ในครั้งแรกคุณแม่มือใหม่ควร ให้นมลูกอย่างไร เพราะการให้นมลูกครั้งแรก เชื่อว่าคุณแม่มือใหม่ต้องมีความตื่นเต้น กับการที่ต้องอุ้มทารกน้อยเข้าเต้าเพื่อดูดนมแม่ ไม่ว่าจะซักซ้อมการอุ้มลูกมาอย่างไร คุณแม่ต้องมีความกังวลว่า ทำถูกวิธีไหม อุ้มลูกเข้าเต้าถูกหรือไม่ และลูกจะดูดนมได้มากพอและนอนในอ้อมอกของคุณแม่ถนัดหรือไม่
เราไปดูเคล็ดลับดี ๆ กับการให้นมลูกครั้งแรก ว่าทำอย่างไรและควรระวังอะไรบ้าง คุณแม่ท่านไหนที่ใกล้คลอดแล้ว อยากให้นมแม่กับลูก เชิญทางนี้!
ให้นมลูกครั้งแรก เชื่อว่าคุณแม่มือใหม่ต้องมีความตื่นเต้น กับการที่ต้องอุ้มทารกน้อยเข้าเต้าเพื่อดูดนมแม่ ไม่ว่าจะซักซ้อมการอุ้มลูกมาอย่างไร คุณแม่ต้องมีความกังวลว่า ทำถูกวิธีไหม อุ้มลูกเข้าเต้าถูกหรือไม่ และลูกจะดูดนมได้มากพอและนอนในอ้อมอกของคุณแม่ถนัดหรือไม่ เราไปดูเคล็ดลับดี ๆ กับการให้นมลูกครั้งแรก ว่าทำอย่างไรและควรระวังอะไรบ้าง
ให้นมลูกอย่างไร ในครั้งแรกคุณแม่ควรสังเกตปากลูก
คุณแม่แต่ละท่านมีหน้าอกที่ไม่เท่ากัน มีรูปร่างที่ต่างกัน ดังนั้นต้องระมัดระวังวิธีเข้าเต้าที่ถูกต้อง เพื่อลดการเจ็บหัวนม และยังช่วยกระตุ้นให้น้ำนมไหลดีอย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นการให้นมลูกครั้งแรกลองสังเกตลักษณะของลูกน้อยเวลาดูดนมดังนี้
- สังเกตดูว่า คางของลูกแนบชิดกับหน้าอกของแม่หรือไม่
- สังเกตดูว่า ลูกน้อยอมทั้งลานนมหรือไม่ หรืออมเฉพาะหัวนม เพราะหากดูดเฉพาะหัวนมน้ำนมจะไม่ออก
- ปากของลูกน้อยต้องอ้ากว้างประกบเต้านมได้พอดี
- ลองสังเกตว่า ริมฝีปากล่างบานออกหรือไม่ หากปากล่างลูกหุบเข้าจะดูดนมไม่สะดวก
บทความที่เกี่ยวข้อง : น้ำนมแม่ รักแท้ที่เสริมได้ด้วยโภชนาการ
คุณแม่มือใหม่มีวิธีนำลูกเข้าเต้าตอน ให้นมลูกครั้งแรก ได้อย่างไร
1. คุณแม่เอามือประคองเต้านม
คุณแม่ ให้นมลูกครั้งแรก ให้เอามือประคองเต้านมตนเอง แล้วใช้นิ้วโป้งอยู่ด้านบน บริเวณขอบบนลานนม ส่วนนิ้วที่เหลือให้ช้อนเต้านมด้านล่างเพื่อยกเต้านมขึ้น พอดีปากของลูกน้อย
2. อุ้มลูกเข้าเต้า
อีกมืออุ้มลูกน้อยโดยใช้มือประคองต้นของลูกบริเวณท้ายทอย เชยคางลูกเล็กน้อยแล้วเอาลูกเข้ามาตรงเต้านม โดยให้คางของลูกเข้ามาชิดเต้านมส่วนล่าง ตรงนี้ลูกจะเริ่มอ้าปากเองโดยธรรมชาติ หากลูกไม่อ้าปากให้เอาหัวนมเขี่ยริมฝีปากลูกเบา ๆ ลูกจะอ้าปากเอง
3. ไม่เอาเต้านมพุ่งใส่ลูก
คุณแม่ต้องรอลูกอ้าปากก่อน แล้วค่อย ๆ เคลื่อนหัวลูกเข้าหาเต้านมตัวเอง อย่าโน้มตัวลงเอาหันนมลงไปจ่อปากลูก เพราะจะทำให้ดูดนมไม่ถนัดและได้น้ำนมไม่เต็มที่
4. ให้ลูกงับลานนมเต็มที่
อย่าให้ลูกดูดคั่วนม เพราะจะไม่มีแรงกระตุ้นน้ำนม ดังนั้นควรให้ปากลูกงับทั้งลานเต้านมแม่ โดยให้คางลูกน้อยชิดกับเต้านมแม่ ตรงนี้ลูกจะรีดน้ำนมได้ดี ไม่อึดอัด หายใจสะดวก และคุณแม่ยังไม่เจ็บหัวนมอีกด้วย
บทความที่เกี่ยวข้อง : “น้ำนมแม่” สุดยอดอาหาร สร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยลูกห่างไกลหอบหืด ภูมิแพ้ ท้องร่วง
10 เรื่องที่ควรรู้เรื่องการ ให้นมลูกครั้งแรก สำหรับคุณแม่มือใหม่
1. หากลูกกัดหัวนม
คุณแม่ต้องพยายามเบี่ยงเบนความสนใจของทารกน้อยในการ ให้นมลูกครั้งแรก เช่น ดึงความสนใจจากเต้านม มาจ้องตาคุณแม่ ซึ่งระหว่างที่คุณแม่ให้นมลูก ลองพูดคุย ร้องเพลง โยกตัวเบา ๆ เคล้าเสียงเพลง หากลูกเผลอไปกัดนมของคุณแม่ อย่าตกใจค่ะ คุณแม่สามารถเอานิ้วกดไปที่คางของลูกและดันออกเบา ๆ อย่ากระชากลูกออก เพราะจะทำให้ลูกตกใจและกระชากหัวนมให้คุณแม่ยิ่งเจ็บ ที่สำคัญลองสังเกตลูกว่า เขาหิวนมจริงหรือไม่ เพราะถ้าหากเขายังไม่หิว แล้วเอาลูกเข้าเต้า อาจจะกัดนมคุณแม่ได้โดยไม่ตั้งใจ
2. หากนมยังไม่มีมากพอหลังคลอด
คุณแม่อย่าเพิ่งกังวลใจหากน้ำนมยังไม่ไหล ไม่มากพอ เพราะปกติแล้ว น้ำนมจะไหลหลังจาก 2-3 วันหลังคลอดไปแล้ว แต่สำหรับคุณแม่บางท่าน อาจมีน้ำนมมากและไหลตั้งแต่ยังไม่คลอด ดังนั้นแต่ละคนจะมีน้ำนมไม่เท่ากัน อาจจะทำให้คุณแม่เครียด ซึ่งความเครียดอาจจะส่งผลต่อปริมาณน้ำนม อยากให้คุณแม่ทำใจสบาย ๆ หมั่นให้ลูกเข้าเต้ากระตุ้นน้ำนม ไม่นานน้ำนมก็จะไหลเอง
3. น้ำนมแรก
น้ำนมแรก สามารถสังเกตได้ว่า เป็นสารเหลวสีเหลืองใสกว่าน้ำนม ซึ่งน้ำนมแรกจะมีสารอาหารที่มีคุณค่ามากที่สุดและต้านเชื้อโรค สร้างภูมิต้านทานได้ดี ถือได้ว่า สุดยอดของน้ำนมแม่ คืออาหารที่มีประโยชน์สูงสุดสำหรับทารก
4. สีอุจจาระของลูกเมื่อดูดนมแม่
คุณแม่มือใหม่อย่าลืมสังเกตสีอุจจาระลูก ถ้าหากสีอึของลูกมีสีเหลืองนวล แสดงว่า ลูกมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ หากสีอุจจาระเปลี่ยนไปเป็นสีขาว เขียว หรือมีเลือดปน แสดงว่า สุขภาพของลูกน้อยกำลังมีปัญหา หรือมาจากอาหารการกินของคุณแม่ด้วย ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที
5. พยายามให้ลูกเรอ
เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกน้อย หลังจากที่ลูกดูดนมแม่เสร็จทุกครั้ง คุณแม่ควรอุ้มลูกพาดบ่าแล้ว เพื่อให้ลูกเรอ เพราะการเรอจะช่วยให้ทารกระบายท้องได้ดี ไม่มีอาการท้องอืด และไม่แหวะนมได้
บทความที่เกี่ยวข้อง: น้ำนมแม่เก็บไว้ได้นานแค่ไหน มีวิธีการเก็บอย่างไร ให้อยู่ได้นานและดีที่สุด
6. นมแม่ช่วยลูกลดอาการสะอึก
หากลูกสะอึก วิธีที่ดีและปลอดภัยที่สุดก็คือ การจับลูกเข้าเต้าอย่างถูกต้อง เพื่อให้เขาได้ดื่มของเหลว ระบายท้อง ขับลม อย่าลืมอุ้มลูกเรออีกครั้ง ซึ่งจะใช้เวลาเพียงไม่นาน อาการสะอึกของลูกก็จะหายไป
7. นมแม่อาหารวิเศษย่อยง่าย
น้ำนมแม่ย่อยง่าย ย่อยเร็ว ลูกจึงหิวบ่อย ถ้าลูกน้อยถ่ายบ่อยแต่สีปกติก็ไม่ต้องกังวลค่ะ แต่อย่าให้นมลูกจนมากเกินไป
8. น้ำนมแค่ไหนจึงจะพอ
ลูกดื่มนมแม่พอหรือไม่ ให้สังเกตจากจำนวนผ้าอ้อมที่เปียกชุ่มมากกว่าหกชิ้นขึ้นไป แสดงว่าน้ำนมเพียงพอสำหรับทารกน้อยแน่นอน
9. เต้านมแม่คือความอบอุ่น
การเข้าเต้านมของลูกครั้งแรก เชื่อว่า คุณแม่จะรู้สึกมหัศจรรย์ หากลูกร้องไห้งอแง เพียงเอาลูกเข้าเต้า เขาจะเงียบทันที เพราะรู้สึกปลอดภัยและมีความสุข รับรู้ได้ถึงความอบอุ่น
10. หากลูกดูดนมจนหัวนมแตก
อย่าเพิ่งตกใจค่ะ ให้คุณแม่บีบน้ำนมออกมาแล้ว เอาน้ำนมนั้นทาบริเวณหัวนม ทิ้งไว้จนแห้ง น้ำนมคือยาช่วยสมานแผลแก้หัวนมแตกได้ จากนั้นงดให้นมลูกจากเต้าที่บาดเจ็บ สัก 2-3 วัน
วิธีนวดเต้านม เพื่อกระตุ้นให้น้ำนมไหลดี
สำหรับคุณแม่ที่นำนมน้อย หรือไม่มั่นใจว่าน้ำนมจะไหลทุกวันหรือไม่ ลองมานวดน้ำนมกันค่ะ
- ให้เตรียมผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นประคบเต้านมทิ้งไว้ 5 นาทีก่อนเอาลูกเข้าเต้า
- คุณแม่ลองใช้นิ้วมือคือ นิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนาง ค่อย ๆ นวดคลึงทั่วเต้านมเบา ๆ โดยเริ่มจากฐานเต้านม ไปถึงปลายหัวนม คลึงไปเรื่อย ๆ จะช่วยกระตุ้นน้ำนมได้ดี
- หากคุณแม่ที่มีน้ำนมเยอะอยู่แล้ว ก็ควรนวมเต้านม โดยเอาผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นบีบหมาด ๆ ประคบเต้าไว้ จากนั้นคลึงเบา ๆ แล้วลองบีบหัวนมให้น้ำนมออก จะช่วยให้รู้สึกสบายขึ้น เพราะเมื่อเต้านมใหญ่ น้ำนมเยอะ อาจจะรู้สึกคัดและเจ็บปวดได้ง่าย
การให้นมลูก คือการแสดงถึงความรักความผูกพัน ลูกจะรู้สึกอบอุ่นทุกครั้งที่คุณแม่ได้โอบกอดเขาขณะดูดนมจากเต้า ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่วิเศษที่สุด สำหรับคุณแม่มือใหม่อาจยังไม่มั่นใจ กังวลว่าทำท่าถูกไหม ลองทำไปเรื่อย ๆ ค่ะ อย่างที่บอกไว้ตอนต้นว่าสังเกตลักษณะปากของลุกน้อยไว้ให้ดี เพราะจะช่วยให้เขาดูดดื่มนมได้เต็มที่ เมื่อจับลูกเข้าเต้าบ่อย ๆ แล้ว ทั้งลูกและคุณแม่ก็จะปรับตัวเข้าหากันโดยสัญชาตญาณแห่งความรักเองค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
สมุนไพรบำรุงน้ำนม เห็นผลทันใจ แถมให้ประโยชน์ทั้งแม่และลูก
อาหารสำหรับคุณแม่หลังคลอด 10 อย่างที่ผู้หญิงหลังคลอดควรได้กิน
หน้าอกเล็ก กลัวไม่มีน้ำนมให้ลูกจัง ขนาดของเต้านมแม่มีผลต่อน้ำนมลูกไหม?
แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการให้นมลูกครั้งแรก ได้ที่นี่!
ให้นมลูกครั้งแรก ควรทำอย่างไรคะ แล้วจะเอาเข้าเต้ายังไงดี?
ที่มา : maerakluke , thaibf
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!