X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

น้ำนมแม่ รักแท้ที่เสริมได้ด้วยโภชนาการ

บทความ 3 นาที
น้ำนมแม่ รักแท้ที่เสริมได้ด้วยโภชนาการ

คุณแม่ทุกคนรู้ดีว่า “นมแม่” คืออาหารสำคัญที่ดีที่สุดสำหรับลูก หลายคนกลับสนใจแต่เรื่องวิธีให้นม, อุปสรรคต่างๆ, ระยะเวลาการให้นมแม่ ฯลฯ โดยลืมนึกไปว่า นมแม่นั้นมาจากร่างกายคุณแม่เองและแหล่งสารอาหารสำคัญที่มีส่วนสร้างนมแม่ที่มีคุณภาพ เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดจึงหนีไม่พ้นอาหารทุกมื้อที่คุณแม่รับประทานเข้าไป

กินอย่างไรให้ได้นมคุณภาพ

การกินอย่าง ”สมดุล” คือการกินเพื่อสร้างน้ำนมแม่ที่มีคุณภาพมากที่สุด โดยเน้นการรับประทานอาหารที่ให้แคลอรีเพิ่มขึ้นจากปกติอย่างน้อย 500 แคลอรีจึงจะพอเพียงสำหรับทั้งแม่และลูก  ซึ่งการเพิ่มพลังงานนี้ไม่ได้จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณเสมอไป แต่อาจจะเลือกรับประทานอาหารที่ให้พลังงานมากขึ้นแทน โดยสารอาหารที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรับประทานให้มากขึ้นตามหลักโภชนาการนั้นมีดังนี้

โปรตีน การที่ร่างกายคุณแม่ผลิตน้ำนมนั้นถือเป็นกระบวนการที่ทำให้ร่างกายสึกหรอ ซึ่งนั่นทำให้คุณแม่ต้องได้รับโปรตีนมากขึ้นเพื่อทั้งเสริมโปรตีนในการผลิตน้ำนม และซ่อมแซมร่างกายของคุณแม่ที่สูญเสียไปจากช่วงคลอด  โปรตีนที่ดีคือเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปลา ไข่วันละ 1 ฟอง ส่วนนมสดปริมาณพอสมควร ประมาณ 2-3 แก้วต่อวัน นอกจากนี้ยังควรเสริมโปรตีนในพืชเช่น ถั่วต่างๆ นมถั่วเหลือง เต้าหู้อีกด้วย

แคลเซียม แคลเซียมเป็นแหล่งสร้างกระดูกและฟัน ทั้งของคุณแม่และลูกน้อยคุณแม่จึงควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียม ทั้งที่มาจากสัตว์ เช่น ปลาเล็กปลาน้อย นม กุ้งฝอย และจากพืชเช่น ผักใบเขียว

วิตามินซี คุณแม่ทราบไหมคะว่าวิตามินซีในนมแม่จะลดลงเมื่อให้นมลูกไปนานกว่า 7เดือน อาหารที่มีวิตามินซี ได้แก่ ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาว มะขามป้อม หรือคุณแม่ที่ไม่ชอบกินผลไม้ ลองผักสดอย่างกะหล่ำปลี หรือมะเขือเทศก็ได้ค่ะ

วิตามินเอ วิตามินเอมีส่วนช่วยในการสร้างน้ำนม อาหารที่มีวิตามินเอสูงและคุณแม่ช่วงให้นมควรรับประทานก็คือ ไข่แดง ตับ  น้ำมันตับปลา ส่วนอาหารที่มีวิตามินเอสูงจากพืชนั้นก็มีเช่นกัน เช่น ผักกาดเขียว ฟักทอง ผลไม้สีเหลือง

วิตามินบี 1 คุณแม่ขาดวิตามินบี 1 นั้นจะทำให้ลูกขาดวิตามินบี 1 ไปด้วย แหล่งวิตามินบี 1 ที่สำคัญคือ ข้าวซ้อมมือ ธัญพืช หมูเนื้อแดง

วิตามินบี 2 นี่ก็เป็นส่วนประกอบสำคัญของน้ำนมแม่ อาหารที่มีวิตามินนี้มากได้แก่ นม เนย เครื่องในสัตว์ ไข่และยีสต์

นอกจากนี้ยังมีสารอาหารอีกมากที่คุณแม่ควรรับประทานในช่วงนี้ แต่ที่สำคัญไปกว่าตัวอาหารคือ คุณภาพของอาหารนั่นเองเพราะเราทราบดีว่าคุณแม่ช่วงให้นมลูกนั้นจะเหนื่อยมากกว่าปกติ เพราะไหนจะต้องเลี้ยงลูก นอนไม่เป็นเวลา ยังต้องปั๊มนมซึ่งสร้างมาจากร่างกายคุณแม่อีก อาจจะเกิดอาการ “โหย” อยากของหวานตามธรรมชาติ แต่ขอให้คุณแม่คิดไว้เสมอว่าการรับประทานไขมันและของหวานมากนั้นไม่ดีต่อทั้งตัวคุณแม่เองและส่งผลต่อน้ำนมที่ไม่ได้คุณภาพอีกด้วย

 

shutterstock_522182809 (1)

“น้ำ” สิ่งสามัญที่ไม่ธรรมดา

น้ำเป็นส่วนประกอบหนึ่งของร่างกายกว่า 70%  ของร่างกายคุณแม่นั้นประกอบไปด้วยน้ำ และแน่นอนว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ “นมแม่” ด้วยเช่นกัน เราขอแนะนำให้คุณแม่ดื่มน้ำประมาณ 8- 10 แก้ว หรือ 2-3 ลิตรใน 1 วัน (ในวันที่อากาศร้อนอาจจะต้องดื่มเพิ่มมากขึ้นอีก) เพราะนอกจากจะช่วยเสริมเรื่องสุขภาพของแม่แล้ว ยังช่วยเรื่องการหลั่งของของน้ำนมอีกด้วย นอกจากนี้อีกเคล็ดลับจะทำให้น้ำนมไหลสะดวกก็คือการดื่มน้ำอุ่น ๆ จะช่วยให้ร่างกายอบอุ่น เลือดไหลเวียนได้ดี เป็นการกระตุ้นให้น้ำนมไหลได้ดีขึ้นอีกทางหนึ่ง

สำหรับคุณแม่ที่ไม่ชอบดื่มน้ำเปล่า การดื่มน้ำสมุนไพรก็เป็นอีกทางเลือกที่ดี โดยเฉพาะสมุนไพรที่มีรสร้อนเช่น น้ำขิง นอกจากจะช่วยให้สดชื่นขึ้นแล้วยังช่วยกระตุ้นให้น้ำนมไหลดีขึ้นอีกด้วย ส่วนคุณแม่บ้านไหนที่น้ำนมน้อย ลองต้มหัวปลีใส่น้ำตาลเล็กน้อยจิบดื่มเป็นประจำ หรือจะลองสมุนไพร กานพลู โดยนำดอกตูมแห้ง 5 – 8 ดอก ชงน้ำร้อนดื่มหรือใช้เคี้ยวก็ได้  ปิดท้ายด้วยนมนาง เปลือกหรือราก ต้มน้ำดื่มบำรุงร่างกายและควรดื่มน้ำเปล่าให้มากๆ เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมและทดแทนน้ำที่เสียไป รับรองน้ำนมมาเพิ่มแน่นอน

เห็นไหมคะว่าน้ำนมดีมีคุณภาพนั้นสร้างได้ด้วยตัวคุณแม่เองค่ะ ก่อนรับประทานอาหารทุกครั้งต้องคิดเสมอว่าทุกคำของคุณแม่จะไปสู่ลูกผ่านทางน้ำนมด้วยเช่นกัน อาหารแซ่บๆทั้งหลายที่อยากรับประทานตามใจปาก เห็นทีจะต้องยั้งใจไว้ก่อนค่ะ เพื่อร่วมสร้าง “โภชนาการช่วงแรกของชีวิต” ที่ดีให้กับลูกน้อยและตัวคุณแม่เอง อย่ามองข้ามเรื่องสารอาหารที่มีประโยชน์นะคะ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • น้ำนมแม่ รักแท้ที่เสริมได้ด้วยโภชนาการ
แชร์ :
  • แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

    แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

  • ลูกยังไม่พูด ต้องพาไปหาหมอไหม? 3 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ทำเลยได้ผลจริง!

    ลูกยังไม่พูด ต้องพาไปหาหมอไหม? 3 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ทำเลยได้ผลจริง!

  • “คลิปสั้น” อันตรายนะรู้ไหม? ผลกระทบลึกถึงระดับโครงสร้างสมอง

    “คลิปสั้น” อันตรายนะรู้ไหม? ผลกระทบลึกถึงระดับโครงสร้างสมอง

  • แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

    แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

  • ลูกยังไม่พูด ต้องพาไปหาหมอไหม? 3 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ทำเลยได้ผลจริง!

    ลูกยังไม่พูด ต้องพาไปหาหมอไหม? 3 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ทำเลยได้ผลจริง!

  • “คลิปสั้น” อันตรายนะรู้ไหม? ผลกระทบลึกถึงระดับโครงสร้างสมอง

    “คลิปสั้น” อันตรายนะรู้ไหม? ผลกระทบลึกถึงระดับโครงสร้างสมอง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว