ถ้าคุณพ่อคุณแม่มือใหม่กำลังเผชิญอยู่กับปัญหาเรื่องการนอนของลูกน้อยแรกเกิด นี่คือเรื่องที่อยากให้คุณพ่อคุณแม่ได้เข้าใจว่า การเลี้ยงทารกแรกเกิด 3 เดือน และ รูปแบบการนอนของทารก 1-3 เดือนแรก นั้นเป็นอย่างไร เพราะทารกแต่ละคนมีมีลักษณะเฉพาะของตนเอง จึงไม่มีตำราเล่มไหนที่จะออกแบบเฉพาะสำหรับลูกน้อยเพื่อช่วยให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หายเหนื่อยไปได้อย่างร้อยเปอร์เซ็นต์ และการนอนของทารกก็เช่นกัน
ลักษณะของลูกวัย แรกเกิด ถึง 3 เดือน นี้เป็นอย่างไร
คุณแม่อาจจะคุ้นชิน กับการกินนอนของลูกมากขึ้น เพราะลูกจะเริ่มปรับตัวได้ดี พร้อมกับคุณแม่ก็สามารถเดาใจ หรือรู้ใจลูกน้อยมากขึ้น ช่วงวัยนี้ลูกจะให้ความสนใจกับมือของตัวเองเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็น จ้องมือตัวเองบ่อย ๆ เอามือเข้าปาก กุมมือตัวเอง เหมือนกับเป็นของเล่นชิ้นใหม่ ที่มีการเคลื่อนไหว ลูกน้อยจะรู้สึกว่า มือของตัวเองนั้น มีความแปลกใหม่ เป็นเพราะประสาทตดของลูก ในช่วงวัยนี้ เริ่มจับภาพได้ดียิ่งขึ้น และมองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ตัวได้ชัดเจนมากกว่าเดิม
บทความที่เกี่ยวข้อง : ของบำรุงคนท้อง สำหรับแม่ท้อง 3 เดือน
คุณแม่เริ่มเล่นกับลูกน้อยได้แล้ว แนวทางการดูแลทารกแรกเกิด
การที่เด็กได้รับการพูดคุย การยิ้มแย้ม จะช่วยฝึกพัฒนาการในด้านต่าง ๆ พัฒนาทักษะการฟัง สังเกตการเคลื่อนไหวขอริมฝีปากของคุณแม่ เด็กก็จะเกิดการเรียนรู้ วัยนี้ไม่ต้องอุ้มตลอดเวลา และสามารถฝึกให้เรียนรู้ได้หลายอย่าง เช่น เขย่าของเล่น ลูก เพื่อให้ลูกลองฟังเสียง ให้ลูกมองภาพสิ่งของ ร้องเพลงให้ลูกฟัง พร้อมทั้ง ทำท่าทางประกอบง่าย ๆ การอุ้มลูกไปนอนบ้าน จะช่วยให้ทารกแข็งแรงขึ้น เหมือนได้ออกกำลังกาย และช่วยให้หลับได้ดีในตอนกลางคืน
รูปแบบการนอนของลูกน้อยวัย 1 เดือน
การเลี้ยงทารกแรกเกิด 1 เดือน 2 เดือน การเลี้ยงทารกแรกเกิด 3 เดือน แรก การ เลี้ยง ทารก แรก เกิด 3 เดือน ทารกแรกเกิดถึง 3 เดือนแรก
หลังจากที่ลูกคลอดออกมา ทารกแรกเกิดจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการนอนในช่วงสัปดาห์แรก ๆ สำหรับในช่วงเดือนแรก คุณแม่จะเห็นเป็นปกติว่าลูกน้อยจะนอนหลับได้เกือบตลอดวัน และสามารถนอนหลับได้ยาวประมาณ 18 ชั่วโมง ใน 1 วัน แต่นั้นก็ไม่ได้ถึงการนอนหลับยาว ๆ 18 ชั่วโมงรวด ทารกแรกเกิดจะหลับยาวได้ในแต่ละครั้งไม่เกินกว่า 3 ถึง 4 ชั่วโมง เป็นแบบนี้ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ซึ่งเมื่อพอครบ3 ชั่วโมงที่ลูกจะต้องตื่นมาก็จะส่งผลให้คุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถนอนหลับพักผ่อนได้อย่างยาว ๆ แบบที่ต้องการได้
เพราะทารกแรกเกิดนั้นยังไม่สามารถแยกแยะได้ระหว่างวันและกลางคืน ซึ่งทำให้ลูกไม่ได้รู้สึกถึงความแตกต่างในช่วงเวลาการนอน อย่างน้อยก็สำหรับในช่วงเดือนแรก ๆ ดังนั้นการนอนหลับสำหรับทารกในวัย 1 เดือนนั้น เป็นช่วงที่ค่อนข้างสำคัญซึ่งจะช่วยให้สมองของลูกพัฒนาได้ดีขึ้นอย่างเหมาะสมตามวัย
อ่านเพิ่มเติม >> การนอนของทารก ช่วงวัย 6 สัปดาห์ถึง 6 เดือนแรก นอนแค่ไหนดี?
รูปแบบการนอนของลูกน้อยวัย 2 เดือน
การเลี้ยงทารกแรกเกิด 1 เดือน 2 เดือน การเลี้ยงทารกแรกเกิด 3 เดือน แรก การ เลี้ยง ทารก แรก เกิด 3 เดือน ทารกแรกเกิดถึง 3 เดือนแรก
เมื่อทารกย่างเข้าอายุ 2 เดือน โหมดการนอนของเจ้าตัวน้อยจะแตกต่างจากที่เคยเป็นในช่วงเดือนแรก ในช่วงระหว่างสัปดาห์ที่ 6 – 8 คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการนอนอย่างค่อยเป็นค่อยไปของเจ้าตัวน้อย ทารกจะเริ่มนอนหลับน้อยลงในช่วงเวลากลางวันและเรียนรู้ที่จะนอนหลับในตอนกลางคืนยาวขึ้น หมายความว่าในตอนกลางวันนั้นระยะการนอนหลับของลูกอาจจะประมาณ 1 ถึง 2 ชั่วโมงต่อครั้ง ซึ่งจะหดสั้นขึ้นในช่วงเดือนแรกที่นอนประมาณ 3 ถึง 4 ชั่วโมง และจะมาเพิ่มชั่วโมงการนอนหลับในตอนกลางคืนด้วยการนอนยาว ๆ ได้ถึง 4 ถึง 5 ชั่วโมง การนอนของทารกวัย 2 เดือนนั้นจะเริ่มเป็นการนอนหลับที่ลึกขึ้นเมื่อเทียบกับในช่วงเดือนแรก ซึ่งเมื่อนอนหลับแล้วก็จะตื่นง่ายน้อยลงด้วย
รูปแบบการนอนของลูกน้อยวัย 3 เดือน การเลี้ยงทารกแรกเกิด 3 เดือน
การเลี้ยงทารกแรกเกิด การ เลี้ยง ทารก แรก เกิด 3 เดือน ทารกแรกเกิดถึง 3 เดือนแรก
ในช่วงเดือนที่ 3 ที่นอกจากคุณพ่อคุณแม่จะเริ่มปรับสภาพความเป็นมือใหม่ลงได้บ้างแล้ว และเข้าใจถึงรูปแบบการนอนของลูกน้อยในระดับหนึ่ง แต่มันก็ยังดูไม่เข้าที่เข้าทางอย่างที่อยากจะให้เป็น เมื่อลูกน้อยอายุ 3 เดือน ทารกจะต้องการเวลานอนประมาณ 15 ชั่วโมงต่อวัน จะแบ่งเวลานอนสั้น ๆ ในช่วงกลางวัน ประมาณ 1 ถึง 1 ชั่วโมงครึ่งในแต่ละครั้ง รวม 5 ชั่วโมง และในตอนกลางคืนจะเริ่มใช้เวลานอนเกือบ 10 ชั่วโมง และอาจจะตื่นมา 2 ถึง 3 ครั้งเพื่อกินนม หรือทารกน้อยบางคนอาจนอนหลับได้ยาวแล้วโดยไม่ตื่นขึ้นมากินนมมื้อดึกอีกเลย เนื่องจากระบบต่าง ๆ ในร่างกายของลูกเริ่มพัฒนาและเจริญเติบโตเต็มที่ กระเพาะของทารกเรียนรู้ที่จะย่อยน้ำนมได้ดีขึ้น ซึ่งทำให้ลูกน้อยกินได้มากขึ้นและทำให้นอนหลับได้นานขึ้น แต่กับทารกบางคนก็อาจจะยังไม่ยอมนอนหลับตลอดคืนและยังคงตื่นขึ้นมาบ้าง เรื่องทั้งหมดนี้ยังคงเป็นเรื่องปกติธรรมดาสำหรับทารกที่พ่อแม่มือใหม่ไม่ต้องกังวลไป
บทความที่เกี่ยวข้อง : แจกตารางการนอน ของทารก ทารกควรนอนนานเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอ
ที่สุดแล้วการนอนหลับได้ยาวในตอนกลางคืนจะเริ่มเป็นเรื่องปกติมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อลูกอายุใกล้ครบ 3 เดือนเต็ม ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ก็สามารถสอนให้ลูกเรียนรู้ถึงกิจวัตรการนอนและทำซ้ำ ๆ กันก่อนพาลูกเข้านอนเป็นประจำเพื่อให้ลูกคุ้นชินไปเรื่อย ๆ เพราะการนอนหลับอย่างเพียงพอเป็นกิจกรรมสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในการช่วยให้ทารกมีพัฒนาการทั้งด้านสมอง สุขภาพร่างกายดี การรับรู้และอารมณ์ที่ดีของลูกน้อยนะคะ.
credit content : www.momjunction.com
บทความอื่นที่น่าสนใจ :
อยากให้เจ้าตัวเล็กได้สารอาหารดี ๆ ทำอย่างไร (วัย 1-3 ขวบ)
การขับถ่ายของทารกแรกเกิด – 1 ปีต้องมีฉี่มีอึกี่ครั้งถึงเรียกว่า “ปกติ”
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!