X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทำไงดี!? เกล็ดเลือดต่ำระหว่างตั้งครรภ์ อันตรายไหม

บทความ 5 นาที
ทำไงดี!? เกล็ดเลือดต่ำระหว่างตั้งครรภ์ อันตรายไหม

สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ เกล็ดเลือดต่ำระหว่างตั้งครรภ์ ถือเป็นอีกหนึ่งความผิดปกติของระบบโลหิตวิทยาที่พบได้บ่อยเป็นอันดับสอง ถัดจากภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ ซึ่งภาวะเกล็ดเลือดต่ำนี้จะมีพยาธิกำเนิดหลายชนิด จึงทำให้ผู้ป่วยมีอาการต่างกันออกไป ทางสูติแพทย์จึงจำเป็นต้องตระหนัก และให้ความสำคัญเกี่ยวกับการดูแลพยาธิเหล่านี้ เพราะมันสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพของแม่ และลูกน้อยในครรภ์ได้

 

เกล็ดเลือดต่ำระหว่างตั้งครรภ์ คืออะไร

ในคุณแม่ตั้งครรภ์โดยปกติจะมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำเล็กน้อย ผลมาจาก Hemodilutional effect ร่วมกับการเพิ่มขึ้นของ platelet consumption ในเนื้อเยื่อ และการเพิ่มขึ้นของ Thromboxane A2 จึงทำให้เกิด platelet aggregation มากขึ้นตามมาด้วย ซึ่งการที่เกล็ดเลือดลดต่ำลง โดยปกติจะไม่ทำให้เกิดพยาธิสภาพหรืออาการใด ๆ และไม่ได้ส่งผลต่อทารกในครรภ์ และค่าของเกล็ดเลือดในแต่ละไตรมาสก็ต่างกันด้วย และในไตรมาสที่สามจะลดลงต่ำที่สุด

 

เกล็ดเลือดต่ำระหว่างตั้งครรภ์

Advertisement

 

เกล็ดเลือดต่ำระหว่างตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงไหม ?

เกล็ดเลือด คือ ส่วนหนึ่งของเลือด คอยทำหน้าที่ไม่ให้เลือดออกได้ง่าย แต่ถ้าหากคุณแม่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ก็จะทำให้เสี่ยงต่อการเลือดออกไม่หยุด และอาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณแม่ต้องผ่าคลอดโดยมีสาเหตุ ดังนี้

 

1. โรค ITP หรือ Immune thrombocytopenia

เป็นโรคที่ภูมิต้านทานของร่างกายคุณแม่ทำลายเกล็ดเลือดในร่างกายตัวเอง ซึ่งมาจากการติดเชื้อไวรัสในวัยเด็ก โดยปกติแล้วโรคนี้จะแสดงออกและตรวจเจอก่อนการตั้งครรภ์ แต่ก็มีกรณีที่ตรวจเจอทีหลังด้วยเช่นกัน แต่หากคุณแม่เป็นโรคนี้แล้วละก็ มีโอกาสที่ลูกของคุณแม่จะมีเกล็ดเลือดต่ำไปด้วยนะคะ

โดยอาการที่คุณแม่สามารถสังเกตตัวเองได้ก่อนก็คือ

  • มีร่องรอยฟกช้ำได้ง่ายตามร่างกายในบริเวณต่าง ๆ
  • เหมือนมีผื่นบริเวณขา ซึ่งจริง ๆ เป็นเลือดออกใต้ผิวหนัง
  • มีเลือดออกปนในปัสสาวะหรืออุจจาระ
  • มีเลือดออกตามเหงือกหรือมีเลือดกำเดาไหล
  • กว่าเลือดจะหยุดในแต่ละครั้งใช้เวลานานกว่าคนอื่น
  • ประจำเดือนออกมามากในแต่ละครั้ง

 

2. ครรภ์เป็นพิษ

เนื่องจากความดันเลือดสูง และมีโปรตีนปัสสาวะ คุณแม่ที่มีอาการของครรภ์เป็นพิษนั้นสามารถทำให้ภาวะเกล็ดเลือดต่ำได้นะคะ แต่หลังจากที่คลอดลูกแล้ว ภาวะเกล็ดเลือดต่ำของคุณแม่ก็จะกลับมาเป็นปกติค่ะ โดยอาการครรภ์เป็นพิษเกิดจากความผิดปกติของการฝังตัวของรก ซึ่งปกติรกจะฝังบริเวณเยื่อบุผนังมดลูก แต่สำหรับคุณแม่ที่ครรภ์เป็นพิษรกจะฝังตัวได้ไม่แน่น จึงทำให้รกบางส่วนขาดออกซิเจน ขาดเลือดไปเลี้ยงในรก จึงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ภาวะครรภ์เป็นพิษ อันตรายมากไหม อาการครรภ์เป็นพิษ ดูแลตัวเองอย่างไร

 

เกล็ดเลือดต่ำระหว่างตั้งครรภ์

 

3. ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

5-8 เปอร์เซ็นต์ของหญิงตั้งครรภ์ จะมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำในช่วงไตรมาสที่สาม และยังหาสาเหตุที่แน่ชัดไม่ได้ว่าทำไมถึงเกิดขึ้น แต่สันนิษฐานเบื้องต้นว่าเวลาที่คุณแม่ตั้งครรภ์นั้นพลาสมาในเลือดจะเพิ่มขึ้นเกือบ 50% จึงอาจจะมาจากสาเหตุนี้ก็เป็นได้ค่ะ โดยปริมาณเกล็ดเลือดจะเพิ่มขึ้นเป็นปกติหลังจากที่คุณแม่คลอดลูกแล้วค่ะ

นอกจากนี้ภาวะเกล็ดเลือดต่ำยังมีสาเหตุอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น

  • ผลจากการใช้ยาบางประเภท เช่น ยาเจือจางเลือด
  • การติดเชื้อที่ไต
  • การดื่มแอลกอฮอล์มากไป
  • มะเร็งบางชนิด

 

เมื่อมีอาการเกล็ดเลือดต่ำ ดูแลตัวเองอย่างไร

1. ใช้ยาอย่างระมัดระวัง

ผู้ที่มีอาการเกล็ดเลือดต่ำ สิ่งที่ควรระวังมากที่สุดก็คือเรื่องของการใช้ยา โดยเฉพาะยาที่หาซื้อเองจากร้านขายยาทั่วไป ให้หลีกเลี่ยงยาที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติ เช่น ยาไอบูโพรเฟน ยาแอสไพริน หรือยาต้านอักเสบต่าง ๆ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยา สมุนไพร หรืออาหารเสริมต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์

 

2. ระมัดระวังการติดเชื้อ

สำหรับคนที่มีอาการเกล็ดเลือดต่ำ อย่าลืมสังเกตความผิดปกติของร่างกายตัวเองอยู่เสมอด้วยการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะคนที่เคยผ่าตัดม้ามออกไปแล้ว เพราะมีความเสี่ยงสูงมากต่อการติดเชื้อ ถ้าหากมีไข้ร่วมด้วย หรือมีอาการเหมือนติดเชื้อ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันทีเพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี

 

3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยอาการเกล็ดเลือดต่ำ ต้องอุดมไปด้วยไฟเบอร์ เนื่องจากช่วยป้องกันอาการท้องผูก หรืออาหารที่มีส่วนประกอบของวิตามินซี วิตามินบี 12 โฟเลต ธาตุเหล็ก เป็นต้น เพราะสารอาหารเหล่านี้ช่วยเสริมสร้างการผลิตเกล็ดเลือดให้แก่ร่างกายได้ค่ะ ที่สำคัญควรดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวันด้วยค่ะ นอกจากนี้ ต้องเลี่ยงอาหารที่ทำให้ปริมาณเกล็ดเลือดต่ำด้วย เช่น นมวัว น้ำแครนเบอร์รี เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอาหารรสเผ็ด

 

เกล็ดเลือดต่ำระหว่างตั้งครรภ์

 

การวินิจฉัยเกล็ดเลือดต่ำ

  • ซักประวัติผู้ป่วย เช่น การใช้ยา อาหารที่ทาน ประวัติการมีเพศสัมพันธ์ รวมไปจนถึงประวัติภาวะเกล็ดเลือดต่ำของคนในครอบครัว
  • ตรวจร่างกาย เพื่อเช็กอาการเลือดออก ไม่ว่าจะเป็นรอยช้ำ จุดแดงใต้ผิวหนัง และตรวจหน้าท้องว่ามีอาการของม้ามโตขึ้นหรือเปล่า
  • ตรวจเลือด เป็นการตรวจเพื่อนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด คนที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ จะมีจำนวนของเกล็ดเลือดต่ำกว่า 150,000 เกล็ดต่อไมโครลิตร
  • การตรวจไขกระดูก เนื่องจากไขกระดูกถือเป็นอวัยวะที่ช่วยสร้างเกล็ดเลือด ดังนั้น การตรวจไขกระดูกจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยหาสาเหตุได้ว่าทำไมเกล็ดเลือดถึงต่ำ ทำไมไขกระดูกถึงผลิตเลือดได้ไม่เพียงพอ โดยตรวจได้ 2 วิธี คือ การเจาะไขกระดูกแล้วนำไปส่องกล้องกับการตัดชิ้นเนื้อบางส่วน ซึ่งจะทำหลังจากการเจาะไขกระดูกแล้ว
  • การตรวจอื่น ๆ เช่น ตรวจการแข็งตัวของเลือด หรือบางครั้งแพทย์อาจจะอัลตราซาวนด์ เพื่อดูว่าม้ามมีการขยายตัวหรือไม่

 

สำหรับคุณแม่ที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ จำเป็นต้องดูแลรักษาสุขภาพกายเป็นพิเศษ ทั้งทางกายและทางใจ พยายามออกกำลังกายอยู่สม่ำเสมอและต้องออกให้เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์ ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนทานอาหารเพื่อป้องกันเชื้อโรค รับการฉีดวัคซีนตามกำหนด นอนพักผ่อนให้เพียงพอ และจัดการความเครียดของตัวเองด้วยวิธีที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้กระทบต่อลูกน้อยในครรภ์

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เลือดจางระหว่างตั้งครรภ์ ส่งผลอันตรายต่อแม่และลูกในครรภ์สูง

โรคโลหิตจาง ในคนท้อง หากแม่ท้องขาดธาตุเหล็กเสี่ยงแท้งหรือเปล่า?

5 เมนู อาหารเพิ่มเม็ดเลือดแดงคนท้อง คนท้องเลือดจางควรกินอะไร ?

ที่มา : bellybelly, MED CMU, pobpad

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • ทำไงดี!? เกล็ดเลือดต่ำระหว่างตั้งครรภ์ อันตรายไหม
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว