ก่อนที่เราจะไปดูความมหัศจรรย์ของน้ำคร่ำนั้น เรามาทำความรู้จักกับน้ำคร่ำกันก่อนดีกว่า
น้ำคร่ำคืออะไร?
ปกติแล้วสิ่งที่เราเข้าใจมาตลอดก็คือ เมื่อมีการตั้งครรภ์ ทารกก็จะต้องอาศัยอยู่ในมดลูก แต่ทราบกันหรือไม่คะว่า จริง ๆ แล้วทารกไม่ได้อาศัยอยู่ในมดลูกของคุณแม่โดยตรง แต่ว่าทารกจะอาศัยการลอยตัวอยู่ในน้ำที่เราเรียกกันว่า “น้ำคร่ำ” ซึ่งน้ำคร่ำ ก็จะบรรจุอยู่ในถุงที่เราเรียกกันว่า “ถุงน้ำคร่ำ” อีกที และถุงน้ำคร่ำนี่แหละค่ะ ที่จะถูกอัดอยู่ในมดลูกของคุณแม่
ซึ่งในแต่ละเดือนนั้น น้ำคร่ำก็จะค่อย ๆ ผลิตออกมาทีละเล็กละน้อย ยกตัวอย่างเช่น อายุครรภ์ 3 เดือน ก็จะมีน้ำคร่ำประมาณ 50 – 80 มิลลิลิตร พออายุครรภ์ได้ 4 เดือนน้ำคร่ำก็จะมีเพิ่มมากขึ้นเป็น 150 – 200 มิลลิลิตร จนใกล้คลอดน้ำคร่ำจะมีมากถึง 1 ลิตรเลยละค่ะ
องค์ประกอบที่สำคัญของน้ำคร่ำนั้นคือ น้ำ ที่เป็นของเหลวประมาณ 98 เปอร์เซ็นต์ และในส่วนที่เป็นของแข็ง 2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะประกอบไปด้วย โปรตีน กรดยูริค สารยูเรีย รวมทั้งขี้ไคลของทารก ขนอ่อน เส้นผม และปัสสาวะของทารกด้วย
มีหน้าที่อย่างไร?
น้ำคร่ำ เปรียบเสมือนกับเทพพิทักษ์ทารก ป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายใด ๆ และคอยดูแลไม่ให้ทารกในครรภ์ของคุณแม่ต้องหกคะเมนตีลังกา ทั้งยังเป็นแหล่งระบายของเสียออกจากตัวทารก และเป็นแหล่งให้อาหารของทารก ไม่เพียงเท่านั้นนะคะ ยังสามารถปรับอุณหภูมิในมดลูกให้เหมาะสมแก่การอยู่อาศัยของทารกได้อีกด้วย
เรื่องที่เราอาจไม่รู้เกี่ยวกับน้ำคร่ำ
- คุณแม่ทราบไหมคะว่า น้ำคร่ำคือความมหัศจรรย์ที่ได้มากจากคุณพ่อและคุณแม่ เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่สเปิร์มของคุณพ่อ มาจ๊ะเอ๋กับไข่ของคุณแม่ และสามารถฝ่าฟันเข้าไปได้ละก็ ทั้งไข่และสเปิร์มจะทำการผสมผสานจนตัวอ่อนกลายเป็นตัวอ่อน หลังจากนั้นตัวอ่อนก็จะพัฒนาเปลี่ยนเป็นรกและทารก นั่นเอง
- เมื่อไหร่ก็ตามที่น้ำคร่ำหลุดไป ร่างกายของคุณแม่จะผลิตสารโปรแลคติน ที่เป็นฮอร์โมนที่ช่วยในการผลิตน้ำนม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับร่างกายของคุณแม่แต่ละท่านกันด้วยนะคะ
ที่มา: Belly Belly
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!