X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ตั้งครรภ์ 17 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

บทความ 5 นาที
ตั้งครรภ์ 17 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

เข้าสู่สัปดาห์ที่ 17 แล้วนะ คุณแม่อาจจะสงสัยว่า ลูกน้อยแข็งแรงแค่ไหนแล้ว พัฒนาการต่าง ๆ ของลูก เป็นอย่างไร ทั้งด้านร่างกาย และสมอง หลังจากแม่อุ้มท้อง ตั้งครรภ์ 17 สัปดาห์  ช่วงนี้ทารกในครรภ์มีความยาว 13 เซนติเมตร ตัวพอ ๆ กับหอมหัวใหญ่เลยทีเดียว

 

ตั้งครรภ์ 17 สัปดาห์ อาการของคุณแม่เป็นอย่างไร

เมื่อตั้งครรภ์ช่วงตลอด 3 ไตรมาส ร่างกายของคุณแม่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายต่อหลายอย่าง ซึ่งคุณแม่ควรศึกษาไว้ เพื่อให้เข้าใจอาการของตนเองว่าปกติ หรือมีอะไรที่ต้องเป็นห่วงบ้าง ดังนี้

 

1. ความสมดุลร่างกายเปลี่ยนแปลง

เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 17 ท้องของคุณแม่จะเริ่มโตขึ้น ทำให้จุดศูนย์ถ่วงของร่างกายจะเริ่มเปลี่ยนไป ทำให้เวลาคุณแม่จะเดินเหินไปไหน จะต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้นเป็นพิเศษ ในระยะนี้ สิ่งที่ควรทำคือ รองเท้าที่สวมใส่นั้น ควรจะเป็นรองเท้าส้นเตี้ย และมีความกระชับเท้าสูง เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณแม่เอง

 

2. ดวงตาเริ่มแห้ง

คุณแม่จะเริ่มรู้สึกระคายเคืองที่ดวงตา หรือเมื่อย เหนื่อยล้าบริเวณตา เนื่องจากน้ำในตาของคุณแม่ในช่วงนี้ จะลดน้อยลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทางร่างกาย ดังนั้นในระยะนี้คุณแม่ควรจะมีน้ำตาเทียมติดตัวเอาไว้ เพื่อหยอดเวลารู้สึกระคายเคือง หรือเมื่อดวงตาเริ่มแห้ง หากคุณแม่ใส่คอนแทคเลนส์อยู่เป็นประจำ อาจจะต้องใส่ในระยะเวลาที่สั้นขึ้นจากเดิม หรือเปลี่ยนมาใส่แว่นตาแทน ก็จะช่วยให้ดวงตาผ่อนคลายได้เยอะขึ้น

 

3. ฝันประหลาด

หลายคนบอกว่า ช่วงระหว่างท้องนั้น จะฝันไปต่าง ๆ นานา บางคนบอกว่า ฝันแบบบ้าคลั่งเลยก็ว่าได้ อาจจะเป็นเพราะความวิตกกังวล หรือต่าง ๆ สารพัด ซึ่งแท้ที่จริง มันเป็นผลพวงมาจากฮอร์โมนการตั้งครรภ์ ที่ทำให้เกิดสภาวะนี้เกิดขึ้น ดังนั้นคงไม่เลวนั้น ที่คุณจะจดเจ้าความฝันต่าง ๆ ลงเป็นบันทึก เอาไว้อ่านเล่นย้อนหลัง

 

ตั้งครรภ์ 17 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

 

Advertisement

4. ผิวแตกลาย

ในช่วงนี้ คุณแม่หลาย ๆ คนจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงของผิวตัวเอง บางคนผิวเปล่งปลั่งเป็นประกาย บางคนผิวแห้ง แตกระแหง แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ผิวบริเวณหน้าท้องของคุณแม่นั่นเอง หลายคนจะเริ่มเห็นเป็นรอยแตกลายเกิดขึ้น หากไม่ได้รับการบำรุงรักษามาตั้งแต่ต้น การทาครีมทาผิว เพื่อสมานผิวให้เกิดความยืดหยุ่น จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ไม่เช่นนั้น หากแตกลายมาแล้ว ยากมากที่จะสมานกลับไปเหมือนดังเดิม

 

5. มีตกขาว และเหงื่อออกมาก

การไหลเวียนเลือดในร่างกายของคุณแม่ในช่วงครรภ์เข้าสู่สัปดาห์ที่ 17 หรือเข้าระยะเดือนที่ 4 นั้น จะเริ่มมีการเปลี่ยนในระบบการไหลเวียนของเลือดมากพอสมควร อันเนื่องจาก ร่างกายของคุณแม่จะต้องรับบทบาทในการดูแลถึง 2 ชีวิตในเวลาเดียวกัน ทำให้คุณแม่เกิดอาการตกขาวทางช่องคลอด และมีเหงื่อออกมากขึ้นกว่าปกติ อาจจะเหนื่อยง่ายกว่าเดิม เพราะร่างกายจะเริ่มทำงานมากขึ้นเป็นสองเท่านั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : อายุครรภ์ 16 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

 

ตั้งครรภ์ 17 สัปดาห์ พัฒนาการของลูกเป็นอย่างไร

  • ทารกพร้อมแล้วที่จะหายใจเอาอากาศเข้าไปแทนน้ำคร่ำ
  • กระดูกเริ่มแข็งขึ้นแล้ว ขาของเจ้าตัวน้อย และหูชั้นใน เป็นส่วนแรก ๆ ที่กระดูกจะเริ่มสร้างตัวขึ้น
  • พัฒนาการด้านระบบประสาทพัฒนา
  • รกเริ่มหนา และแข็งแรง
  • คุณแม่จะได้ยินเสียงหัวใจเต้นของทารกน้อย จากการอัลตราซาวนด์

 

วิดีโอจาก : Family Man & พยาบาลแม่หนิว

 

พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 17

  • ทางเดินหายใจของทารก พร้อมแล้วที่จะหายใจเอาอากาศเข้าไปแทนที่น้ำคร่ำ
  • กระดูกของทารกวัย 17 สัปดาห์ เริ่มแข็งขึ้นแล้ว กระบวนการนี้เรียกว่า Ossification หรือการสร้างกระดูก ขาของเจ้าตัวน้อย และหูชั้นใน เป็นส่วนแรก ๆ ที่กระดูกจะเริ่มสร้างขึ้น
  • ปลอกหรือเยื่อไมอีลิน (Myelin) จะถูกสร้างขึ้น ลักษณะเป็นเปลือกหุ้มเส้นใยประสาท มีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้าเพิ่มความเร็วในการรับ และส่งสัญญาณ ซึ่งสำคัญมากกับระบบประสาททารก เพื่อเตรียมความพร้อมให้ทารกหลังคลอด
  • รกเริ่มหนา และแข็งแรงขึ้นแล้ว
  • การสแกนอัลตราซาวนด์น่าตื่นเต้นมากขึ้น เพราะจะได้ยินเสียงหัวใจเต้นของทารกน้อย
  • คุณแม่คนไหนยังไม่รู้เพศลูก ในสัปดาห์หน้า หรือการตั้งครรภ์ 18 สัปดาห์ ก็จะอัลตราซาวนด์ตรวจหาเพศลูกได้แล้วค่ะ

 

การดูแลตัวเองตอนท้อง 17 สัปดาห์

  • ในสัปดาห์ที่ 17 หากคนท้องน้ำหนักน้อย หรือลูกในท้องมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ หมออาจจะจ่ายวิตามินบำรุงครรภ์มาให้เพิ่มเติม แม่ต้องกินยาบำรุง หรือวิตามินบำรุงครรภ์ให้ครบถ้วน เพื่อให้ลูกน้อยแข็งแรงนะคะ
  • แม่ท้องคนไหนยังสวมใส่ส้นสูง ถึงเวลาที่จะถอดส้นสูง แล้วเปลี่ยนเป็นรองเท้าส้นเตี้ย รองเท้าไม่มีส้น หรือรองเท้าผ้าใบ เพราะท้องของแม่จะใหญ่ขึ้น เดินเหินลำบากมากขึ้นค่ะ

 

อาหารแม่ตั้งครรภ์ 17 สัปดาห์ กินอะไร งดอะไร

อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ 17 สัปดาห์ ต้องกินอะไร งดอะไร บอกเลยว่าจริง ๆ แล้วสิ่งที่คุณแม่ต้องทำก็คือ การควบคุมปริมาณอาหารให้พอเหมาะ ประมาณวันละ 2,200 แคลอรี่ ก็เพียงพอสำหรับคุณแม่ และลูกในครรภ์ เน้นโปรตีน และไขมันดี เท่านี้ก็ดีต่อสุขภาพของแม่ และลูกแล้วค่ะ การตั้งครรภ์ 17 สัปดาห์ เจ้าตัวน้อยในท้องเริ่มเปลี่ยนแปลง และแข็งแรงมากขึ้นแล้ว ช่วงนี้น้ำหนักตัวคุณแม่อาจจะเพิ่มขึ้นจนเดินลำบาก อย่าลืมสวมใส่รองเท้าที่ใส่สบายนะคะ

 

ตั้งครรภ์ 17 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

 

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
เตรียมพร้อมลูกน้อยฉลาดและแข็งแรงตั้งแต่ในครรภ์ ด้วย นมเฉพาะสำหรับแม่ตั้งครรภ์
เตรียมพร้อมลูกน้อยฉลาดและแข็งแรงตั้งแต่ในครรภ์ ด้วย นมเฉพาะสำหรับแม่ตั้งครรภ์

สามารถมีเพศสัมพันธ์ในช่วงครรภ์ 17 สัปดาห์ได้หรือไม่ ?

คำตอบก็คือ สามารถทำได้ค่ะ เพราะอายุครรภ์นี้ นับว่าอยู่ในช่วงที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่ก็ต้องไม่สร้างแรงกระแทก หรือให้เกิดความรุนแรง จนไปกระทบกระเทือนถึงทารกในครรภ์ อย่างไรก็ตาม หากคุณมีความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด หรือมีภาวะตกเลือดก่อนคลอด หรือก่อนหน้านี้ เนื่องจากภาวะรกเกาะต่ำ ก็ควรจะหลีกเลี่ยงในการมีเพศสัมพันธ์เพื่อความปลอดภัยค่ะ

 

ควรใส่ใจการดิ้นของทารกในครรภ์ 17 สัปดาห์หรือไม่

เรื่องนี้อาจจะเป็นเรื่องที่น่ากังวลสำหรับคุณแม่ท้องแรก เพราะคุณคงยังไม่สามารถเข้าใจ หรือจับจังหวะลูกดิ้น หรืออัตราความเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ในขณะนี้ แต่คุณจะเริ่มสังเกตได้ชัดเจนขึ้นเมื่ออายุครรภ์เข้าสู่ในช่วงสัปดาห์ที่ 22 เป็นต้นไป ดังนั้นสิ่งที่คุณแม่ทำได้คือ การดูแลตัวเองให้ดี พักผ่อนให้มาก รักษาสุขภาพกาย และใจ เพื่อเด็กในครรภ์จะได้ผ่อนคลายตามคุณแม่ไปด้วย

 

ช่วงนี้ทารกในครรภ์จะโตมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ทำให้ท้องใหญ่กว่าไตรมาสแรก และจะใหญ่ขึ้นไปมากกว่านี้ คุณแม่ยังต้องระวังการเคลื่อนไหวชนิดก้ม ๆ เงย ๆ ไม่ควรทำอะไรเร็วเกินไป หากพบปัญหาความผิดปกติเกี่ยวกับครรภ์ก็ควรรีบพบแพทย์ทันที

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ตั้งครรภ์ 18 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

ตั้งครรภ์ 19 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

อาการคนท้องระยะแรก เกิดอะไรขึ้นบ้าง เดือนแรกที่ตั้งครรภ์อาการเป็นอย่างไร

ที่มา : nhs, mamastory

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • ไตรมาส 2
  • /
  • ตั้งครรภ์ 17 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
แชร์ :
  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

  • ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

    ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

  • ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

    ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว