X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

กลัวลูกเตี้ย แม่ต้องทำไง แต่ละปีลูกควรสูงขึ้นกี่เซน นอนดึกมีผลต่อความสูงจริงไหม

บทความ 3 นาที
กลัวลูกเตี้ย แม่ต้องทำไง แต่ละปีลูกควรสูงขึ้นกี่เซน นอนดึกมีผลต่อความสูงจริงไหมกลัวลูกเตี้ย แม่ต้องทำไง แต่ละปีลูกควรสูงขึ้นกี่เซน นอนดึกมีผลต่อความสูงจริงไหม

แต่ละปีลูกควรสูงขึ้นกี่เซน แล้วตอนนี้ลูกเตี้ยเกินไปหรือเปล่า พัฒนาการด้านร่างกายของลูก เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การเคลื่อนไหว การทรงตัว การกระโดด รวมไปถึง น้ำหนัก ส่วนสูง ของลูกด้วยเช่นกันเรามาไขข้อข้องใจเรื่องความสูงของลูกในบทความนี้กันเลย

 

แต่ละปีลูกควรสูงขึ้นกี่เซน

 

แต่ละปีลูกควรสูงขึ้นกี่เซน ลูกเตี้ยกว่าปกติหรือเปล่า

ถ้าไม่อยากให้ลูกเตี้ย แม่ต้องสังเกตให้ดีว่า แต่ละปีลูกเราสูงขึ้นกี่เซนแล้ว ลูกเราเตี้ยกว่าเกณฑ์มาตรฐานหรือเปล่า โดย แพทย์หญิงนวลผ่อง เหรียญมณี กุมารแพทย์เฉพาะทางด้านโรคต่อมไร้ท่อ เบาหวานและการเจริญเติบโตสุขภาพเด็ก โรงพยาบาลพญาไท 2 อธิบายไว้ว่า ปัญหาพื้นฐานที่ทำให้ลูกเตี้ยมีอยู่ 2 ข้อ

  1. ร้อยละ 60 ที่เด็กเตี้ยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน มาจากพันธุกรรม คือ ความสูงของพ่อแม่มีผลต่อความสูงของลูก พูดง่าย ๆ ก็คือ ถ้าพ่อแม่ไม่สูง ลูกก็จะไม่สูงตามไปด้วย
  2. การผิดปกติของฮอร์โมนในร่างกาย ‘ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน’ หรือ ‘ภาวะขาดฮอร์โมนเจริญเติบโต’ คือสองตัวแปรสำคัญที่ทำให้เด็กไม่โตสมวัยได้

 

 

กลัวลูกเตี้ย แม่ต้องทำไง แต่ละปีลูกควรสูงขึ้นกี่เซน นอนดึกมีผลต่อความสูงจริงไหม

คุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นต้องสังเกต การเพิ่มความสูงของลูกในแต่ละปี ดังนี้

  • แรกเกิดจนถึง 1 ปีจะเพิ่มขึ้น 25 เซนติเมตร
  • อายุ 1 ขวบจนถึง 2 ขวบ จะเพิ่มขึ้น 10-12 เซนติเมตร
  • อายุ 2 ถึง 4 ปีจะเพิ่มขึ้นที่ 6-8 เซนติเมตร
  • อายุ 4 ถึง 10 ปีจะเพิ่มขึ้นที่ 5 เซนติเมตร

เมื่ออยู่ในช่วงโตเต็มที่ ผู้ชายจะมีความสูงมากกว่าผู้หญิง โดยค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 160-180 เซนติเมตร ส่วนผู้หญิงจะอยู่ที่ประมาณ 150-170 เซนติเมตร นอกจากนี้ ความสูงของลูกยังมีฮอร์โมนตัวสำคัญ เรียกว่า Growth Hormone ฮอร์โมนเจริญเติบโต ที่ถูกผลิตขึ้นจากต่อมใต้สมอง มีหน้าที่ให้เด็กมีการเจริญเติบโตปกติตามวัย ถ้าเกิดความผิดปกติที่ต่อมใต้สมอง ก็จะทำให้กระทบต่อการผลิต Growth Hormone และนำมาซึ่งการเติบโตที่ช้าและตัวเตี้ย

 

วิธีตรวจดูว่าลูกจะสูงหรือเตี้ย ในทางการแพทย์ ทำอย่างไร

  • ตรวจดูอายุกระดูก และ/หรือ เจาะเลือดเบื้องต้นดูว่าขาดสารอาหารหรือไม่
  • เจาะเลือดวัดระดับฮอร์โมนไทรอยด์และฮอร์โมนการเจริญเติบโต

โดยแพทย์หญิงนวลผ่อง เล่าเพิ่มเติมว่า วิธีรักษา ทำได้โดยการฉีดฮอร์โมนเติบโตเข้าสู่ร่างกาย โดยฉีดฮอร์โมนเข้าไปใต้ผิวหนัง การฉีดฮอร์โมนในคนไข้ที่มีระดับภาวะฮอร์โมนเจริญเติบโตที่ต่ำมาก ๆ จะได้ผลดี ทำให้เด็กมีความสูงเพิ่มขึ้น

กลัวลูกเตี้ย แม่ต้องทำไง แต่ละปีลูกควรสูงขึ้นกี่เซน นอนดึกมีผลต่อความสูงจริงไหม

เคล็ดลับ ปรับนิสัย “กิน เล่น พัก” ช่วยให้ลูกเติบโตสมวัย

พ่อแม่ต้องดูแลสุขภาพร่างกายให้ลูกรัก หมั่นเติมอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วงส่งเสริมการผลิตฮอร์โมนเจริญเติบโตได้ ลองทำตามวิธีเหล่านี้ดูค่ะ

  • กินเป็นกิน พ่อแม่ต้องส่งเสริมอาหารที่ดีให้ลูก อาหารที่จะส่งเสริมการเจริญเติบโต และกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนที่ดีคือ เนื้อสัตว์ และนมจืด เป็นต้น
  • เล่นเป็นเล่น พ่อแม่ต้องกระตุ้นให้ลูกใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ออกกำลังกายให้เหงื่อไหล ไม่ว่าจะเป็น จักรยาน วิ่ง ว่ายน้ำ หรือ แบดมินตัน
  • นอนเป็นนอน งานวิจัยจากต่างประเทศ Washington University School of Medicine เผยว่า ระยะเวลาของการนอนหลับมีผลต่อการหลั่งฮอร์โมนเจริญเติบโต ฉะนั้น เด็กในวัยเจริญเติบโต ไม่ควรนอนดึกจนเกินไป

หากพบว่า ความสูงลูกต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ลองปรึกษาตรวจเช็คเรื่องพัฒนาการกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะได้แก้ปัญหาอย่างตรงจุด!

 

ดูแลลูกรักให้มีพัฒนาการดี เติบโตสมวัย สูงสมส่วน มีน้ำหนักตามเกณฑ์ 

รับฟรี พีเดียชัวร์ ขนาดทดลอง คลิกที่นี่

กลัวลูกเตี้ย แม่ต้องทำไง แต่ละปีลูกควรสูงขึ้นกี่เซน นอนดึกมีผลต่อความสูงจริงไหม

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท 2

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ชวนแม่มือใหม่มาเรียนรู้ ร่างกายทารก ลูกของคุณแม่เป็นแบบนี้หรือเปล่านะ

ทารกตัวยาวโตขึ้นจะสูงไหม? พร้อมวิธีคำนวณความสูงลูก

กระโดดเชือก ดีอย่างไร ช่วยเพิ่มความสูงลูกจริงหรือไม่ ?

บทความจากพันธมิตร
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • กลัวลูกเตี้ย แม่ต้องทำไง แต่ละปีลูกควรสูงขึ้นกี่เซน นอนดึกมีผลต่อความสูงจริงไหม
แชร์ :
  • วิธีเพิ่มความสูงให้ลูก ด้วยการออกกำลัง โดยไม่ต้องผ่าตัด

    วิธีเพิ่มความสูงให้ลูก ด้วยการออกกำลัง โดยไม่ต้องผ่าตัด

  • โลกเราทุกวันนี้มีเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิงจริงหรือไม่กันนะ

    โลกเราทุกวันนี้มีเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิงจริงหรือไม่กันนะ

  • ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

    ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

app info
get app banner
  • วิธีเพิ่มความสูงให้ลูก ด้วยการออกกำลัง โดยไม่ต้องผ่าตัด

    วิธีเพิ่มความสูงให้ลูก ด้วยการออกกำลัง โดยไม่ต้องผ่าตัด

  • โลกเราทุกวันนี้มีเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิงจริงหรือไม่กันนะ

    โลกเราทุกวันนี้มีเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิงจริงหรือไม่กันนะ

  • ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

    ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ