X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ถ้าลูกฟันน้ำนมผุ ถอนทิ้งเลยดีไหม?

บทความ 5 นาที
ถ้าลูกฟันน้ำนมผุ ถอนทิ้งเลยดีไหม?

ฟันน้ำนมของลูกขึ้นเพียงไม่นาน ฟันน้ำนมก็จะหลุดไปเป็นเรื่องธรรมดา แม้ว่าฟันน้ำนมจะอยู่ไม่นาน ก็ไม่ใช่ว่าคุณแม่จะละเลยไม่ดูแลช่องปากของลูกน้อยนะคะ เพราะ ถ้าลูกฟันน้ำนมผุ ขึ้นมาก็เป็นเรื่องใหญ่เหมือนกัน ส่วนจะส่งผลในเรื่องไหนบ้าง วันนี้คุณหมอจะมาบอกถึงข้อดีข้อเสียของการถอนฟันน้ำนมกันค่ะ

 

ฟันน้ำนมผุ ถอนทิ้งดีไหม?

 

ถ้าลูกฟันน้ำนมผุ

 

ถ้าเด็กคนหนึ่งมีฟันน้ำนมที่ผุมากจนทะลุโพรงประสาทฟัน (อาการชี้นำของเด็กอาจมีหลายอย่าง เช่น บ่นปวดฟัน เคยมีหนอง เหงือกบวม ฯลฯ) การรักษาจะมี 2 วิธีคือ

  1. รักษารากฟันร่วมกับการทำครอบฟัน 
  2. ถอนฟัน (และควรใส่เครื่องมือกันที่ฟันหลังถอนฟันถ้าเป็นไปได้)

หากตรวจฟันร่วมกับถ่าย x-ray พบว่าสภาพฟันยังสามารถเก็บรักษาไว้ได้ และประเมินว่าฟันน้ำนมซี่นี้ยังต้องอยู่ในช่องปากอีกนานกว่าฟันแท้จะขึ้น หมอมั่นใจว่าคุณหมอฟันทุกคนจะแนะนำให้เก็บฟันไว้ค่ะ

 

ข้อดีและข้อเสียของการถอนทิ้งฟันน้ำนม

คุณหมอจะแจกแจงข้อดีข้อเสียของการรักษารากฟันร่วมกับครอบฟันและการถอนฟัน ไว้ดังต่อไปนี้

รักษารากฟันร่วมกับการครอบฟันน้ำนม

  • ข้อดี : เก็บฟันน้ำนมให้ลูกเคี้ยวข้าวได้ และช่วยกันที่ให้ฟันแท้ขึ้นมาในตำแหน่งที่เหมาะสม
  • ข้อเสีย : ราคาสูง ใช้เวลารักษานาน

ถอนฟัน

  • ข้อดี : ราคาไม่สูง ใช้เวลารักษาไม่นาน
  • ข้อเสีย : ลูกไม่มีฟันเคี้ยวข้าว และไม่มีฟันน้ำนมกันที่ให้ฟันแท้ เมื่อถอนฟันแล้วควรใส่เครื่องมือกันที่ฟันไว้ด้วย (ซึ่งก็ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นค่ะ)

 

สาเหตุลูกฟันน้ำนมผุเกิดจากอะไรบ้าง?

สำหรับสาเหตุลูกฟันน้ำนมผุ ก็จะมีสาเหตุหลัก ๆ อยู่ไม่กี่อย่าง ยกตัวอย่างเช่น

  1. ลูกหลับไปพร้อมกับขวดนม ทำให้น้ำตาลที่อยู่ในนมทำลายเคลือบฟันน้ำนมได้
  2. การรับประทานขนมกรุบกรอบและขนมหวาน แล้วไม่ยอมแปรงฟัน หรือบ้วนปาก
  3. พ่อแม่คิดว่า เดี๋ยวฟันน้ำนมก็หลุด จึงไม่ใส่ใจในการแปรงฟันลูกน้อย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ฟันลูกเปลี่ยนเป็นสีเทา ฟันตายในเด็ก อันตรายอย่างไร

 

การดูแลช่องปากและฟันในช่วงที่เป็นฟันน้ำนม

 

ถ้าลูกฟันน้ำนมผุ

 

อย่างแรกที่คุณแม่ต้องรู้คือ ฟันน้ำนมซี่แรกจะเริ่มขึ้นมาจากเหงือก ตอนที่ลูกอายุราว ๆ 6 เดือน และฟันน้ำนมจะขึ้นจนครบในช่วง 3 ขวบ ซึ่งวิธีทำความสะอาดฟันที่คุณแม่ควรจะทำให้ลูกตอนลูกเล็ก คือ ใช้ผ้าก๊อซพันนิ้ว แล้วจุ่มกับน้ำสะอาดที่ต้มสุกแล้ว เช็ดบริเวณเหงือก และเมื่อลูกมีฟันขึ้นแล้วก็ควรแปรงฟันให้ลูกด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ โดยทำความสะอาดวันละ 2 ครั้ง (เช้าและก่อนนอน) เพื่อทำความสะอาดคราบนม และคราบอาหารในช่องปาก

เมื่อลูกอายุ 3 – 4 ขวบ สามารถเริ่มฝึกให้ลูกแปรงฟันเอง แต่คุณพ่อคุณแม่จะต้องแปรงซ้ำให้ลูกอีกครั้งนะคะ โดยที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องช่วยลูกแปรงฟันจนลูกอายุ 7 ขวบ เนื่องจากช่วงอายุ 7 – 8 ขวบเป็นต้นไปเด็กจะสามารถเริ่มแปรงฟันได้เองอย่างมีคุณภาพ

นอกจากนี้ ต้องไม่ปล่อยให้ลูกนอนดูดขวดนมจนหลับ และให้ลูกเลิกขวดนมก่อนอายุ 1 ขวบครึ่ง ฝึกนิสัยไม่ให้ลูกรับประทานขนมจุบจิบ รวมทั้งอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีรสหวาน และต้องทำความสะอาดฟันและช่องปากให้ลูกหลังดื่มนม หรือหลังรับประทานอาหารกันนะคะ

 

แนะนำยาสีฟัน และการแปรงฟันสำหรับเด็ก

การแปรงฟันจะช่วยทำหน้าที่ขจัดคราบจุลินทรีย์ (คราบพลัค) ที่เกาะติดอยู่ตามฟัน และช่องปาก ทำให้ฟันและช่องปากสะอาด ซึ่งเมื่อเด็กมีฟันซี่แรกขึ้นสามารถใช้แปรงสีฟันร่วมกับยาสีฟันทำความสะอาดฟันลูกได้เลยค่ะ โดยแนะนำให้ใช้ยาสีฟันที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำตาลเพื่อป้องกันฟันผุ และควรเลือกใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ผสมอยู่ด้วย เพราะสารฟลูออไรด์นั้นมีความสำคัญต่อช่องปาก และช่วยเสริมสร้างสุขภาพฟันให้แข็งแรง นอกจากนั้นยังช่วยป้องกันโรคฟันผุได้อีกด้วย แนะนำให้ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ที่มีความเข้มข้นของฟลูออไรด์ 1000 ppm โดยใช้ยาสีฟันในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย ดังนี้ค่ะ

  • อายุน้อยกว่า 3 ปี

ใช้ปริมาณยาสีฟันเป็นฟิล์มบาง ๆ ผู้ปกครองช่วยแปรงให้ โดยให้เด็กนอนราบ และใช้ผ้าแห้งเช็ดฟองยาสีฟันออกทันทีในการแปรงฟันแต่ละตำแหน่ง

  • อายุ 3-6 ปี

ใช้ปริมาณยาสีฟันเท่าเมล็ดข้าวโพดหรือเท่าความกว้างหน้าตัดแปรงสีฟัน ผู้ปกครองช่วยแปรงให้โดยให้เด็กนอนราบ และใช้ผ้าแห้งเช็ดฟองยาสีฟันออกเช่นเดียวกับเด็กเล็ก

  • อายุ 6 ปีขึ้นไป

ใช้ปริมาณยาสีฟันเท่าความยาวของแปรง  ให้เด็กฝึกแปรงด้วยตนเองโดยมีผู้ปกครองตรวจและแปรงซ้ำให้

 

นอกจากการดูแลรักษาความสะอาดฟันแล้ว ผู้ปกครองควรเลือก และสอนให้เด็กรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และหลีกเลี่ยงอาหารที่จะทำให้ฟันผุโดยเฉพาะอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล เช่น นมเปรี้ยว นมช็อกโกแลต นมรสหวานชนิดต่าง ๆ น้ำหวาน น้ำอัดลม และขนมขบเคี้ยวต่าง ๆ และให้รับประทานอาหารเป็นมื้อ โดยมื้อหลักและอาหารว่างควรห่างกันไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม เด็กเล็กมีโอกาสที่จะกลืนยาสีฟันเข้าไประหว่างการแปรงฟัน จึงแนะนำให้ใช้ยาสีฟันในปริมาณที่เหมาะสมตามวัย เพราะถึงแม้เด็กจะกลืนยาสีฟันเข้าไปทั้งหมดก็ไม่เป็นอันตราย และผู้ปกครองควรเป็นผู้บีบยาสีฟันให้ จะเห็นได้ว่าช่องปากเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้น นอกจากจะเลือกใช้ยาสีฟันให้เหมาะสมแล้ว ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจดูสุขภาพฟันอย่างน้อยปีละ 2 ครั้งด้วยนะคะ สุดท้ายนี้ เมื่อลูกมีปัญหาเกี่ยวกับฟัน พ่อแม่ต้องรีบพาลูกไปพบทันตแพทย์เป็นประจำ ตั้งแต่ช่วงที่ฟันน้ำนมเริ่มขึ้น เพื่อศึกษาแนวทางปฏิบัติในการดูแลสุขภาพช่องปากของลูกค่ะ

 

ถ้าลูกฟันน้ำนมผุ

ทพญ.อารยา เทียนก้อน ทันตแพทย์เฉพาะทางเด็ก

 

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เด็กต้องแปรงฟันตั้งแต่อายุเท่าไหร่ วิธีแปรงฟันให้ลูก เสริมรอยยิ้มสดใสให้ลูกน้อย

เทคนิค! เลือกใช้ ยาสีฟัน ยังไง? ให้เหมาะกับตัวเองมาดูกัน!

ปัญหาเรื่อง ฟันผุ ปวดฟัน ส่งผลเสียต่อการพัฒนาการของลูกหรือไม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ทพญ.อารยา เทียนก้อน (หมอพลอย)

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ถ้าลูกฟันน้ำนมผุ ถอนทิ้งเลยดีไหม?
แชร์ :
  • วิธีป้องกันฟันน้ำนมผุ ทารกฟันผุง่าย ไม่อยากให้ลูกฟันผุ ต้องทำอย่างไร ทำไมทารกถึงฟันน้ำนมผุได้ง่าย?

    วิธีป้องกันฟันน้ำนมผุ ทารกฟันผุง่าย ไม่อยากให้ลูกฟันผุ ต้องทำอย่างไร ทำไมทารกถึงฟันน้ำนมผุได้ง่าย?

  • อันตรายจากการปล่อยให้ลูกฟันน้ำนมผุ ผลกระทบมากกว่าที่คุณคิด

    อันตรายจากการปล่อยให้ลูกฟันน้ำนมผุ ผลกระทบมากกว่าที่คุณคิด

  • วิธีป้องกันฟันน้ำนมผุ ทารกฟันผุง่าย ไม่อยากให้ลูกฟันผุ ต้องทำอย่างไร ทำไมทารกถึงฟันน้ำนมผุได้ง่าย?

    วิธีป้องกันฟันน้ำนมผุ ทารกฟันผุง่าย ไม่อยากให้ลูกฟันผุ ต้องทำอย่างไร ทำไมทารกถึงฟันน้ำนมผุได้ง่าย?

  • อันตรายจากการปล่อยให้ลูกฟันน้ำนมผุ ผลกระทบมากกว่าที่คุณคิด

    อันตรายจากการปล่อยให้ลูกฟันน้ำนมผุ ผลกระทบมากกว่าที่คุณคิด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ