X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรคmds Myelodysplastic syndrome ลูกเป็นโรคร้าย เลือดออก จุดจ้ำเลือดทั่วตัว

บทความ 5 นาที
โรคmds Myelodysplastic syndrome ลูกเป็นโรคร้าย เลือดออก จุดจ้ำเลือดทั่วตัว

โรค MDS (Myelodysplastic syndrome) คืออะไร ลูกเป็น Myelodysplastic syndrome อันตรายแค่ไหน

mdsคือโรค อะไร โรคmds Myelodysplastic syndrome แม่แชร์ลูกเป็นโรคmds ร้องไห้ทุกวัน สงสารลูกเลือดออก จุดจ้ำเลือดทั่วตัว โรคประหลาด 1 ในล้าน

 

ลูกเป็นโรคmds Myelodysplastic syndrome

คุณแม่ท่านหนึ่ง ได้ส่งข้อความมาหาทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ แชร์เรื่องราว ลูกเป็นโรคmds Myelodysplastic syndrome เพื่อเป็นข้อมูล ให้แม่ ๆ ท่านอื่นได้รู้จักโรคนี้

 

#Myelodysplastic syndrome (MDS)

mds คือ โรคประหลาด 1 ในล้าน แจ๊คพอตแตกมาลงที่แม่เลี้ยงเดี่ยว ทางรักษาคือปลูกถ่ายไขกระดูกจากพี่น้อง แต่ไม่มีพี่น้องต้องใช้เงินกว่า 2 ล้านบาท

แม่ร้องไห้ทุก ๆ วัน สงสารลูกน้อย ล่าสุดรักษาตามอาการเติมเลือด เกร็ดเลือด ทุกสัปดาห์ เกร็ดเลือดต่ำมากจนจุดจ้ำเลือดกระจายไปทั่วตัว และเลือดออกไหลไม่หยุด

ของแถมจากการติดเชื้อบ่อย ๆ คือโรคหัวโต เป็นโรค Hydrocephalus หรือภาวะโพรงสมองมีน้ำคั่ง ผ่าตัดก็ไม่ได้ เกร็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดขาวก็ต่ำ

 

โรคmds Myelodysplastic syndrome ลูกเป็นโรคร้าย เลือดออก จุดจ้ำเลือดทั่วตัว Myelodysplastic syndrome คืออะไร การวินิจฉัยโรค MDS วิธีรักษาโรคmds

mdsคือโรค อะไร ลูกเป็นโรคmds Myelodysplastic syndrome

ทางทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ ขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่และครอบครัวด้วยนะคะ เรามารู้จักโรคmds Myelodysplastic syndrome เพิ่มเติมจากรศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ด้านล่างกันค่ะ

 

Advertisement

โรค MDS (Myelodysplastic syndrome)

โรค MDS เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ต้นกำเนิดไขกระดูก จึงทำให้มีความผิดปกติของการสร้างเม็ดเลือดต่าง ๆ และเกล็ดเลือดตามมา ผู้ป่วยจะมีเม็ดเลือดแดงเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดในปริมาณน้อยกว่าปกติ อีกทั้งยังทำหน้าที่ผิดปกติ จนนำมาซึ่งอาการต่างๆ และอีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญคือโรคนี้อาจเปลี่ยนแปลงเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิวคีเมีย ชนิด AML ( acute myeloid leukemia) ได้อีกด้วย

โดยปกติโรคนี้พบได้น้อยมากในเด็ก เพียงแค่ประมาณ 1 คนต่อประชากรเด็ก 1,000,000 คน เท่านั้น

 

โรค MDS มีสาเหตุจากอะไร?

สาเหตุและกลไกการเกิดโรคนี้ในเด็กยังไม่ทราบแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเกิดจากการที่เซลล์ในไขกระดูกผิดปกติเนื่องจากยีนที่ผิดปกติของผู้ป่วย โดยมีปัจจัยเสี่ยงของโรคจากความผิดปกติทางพันธุกรรมบางชนิดเช่น ความผิดปกติของโครโมโซม monosomy 7, trisomy 8, trisomy 21 การได้รับสารก่อมะเร็ง หรือรังสีเอกซเรย์ขณะที่เด็กอยู่ในครรภ์มารดา หรือการติดเชื้อโรคบางชนิด เป็นต้น

นอกจากนี้โรค MDS อาจเกิดในภายหลังจากที่เด็กป่วยเป็นโรคเรื้อรังบางอย่างแล้วได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด หรือ รังสีรักษา

 

อาการของโรค MDS เป็นอย่างไร?

ผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการคล้ายกับโรคลิวคีเมียคือ มีภาวะซีดและอ่อนเพลียจากความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง มีไข้เรื้อรังและติดเชื้ออย่างรุนแรงเนื่องจากเม็ดเลือดขาวต่ำ มีเลือดออกผิดปกติ มีจุดเลือดออกหรือจ้ำเลือดตามตัว จากการที่มีเกล็ดเลือดต่ำ และอาจมีตับม้ามโตและต่อมน้ำเหลืองโตได้

ทั้งนี้ โรค MDS แบ่งได้เป็นหลายชนิดย่อย ๆ โดยแต่ละชนิดจะมีความรุนแรง และลักษณะอาการที่แตกต่างกัน

 

การวินิจฉัยโรค MDS ทำได้อย่างไร?

คุณหมอจะวินิจฉัยโรคนี้ โดยอาศัยประวัติอาการและการตรวจร่างกายของผู้ป่วยที่เข้าได้กับโรคดังกล่าวข้างต้น และจะทำการส่งเลือดตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมเพื่อดูลักษณะเม็ดเลือดชนิดต่างๆและเกล็ดเลือด เจาะไขกระดูกและตัดชิ้นเนื้อไขกระดูกมาตรวจทางเซลล์วิทยาและพยาธิวิทยา และอาจในบางกรณีอาจพิจารณาส่งตรวจพิเศษอื่นๆเพิ่มเติม เช่น hemoglobin electrophoresis หรือเจาะเลือดดูความผิดปกติของโครโมโซม หากสงสัยว่าผู้ป่วยมีลักษณะความผิดปกติทางพันธุกรรม

 

คุณหมอจะทำการรักษาโรค MDS อย่างไร?

การรักษาโรคนี้มีทั้ง การรักษาแบบประคับประคอง และการรักษาแบบจำเพาะเจาะจงโดยคุณหมอเฉพาะทางด้านโรคเลือดและมะเร็งวิทยาในเด็ก ดังนี้ค่ะ

1. การรักษาแบบประคับประคอง เป็นการช่วยเหลือผู้ป่วยตามอาการที่เกิดขึ้นได้แก่

  • ให้เลือดเมื่อผู้ป่วยมีภาวะซีด
  • ให้เกล็ดเลือดเมื่อผู้ป่วยมีเกล็ดเลือดต่ำและมีภาวะเลือดออกผิดปกติ
  • ให้ยาปฏิชีวนะเมื่อผู้ป่วยมีการติดเชื้อแทรกซ้อน

2. การรักษาแบบจำเพาะเจาะจง ทำได้โดย

  • การปลูกถ่ายไขกระดูก
  • การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด
  • การรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน

ทั้งนี้การรักษาด้วยยามีอยู่หลายชนิดด้วยกัน ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคุณหมอเฉพาะทางด้านโรคเลือดและมะเร็งวิทยาซึ่งเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยเป็นหลัก

 

การพยากรณ์โรคของโรค MSD เป็นอย่างไร?

ผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคนี้มักจะมีการพยากรณ์โรคที่ร้ายแรงกว่าผู้ใหญ่เนื่องจากมักจะเป็นชนิดที่รุนแรงกว่า สาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยมักเกิดจากการติดเชื้อแทรกซ้อน

อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรค รวมถึงการตอบสนองต่อการรักษาในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งมีความแตกต่างกันและยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนในผู้ป่วยเด็กเนื่องจากจำนวนผู้ป่วยน้อยมาก

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันการรักษาด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูก ทำให้การพยากรณ์โรคmds Myelodysplastic syndrome ของผู้ป่วยดีขึ้นเป็นอย่างมากค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

โรคเส้นเลือดในสมองแตกในเด็ก อันตรายถึงชีวิต วิธีสังเกตอาการลูกเส้นเลือดในสมองแตก

วิธีวัดการเจริญเติบโตของทารก ชั่งน้ำหนักทารก วัดความยาวทารก วัดเส้นรอบศีรษะลูก ลูกโตตามเกณฑ์ไหม

เกมฝึกสมองสำหรับเด็ก วัยอนุบาล เกมกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยมีเกมอะไรบ้าง

ของใช้แม่ให้นม สำหรับแม่มือใหม่ ของที่ต้องเตรียมไว้สำหรับแม่และลูกน้อยมีอะไรบ้าง

 

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • โรคmds Myelodysplastic syndrome ลูกเป็นโรคร้าย เลือดออก จุดจ้ำเลือดทั่วตัว
แชร์ :
  • เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

    เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

    เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว