โรคหน้าฝน โรคที่มากับฤดูฝน
โรคหน้าฝน โรคที่มากับฤดูฝน พ่อแม่ต้องระวังลูกป่วย โรคหน้าฝนในเด็ก อันตรายที่อย่ามองข้าม
โรคหน้าฝนในเด็ก
กลุ่มเด็กเล็กและกลุ่มผู้สูงอายุ คือกลุ่มเสี่ยงต่อโรคหน้าฝน เพราะเมื่อฤดูกาลเปลี่ยนแปลง นอกจากท้องฟ้าที่เปลี่ยนไปแล้ว เจ้าฝนก็นำพาโรคร้ายมาพร้อม ๆ กันด้วย โดยกรมควบคุมโรคได้เตือน เรื่องการป้องกันโรคภัยสุขภาพที่เกิดในช่วงฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ. 2562
กลุ่มเสี่ยง คือ กลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง
5 กลุ่มโรคหน้าฝน โรคที่มากับฤดูฝน
กลุ่มที่ 1 กลุ่มโรคติดต่อทางระบบหายใจ ได้แก่
การติดต่อของโรคที่มากับฤดูฝน กลุ่มที่ 1 ติดต่อทางการสัมผัสน้ำมูก น้ำลายหรือไอจามรดกัน
วิธีป้องกันกลุ่มโรคติดต่อทางระบบหายใจ
- ป้องกันได้ด้วยการรักษาสุขภาพ คนเป็นพ่อเป็นแม่ต้องดูแลลูกอย่างใกล้ชิด
- ทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือน ควรกินนมแม่ สำหรับลูกที่อายุมากกว่า 6 เดือน ควรได้รับสารอาหารที่หลากหลาย
- พักผ่อนให้เพียงพอ พาลูกนอนหลับ เข้านอนเป็นเวลา
- ทำร่างกายให้อบอุ่น ไม่ควรให้ลูกอยู่สถานที่ร้อนหรือเย็นเกินไป
- หมั่นล้างมือ พ่อแม่ต้องหมั่นล้างมือก่อนจับหรืออุ้มลูก และคอยเช็ดทำความสะอาดมือลูกอยู่เสมอ
- ผู้ใหญ่ไม่ควรใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
- เด็กเล็กไม่ควรไปในสถานที่คนพลุกพล่านบ่อย ๆ
กลุ่มที่ 2 โรคที่มียุงเป็นพาหะ ได้แก่
- โรคไข้เลือดออก
- โรคไข้สมองอักเสบ
- โรคมาลาเรีย
- โรคไข้ปวดข้อยุงลาย
- โรคติดเชื้อไวรัสซิกา
วิธีป้องกันกลุ่มโรคที่มียุงเป็นพาหะ
- ป้องกันได้ด้วยการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด
- สำหรับทารกหรือเด็กเล็ก ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้ครบ
กลุ่มที่ 3 โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ ได้แก่
- โรคอหิวาตกโรค เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนในอาหาร น้ำดื่ม หรือจากแมลงวันที่เป็นพาหะนำโรค
- โรคไวรัสตับอักเสบเอ ติดต่อจากการสัมผัสสิ่งคัดหลั่ง น้ำลาย เลือดจากผู้ป่วย
วิธีป้องกันกลุ่มโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ
- สำหรับเด็กเล็ก ควรให้ลูกรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ ไม่มีแมลงวันตอม
- อาหารค้างมื้อควรอุ่นให้ร้อนจัดก่อนรับประทาน แต่เด็กควรทานอาหารที่ปรุงสุก สดใหม่ จะได้ประโยชน์กับลูกมากกว่า และทำให้ร่างกายของลูกแข็งแรง มีภูมิต้านทาน
- หลีกเลี่ยงอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ และดื่มน้ำสะอาด
- ฉีดวัคซีนป้องกันโรค
โรคหน้าฝน โรคที่มากับฤดูฝนที่ต้องระวังในหน้าฝน
กลุ่มที่ 4 โรคติดต่ออื่น ๆ ได้แก่
- โรคมือ เท้า ปาก พบบ่อยในเด็ก ระบาดทุกปีช่วงฤดูฝนหรือเปิดเทอม ติดต่อจากการสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระของผู้ป่วย
- โรคเลปโตสไปโรซิส หรือโรคฉี่หนู เชื้อแบคทีเรียจะเข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผล รอยถลอก เยื่อบุตา จมูก ปาก หรือไชเข้าผิวหนังที่แช่น้ำนานจนอ่อนนุ่ม
หากลูกมีอาการผิดปกติ เจ็บป่วย ไม่สบาย ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะโรคบางอย่างต้องตรวจละเอียดถึงจะเจอ และถ้าลูกในวัยเรียนเริ่มไม่สบาย ควรให้หยุดอยู่บ้าน จะได้ไม่ไปแพร่เชื้อให้เพื่อนที่โรงเรียน
กลุ่มที่ 5 ภัยสุขภาพในฤดูฝน ได้แก่
- เห็ดพิษ ไม่ควรรับประทานเห็ดที่ไม่รู้จัก
- อันตรายจากสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง ป้องกันโดยจัดบ้านให้สะอาด ระมัดระวังเมื่อต้องเข้าไปในที่รก ควรตรวจพื้นที่ที่ลูกนอน จัดให้ทุกอย่างเป็นระเบียบ สัตว์ร้ายจะได้ไม่สามารถซ่อนตัวได้ โดยเฉพาะหมอนและผ้าห่ม ที่ต้องคอยตรวจเช็คบ่อย ๆ
นอกจากนี้ ผู้ใหญ่ต้องระวังภัยจากฟ้าผ่าเมื่อฝนตกฟ้าคะนอง ให้หลบในที่ปลอดภัย เช่น อาคารขนาดใหญ่ ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือกลางแจ้งเพราะจะเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าเข้ามาในโทรศัพท์มือถือได้ และขอให้ขับรถด้วยความระมัดระวัง เพราะฝนตกถนนลื่นทำให้ระยะการหยุดรถยาวกว่าปกติ การมองเห็นลดลง
โรคหน้าฝนในเด็กหรือโรคที่มากับฤดูฝนนั้นอันตราย พ่อแม่ควรดูแลเรื่องอาหาร ให้ลูกทานสิ่งที่มีประโยชน์ร่างกายจะได้แข็งแรง เน้นผักผลไม้ที่มีวิตามินและเกลือแร่ ส่วนทารกก็ควรให้กินนมแม่ นอกจากนี้ อย่าลืมที่จะพาลูกไปฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันโรคร้าย
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
วิธีดูเห็ดพิษ เห็ดกินได้ เห็ดพิษ ต่างกันตรงไหน เเละวิธีแก้พิษเบื้องต้น
โรคmds Myelodysplastic syndrome ลูกเป็นโรคร้าย เลือดออก จุดจ้ำเลือดทั่วตัว
ระวัง! โรคไข้เลือดออกระบาด อธิบดีกรมควบคุมโรคประกาศเตือน
ลูกเสียชีวิตจากการโดนอุ้มและหอม ทารกแรกเกิดเสียชีวิต เพราะผู้ใหญ่อุ้ม หอม จูบ เชื้อโรคจากผู้ใหญ่อันตราย!
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!