เมื่อครบกำหนดแล้วยังไม่มีสัญญาณเจ็บท้องคลอด ไม่มีการหดตัวของมดลูกเลย หาก ตั้งครรภ์เกินกำหนด ต้องทำอย่างไร
การกำหนดคลอดนั้นคุณหมอจะคำนวณจากประจำเดือนครั้งสุดท้ายที่มา แต่ในกรณีที่มีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ในสัปดาห์ที่ 20 นั้นคุณหมอจะมีการตรวจยืนยันอายุครรภ์ด้วยการอัลตร้าซาวด์ ซึ่งแพทย์จะกำหนดวันคลอด อายุครรภ์ที่ครบกำหนดคลอดที่ทารกในครรภ์มีความสมบูรณ์เต็มที่ คืออายุครรภ์ระหว่าง 37 สัปดาห์ถึง 41 สัปดาห์ และไม่เกินอีก 6 วัน หากเกินตั้งแต่ 42 สัปดาห์ขึ้นไป จัดว่าเป็นการ ตั้งครรภ์เกินกำหนด ถือว่ามีความเสี่ยงต่อทั้งแม่และลูกในครรภ์ได้
การตั้งครรภ์เกินกำหนดนั้นพบได้ ประมาณ 10% ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่หากคุณแม่มีการตั้งครรภ์ที่ปกติ อาจจะคลอดก่อนวันนัด 1-2 สัปดาห์ และมีแม่ตั้งครรภ์ประมาณ 5 % ที่คลอดตรงกับวันที่หมอนัดพอดี แต่เมื่อครบกำหนดแล้วยังไม่มีสัญญาณเจ็บท้องคลอด ไม่มีการหดตัวของมดลูกเลย ควรไปหาหมอตรงตามนัดเพื่อทำการตรวจร่างกายและประเมินสุขภาพของลูกในครรภ์
ทางการแพทย์ยังไม่มีข้อยืนยันชัดเจนว่าการตั้งครรภ์เกินกำหนดคลอดนั้นเกิดจากสาเหตุใด แต่อาจเกิดจากความผิดปกติหรือความไม่สมดุลของฮอร์โมนที่พบว่า ทารกในครรภ์พิการบางอย่าง เช่น ทารกไม่มีกะโหลกศีรษะ (Anencephaly) ,เกิดจากพันธุกรรมทางฝ่ายแม่, เคยมีประวัติการตั้งครรภ์เกินกำหนดมาก่อน หรือต่อมใต้สมองผิดปกติ, ต่อมหมวกไตฝ่อ และการขาดฮอร์โมน Placental sulfatase deficiency ทำให้การสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนมีน้อยลง คุณแม่จึงไม่มีอาการเจ็บท้องคลอด แต่สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการตั้งครรภ์เกินกำหนด คือ การที่แม่ท้องจำวันแรกที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้ายไม่ได้หรือจำวันผิด ทำให้คำนวณอายุครรภ์ผิดไป
เมื่ออายุครรภ์ครบ 40 สัปดาห์แล้วแต่ยังไม่มีอาการเจ็บท้อง คุณแม่อย่าเพิ่งกังวลไปนะคะ สามารถรอได้อีกประมาณ 1 สัปดาห์ โดยระหว่างนี้ต้องสังเกตและนับลูกดิ้นให้ดี ซึ่งลูกควรดิ้นอย่างน้อย 10 ครั้งใน 12 ชั่วโมง ถือว่าไม่มีปัญหา แต่หากดิ้นน้อยกว่านั้นหรือเข้าสัปดาห์ที่ 41 แล้วยังไม่เจ็บท้องคลอด คุณหมอจะพิจารณาทำการเร่งคลอด เพื่อลดอันตรายต่อตัวคุณแม่และทารกในครรภ์ โดยไม่รอให้ถึง 42 สัปดาห์ค่ะ
ตั้งครรภ์ เกินกำหนด
ดังนั้นสิ่งสำคัญสำหรับแม่ตั้งครรภ์ที่ควรป้องกันไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์เกินกำหนด คือ การพาตัวเองไปตรวจครรภ์ตามที่คุณหมอนัดอย่างสม่ำเสมอ ออกกำลังกายสำหรับคนท้องเพื่อกระตุ้นให้เกิดการหดตัวของมดลูกและมีการคลอดตามกำหนดตามมา ดูแลสุขภาพกายและใจให้สมบูรณ์ อย่าไปกังวลในขณะตั้งครรภ์ หากพบว่าร่างกายมีความผิดปกติ ไม่สบายใจ ให้ไปหาคุณหมอเพื่อคลายกังวลลงนะคะ
ตั้ง ครรภ์ เกิน กำ หนด 1
เกร็ดความรู้เล็กๆน้อยเพิ่มเติม จาก นพ.สันต์ธีร์ ติยะธะ และ ศ.นพ จตุพล ศรีสมบูรณ์ เรื่องเกี่ยวกับภาวะมดลูกไม่หดรัดตัว
ภาวะมดลูกไม่หดรัดตัว (Uterine atony) เป็นสาเหตุหลักของภาวะตกเลือดหลังคลอด (PPH : Post-partum hemorrhage) มากถึงร้อยละ 80 (1) โดยภาวะตกเลือดหลังคลอดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบบ่อยที่สุดของผู้ป่วยสูติกรรมทั่วโลก พบมาก 140,000 รายต่อปี หรือทุก 4 นาทีจะมีหญิงตั้งครรภ์เสียชีวิต 1 ราย นอกจากการเสียชีวิตแล้ว การตกเลือดหลังคลอดยังส่งผลที่ตามมาหลายอย่างเช่น การหายในลำบากเฉียบพลัน ความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด ภาวะช็อกจากการเสียเลือดมาก ภาวะมีบุตรยาก และต่อมใต้สมองตายจากการขาดเลือด (Pituitary necrosis :Sheehan syndrome) (2)
ความหมายของภาวะตกเลือดหลังคลอดโดยทั่วไป หมายถึง ภาวะที่มีการเสียเลือดมากกว่า 500 มิลลิลิตร ในการคลอดทางช่องคลอด หรือมากกว่า 1000 มิลลิลิตร ในการผ่าท้องคลอด มักเกิดภายใน 24 ชั่วโมงหลังการคลอด เรียกว่า Primary PPH แต่หากเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด 24 ชั่วโมง จนถึง 12 สัปดาห์ เรียกว่า Secondary PPH
ปัจจุบันมียาหลายชนิดที่ใช้รักษาภาวะมดลูกไม่หดรัดตัว แต่หากหลังให้ยาไปแล้วมดลูกยังหดรัดตัวไม่ดีและยังมีเลือดออกทางช่องคลอด ควรพิจารณาว่าล้มเหลวในการรักษาด้วยยา โดยระยาเวลาของการให้ยาหรือให้ยากี่ตัวจะถือว่าล้มเหลวยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัด แต่หากมดลูกไม่ตอบสนองต่อยา จำเป็นจะต้องรักษาภาวะมดลูกหดรัดตัวไม่ดีด้วยหัตถการต่างๆ และการผ่าตัดห้ามเลือดเพื่อรักษาชีวิตของผู้ป่วยต่อไป
ปัจจัยส่งเสริมของภาวะมกลูกหดรัดตัวไม่ดี (3)
- ระยะคลอดยืดเยื้อยาวนาน (Failure to progression)
- มดลูกขยายหรือยืดตัวมากเกินไป (Overdistended uterus) เช่น ครรภ์แฝด ครรภ์แฝดน้ำ ทารกตัวโต(Macrosomia)
- การคลอดที่ต้องใช้หัตถการต่างๆ เช่น การใช้มือเข้าไปหมุนเปลี่ยนท่าทารกในโพรงมดลูก (Internal podalic version) การทำคลอดด้วยคีม (Forcep extraction)
- การเสียเลือดมาก จากหลายสาเหตุเช่น จากแผลผีเย็บหรือการฉีกขาด ทำให้มดลูกมี hypoxia ยิ่งส่งเสริมให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดี และยิ่งเสียเลือดมากยิ่งขึ้น
- เคยคลอดบุตรหลายคน (Multiparity) โดยเฉพาะในรายที่เคยมีประวัติตกเลือดหลังคลอดมาก่อน
- มีแผลที่ตัวมดลูกมาก่อน เช่น เคยผ่าตัดทำคลอด ผ่าตัดเนื้องอกมดลูก หรือ hysterotomy
- มีเนื้องอกที่ตัวมดลูก ซึ่งจะขัดขวางการกดรัดตัวของมดลูก
- รกลอกตัวก่อนกำหนด และมี couvelaire uterus คือ การเห็นผนังมดลูกมีสีคล้ำเป็นจ้ำๆ เนื่องจากเลือดออกชนิด concealed ได้แทรกซึมเข้าไปในชั้นกล้ามเนื้อมดลูกจนถึงใต้ชั้น serosa
- การชั้นนำคลอด (Induction of labour) หรือการกระตุ้นเสริมการหดรัดตัวมดลูก (Augmentation)
- การหดรัดตัวหลังคลอดไม่ดีโดยไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic atony)
ตั้ง ครรภ์ เกิน กำ หนด 2
The Asianparent Thailand เพื่อลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ช่วงไตรมาสแรกมาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น The Asianparent นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ
ที่มา : haamor.com, w1.med.cmu.ac.th
บทความอื่นที่น่าสนใจ :
ตะคริวที่ท้องขณะตั้งครรภ์ เป็นได้ยังไง แก้ยังไงให้หาย?
ท้องเสียขณะตั้งครรภ์ทำอย่างไร ถ่ายปรู๊ดปร๊าด รุนแรงแค่ไหนถึงต้องไปหาหมอ
มดลูกลอยตัวอันตรายไหม มดลูกลอยตัวตอนตั้งครรภ์และหลังคลอด เป็นอย่างไร
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!