แม่ลองเดาเล่น ๆ สิคะว่า ในช่วง ตั้งครรภ์ 14 สัปดาห์ ท้อง 3 เดือนครึ่ง ทารกในครรภ์จะมีพัฒนาการอย่างไร และรูปร่างของคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง แล้วคุณแม่จะต้องเผชิญกับปัญหาอะไรในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 นี้บ้าง
เมื่ออายุครรภ์ของคุณแม่เข้าสู่ช่วงไตรมาสที่ 2 หรือ ตั้งครรภ์ 14 สัปดาห์ พัฒนาการของทารกในครรภ์ก็มีมากขึ้นแล้ว ตัวเด็กจะมีความยาวถึง 8.7 เซนติเมตร ขนาดเท่า ๆ กับลูกฝรั่ง 1 ลูกเลยเชียว และต่อจากนี้ทารกก็จะโตขึ้นอีกเรื่อย ๆ ว่าแต่ 14 สัปดาห์เท่ากับกี่เดือนกันนะ ? หลายคนคิดว่าการตั้งครรภ์นั้นแค่ 9 เดือน ซึ่งถ้านับเป็นรายสัปดาห์นั่นก็คือ 40 สัปดาห์ ซึ่งในตอนนี้เจ้าตัวน้อยในอายุครรภ์ของแม่ ๆ มีอายุครรภ์ได้ประมาณ 3 เดือนครึ่ง – 4 เดือน แล้วค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : พัฒนาการ ทารกในครรภ์ ตลอด 9 เดือนที่อุ้มท้อง มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
วิดีโอจาก : โตไปด้วยกัน Family Journey
พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 14 ลูกดิ้น
เมื่อเข้าสู่ช่วงแรกของไตรมาสที่ 2 แน่นอนว่าทารกในครรภ์จะมีพัฒนาการที่แตกต่างจากช่วงไตรมาสแรกอย่างแน่นอน โดยให้คุณแม่สังเกตสัญญาณที่บ่งบอกว่าทารกในครรภ์มีพัฒนาการที่ถูกต้องเหมาะสม ดังนี้
- ตุ่มรับรสของทารกในครรภ์จะเริ่มพัฒนาในช่วงตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์ ส่วนในสัปดาห์ที่ 14 นี้ มีการวิจัยบอกว่า ทารกในครรภ์สามารถรับรสขม รสหวาน และรสชาติเปรี้ยว ของน้ำคร่ำได้แล้วนะ
- เพดานปากของลูกจะถูกสร้างขึ้นโดยสมบูรณ์ในสิ้นสัปดาห์ที่ 14 นี้
- ลูกเริ่มแสดงสีหน้าได้แล้ว ภายในท้องของแม่ ลูกยิ้ม ขมวดคิ้ว หรือทำหน้าตาบูดเบี้ยวได้แล้วนะ
- ผมของลูกเริ่มงอกแล้วตรงส่วนบนของศีรษะ นอกจากนี้ Lanugo หรือขนอ่อนที่ปกคลุมร่างของทารกแรกเกิดก็เริ่มงอกแล้วเช่นกัน
- ไตของลูกเริ่มผลิตปัสสาวะแล้ว
- ลูกเริ่มขยับแขนขา ดูดนิ้วหัวแม่มือ และกระดิกเท้าเล่น
อาการคนท้อง 14 สัปดาห์ ท้อง 14 สัปดาห์
- ช่วงตั้งครรภ์ 14 สัปดาห์ หน้าท้องจะเริ่มยื่นออกมา หรือกลมป๊อกจนเห็นชัดขึ้นแล้ว แม่ ๆ เตรียมตอบคำถามว่า “ท้องแล้วเหรอ” ได้เลย
- แม่ท้องช่วงนี้จะหิวเก่ง เพราะอาการคลื่นไส้ทุเลาลงแล้ว ทำให้ความอยากอาหารกลับคืนมา ช่วงนี้แม่ท้องก็จะมีแรงกำลังมากขึ้น แต่คุณแม่ควรรับประทานอาหารอย่างระวัง รวมถึงเลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อทารกในครรภ์ด้วยนะคะ
- ความเจ็บปวด เมื่อยล้า มีมากขึ้นแล้ว ทั้งปวดหลัง เจ็บบริเวณท้อง เป็นเพราะว่า กล้ามเนื้อและเส้นเอ็น กำลังยืดขยายเพื่อรองรับขนาดของทารกในครรภ์ที่เติบโตขึ้น
- ช่วงนี้เองที่เส้นผมของแม่จะหนาและเงางามขึ้น
- มีแรงมากขึ้นกว่าเดิม จากที่แม่ ๆ หลายคนอาจอ่อนแรงในช่วงแรก ในตอนนี้แม่ ๆ มีแรงและพลังอีกครั้งแล้วค่ะ
- ผมหนาเงางาม คุณแม่จะรู้สึกว่าตัวเองผมหนาขึ้น และเงางามกว่าปกติเป็นพิเศษ
- ท้องผูกมากกว่าปกติ หรือท้องผูกติดต่อกันหลายวัน เนื่องจากลำไส้มีการเคลื่อนไหวที่ช้าลงกว่าเดิม
- รู้สึกว่าร่างกายอุ่นขึ้น เนื่องจากในร่างกายของคุณแม่มีการไหลเวียนของเลือดมากขึ้นกว่าเดิม คุณแม่ควรกิน เนื้อแดง ผักเขียว เพื่อช่วยเพิ่มเซลล์เม็ดเลือดแดง
บทความที่เกี่ยวข้อง : 7 อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ไตรมาสสอง ต้องระวัง อาการแบบไหนเสี่ยงครรภ์เป็นพิษ
การดูแลตัวเองตอนท้อง 14 สัปดาห์
ตลอด 2 ไตรมาส คุณแม่ควรดูแลครรภ์อย่างระมัดระวัง หากพบความผิดปกติ หรือมีอาการแปลก ๆ ก็ให้ปรึกษาแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรค หรือภาวะอันตรายระหว่างตั้งครรภ์ได้ ส่วนการดูแลตนเองที่บ้านสามารถส่งเสริมสุขภาพของครรภ์ได้ ดังนี้
- คนท้องที่มีอาการปวดหลัง ควรฝึกนั่งหลังตรงบ่อย ๆ หรือออกกำลังกายเบา ๆ เช่น โยคะคนท้อง หรือพิลาทิส จะช่วยบรรเทาอาการปวดหลังของคนท้องได้ แต่ต้องหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหักโหม ที่อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บได้ง่าย โดยเฉพาะบริเวณข้อต่อ เพราะช่วงนี้กระดูกและข้อจะหลวมมากขึ้น
- ความอยากอาหารกลับมาอีกครั้ง ช่วงนี้แม่ท้องต้องดูแลตัวเอง เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อร่างกาย เลี่ยงของมัน ของทอด แป้งและน้ำตาล หรืออาหารที่ทำให้อ้วน
เรื่องที่ควรทำตอนท้อง 14 สัปดาห์
- ในเมื่อความอยากอาหารและกำลังแรงกายของแม่ท้องกลับมาอีกครั้ง ช่วงนี้ลองมองหา การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับแม่ท้อง เพื่อเตรียมตัวคลอดลูกอย่างแข็งแรง
- เมื่อท้องขยาย แม่ท้องลองหาชุดคลุมท้องสวย ๆ มาใส่ดูสิ ถึงเวลาชอปปิงชุดคลุมท้องแล้วนะแม่
- นัดหมอฟัน เพื่อเข้าทำการรักษา หรือเช็คสุภาพช่องปาก
พอตั้งครรภ์ 14 สัปดาห์แล้ว แม่ลองเลือกดูคอร์สคุณแม่ คอร์สอบรมคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือคอร์สเตรียมคลอด หากสนใจจะเข้าอบรม ก็เป็นช่วงเวลาที่ดีที่จะเริ่มสมัครได้แล้วนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ตั้งครรภ์ 15 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 16 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
อาหารคนท้อง ไตรมาส 2 ท้องไตรมาสสอง สารอาหารอะไรที่ให้ร่างกายแข็งแรง
ที่มา :parenting.firstcry , mamastory
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!