X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

G6PD คือ อะไร ภาวะแพ้ถั่วปากอ้า อันตรายกับลูกน้อยแค่ไหน

บทความ 3 นาที
G6PD คือ อะไร ภาวะแพ้ถั่วปากอ้า อันตรายกับลูกน้อยแค่ไหน

โรคแพ้ถั่วปากอ้า โรคพร่องเอนไซม์ G6PD หรือภาวะพร่องเอนไซม์ Glucose-6-phosphate Dehydrogenase (G-6-PD deficiency) คืออะไร อันตรายกับลูกแค่ไหน

คุณแม่เคยได้ยินเกี่ยวกับอาการแพ้ถั่วปากอ้ากันไหมคะ ถ้าเคยได้ยิน ในวันนี้เราจะมาเล่าให้ฟังเพิ่มเติม เพราะอาการแพ้ถั่วปากอ้าของเด็ก บางทีก็เกี่ยวกับโรคความผิดปกติทางพันธุกรรม ที่เรียกว่า G6PD เราจะมาเจาะลึกกันว่า G6PD คือ อะไร เกิดจากอะไร อันตรายมากแค่ไหน หากน้อง ๆ เป็นโรคดังกล่าว คุณแม่จะสังเกตยังไง และจะทำอะไรได้บ้าง

 

โรค G6PD คืออะไร เกิดจากอะไรได้บ้าง

โรค G6PD หรือ ภาวะเอนไซม์พร่อง ถือเป็นโรคความผิดปกติทางพันธุกรรมอย่างหนึ่ง ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ จะมีเอนไซม์ G6PD (Glucose-6-phosphate dehydrogenase) ในร่างกายต่ำกว่าปกติ ซึ่งโดยทั่วไป G6PD เป็นเอนไซม์ที่ช่วยต้านสารอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยปกป้องเม็ดเลือดแดงจากการถูกทำลาย ผู้ที่ขาดเอนไซม์ชนิดนี้ จะเม็ดเลือดแดงแตกได้ง่ายกว่าคนปกติ

 

โรค G6PD เกิดจากการถ่ายทอดยีนด้อยของโครโมโซม x จากแม่สู่ลูก ที่ต่อมามีการกลายพันธุ์ ซึ่งเด็กผู้ชาย จะมีโอกาสเป็นโรคนี้ 50% ในขณะที่ผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นพาหะ 50% จึงทำให้เด็กผู้ชายมีความเสี่ยงเป็นโรคนี้ได้มากกว่าเด็กผู้หญิงนั่นเอง แต่ว่าผู้หญิงนั้น ก็สามารถส่งต่อพาหะนี้ ไปให้ลูกของตัวเองต่อได้ในอนาคตเช่นเดียวกัน

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : กินถั่วตอนท้อง ว่ากันว่าคนท้อง / แม่ให้นม ไม่ควรกินถั่ว ทำให้ลูกแพ้ถั่ว ได้จริงหรือ?

G6PD คือ

 

อาการของโรคพร่องเอนไซม์ G6PD

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ได้อธิบายไว้ว่า เด็กที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD มักจะมีอาการตาเหลือง ตัวเหลืองตั้งแต่แรกเกิด ตัวซีด มีไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปวดศีรษะ หายใจไม่อิ่ม หัวใจเต้นเร้ว ตับหรือม้ามโต มีปัสสาวะสีน้ำตาลดำคล้ายน้ำปลาหรือโคล่า หรืออาจมีภาวะไตวายเฉียบพลัน เนื่องจากเม็ดเลือดแดงที่แตกไปตกค้างอยู่ในทางเดินปัสสาวะจนเกิดการอุดกั้น นอกจากนี้ เด็ก ๆ อาจหัวใจวายเฉียบพลันได้ด้วยหากโลหิตจางมากเกินไป แต่ว่าเด็กบางคน ก็ไม่แสดงอาการใด ๆ ออกมาเลย นอกจากจะไปรับประทานยาบางชนิด หรืออาหารบางอย่าง

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : ภูมิแพ้ ลูกเป็นภูมิแพ้ รับมือได้ยังไงบ้าง รักษาได้หรือเปล่า?

G6PD คือ

 

สิ่งที่กระตุ้นให้ผู้ป่วย G6PD อาการกำเริบ

มีอาหารบางอย่าง และของบางชนิด ที่เด็ก ๆ ที่ป่วยเป็น G6PD ต้องงดสัมผัส และงดทานไปก่อน เนื่องจากว่าของเหล่านั้นอาจไปกระตุ้นให้เม็ดเลือดแดงของเด็กแตก โดยสิ่งของเหล่านั้น ได้แก่

  • ยาบางชนิด เช่น ยาไพรมาควิน ซัลโฟนาไมด์  ไนโตรฟูแรนโทอิน แอสไพริน และ แดปโซน เป็นต้น
  • การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัส เช่น โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคไวรัสตับอักเสบเอ โรคไข้ไทฟอยด์ โรคปอดอักเสบ เป็นต้น
  • สารปรุงแต่งในอาหารหรือในขนมขบเคี้ยว
  • เมนทอล ลูกอมบางชนิด
  • ลูกเหม็น การบูร
  • ถั่วปากอ้า
  • บลูเบอร์รี่

 

ดูแลลูกที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD อย่างไรดี

หากคุณแม่สังเกตเห็นว่าลูก ๆ มีอาการตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น ให้รีบพาเด็กเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลโดยด่วน หากเด็กมีเม็ดเลือดแดงแตก อาจต้องได้รับเลือดและสารน้ำทดแทนโดยด่วน เพื่อป้องกันภาวะไตวายและรักษาความผิดปกติของเกลือแร่ในเลือด เมื่อทราบว่าลูกมีภาวะดังกล่าว คุณแม่ไม่ควรให้น้อง ๆ ทานอาหารที่อาจไปกระตุ้นการแตกของเม็ดเลือดแดงโดยเด็ดขาด รวมทั้งไม่ควรให้ลูกทานยาที่หมอไม่ได้แนะนำ เพราะอาจทำให้ลูกอาการแย่ลงได้

 

บทความจากพันธมิตร
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
โรคร้ายในเด็กที่มากับหน้าหนาว โรคที่ทำให้เด็กป่วย มีอะไรบ้าง พ่อแม่ควรทำอย่างไร!
ทารกตัวเหลือง มีอุจจาระสีซีด ผิดปกตินะแม่! ต้องรีบพาลูกไปพบหมอแล้วล่ะ
พาลูกแรกเกิดกลับบ้านยังทำอะไรไม่ถูกเลย อยากรู้ควร อาบน้ำทารกวันละกี่ครั้ง

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับโรค G6PDได้ที่นี่!

โรค G6PD คืออะไรคะ แล้วอันตรายไหม ป้องกันได้อย่างไรบ้างคะ

ที่มา : 1

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • G6PD คือ อะไร ภาวะแพ้ถั่วปากอ้า อันตรายกับลูกน้อยแค่ไหน
แชร์ :
  • ภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD ในเด็ก

    ภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD ในเด็ก

  • บ้านของคุณปลอดภัยกับลูกแค่ไหน?

    บ้านของคุณปลอดภัยกับลูกแค่ไหน?

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD ในเด็ก

    ภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD ในเด็ก

  • บ้านของคุณปลอดภัยกับลูกแค่ไหน?

    บ้านของคุณปลอดภัยกับลูกแค่ไหน?

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ