ทารกควรนอนเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอในแต่ละวัน ตารางการนอน ของทารกนั้นเป็นอย่างไร คุณพ่อคุณแม่ควรให้ทารกพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อการพัฒนาของทารก เรามาดู ตารางนอน กันดีกว่าค่ะ
ทารกควรนอนวันละกี่ชั่วโมง
โดยทั่วไปเด็กแรกเกิดจะนอนไม่เป็นเวลา ใช้เวลาในการนอนราว 16-18 ชั่วโมง เด็กจะนอนวันละหลาย ๆ รอบ รอบละ 1-2 ชั่วโมง และเด็กยังไม่สามารถแยกกลางวันกลางคืน จะสังเกตว่าทารกจะนอนกลางวันตื่นกลางคืนเป็นประจำ และจะค่อยปรับตัวนอนได้ยาวนานต่อรอบมากขึ้นเมื่ออายุได้ 4-6 เดือน
ตารางการนอนของทารก
|
อายุทารก
|
จำนวนการนอน
( /ครั้ง /วัน ) |
การนอนกลางวัน
(/ชั่วโมง) |
การนอนกลางคืน
(/ชั่วโมง ) |
ชั่วโมงที่ควรนอน
(/วัน) |
แรกเกิด |
นอนไม่เป็นเวลา |
8-9 |
8-9 |
16-18 |
1 เดือน |
3-4 |
7-8 |
8-9 |
15-16 |
3 เดือน |
3 |
5-6 |
9-10 |
15 |
6 เดือน |
2-3 |
3-4 |
10-11 |
14-15 |
9 เดือน |
2 |
3 |
11 |
14
|
ปัญหาเด็กไม่ยอมนอน
เด็กอาจไม่สบายตัว เปียกชื้น ปวดท้อง คันจากผื่นแพ้ เป็นหวัด หายใจไม่ออก ก็อาจทำให้เด็กนอนไม่สบาย นอนหลับยาก
เช่น เสียงรบกวน แสงสว่าง หรือยังห่วงเล่นหรืออยากทำกิจกรรมกับพ่อแม่อยู่ การจัดสิ่งแวดล้อมการนอนที่ดี โดยจัดห้องนอนแยกกับส่วนที่ใช้เล่น และมีแสงสว่างและอุณหภูมิที่เหมาะสม ร่วมกับการสร้างสุขนิสัยการนอนที่ดี มีกิจวัตรประจำวันเบา ๆ ก่อนนอนทุกวัน เช่น อาบน้ำ แปรงฟัน อ่านนิทาน เพื่อเตรียมตัวและเตรียมใจเด็กในการเข้านอนจะช่วยลดปัญหานี้ได้มาก
- ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนเลี้ยงกับเด็ก
ที่พบบ่อยได้แก่คนดูแลจะสร้างความเคยชินในการกล่อมเด็กให้หลับ โดยการอุ้มเดินบ้าง หรือดูดนมหลับบ้าง ดังนั้น เด็กคุ้นเคยว่าการหลับต้องมีปัจจัยดังกล่าวทุกครั้ง ไม่เรียนรู้ที่จะกล่อมตัวเองได้ ทุกครั้งที่เด็กจะเข้านอน รวมถึงหลังจากตื่นกลางดึกแล้วจะกลับไปนอนต่อ ก็ต้องการการกล่อมจากคนดูแลเหมือนเดิมทุกครั้ง หรือในเด็กวัยเตาะแตะบางคนอาจจะห่วงเล่น หรือรู้สึกเหมือนการนอนหลับเป็นการพลัดพรากจากสิ่งที่รัก เช่น พ่อแม่ ของเล่น ทำให้มีการต่อรอง ไม่ยอมเข้านอนโดยง่าย
การนอนของทารก จะฝึกลูกให้นอนเป็นเวลาได้อย่างไร
- สร้างกิจวัตรก่อนนอนให้เป็นเวลาพิเศษที่จะพูดคุยกับลูก เพื่อให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายและปลอดภัย
- ให้ลูกเข้านอนและตื่นนอนตรงเวลา
- บรรยากาศห้องนอน สำหรับเด็กเล็กสามารถใช้เสียงที่เป็นจังหวะสม่ำเสมอไม่ดัง ไม่กระตุ้น เป็นเสียงที่ช่วยกล่อมให้เด็กนอน
- สร้างกิจวัตรในระหว่างวันให้มีตารางเวลาสม่ำเสมอ
- ควรปิดไฟ หรือ หรี่แสงไฟในห้องนอน เมื่อถึงเวลานอนและควรให้เด็กได้เจอแสงแดดธรรมชาติในเวลากลางวัน
ท่านอนที่ถูกต้อง
เป็นท่านอนที่เหมาะสุดสำหรับลูกน้อยวัยแรกคลอดเลย ทั้งยังมีข้อดีคือ ทารกสามารถหมุนตัวสลับซ้ายขวาได้ โดยไม่ทำให้ร่างกายซีกใดซีกหนึ่งรับน้ำหนักมากเกินไป แต่ก็มีทารกหลายคนไม่ค่อยชอบท่านี้ ที่สำคัญ การให้ทารกนอนหงายตลอดเวลาอาจมีผลเสียได้ คือ ทำให้ศีรษะด้านหลังของเค้าเรียบแบบ ดังนั้นคุณแม่ก็ควรสังเกตถ้าเห็นเขานอนหงายบ่อยๆก็ควรจับพลิกท่าเสียบ้างจะช่วยได้
ท่าตะแคงเป็นท่าที่ให้ทารกนอนได้ เพียงแต่ในทารกที่อายุต่ำกว่า 4 เดือน เค้าอาจพลิกตัวมานอนคว่ำได้ ซึ่งถือเป็นท่าที่อันตรายสำหรับทารก แต่การนอนตะแคงข้างก็มีข้อดี คือ ช่วยส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการของทารกบริเวณส่วนเท้าและสะโพก ทั้งนี้ใบหน้ากับช่วงอกของเขาก็ไม่ถูกแรงกดการนอน
นอนคว่ำเสี่ยงเสียชีวิตจริงหรือไม่
ในเด็กแรกเกิด ไม่แนะนำให้นอนคว่ำ เพราะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเสียชีวิตเฉียบพลันไม่ทราบสาเหตุในทารก (Sudden Infant Death Syndrome : SIDS) แนะนำให้นอนหงายหรือนอนตะแคงดีกว่า และเบาะที่นอนควรมีความแข็งพอสมควร ไม่จำเป็นต้องใช้หมอน บางครอบครัวอาจกังวลว่าศีรษะจะไม่สวย ก็แนะนำว่าให้นอนตะแคงสลับข้างซ้ายบ้างขวาบ้าง
การจัดห้องนอนให้ทารก
- อันดับแรก ท่านอน เด็กทารกในขวบปีแรก เมื่อถึงเวลานอน ห้ามจัดท่าให้นอนคว่ำโดยเด็ดขาด ควรให้เจ้าตัวน้อยนอนหงายเท่านั้น ตาม concept “Back to sleep” ที่แนะนำกันมานาน
- อันดับที่สอง ที่นอน ต้องเป็นฟูกที่แข็งหน่อย ไม่อ่อนยวบยาบ ผ้าปูฟูกต้องเรียบตึงไม่หลุดง่าย จะได้ไม่มาคลุมหน้าน้องจนปิดจมูก และไม่ควรมีของเล่นหรือหมอนหรือสิ่งอื่นๆอยู่บนฟูก และที่ห้ามเด็ดขาดคือ ให้เด็กนอนหลับบนเก้าอี้หรือโซฟามีพนักพิงที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม เพราะเด็กอาจเข้าไปติดอยู่ในช่องระหว่างพนักพิงกับที่นั่งได้
- อันดับสาม ที่นอนเด็กควรจะแยกต่างหากจากเตียงของผู้ใหญ่แต่ควรจะอยู่ในห้องเดียวกัน อย่างน้อยจนถึงอายุ 6 เดือนถึง 1ปี แล้วค่อยพิจารณาแยกห้องนอน
- อันดับที่สี่ แม้ว่าจะเหนื่อยแค่ไหน ก็อย่าปล่อยให้เด็กนอนหลับไปกับผู้ใหญ่ โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กที่เหนื่อยล้า เนื่องจากมีอุบัติเหตุจากการที่ผู้ใหญ่หลับลึกและนอนทับเด็กเสียชีวิตอยู่บ่อยๆ
การละเมอ
การนอนละเมอ เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก โดยเฉพาะถ้าพ่อหรือแม่เคยมีอาการแบบเดียวกันตอนเด็ก ๆ บางคนอาจเป็นแค่ลุกมานั่ง ดูงง ๆ บางคนมีกรีดร้องร่วมด้วย หรือกระทั่งลุกเดิน การนอนละเมอเองไม่มีความอันตรายกับสุขภาพการนอนของตัวเด็กเอง แต่อาจทำให้พ่อแม่กังวลใจได้ การสร้างสุขนิสัยการนอนที่ดีร่วมกับนอนหลับให้เพียงพอจะช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้ อาการเหล่านี้มักจะค่อย ๆ หายไปเมื่อเด็กโตขึ้น อย่างไรก็ตาม ถ้าอาการเกิดขึ้นบ่อยหรือมีพฤติกรรมรุนแรง หรือเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย เช่น เดินออกจากห้องนอน แนะนำให้ไปพบแพทย์
แยกห้องนอนกับลูกเมื่อไหร่
หลังจากพ้นวัยทารกในขวบปีแรกมาแล้ว คุณพ่อคุณแม่คงเริ่มมีคำถามว่า แล้วเราควรจะเริ่มหัดแยกห้องนอนให้เจ้าตัวน้อยเมื่อไหร่ดี เวลาที่เหมาะสมในการแยกห้องนอนของเจ้าตัวน้อยนั้นยังไม่มีคำแนะนำที่ชัดเจน เนื่องจากขึ้นกับวัฒนธรรม การใช้ชีวิตที่ต่างกันในแต่ละเชื้อชาติและสังคมด้วย แต่จากคำแนะนำ ของ American Academy of Pediatrics นั้น แนะนำให้อย่างน้อย ต้องรอถึงหลังขวบปีแรก เพื่อความปลอดภัยของเด็ก แต่ก็ไม่ใช่ว่า เด็กอายุ 1 ขวบทุกคน ควรต้องแยกห้องนอนแล้ว เพราะเวลาที่เหมาะสมนั้น ขึ้นกับความพร้อมของพ่อแม่ ความพร้อมของเจ้าตัวน้อย และความสะดวกของแต่ละบ้านด้วย ว่ามีพื้นที่เพียงพอสำหรับห้องส่วนตัวของเด็กหรือไม่
ถ้าเป็นไปได้ การแยกห้องนอนให้ได้ก่อนเด็กจะเข้าสู่วัยเรียนก็น่าจะดีกว่า เนื่องจากข้อเสียของการนอนรวมกับพ่อแม่ในห้องเดียวกันและโดยเฉพาะบนเตียงเดียวกันนั้น คือทั้งเด็กและผู้ใหญ่อาจจะหลับได้ไม่สนิท ส่งผลให้พักผ่อนไม่เพียงพอ มีผลต่อประสิทธิภาพและสมาธิในการเรียนของเด็ก ประสิทธิภาพการทำงานและสุขภาพจิตของพ่อแม่ และยังขาดความเป็นส่วนตัวของคู่ชีวิตของพ่อแม่ด้วย
เทคนิคการแยกห้องนอน เมื่อลูกโตขึ้น
- เตรียมตัวให้เด็กได้รู้สึกสนุกตื่นเต้นกับห้องของตัวเอง พูดถึงข้อดี เช่น จะได้เตียงของตัวเอง ผ้าปูเตียงลายที่ชอบ เป็นต้น แต่ไม่ควรมี โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กโทรนิคส์ที่มีจอในห้องโดยเด็ดขาด เพราะทำให้คุณภาพการนอนไม่ดี
- ในช่วงแรก คุณพ่อคุณแม่อาจจะเข้าไปอยู่ด้วย อ่านนิทานหรือเล่านิทานที่มีเนื้อหาผ่อนคลาย และรอจนกว่าเด็กจะหลับ และเมื่อเด็กเริ่มชินก็ค่อยๆห่างออกมาเรื่อยๆจนเด็กสามารถหลับได้เองโดยไม่ต้องมีผู้ใหญ่อยู่ด้วย
- ถ้าเด็กหลับได้ยาก หรือมีความกังวลที่ต้องแยกนอนกับผู้ใหญ่ การมีตุ๊กตาตัวโปรด หมอน หรือผ้าห่มชิ้นโปรดไว้นอนกอดก็จะช่วยลดความกังวลได้
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :
10 นิทานอีสป สุดคลาสสิก Directory
ลูกนอนละเมอ ร้องไห้ ฝันร้าย เดินละเมอ อันตรายไหม ดูแลและป้องกันอย่างไร
100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 1 เพลงกล่อมลูก
ที่มา : (Samitivejhospitals),(Med.mahidol)
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!