X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การตั้งครรภ์เดือนที่ 2 : การเปลี่ยนแปลงของแม่ ท้อง 2 เดือน และ พัฒนาการทารก

บทความ 5 นาที
การตั้งครรภ์เดือนที่ 2 : การเปลี่ยนแปลงของแม่ ท้อง 2 เดือน และ พัฒนาการทารก

สำหรับว่าที่คุณแม่มือใหม่ที่กำลังอยู่ในช่วงการตั้งครรภ์เดือนที่ 2 นั้นยังถือว่าเป็นช่วงการตั้งครรภ์ที่บอบบางมาก ดังนั้นคุณแม่ท้องไม่ควรทำกิจกรรมที่ไม่เหมาะสมในกิจวัตรประจำวันที่อาจจะส่งผลกระทบต่อครรภ์ได้ เช่น การนั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ การทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เป็นต้น มาดูกันว่าการตั้งครรภ์ในเดือนที่ 2 นี้ร่างกายคุณแม่ท้องมีอะไรเปลี่ยนแปลงกันบ้าง

วันนี้ เราจะชวนทุกคนมาคุยเรื่องการตั้งครรภ์ในเดือนที่ 2 แม่ที่ ท้อง 2 เดือน พัฒนาการทารกในครรภ์ 2 เดือน ต้องดูแลตัวเองอย่างไร และจะมีอาการอย่างไร ทารกในครรภ์ 2 เดือน จะเป็นยังไงบ้าง เรามาอ่านไปพร้อม ๆ กันค่ะ

 

ท้อง 2 เดือน ตั้งครรภ์2เดือน ร่างกายของคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

  • ระดับฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ จะส่งผลทำให้แม่ท้องมีอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ บางครั้งก็หงุดหงิด รำคาญกับคนรอบข้างบ่อยๆ โดยไม่มีสาเหตุ ซึ่งอาการหงุดหงิดแปรปรวนนี้ถือเป็นเรื่องปกติของคนท้องค่ะ
  • เต้านมขยายมากขึ้น จนเห็นเป็นเส้นเลือด หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าช่วงบริเวณฐานของหัวนมจะกว้าง และนุ่มขึ้น
  • อุณหภูมิในร่างกายจะสูงขึ้นกว่าปกติ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติในคนท้อง
  • น้ำหนักตัวในช่วงเดือนที่สองอาจจะเพิ่มขึ้นไม่มาก ซึ่งเกณฑ์ของน้ำหนักตัวคนท้องในช่วงไตรมาสแรกจะอยู่ที่ 1-2 กิโลกรัม(รวมทั้ง 3 เดือน)
  • อาการแพ้ท้องยังคงมีอยู่ ซึ่งคนท้องบางรายอาจจะแค่เวียนศีรษะ อาเจียนตอนเช้าๆ เล็กน้อย หรือไม่ก็เหม็นกลิ่นอาหาร ซึ่งอาการแพ้ท้องในช่วงการตั้งครรภ์ ก็เป็นผลให้น้ำหนักตัวของแม่ท้องไม่ค่อยเพิ่มขึ้น เนื่องจากทานข้าวได้น้อย
  • ในช่วงการตั้งครรภ์ช่วง 1-3 เดือนแรก แม่ท้องจะรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อย นั่นเป็นเพราะมดลูกเริ่มขยายใหญ่ขึ้น จึงเบียดกับกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งถือเป็นอาการปกติของคนท้อง และทุกครั้งที่รู้สึกปวดปัสสาวะไม่ควรอั้นปัสสาวะ เพราะอาจทำให้เกิดอาการท่อปัสสาวะอักเสบขึ้นได้ ดังนั้นควรเข้าห้องน้ำทุกครั้งที่ปวดปัสสาวะนะคะ
  • ถึงแม้ว่าร่างกายของแม่ท้องจะไม่ค่อยอยากรับประทานอาหารมากซะเท่าไหร่ในช่วงนี้ แต่ก็ต้องทานอาหารให้ครบ 3 มื้อ(จะทานได้น้อยก็ไม่เป็นไร) เพราะร่างกายต้องการสารอาหารเพื่อใช้ในการเสริมสร้างบำรุงอวัยวะต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย เพราะหลังจากสามเดือนไปแล้วแม่ท้องจะรู้สึกอยากทานอาหารเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ

 

Advertisement
การตั้งครรภ์ไตรมาสแรก ท้อง 2 เดือน ทารกในครรภ์ 2 เดือน

ทารกในครรภ์ 2 เดือน พัฒนาการทารกในครรภ์ 2 เดือน

 

พัฒนาการทารกในครรภ์ของ คนท้อง 2 เดือน ตั้งครรภ์2เดือน

  • ในช่วงนี้ตัวอ่อนในครรภ์คุณแม่จะได้รับอาหารจากถุงไข่แดง
  • ตัวอ่อน มีการพัฒนาร่างกายให้เติบโตขึ้นกว่าเดือนแรก อวัยวะอย่างใบหน้า ดวงตา แขน ขาพัฒนาขึ้นมาอย่างชัดเจน
  • ในช่วงสัปดาห์ที่ 6 หากมีการตรวจอัลตราซาวนด์จะพบว่าหัวใจเริ่มเต้น แม้ว่าหัวใจในระยะเริ่มต้นนี้จะเป็นเพียงหลอดเล็กๆ เท่านั้น แต่เดี๋ยวก็จะถูกพัฒนาให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเหมือนกับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย
  • ในเดือนที่ 2 ลูกน้อยจะมีความยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร มีน้ำหนักเพียงแค่ประมาณ 3 กรัม

 

ติดตามพัฒนาการด้านร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์ และติดตามพัฒนาการของทารกในครรภ์ ตลอดทั้ง 3 ไตรมาส พร้อมแลกเปลี่ยนเรื่องรางต่าง ๆ ในระหว่างตั้งครรภ์กับคุณแม่ท่านอื่น ๆ และขอรับคำปรึกษาเมื่อพบว่าตนเองมีอาการผิดปกติในระหว่างตั้งครรภ์ จากผู้เชี่ยวชาญแบบเรียลไทม์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ได้ใน ALive Powered by AIA แอปพลิเคชันสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ดาวน์โหลดฟรี ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการท้องไตรมาสแรก ที่ต้องพบในช่วงตั้งครรภ์ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 10

 

การตั้งครรภ์เดือนที่ 2 อาหารสำหรับแม่ท้อง

 

อาหารที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่ ท้อง 2 เดือน

สำหรับแม่ท้องความต้องการสารอาหารต่างๆ จะเพิ่มมากขึ้นกว่าปกตินั่นเพราะส่วนหนึ่งใช้เพื่อเสริมสร้างบำรุงร่างกายของแม่ท้องเอง และอีกส่วนหนึ่งยังจะต้องส่งต่อไปเพื่อให้ทารกในครรภ์ใช้สำหรับเสริมสร้างพัฒนาร่างกาย และอวัยวะต่างๆ ให้มีความสมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งสารอาหารเหล่านี้แม่ท้องสามารถทานได้ตลอดการตั้งครรภ์ค่ะ

 

  • โปรตีน

คือ สารอาหารหลักที่ร่างกายได้รับจากอาหารประเภทเนื้อสัตว์ โปรตีนมีความจำเป็นต่อร่างกายของแม่ท้อง และทารกน้อยในครรภ์ สำหรับใช้พัฒนาระบบการทำงานของสมอง และการเจริญเติบโตของร่างกาย แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน ร่างกายสามารถรับได้จากเนื้อสัตว์ทุกชนิด และในนม ไข่ ฯลฯ รวมถึงถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ นมถั่วเหลือง เป็นต้น

  • แคลเซียม

    ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเซลล์ต่างๆ ส่วนใหญ่พบในกระดูก ปกติแล้วร่างกายของเราไม่สามารถสร้างแคลเซียมได้เอง ต้องได้รับจากอาหารที่รับประทานเท่านั้น ในแม่ท้องควรได้รับการสะสมแคลเซียมไว้มากๆ เพราะส่วนหนึ่งแคลเซียมในร่างกายของคุณแม่จะต้องถูกส่งต่อไปให้ทารกในครรภ์สร้างกระดูก ซึ่งแม่ท้องเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนตามมาในอนาคต ดังนั้นการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมทั้งก่อนท้อง ระหว่างการตั้งครรภ์ รวมทั้งหลังคลอดแล้ว ต้องเสริมให้ร่างกายอยู่ตลอดเวลาอย่าให้ขาดนะคะ แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม เช่น นม (หากกังวลว่าลูกจะเป็นโรคภูมิแพ้นมวัวได้หลังคลอด คุณแม่อาจดื่มนมสัปดาห์ละ 2 วันก็ได้) โยเกิร์ต ชีส ปลาตัวเล็กๆ กุ้งฝอย ธัญพืชต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วแดง เต้าหู้ และผักใบเขียวเข้มทุกชนิด รวมทั้งแคลเซียมเม็ดที่คุณหมอให้ทานระหว่างตั้งครรภ์ ก็ควรทานให้หมดครบตามที่คุณหมอจัดไว้ให้ด้วยนะคะ

  • ธาตุเหล็ก

    ทำหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง นำออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง ถ้าแม่ขาดธาตุเหล็กอย่างรุนแรง และลูกได้รับเหล็กไม่เพียงพอ อาจทำให้ลูกมีปัญหาพัฒนาการทางสมองได้ แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก เช่น งา เนื้อแดง ไข่แดง ผักสีเขียวเข้ม เช่น คะน้า ตำลึง ผักโขม ฯลฯ

  • คาร์โบไฮเดรต

    มีหน้าที่สำคัญคือให้พลังงานแก่ร่างกาย เมื่อแม่ท้องอายุครรภ์เข้าช่วงตามาสที่สองเป็นต้นไป ร่างกายจะมีความต้องการคาร์โบไฮเดรตมากขึ้น นอกจากนี้คาร์โบไฮเดรตยังจำเป็นต่อระบบสมองของทารกในครรภ์ด้วย แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว ขนมปัง ธัญพืช ก๋วยเตี๋ยว

  • โฟเลต

    มีบทบาทสำคัญเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของเซลล์ต่าง ๆ ควบคุมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารก หากตามหลักแล้วคนท้องควรทานโฟเลตก่อนการตั้งครรภ์ประมาณ 3 เดือน และทานต่อไปจนกว่าจะผ่านพ้นการตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสแรก แต่ในนปัจจุบันคุณหมอที่ดูแลครรภ์จะจัดโฟเลตให้ทานตลอดการตั้งครรภ์ โฟเลต ถือเป็นส่วนสำคัญในการช่วยให้ระบบประสาท และระบบประสาทไขสันหลังของทารกในครรภ์มีความสมบูรณ์ ดังนั้นแม่ท้องต้องใส่ใจในการทานโฟเลตกันด้วยนะคะ แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโฟเลต ที่นอกเหนือจากในวิตามินที่คุณหมอจัดให้ คุณแม่ก็สามารถเสริมโฟเลตให้ร่างกายทุกวันได้จากอาหารที่มีมากอยู่ในผักใบเขียวเข้มทุกชนิด เช่น ผักโขม บร็อคโคลี่ แคลตาลูป น้ำส้ม ตับ เนื้อแดง หน่อไม้ฝรั่ง ผักคะน้า ฯลฯ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง :

อาการคนท้อง 1 เดือนแรกที่บ่งบอกว่ากำลังตั้งครรภ์

โภชนาการของคุณแม่ตั้งครรภ์

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

7 สุดยอดน้ำมันนวดคุณแม่ พร้อมไขข้อข้องใจ คนท้องนวดได้ไหม?

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • การตั้งครรภ์เดือนที่ 2 : การเปลี่ยนแปลงของแม่ ท้อง 2 เดือน และ พัฒนาการทารก
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว