ขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ คุณแม่ได้ผ่านช่วงระยะแรกของการตั้งครรภ์ และกำลังเข้าสู่ช่วง ตั้งครรภ์ไตรมาสสอง หน้าท้องที่เคยแบนก็จะเริ่มสังเกตเห็นนูนขึ้น และคุณอาจรู้สึกได้ถึงการตอดตุบ ๆ ในท้องด้วย จากที่เคยมีอาการ อ่อนเพลีย แพ้ท้อง ทานอะไรไม่ค่อยลง มาถึงตอนนี้คุณแม่จะเริ่มมีเรี่ยวแรงมากขึ้นแล้วนะคะ อาการคนท้องอ่อน ที่เคยรู้สึกทรมานก็เริ่มบรรเทาลงไปบ้าง แต่อย่าเพิ่งวางใจ เพราะความเสี่ยงสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงไตรมาสของการตั้งครรภ์ ซึ่งในไตรมาสที่ 2 นี้ อยากแนะนำให้คุณแม่สังเกตอาการอื่น ๆ เพิ่มเติม ซึ่งเป็นอาการที่มักจะเกิดขึ้นกับคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ 4-6 เดือน
ตั้งครรภ์ไตรมาสสอง ต้องเตรียมรับมือ! ชมคลิป 40 เรื่องที่คนท้องต้องรู้ โดย theAsianparent และ The Selection
ในช่วง ตั้งครรภ์ไตรมาสสอง คุณหมอจะเริ่มนัดตรวจเพื่อดูว่าเจ้าตัวเล็กในท้องมีการเติบโตอย่างไร พัฒนาการตามเกณฑ์หรือไม่ รวมถึงเช็กสุขภาพของคุณแม่ด้วย แต่ก่อนจะไปตามนัด เราอยากให้คุณได้รับชมคลิปดี ๆ สำหรับคุณแม่มือใหม่ โดย theAsianparent และ The Selection ร่วมกันจัดทำขึ้นเพราะอยากให้คุณแม่ทุกคนตระหนักถึงการดูแลตัวเอง ภายใต้คำแนะนำโดยตรงจากคุณหมอ เพื่อการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยตลอดระยะเวลา 9 เดือน สำหรับคลิป 40 เรื่องที่แม่ท้องต้องรู้ นั้นคุณแม่จะพบกับ สูตินรีแพทย์ 5 ท่าน มาให้ความรู้และวิธีการดูแลตัวเอง การสังเกตอาการที่เป็นสัญญาณบอกถึงความผิดปกติต่าง ๆ นับตั้งแต่เริ่มฝากครรภ์ไปจนถึงคลอดลูกเลยทีเดียว
สำหรับไตรมาส 2 นี้คุณแม่จะได้พบกับ พญ.สุรัสวดี อำนักมณี และ พญ.พัชรี วัฒนาธิษฐาน สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน โดยหัวข้อที่พูดถึงนั้นเป็นเรื่องสำคัญและคุณแม่ส่วนมากกังวลใจ ได้แก่
- อาการตกขาว
- อาการตะคริว
- หน้ามืด วิงเวียน
- หายใจไม่อิ่ม
- ปวดหลัง ปวดเอว
- แสบ จุกเสียดบริเวณลิ้นปี่
- บวมข้อมือ ข้อเท้า ใบหน้า
บทความที่เกี่ยวข้อง : 40 เรื่องที่แม่ท้องต้องรู้ วิดีโอแนะนำการตั้งครรภ์
คนท้องหน้ามืด วิงเวียน วูบบ่อย อ่อนเพลีย กินยาอะไรได้บ้าง
คนท้องเวียนหัว หน้ามืด วูบบ่อย เป็นลม ชีพจรเต้นเร็ว อ่อนเพลียง่าย มักจะเกิดกับคนท้องที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำ มาดูกันว่า คุณแม่จะมีวิธีรับมือกับอาการเหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง
0:00 Intro
0:15 อาการหน้ามืด วิงเวียน ในคนท้อง มีสาเหตุจากอะไร
1:08 วิธีรับมือ อาการหน้ามืด วิงเวียน
2:09 อาการหน้ามืด วิงเวียน แบบไหนควรรีบไปพบแพทย์
2:50 วิธีป้องกันไม่ให้เกิดอาการหน้ามืด
ตกขาวตอนท้อง ตกขาวสีไหนผิดปกติ มีตกขาวเยอะ คันช่องคลอด อันตรายไหม
อาการตกขาว มีตกขาวมากกว่าปกติ เกิดจากปากมดลูกและช่องคลอดมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นอาการปกติของคนท้อง แต่ต้องสังเกตให้ดี หากตกขาวมีสีเขียว มีเลือดปน หรือมีอาการคัน ควรไปพบแพทย์นะคะ
0:00 Intro
0:16 อาการตกขาวเกิดจากอะไร
0:55 ตกขาวแบบไหนปกติ
1:42 วิธีรักษาอาการตกขาว
2:33 คำแนะนำจากคุณหมอ
คนท้องหายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก อันตรายกับลูกในท้องไหม ทำยังไงดี
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ในร่างกายขณะที่กำลังตั้งครรภ์ จะทำให้ผนังทรวงอก และขนาดของมดลูกขยายใหญ่ขึ้น จนทำให้เกิด ภาวะหายใจไม่อิ่ม และกังวลว่าจะเกิดอันตรายต่อลูกในท้อง วิธีรับมือกับ อาการหายใจไม่อิ่ม หายใจเหนื่อย แบบนี้ไม่ยาก คุณหมอมีคำแนะนำมาฝากค่ะ
0:00 Intro
0:15 อาการหายใจไม่อิ่ม มีสาเหตุเกิดจากอะไร
1:20 ถ้าคุณแม่มีอาการหายใจไม่อิ่มควรทำอย่างไร
2:20 อาการหายใจไม่อิ่มเป็นสัญญาณบอกโรคหรือไม่
2:50 ลูกในครรภ์จะได้รับผลกระทบหรือไม่
3:16 คำแนะนำจากคุณหมอ
วิธีแก้ อาการปวดหลัง ปวดเอว แม่ท้องปวดหลังมาก ทำไงดี
ฮอร์โมน มดลูก และน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ทำให้คุณแม่ต้องยืนหลังแอ่นเพื่อทรงตัว จนส่งผลทำให้ปวดหลัง ยิ่งช่วงท้องแก่ ท้องใหญ่ขึ้น อาการปวดหลังยิ่งสร้างความทรมาน แต่เราสามารถบรรเทาอาการปวดหลังช่วงตั้งครรภ์ได้ มาฟังคำแนะนำจากคุณหมอกันเลย
0:00 Intro
0:15 อาการปวดหลัง ปวดเอว ของคุณแม่ตั้งครรภ์เกิดจากอะไร
1:01 วิธีบรรเทาอาการปวดหลัง ปวดเอว
1:41 อาการปวดหลังแบบไหนควรปรึกษาแพทย์
2:03 วิธีหลีกเลี่ยงอาการปวดหลัง ปวดเอว
คนท้องเป็นตะคริว แก้ยังไง ตะคริวกินน่องตอนกลางคืน อันตรายไหม
อาการตะคริวกิน บริเวณน่อง ที่คนท้องมักเป็นบ่อย ๆ ในตอนกลางคืนนั้น เกิดจากร่างกายขาดแคลเซียม และมีฟอสฟอรัสมากเกินไปในกระแสเลือด และน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ทำให้ขาทั้งสองข้างต้องแบกรับน้ำหนักตัว จนส่งผลให้ระบบหมุนเวียนเลือดตึงแน่นเกินไป คุณหมอมีคำแนะนำมาฝากสำหรับคุณแม่ที่มีอาการตะคริว ไปฟังกันเลยค่ะ
0:00 Intro
0:15 อาการตะคริว เกิดจากอะไร
1:06 เราจะป้องกันอาการตะคริวได้อย่างไร
1:36 วิธีบรรเทาเมื่อเกิดอาการตะคริว
2:01 คำแนะนำจากคุณหมอ
จุกเสียดบริเวณลิ้นปี่ คนท้องจุกเสียดท้อง แบบไหนอาจเสี่ยง ครรภ์เป็นพิษ !
อาการ จุกเสียดท้องตอนตั้งครรภ์ เสียดท้อง แสบร้อนกลางอก มักจะเกิดขึ้นหลังจากทานอาหาร และบ่อยครั้งมักจะเกิดในตอนกลางคืน หรือตอนงีบหลับ ซึ่งมีหลายสาเหตุ อาทิ แผลในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารอักเสบ กรดไหลย้อน รวมไปถึงภาวะเสี่ยง ครรภ์เป็นพิษ
0:00 Intro
0:15 สาเหตุอาการแสบ จุกเสียดลิ้นปี่
1:07 อาการแสบ จุกเสียดจากภาวะครรภ์เป็นพิษ มีอาการอย่างไร
1:44 วิธีป้องกันอาการแสบ จุกเสียดบริเวณลิ้นปี่
2:29 คำแนะนำจากคุณหมอ
วิธีแก้ อาการบวม แม่ท้องมือบวม เท้าบวม อาการบวมแบบไหนอันตราย
อาการมือบวม เท้าบวม ในคุณแม่ตั้งครรภ์ ถือเป็น อาการคนท้อง ที่เกิดขึ้นได้ ไม่ใช่ปัญหาร้ายแรง แต่ต้องสังเกตให้ดี เพราะหากบวมผิดปกติ อาจเสี่ยงต่อ ภาวะครรภ์เป็นพิษ
0:00 Intro
0:16 อาการบวม ในคุณแม่ตั้งครรภ์ เกิดจากอะไร
0:56 จะป้องกันอาการบวมน้ำได้อย่างไร
1:23 อาการบวมน้ำขนาดไหนผิดปกติ
1:57 ถ้ามีอาการบวมควรทำอย่างไร
หากคุณแม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการตั้งครรภ์อื่น ๆ สูติแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จากเครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล พร้อมให้คำแนะนำเสมอ โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถตามไปชมคลิป 40 เรื่องที่แม่ท้องต้องรู้ทั้งหมดได้ที่ช่อง YouTube ของ theAsianparent และ The Selection อย่าลืมดูแลตัวเองตามที่คุณหมอคำแนะนำ และหากพบความผิดปกติใด ๆ หรือไม่แน่ใจว่าอันตรายหรือไม่ ควรรีบมาพบแพทย์โดยเร็วที่สุดนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
11 สิ่งที่แม่ท้องต้องรู้ น้ำหนักตอนท้อง แท้งคุกคาม วิธีเร่งคลอด โดยคุณหมอสูติ
6 อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ไตรมาสแรก 1-3 เดือน ที่ส่วนใหญ่ต้องเจอ!
โฟลิก คืออะไร เหมือนโฟเลตไหม อันตรายเมื่อแม่ท้องขาดโฟลิก
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!