X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การฉีดน้ำเชื้อ เข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง (IUI) ทางเลือกการรักษาภาวะมีลูกยาก

บทความ 5 นาที
การฉีดน้ำเชื้อ เข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง (IUI) ทางเลือกการรักษาภาวะมีลูกยาก

การฉีดน้ำเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง (IUI) เป็นทางเลือกการรักษาภาวะมีลูกยากวิธีหนึ่ง จะมีขั้นตอนอย่างไรบ้างเรามาดูกันดีกว่า

การฉีดน้ำเชื้อ เข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง (IUI) ทางเลือกการรักษาภาวะมีลูกยาก

การฉีดน้ำเชื้อ เข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง (IUI), มีลูกยาก

การฉีดน้ำเชื้อ เข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง (IUI)

ปัจจุบันมีคู่รักมากมายที่อยากมีลูกใจจะขาดแต่ก็มีไม่ได้กันสักทีหลังจากพยายามด้วยกันมานาน จะใช้วิธีการมีลูกตามธรรมชาติ เปิดตำราร่วมรัก นับวันรอบประจำเดือน บำรุงทุกวิถีทางแล้วก็ไม่ได้ผล เลยต้องหันมาพึ่งวิทยาศาสตร์เพื่อรักษาปัญหามีลูกยาก ตอนที่ 1 ของซีรี่ส์มีลูกยากนี้ขอนำเสนอ ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการฉีดน้ำเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง ทางเลือกการรักษาภาวะมีลูกยาก

การฉีดน้ำเชื้อ

การฉีดน้ำอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง หรือ Intra-uterine insemination (IUI)

ถ้าน้ำอสุจิไปหาไข่แบบธรรมชาติลำบากนักก็ต้องใช้วิธีการฉีดน้ำอสุจิช่วยหน่อย การฉีดน้ำอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง คือ การนำน้ำอสุจิที่ได้รับการคัดแยกมาแล้วฉีดเข้าไปในโพรงมดลูกขณะที่มีการตกไข่ หน้าที่ของวิทยาศาสตร์มีอยู่เท่านี้ จากนี้ก็เป็นหน้าที่ของธรรมชาติให้ตัวอสุจิว่ายจากโพรงมดลูกไปทางท่อนำไข่และผสมกับไข่ด้วยตัวเองต่อไป

วิธีนี้เรียกได้ว่าใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุดแต่แพทย์ก็สามารถใช้ยากระตุ้นให้คุณผู้หญิงมีไข่ตกมากกว่าหนึ่งใบเพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ให้มากขึ้น ยากระตุ้นอาจเป็นแบบกินหรือแบบฉีดก็ได้แต่แบบฉีดจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า แพทย์จะนัดให้มาทำอัลตราซาวนด์เพื่อตรวจสอบขนาดของไข่เพื่อกำหนดวันฉีดยากระตุ้นให้ไข่ตกและฉีดน้ำเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูกผ่านสายขนาดเล็กต่อไป หลังจากฉีดน้ำอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรงแล้ว คุณผู้หญิงสามารถกลับบ้านได้เลย หลังจากนั้นเป็นเวลา 12 ถึง 14 วันก็สามารถตรวจการตั้งครรภ์ได้

การฉีดน้ำเชื้อ

ข้อจำกัด

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญบางท่านแนะนำว่า ควรใช้วิธีการฉีดน้ำเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรงไม่เกินสามครั้ง แต่บ้างก็ว่าสี่ครั้ง หากไม่ได้ผลก็ควรเปลี่ยนวิธีการรักษาวิธีอื่นเพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ แต่ในบางกรณีจำนวนครั้งอาจลดลงเหลือเพียงสอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่คุณผู้หญิงมีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป เนื่องจากการผลิตไข่จะมีความสมบูรณ์น้อยลงตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น

ปัญหาสำคัญอีกเรื่องคือวิธีการนี้ไม่อาจรับประกันได้ว่าไข่และอสุจิจะปฏิสนธิกันเสมอไป นอกจากนี้วิธีการนี้ยังไม่เหมาะกับคุณผู้หญิงที่มีปัญหาท่อนำไข่ตีบตันหรือมีพังผืดขวางทางระหว่างไข่กับทางเข้าท่อนำไข่  มีปัญหาท่อนำไข่เสียหาย เยื่อบุมดลุกเจริญผิดที่ หรือปัญหาอื่น ๆ ที่ทำให้ไข่ไม่สามารถตกเข้าท่อนำไข่ได้ วิธีนี้ยังไม่เหมาะกับคุณผู้ชายที่มีปัญหาเรื่องน้ำอสุจิ เช่น มีจำนวนน้อย เคลื่อนไหวผิดปกติ หรือมีปัญหาอื่น ๆ

ค่าใช้จ่าย

โดยทั่วไปแล้ว ค่าใช้จ่ายการฉีดน้ำอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรงที่โรงพยาบาลรัฐจะตกอยู่ที่ราว 3,000-5,000 บาทสำหรับการใช้ยากระตุ้นไข่แบบกิน ส่วนการใช้ยาฉีดจะอยู่ที่ 7,000-8,000 บาท ค่าใช้จ่ายกับโรงพยาบาลเอกชนคิดอยู่ที่ราว 5,000-8,000 บาทสำหรับการใช้ยากระตุ้นไข่แบบกิน แต่หากใช้ยาฉีดค่าใช้จ่ายอาจแตะหลักหมื่นได้  อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายนี้ก็อาจแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละโรงพยาบาล

“ภาวะมีบุตรยาก” คืออะไร ?

ตรงๆ ตัวเลยคือการที่คู่สามี-ภรรยาไม่สามารถปฏิสนธิหรือมีลูกได้ สาเหตุอาจเกิดจากฝ่ายชาย (ประมาณ 25%) หรือฝ่ายหญิง (40%) หรือเกิดจากทั้งสองฝ่าย (20%) และภาวะการมีบุตรยากนี้ยังรวมไปถึงผู้หญิงที่มีอาการแท้งบุตรตามธรรมชาติ ผู้ชายที่มีภาวะเป็นหมันก็เช่นกัน ดังนั้นหากต้องการมีบุตรจึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง โดยสามารถแบ่งภาวะมีบุตรยากได้เป็น 2 ประเภทคือ ภาวะมีบุตรยาก ชนิดปฐมภูมิ (Primary Infertility) คือคู่สมคสที่มีบุตรยากโดยยังไม่เคยมีบุตรมาก่อน และชนิดทุติยภูมิ (Secondary Infertility) คือคู่สมควรที่เคยมีบุตรมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีก

Did you know ?

15% ของคู่สมรสในประเทศไทย หรือหนึ่งในเจ็ดของคู่สมรสทั่วโลก พยายามที่จะมีลูกภายใน 12 เดือนแต่ไม่สำเร็จ ทั้งที่มีเพศสัมพันธ์กันอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง โดยไม่ได้มีการคุมกำเนิด เช่นนี้ก็เข้าข่ายของการเกิดปัญหามีบุตรยากนั่นเอง

จริงๆ แล้วมีหลากหลายสาเหตุมาก สามารถแบ่งได้ ดังนี้

1.ปัญหามีบุตรยากที่เกิดจากฝ่ายชาย

เกิดจากไลฟ์สไตล์ เช่น ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ สูบบุหรี่จัด ติดสารเสพติด
ปัญหาที่เกิดจากอายุและปัญหาทางสุขภาพ เช่น อายุมากขึ้นและอาจมีความผิดปกติของฮอร์โมนจนอาจเป็นสาเหตุให้มีอาการหลั่งน้ำอสุจิโดยไม่มีตัวอสุจิหรืออสุจิน้อยลงจนไม่มี เชื้ออสุจิมีรูปร่างผิดปกติ เชื้ออสุจิอ่อนแอ ปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัว มีเพศสัมพันธ์ลดน้อยลง และเวลาที่ไม่เหมาะสมสำหรับการมีเพศสัมพันธ์ มีปัญหาสุขภาพ เช่น เป็นหมัน หรือต้องรับเคมีบำบัด

2.ปัญหามีบุตรยากที่เกิดจากฝ่ายหญิง

เกิดจากไลฟ์สไตล์ เช่น ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ สูบบุหรี่จัด ติดสารเสพติด การเลือกอาหารการกินที่เป็นผลเสียต่อสุขภาพ เกิดจากความอ้วน มีความเครียดที่เกิดจากการทำงานหรือปัญหาส่วนตัว
ปัญหาที่เกิดจากอายุและปัญหาทางสุขภาพ เช่น เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน อายุที่มากขึ้นทำให้มีปัญหาสุขภาพ เช่น ภาวะไข่ไม่ตก ท่อรังไข่อุดตัน มีเนื้องอกในมดลูก มีพังผืดเกิดขึ้นในช่องเชิงกรานหรือที่ปีกมดลูก หรือโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยในผู้หญิงที่มีบุตรยาก ฯลฯ ส่วนใหญ่ผู้หญิงที่มีปัญหาบริเวณมดลูกเช่นนี้ มักจะมีอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ มีอาการปวดท้องผิดปกติ หากมีการตรวจพบแต่เนิ่นๆ ก็มีโอกาสรักษาให้หายและพร้อมจะมีบุตรตามธรรมชาติได้

UI

3.ปัญหามีบุตรยากที่เกิดจากทั้งสองฝ่าย

เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก ทั้งนี้จึงควรไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาหาสาเหตุของทั้งสองฝ่าย โดยแพทย์จะทำการตรวจหาสาเหตุ หากเป็นฝ่ายชายส่วนมากก็จะซักประวัติส่วนตัวและตรวจเชื้ออสุจิ เพราะฉะนั้นจึงควรงดการหลั่งอสุจิประมาณ 2-7 วันก่อนมาพบแพทย์ ส่วนการหาสาเหตุในฝ่ายหญิงก็มักจะซักประวัติส่วนตัวและทำการตรวจภายใน ตรวจระดับฮอร์โมนเพศ ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ต่อไป

Fact !

มีคู่สมรสอีกจำนวนไม่น้อยที่มีภาวะมีบุตรยาก หรือประมาณ 15-20% ที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นจากแพทย์แล้ว และไม่พบความผิดปกติใดๆ ซึ่งจัดเป็นผู้มีภาวะมีบุตรยากโดยไม่ทราบสาเหตุ ดังนั้นจึงควรรีบดำเนินการพบแพทย์เพื่อทำการตรวจหาสาเหตุแบบเจาะลึกต่อไป

แนวทางการรักษา

ปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์ก้าวไกลไปมาก และมีวิธีรักษาภาวะมีบุตรยากมากมาย ขึ้นอยู่กับอายุ ปัญหา สาเหตุของผู้มีบุตรยาก ซึ่งแพทย์จะร่วมกับคนไข้ในการค้นหาวิธีรักษา เช่น การรับประทานยาหรือฉีดกระตุ้นเพื่อให้มีการตกไข่ การฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก (IUI) เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ หรือการปฏิสนธินอกร่างกาย (IVF, ICSI) ในบางรายอาจจะต้องมีการผ่าตัด เช่น ซีสต์ เนื้องอก เลาะพังผืด แก้ไขท่อนำไข่ตัน หรือแม้แต่การผ่าตัดแก้หมัน เป็นต้น

UI

 

บทความจากพันธมิตร
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

กลับสู่หน้าหลักเข้าใจหลักการรักษาภาวะมีบุตรยาก

เป็นไปได้หรือไม่ที่จะตั้งครรภ์ตอนมีอายุมาก

รู้ได้อย่างไรว่ามีการตกไข่

 

https://travel.trueid.net/detail/0o3loGmkkZ0

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สันติภาพ อัศวโสตถิ์

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • การฉีดน้ำเชื้อ เข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง (IUI) ทางเลือกการรักษาภาวะมีลูกยาก
แชร์ :
  • การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ทางเลือกการรักษาภาวะมีลูกยาก

    การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ทางเลือกการรักษาภาวะมีลูกยาก

  • การทำกิฟท์ (GIFT) การทำซิฟท์ (ZIFT) คืออะไร ? ช่วยในการมีลูกได้อย่างไร

    การทำกิฟท์ (GIFT) การทำซิฟท์ (ZIFT) คืออะไร ? ช่วยในการมีลูกได้อย่างไร

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ทางเลือกการรักษาภาวะมีลูกยาก

    การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ทางเลือกการรักษาภาวะมีลูกยาก

  • การทำกิฟท์ (GIFT) การทำซิฟท์ (ZIFT) คืออะไร ? ช่วยในการมีลูกได้อย่างไร

    การทำกิฟท์ (GIFT) การทำซิฟท์ (ZIFT) คืออะไร ? ช่วยในการมีลูกได้อย่างไร

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ