X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เจาะน้ำคร่ำ ตรวจอะไรบ้าง? บอกความเสี่ยงของโรคที่เกิดขึ้นกับทารกได้หรือ?

บทความ 5 นาที
เจาะน้ำคร่ำ ตรวจอะไรบ้าง? บอกความเสี่ยงของโรคที่เกิดขึ้นกับทารกได้หรือ?

หลายคนคงเคยได้ยินการเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจเช็คความปกติของทารกในครรภ์ แต่จริง ๆ แล้วมันตรวจหาอะไรได้บ้าง?

เจาะน้ำคร่ำ สิ่งที่คุณแม่หลายท่านมีความวิตกกังวลเพราะว่ากลัวว่าทารกในครรภ์จะได้รับอันตราย ในความเป็นจริงแล้วการเจาะน้ำคร่ำนั้นทำเพื่อตรวจอะไร? ส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์หรือไม่ และการเจาะน้ำคร่ำสามารถบอกความเสี่ยงของโรคที่เกิดขึ้นกับทารกได้จริงหรือไม่ ไปติดตามกันค่ะ

 

การเจาะน้ำคร่ำคืออะไร?

การเจาะน้ำคร่ำ คือ การเก็บตัวอย่างน้ำคร่ำจากถุงน้ำคร่ำเพื่อนำมาตรวจ แพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กแทงเข้าทางช่องท้องเข้าไปยังมดลูกโดยดูจากอัลตร้าซาวน์ และเก็บตัวอย่างน้ำคร่ำ (ปริมาณน้อยกว่า 1 ออนซ์) ส่งไปห้องแล็บเพื่อทำการตรวจวิเคราะห์ตามความจำเป็นและความเสี่ยงที่แพทย์ต้องการเฝ้าระวังเป็นพิเศษ

บทความที่น่าสนใจ : น้ำคร่ำ คืออะไร? มีหน้าที่สำคัญต่อคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างไร

 

เจาะน้ำคร่ำ 1

 

ทำไมต้องตรวจน้ำคร่ำ? ทำไมต้องมี การเจาะน้ำคร่ำ

การตรวจน้ำคร่ำจะสามารถบอกความผิดปกติเกี่ยวกับทารกได้ เช่นภาวะดาวน์ซินโดรม หรือความผิดปกติทางโครโมโซม ขั้นตอนการตรวจดังกล่าวถือเป็นวิธีที่ค่อนข้างปลอดภัยสำหรับทั้งตัวแม่และทารก แพทย์จึงมักแนะนำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงทางพันธุกรรมดังต่อไปนี้ทำการตรวจ:

  • สังเกตเห็นความผิดปกติจากอัลตร้าซาวด์
  • มีประวัติคนในครอบครัวมีความพิการแรกเกิด
  • เคยให้กำเนิดทารกที่มีความพิการแรกเกิด
  • มีอายุ 35 ปีขึ้นไปในวันที่กำหนดคลอด

นอกจากนี้การเจาะน้ำคร่ำสามารถตรวจพบภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (Neural tube defect (NTD) ที่มีความเกี่ยวข้องกับการไม่พัฒนาของสมองและกระดูกสันหลังของทารกในครรภ์ที่อาจนำไปสู่ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง และภาวะที่ทารกไม่มีสมองและกะโหลกศีรษะ

 

เจาะน้ำคร่ำ ต้องมีอายุครรภ์กี่สัปดาห์

คนท้องที่ต้องการเจาะน้ำคร่ำ ต้องมีอายุครรภ์ 16-20 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน อาทิ น้ำเดิน เลือดออก ติดเชื้อ หรือร้ายแรงถึงขั้น แท้งลูก คนท้องจึงไม่อาจเจาะน้ำคร่ำในช่วงอายุครรภ์ที่ต่ำกว่านี้ และนอกจากมีความเสี่ยงเรื่องภาวะแทรกซ้อนดังที่กล่าวมาแล้ว ขณะที่อายุครรภ์น้อย ๆ เซลล์ก็อาจไม่พอตรวจได้ด้วย

บทความที่น่าสนใจ : อายุครรภ์ 16 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

 

เจาะน้ำคร่ำ 2

 

ขั้นตอนการเจาะน้ำคร่ำ

คุณแม่หลายท่านมีความกังวลใจเกี่ยวกับเรื่องของการเจาะน้ำคร่ำที่ฟังดูก็น่าจะต้องเจ็บปวดทรมาน และมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อจากการเจาะเข้าไปยังบริเวณหน้าท้อง เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่าขั้นตอนการเจาะถุงน้ำคร่ำแบบคร่าว ๆ นั้นมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง เพื่อคลายกังวลให้กับคุณแม่

  1. เริ่มจากการอัลตร้าซาวด์ ตรวจดูท่าของเด็ก ตำแหน่งที่รกเกาะ เพื่อหลีกเลี่ยงการเจาะผ่านรก หรือการเจาะที่จะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์
  2. จะทำความสะอาดหน้าท้อง ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
  3. ใช้เข็มขนาดเล็กเจาะผ่านหน้าท้องและผนังมดลูก เข้าสู่ถุงน้ำคร่ำ (น้ำที่อยู่รอบ ๆ ตัวทารก) และดูดน้ำคร่ำออกมาประมาณ 20 มิลลิลิตร (ประมาณ 2-4 ช้อนชา) เพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
  4. ถอนเข็มออก ก็จะทำการปิดแผล รวม ๆ แล้วใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที

 

การตรวจน้ำคร่ำแม่นยำแค่ไหน?

  • การตรวจน้ำคร่ำมีความแม่นยำประมาณ 99.4%
  • บางครั้งการตรวจอาจไม่ได้ผลตามคาดเนื่องจากความผิดพลาดทางเทคนิค เช่น เก็บตัวอย่างน้ำคร่ำได้น้อยเกินไป หรือไม่สามารถเพาะเซลล์ให้เจริญเติบโตได้

อย่างไรก็ตาม การตรวจน้ำคร่ำไม่สามารถบ่งชี้ความผิดปกติทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้นกับทารก แต่สามารถบอกเกี่ยวกับสภาวะผิดปกติต่าง ๆ ดังต่อไปนี้:

  • ดาวน์ซินโดรม
  • โรคโลหิตจางแบบซิกเคิลเซลล์ (Sickle cell)
  • โรคซิสติกไฟโบรซิส (เยื่อหุ้มโป่งพอง)
  • โรคกล้ามเนื้อเสื่อม
  • โรคเสื่อม (Tay-Sachs) หรือโรคอื่น ๆ ที่คล้ายกัน

การตรวจน้ำคร่ำยังสามารถใช้ตรวจหาความบกพร่องที่เกิดขึ้นกับเส้นประสาท (โรคที่สมองและกระดูกไขสันหลังเจริญเติบโตผิดปกติ) เช่น สไปนาไบฟิดา (ภาวะกระดูกไขสันหลังบกพร่อง) และภาวะที่ทารกไม่มีสมองและกะโหลกศีรษะ การทำอัลตร้าซาวด์ในระหว่างการเจาะน้ำคร่ำยังอาจช่วยให้แพทย์ตรวจพบความบกพร่องอื่น ๆ ที่ไม่สามารถพบได้จากการตรวจน้ำคร่ำ เช่น โรคปากแหว่งเพดานโหว่ โรคเท้าปุก หรือโรคหัวใจ อย่างไรก็ตาม ยังมีความผิดปกติแรกเกิดอื่น ๆ ที่ไม่สามารถตรวจพบได้ด้วยการทำอัลตร้าซาวด์และการตรวจน้ำคร่ำ

 

หากคุณกำลังจะตรวจน้ำคร่ำ คุณอาจอยากถือโอกาสถามคุณหมอเกี่ยวกับเพศของเด็กด้วย เพราะนี่ถือเป็นวิธีที่สามารถระบุเพศของเด็กได้แม่นยำที่สุดวิธีหนึ่ง คุณยังสามารถทำการตรวจน้ำคร่ำในช่วงไตรมาสที่ 3 เพื่อดูว่าปอดของเด็กเจริญเติบโตพร้อมสำหรับการคลอดแล้วหรือไม่ หรือเพื่อเช็กอาการติดเชื้อต่าง ๆ

บทความที่น่าสนใจ : ตรวจดาวน์ ฟรี คนท้องอายุ 35 ปีขึ้นไป คัดกรองดาวน์ซินโดรมทุกสิทธิการรักษา

 

เจาะน้ำคร่ำ 3

 

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้หลังเจาะน้ำคร่ำ

การเจาะน้ำคร่ำ แพทย์มักจะแนะนำให้คุณแม่ที่มีการตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ระหว่าง 16-20 สัปดาห์ ซึ่งอยู่ในไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ โดยการเจาะน้ำคร่ำมีโอกาสที่อาจทำให้แท้งบุตร (น้อยกว่า 1% หรือประมาณ 1 ใน 200 ถึง 400) นอกจากนี้ ยังมีโอกาสเกิดการติดเชื้อ เกิดแผลที่ตัวเด็กหรือตัวคุณแม่ หรืออาจทำให้คลอดก่อนกำหนด แต่เป็นกรณีที่เกิดขึ้นน้อยมาก ส่วนขั้นตอนการเจาะน้ำคร่ำยังทำไปพร้อมกับการอัลตร้าซาวด์เพื่อดูตำแหน่งของเข็ม จึงลดอันตรายที่เข็มจะถูกตัวลูกในท้อง ถึงอย่างไรก็ตามหากคุณแม่บางท่านมีความจำเป็นที่จะต้องเจาะน้ำคร่ำก่อนอายุครรภ์ครบ 15 สัปดาห์ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนดังต่อไปนี้

  • เกิดตะคริว
  • มีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย
  • น้ำคร่ำไหลออกจากช่องคลอด (พบได้ยาก)
  • การติดเชื้อในมดลูก (พบได้ยาก)

 

หลังจากเจาะน้ำคร่ำ คุณแม่ทำอะไรได้บ้าง?

หลังจากการเจาะน้ำคร่ำเสร็จสิ้น และรอผลตรวจ คุณแม่สามารถกลับมาพักผ่อนที่บ้านได้ตามปกติ แต่ควรงดการออกกำลังกาย หรือกิจกรรมที่ต้องใช้กำลังมาก อาทิ ยกของหนัก ทำงานบ้าน เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ด้วย คุณแม่บางท่านอาจมีอาการปวด หรือรู้สึกไม่สบายร่างกายสามารถทานยาตามที่แพทย์สั่งจ่ายได้ หากมีการแทรกซ้อนอื่นเพิ่มเติม และดูเหมือนจะรุนแรงขึ้นให้รีบพบแพทย์ในทันที

 

เจาะน้ำคร่ำ 6

 

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

เป็นอย่างไรบ้างคะ หวังว่าคุณแม่คงคลายกังวลได้บ้างสำหรับการเจาะน้ำคร่ำ ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดใช่ไหมคะ ถึงแม้ว่าจะมีอาการแทรกซ้อนบ้างในบางกรณีแต่ก็ถือว่าพบได้ยากมาก แต่ถึงอย่างไรก็ตามหากคุณแม่มีความประสงค์ไม่ต้องการเจาะน้ำคร่ำก็สามารถปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลได้นะคะ แพทย์อาจหาทางออก หรือให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ดีที่สุดค่ะ

 

บทความที่น่าสนใจ

8 เหตุผลทำไมควร มีเซ็กส์ตอนท้อง ในไตรมาสที่ 2 มีเซ็กส์ช่วงนี้ดียังไง?

หมอนัดตรวจครรภ์บ่อยแค่ไหน เดือนนี้หมอนัดแล้วไม่ไปได้ไหม ไปเดือนหน้าได้ไหม

อาหารคนท้องไตรมาส 2 สารอาหารแบบไหนบำรุงร่างกายให้แข็งแรง

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการเจาะน้ำคร่ำ ได้ที่นี่!

เจาะน้ำคร่ำ ทำเพื่ออะไรคะ จะเป็นอันตรายกับลูกในท้องไหมคะ

 

ที่มา: 1, 2, 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • ไตรมาส 2
  • /
  • เจาะน้ำคร่ำ ตรวจอะไรบ้าง? บอกความเสี่ยงของโรคที่เกิดขึ้นกับทารกได้หรือ?
แชร์ :
  • การเจาะน้ำคร่ำ ทำเพื่ออะไร อันตรายไหม จะเจาะโดนลูกหรือเปล่า?

    การเจาะน้ำคร่ำ ทำเพื่ออะไร อันตรายไหม จะเจาะโดนลูกหรือเปล่า?

  • น้ำคร่ำแห้ง ระวังลูกตายไม่ก็พิการ จะป้องกันอย่างไรไม่ให้น้ำคร่ำแห้ง

    น้ำคร่ำแห้ง ระวังลูกตายไม่ก็พิการ จะป้องกันอย่างไรไม่ให้น้ำคร่ำแห้ง

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • การเจาะน้ำคร่ำ ทำเพื่ออะไร อันตรายไหม จะเจาะโดนลูกหรือเปล่า?

    การเจาะน้ำคร่ำ ทำเพื่ออะไร อันตรายไหม จะเจาะโดนลูกหรือเปล่า?

  • น้ำคร่ำแห้ง ระวังลูกตายไม่ก็พิการ จะป้องกันอย่างไรไม่ให้น้ำคร่ำแห้ง

    น้ำคร่ำแห้ง ระวังลูกตายไม่ก็พิการ จะป้องกันอย่างไรไม่ให้น้ำคร่ำแห้ง

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ