โรคหัด ไข้ออกหัด ไข้ออกผื่น ผู้ใหญ่ ต่างจากเด็กหรือไม่ ? โดยปกติแล้วเด็กแรกเกิดทุกคนจะได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันตั้งแต่เด็กอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นโรคที่มีโอกาสเป็นได้เยอะและติดต่อกันง่ายมาก ซึ่งคำว่าออกหัดที่เคยได้ยินกัน หมายถึงหลังจากที่เด็กๆ เริ่มมีไข้ ก็จะมีผื่นขึ้นตามตัว ใบหน้า และหลังหู มักจะมีเลือดออกร่วมด้วยนะคะ
โรคร้าย ที่มากับลมหนาว โรคหัด โรคไข้ออกผื่น พบบ่อย ๆ ในเด็กเล็ก ๆ ถ้าไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัด พบมากในเด็กอายุ 1-6 ปี แต่สำหรับท่านที่มีเด็กเล็ก ก็ต้องระวัง เพราะแม้แต่ทารกวัย 6-9 เดือน ก็เสี่ยงได้เช่นกัน โรคหัด เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ชนิดหนึ่ง มีชื่อว่า Rubeola Virus เป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการไข้ออกผื่นชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเด่นคือ มีอาการไข้ ร่วมกับการติดเชื้อทางเดินหายใจชัดเจน เช่น ไอบ่อย มีน้ำมูกมาก ตาแดง ปากแดง นำมาก่อนที่จะมีผื่นที่ผิวหนัง ซึ่งในระยะแรกนั้น ผื่นจะมีสีแดง ต่อมา เมื่อใกล้หาย ผื่นจะเปลี่ยนสีเข้มขึ้น เป็นสีแดงคล้ำ หรือน้ำตาลแดง
![โรคหัด โรคไข้ออกผื่น ไข้ออกหัด](https://static.cdntap.com/tap-assets-prod/wp-content/uploads/sites/25/2016/12/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%94-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%9C%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A4%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A7-578x386.jpg?width=700&quality=10)
ไข้ออกหัด ไข้หัด การติดต่อได้อย่างไรบ้าง?
โรคหัด สามารถติดต่อกันได้ง่าย เนื่องจากเชื้อไวรัสก่อโรค พบมากในน้ำลาย น้ำมูก และละอองเสมหะของผู้ป่วย เมื่อมีการไอ จาม หายใจรดกัน หรือใช้สิ่งของร่วมกัน เชื้อไวรัสจะ เข้าสู่ร่างกาย ทางการหาย ใจ บางครั้งเชื้ออยู่ในอากาศ เมื่อหายใจเอาละอองที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส เข้าไปก็ทำให้เป็นโรคได้ โรคหัด มักจะพบในช่วงฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน แต่ก็อาจพบได้ประปรายตลอดปี
ออกหัด โรคไข้ออกผื่น พบได้บ่อยในช่วงอายุใด?
โดยทั่วไปแล้ว โรคหัด สามรถที่จะพบบ่อยในเด็กอายุ 1-6 ปี แต่หลังจากที่ประเทศไทย เริ่มให้วัคซีนป้องกันหัด เป็นวัคซีนสำหรับเด็ก ในแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ของกระทรวงสาธารณสุข (EPI) สำหรับเด็กอายุ 9-12 เดือน ทำให้อุบัติการณ์ของโรคลดลงเป็นอย่างมาก ในเด็กอายุน้อยว่า 5 ปี ปัจจุบันผู้ป่วยที่พบส่วนใหญ่ มักจะเป็นเด็กโต หรือผู้ใหญ่ ที่มีอายุเกิน 5 ปีขึ้นไป หรือเด็กที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีน
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกฉันเป็นไข้เลือดออก หรือชิคุนกุนยา?
อาการของโรคหัด ออกหัด เป็นอย่างไร?
ในช่วงแรก ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัด ไอแห้ง มีน้ำมูก ตาแดง น้ำตาไหล และมีไข้สูงตลอดเวลา อ่อนเพลีย ซึมลง หรือกระสับกระส่าย ร้องกวน หลังจากมีไข้ 3 ถึง 4 วัน จึงจะมีผื่นขึ้น ลักษณะเป็นผื่นแดง รวมตัวกันเป็นปื้น โดยเริ่มเห็นผื่นขึ้นที่บริเวณตีนผม และซอกคอก่อนเป็นอันดับแรก แล้วลามไปตามใบหน้า ลำตัว และแขนขา ผู้ป่วยอาจมีอาการคันเล็กน้อย ประมาณ 2 ถึง 3 วัน นับจากวันแรกที่เริ่มขึ้น ผื่นจึงจะจางลง โดยเมื่อผื่นจางลง ก็จะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำในช่วงแรก เมื่อเข้าสู่ระยะใกล้หายจากโรค ผื่นจะเปลี่ยนสีเข้มขึ้น เป็นสีแดงคล้ำ หรือน้ำตาลแดง
![โรคหัด 4](https://static.cdntap.com/tap-assets-prod/wp-content/uploads/sites/25/2016/12/measles3.jpg?width=700&quality=10)
โรคหัดอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหรือไม่?
ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อระบุว่า สำหรับเด็กที่เป็นโรคหัดนั้น ราวหนึ่งคนในทุก 10 คนจะมีอาการติดเชื้อในหู ราวหนึ่งคนในทุก 20 คนจะเป็นโรคปอดบวม ราวหนึ่งคนในทุก 1,000 คนจะเป็นโรคสมองอักเสบและหนึ่งหรือสองคนในทุก 1,000 คนจะเสียชีวิต โรคหัดยังทำให้หญิงตั้งครรภ์แท้งบุตรหรือคลอดก่อนกำหนดได้ด้วย โรคหัดคร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกประมาณ 164,000 คนต่อปีและมีผู้ป่วยด้วยโรคหัดราว 20 ล้านคนทั่วโลก กว่าครึ่งของผู้เสียชีวิตอยู่ในอินเดีย ก่อนที่จะมีการคิดค้นวัคซีนป้องกันโรคหัด เด็กเกือบทุกคนเป็นโรคหัดก่อนอายุครบ 15 ปี ในแต่ละปีที่สหรัฐฯ มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัดราว 450 ถึง 500 คน มีผู้ป่วยต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล 48,000 คน ผู้ป่วย 7,000 คนมีอาการชักและราว 1,000 คน สมองถูกทำลายถาวรหรือหูหนวก
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลมพิษจากการอักเสบของหลอดเลือด แตกต่างจากลมพิษธรรมดาอย่างไร? ลูกเป็นลมพิษ อันตรายหรือไม่
โรคหัดไม่น่ากลัวเท่าโรคแทรกซ้อน
สิ่งที่น่ากลัวจากโรคหัด ไม่ใช่อาการของโรคหรือการรักษาค่ะ แต่มันคือโรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรง เช่น หลอดลมและปอดอักเสบ หูชั่นกลางและเยื่อบุตาอักเสบ ไส้ติ่งอักเสบ และสมองอักเสบค่ะ เด็กจะมีภาวะสมองอักเสบแบบกึ่งเฉียบพลัน (Subacute sclerosing panencephalitis หรือ SSPE) ที่เป็นอาการแทรกซ้อนจากการเป็นโรคหัด แม้อัตราการเกิดจะไม่มาก จะเป็นแค่ 1 ใน 1,700 คนเท่านั้น (จากงานวิจัยของประเทศเยอรมัน) และในประเทศไทยจะเป็นอัตรา 1 ต่อ 1,000 คนค่ะ แต่ความรุนแรงของโรคก็ร้ายแรงจนถึงตายนะคะ
หากลูกเป็นโรคหัด คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร?
เนื่องจากโรคนี้ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส และอาการมักจะไม่รุนแรง การรักษา และปฏิบัติตัวของผู้ป่วย จึงเน้นการรักษาตามอาการเหมือน โรคไข้หวัด เช่น เช็ดตัวลดไข้ ทานยาลดไข้ หรือยาบรรเทาอาการอื่น ๆ เช่น ยาแก้ไอ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำเยอะ ๆ โดยคุณพ่อ คุณแม่ สามารถให้การดูแลลูกอยู่ที่บ้านได้ในเบื้องต้น แต่ถ้าหากลูกมีอาการไอมาก เสมหะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเขียว หรือหายใจเหนื่อยหอบ ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอนะคะ
![โรคหัด 5](https://static.cdntap.com/tap-assets-prod/wp-content/uploads/sites/25/2016/12/measles9.jpg?width=700&quality=10)
การรับวัคซีนป้องกันโรคหัดในเด็ก
ปัจจุบันมีวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคหัดได้ คือ
- วัคซีนป้องกันโรคหัดที่มีส่วนประกอบของวัคซีนป้องกันโรคคางทูม หัดเยอรมัน หรืออีสุกอีใส
- วัคซีนเอ็มเอ็มอาร์ (MMR) ที่ป้องกันได้ทั้งโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน ซึ่งผู้ที่ไม่สามารถรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดโดยตรง สามารถเข้ารับวัคซีนนี้เพื่อช่วยป้องกันโรคหัดแทนได้ เช่น ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น
- วัคซีนป้องกันไวรัสสายพันธ์ุเดี่ยว (Monovalent Vaccine) ซึ่งหลายประเทศมักใช้วัคซีนป้องกันโรคหัด และวัคซีนเอ็มเอ็มอาร์แทนการใช้วัคซีนป้องกันไวรัสสายพันธุ์เดี่ยว
โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันลูกน้อยจากโรคหัดได้ด้วยการพาเด็กเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดให้ครบตามกำหนด ซึ่งวัคซีนดังกล่าวมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูง ในปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด 2 ครั้ง ดังนี้
- ครั้งแรก เมื่อเด็กอายุ 9-12 เดือน
- ครั้งที่ 2 เมื่อเด็กอายุ 2.5 ปีเป็นต้นไป
นอกจากนี้ แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดวัคซีนเอ็มเอ็มอาร์ ซึ่งเป็นวัคซีนที่สามารถป้องกันได้ทั้งโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน และอีสุกอีใส ให้แก่เด็กอายุ 12 เดือนไปจนถึงอายุ 12 ปี ในกรณีที่เด็กยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส
![โรคหัด 6](https://static.cdntap.com/tap-assets-prod/wp-content/uploads/sites/25/2016/12/measles5.jpg?width=700&quality=10)
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
หัดเยอรมัน มีอาการอย่างไร รักษาได้หรือไม่?
ผื่น แดง คัน ที่หน้าลูก ปัญหาผิวลูกที่ป้องกันได้ คุณแม่ต้องรู้สาเหตุและวิธีดูแลผื่น แดง คัน ที่ถูกต้อง
ลูกป่วยกระทันหัน มีผื่น ตัวร้อนมาก เซื่องซึม ต้องทำอย่างไร
ที่มา : Health, pobpad, foxnews, mamastory
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!