื่อเจือจางสารพิษนั้น ๆ จากนั้นให้เด็กอาเจียนโดยการใช้นิ้วสะอาดล้วงคอให้ลึก ๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็กอาเจียน และถ้าหากเด็กดมสารพิษเข้าไปและรู้สึกหายใจติดขัด ไอ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หรือชักกระตุก รีบนำเด็กออกมาในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ถ้าเด็กหมดสติเนื่องจากอากาศไม่เพียงพอ หลังจากที่นำเด็กออกมาบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทแล้ว ปลดเสื้อผ้าออกให้หลวม หากเด็กมีอาการหนาวสั่นให้นำผ้าห่มมาคลุม ให้เด็กอยู่ในท่านอนตะแคงสังเกตดูการหายใจ หากเด็กหยุดหายใจต้องรีบช่วยให้หายใจด้วยการเป่าปาก

 

9. สารเคมีเข้าตา

คุณจะต้องรีบเก็บสารเคมีที่เป็นอันตรายให้พ้นกับมือเด็กก่อน และต้องรีบเบิกเปลือกตาบนและล่างให้เห็นนัยน์ตากว้างที่สุด แล้วรินน้ำสะอาดผ่านนัยน์ตาทันทีโดยรินผ่านนาน ๆ ประมาณ 5 นาที เพื่อล้างสารเคมีออกให้หมด ขณะที่รินน้ำต้องระวังอย่าให้น้ำที่ไหลออกกระเด็นเข้าตาอีกข้างหนึ่งที่โดนสารเคมี ควรให้เด็กนอนเอียงตาข้างที่โดนสารเคมีออกจากตัว เวลารินน้ำควรรินจากหัวตาไปหางตา จากนั้นใช้ผ้ากอซหรือผ้าสะอาดปิดตาไว้แล้วนำเด็กส่งโรงพยาบาล

 

10. เลือดกำเดาไหล

อย่าให้เด็ก ๆ เงยหน้าขึ้นเป็นอันขาด เพราะเป็นวิธีที่ผิด! ให้เด็กก้มหน้าลงแทน ท่าก้มหน้านั้นจะเป็นนั่งหรือยืนก็ได้แต่ห้ามนอน ใช้นิ้วกดจมูกด้านที่เลือดกำเดาไหล ใช้ความเย็นประคบดั้งจมูก 1-2 นาที หากเลือดยังไม่หยุด ให้ใช้ผ้ากอซหรือผ้านุ่ม ๆ สอดเข้าไปในรูจมูกข้างที่เลือดออกทิ้งไว้สักครู่ใหญ่ สังเกตดูว่าเลือดหยุดไหลหรือยัง กรณีเลือดไหลไม่หยุดเกินครึ่งชั่วโมงขึ้นต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล

 

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้เด็ก 3

 

สุดท้ายแล้วอุบัติเหตุ หรือเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้นกับทารกนั้นเป็นเรื่องที่ผู้ปกครองทุกคนก็ย่อมไม่อยากให้เกิดขึ้นกับลูกหลานตนเองทั้งนั้น แต่เราไม่มีทางห้ามให้เหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้น แต่สามารถป้องกัน และลดโอกาสเกิดได้ นอกจากนี้การที่คุณได้เรียนรู้วิธีการปฐมพยาบาลลูกน้อยก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี และหวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ต่อคุณแม่และผู้ปกครองที่จะนำวิธีการดังกล่าวไปไว้ใช้ปฐมพยาบาลลูกเพื่อความปลอดภัยก่อนถึงมือหมอกันนะคะ

 

บทความที่น่าสนใจ :

น้ำร้อนลวก ไฟไหม้อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ง่ายสำหรับเด็กๆ ภายในบ้าน คุณแม่ควรระวัง

การป้องกัน อุบัติเหตุในเด็กเล็ก ที่พ่อแม่ควรรู้ ช่วง 1-12 เดือน ต้องระวังอะไรบ้าง

10 คอกกั้นเด็ก หลายแบบ หลายสไตล์ แบบนี้ไม่มีไม่ได้แล้ว

ที่มา : 1, 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • การเลี้ยงลูก
  • /
  • 10 วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้เด็ก ปลอดภัยจากเหตุการณ์ฉุกเฉินในบ้าน
แชร์ :
  • 5 อุบัติเหตุพบบ่อยในลูกวัยเตาะแตะที่ไม่ควรมองข้ามอย่างแรง!

    5 อุบัติเหตุพบบ่อยในลูกวัยเตาะแตะที่ไม่ควรมองข้ามอย่างแรง!

  • อุทาหรณ์ของมีคม! พร้อมวิธีปฐมพยาบาลเมื่อลูกเกิดอุบัติเหตุ

    อุทาหรณ์ของมีคม! พร้อมวิธีปฐมพยาบาลเมื่อลูกเกิดอุบัติเหตุ

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

app info
get app banner
  • 5 อุบัติเหตุพบบ่อยในลูกวัยเตาะแตะที่ไม่ควรมองข้ามอย่างแรง!

    5 อุบัติเหตุพบบ่อยในลูกวัยเตาะแตะที่ไม่ควรมองข้ามอย่างแรง!

  • อุทาหรณ์ของมีคม! พร้อมวิธีปฐมพยาบาลเมื่อลูกเกิดอุบัติเหตุ

    อุทาหรณ์ของมีคม! พร้อมวิธีปฐมพยาบาลเมื่อลูกเกิดอุบัติเหตุ

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ