Hirschsprung’s disease คือ ? อันตรายกับทารกมากน้อยแค่ไหน ทำไมเด็กถึงเป็นโรคนี้ขึ้นมาได้ วันนี้theAsianparenth Thailand จะพาทุกคนไขข้อสงสัยเกี่ยวกับ Hirschsprung’s disease คือ โรคอะไรกันแน่ รักษาอย่างไรถึงจะหาย
Hirschsprung’s disease คือโรคอะไร
Hirschsprung’s disease อ่านว่า เฮิร์ชสปริง hirschsprung disease คือ เป็นโรคลำไส้มีการอุดตันตั้งแต่กำเนิดในเด็กที่พบบ่อยในเด็กวัยทารกแรกเกิด ที่พบในทารกเพศชายมากกว่าหญิง สามารถพบได้จนถึงวัยเด็กโต โรคนี้จำเป็นต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัด หากไม่รักษาอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากลำไส้อุดตันรุนแรง จนถึงขั้นลำไส้แตกทะลุได้
ภาพ : https://aderonkebamidele.com
โรค Hirschsprung เกิดจากอะไร?
สาเหตุของโรคนี้เกิดจากพยาธิสภาพของลำไส้ใหญ่ที่ผิดปกติคือไม่มีเซลล์ปมประสาทในลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ทำให้ลำไส้ส่วนที่อยู่เหนือส่วนที่ผิดปกตินี้เกิดการอุดตันและโป่งพองออกมา มีผนังหนาขึ้นและทำให้อุจจาระผ่านลำไส้ส่วนที่ผิดปกติไปได้ยาก จนเกิดการคั่งสะสมของอุจจาระและลมในลำไส้เป็นจำนวนมาก จึงพบลำไส้โป่งพองขึ้น ผู้ป่วยจึงมีอาการท้องอืดมาก
Hirschsprung’s disease คือ อาการ อะไร
hirschsprungdisease คือ
อาการสำคัญที่สังเกตได้ง่าย ๆ คือ
- ทารกแรกเกิด ไม่ถ่าย ขี้เทาใน 48 ชั่วโมง มีอาการท้องอืดมาก อาเจียน
- ไม่ถ่ายต้องสวนทวารเป็นประจำ บางรายถ่ายเหลวกระปริบกระปรอย
- พบลำไส้แตกทะลุ มีอาการท้องอืดมาก ไม่ผายลม ไข้ขึ้นสูง ซึม
- การใช้ปรอท หรือนิ้วก้อยกระตุ้น จะช่วยให้ท้องอืดน้อยลง
- พบความผิดปกติร่วมบ่อย เช่น กลุ่มอาการดาวน์ ภาวะผิดรูปของทวารหนัก
- ประวัติใรครอบครัว พบได้ร้อยละ 10 มักพบในผู้ป่วยที่ลำไส้โป่งพองชนิดกลุ่มยาว
คุณหมอจะวินิจฉัยโรค Hirschsprung ได้อย่างไร?
หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกมีอาการผิดปกติดังกล่าวข้างต้นคือ ทารกแรกเกิดไม่ถ่ายขี้เทาหลังจากเกิดมาภายใน 2 วัน ทารกและเด็กที่โตขึ้นมามีอาการ ท้องผูกบ่อย ท้องอืดมาก ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อทำการรักษา โดยคุณหมอจะซักถามประวัติอาการโดยละเอียดและตรวจร่างกายเพิ่มเติม คุณหมออาจใช้ปรอทกระตุ้นทางทวารหนักดูการขับถ่ายขี้เทาในทารกแรกเกิด ใช้นิ้วก้อยหรือลูกโป่งสวนทวารหนักขนาด 10 ซีซี หากพบว่าทารกมีอุจจาระและลมพุ่งออกมาอย่างแรงทางรูทวารหนัก จะเป็นตัวช่วยในการวินิจฉัยโรคนี้ได้
นอกจากนี้ คุณหมออาจส่งตรวจเพิ่มเติมด้วยการเอกซเรย์สวนแป้งทางทวารหนัก (Barium enema) หากพบบริเวณของลำไส้ที่มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างส่วนที่มีและไม่มีเซลล์ปมประสาท หรือทำการส่งตรวจชิ้นเนื้อจากผนังกล้ามเนื้อของลำไส้ไปตรวจทางพยาธิวิทยาจะไม่พบเซลล์ปมประสาทตรงบริเวณลำไส้ส่วนที่มีความผิดปกติ ก็สามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้อย่างชัดเจน
การรักษาลำไส้โป่งพอง
การดูแล วิธีรักษาโรค Hirschsprung ทำได้อย่างไร?
- ผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยโรคนี้จะได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเอาลำไส้ส่วนที่ไม่มีเซลล์ปมประสาทออกและดึงลำไส้ส่วนที่ปกติมาต่อบริเวณทวารหนัก
- ปัจจุบันการผ่าตัดในผู้ป่วยบางรายสามารถทำได้ตั้งแต่แรกเกิด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของศัลยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดค่ะ
ภาพ : https://www.dailymail.co.uk
หากไม่ทำการรักษาโรค Hirschsprung จะเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างไร?
หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง ผู้ป่วยเด็กที่เป็น โรค Hirschsprung อาจมีอาการรุนแรง โดยพบว่าทารกไม่ถ่ายอุจจาระและไม่ผายลมเลย มีไข้ขึ้นสูง จนถึงขั้นลำไส้แตกทะลุเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด อาจเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
การปฐมพยาบาลในการผ่าตัด
วิธีปฐมพยาบาลก่อนการผ่าตัด
- สวนอุจจาระเพื่อบรรเทาลำไส้อุดตัน ลำไส้อักเสบ เตรียมความสะอาดก่อนการผ่าตัด
- การสวนล้างลำไส้ด้วยน้ำเกลือ
วิธีปฐมพยาบาลหลังการผ่าตัด
- ระวังอย่าให้สายยางเหลืองหลุด เพราะลำไส้อาจจะผลุบเข้าไปในช่องทองได้ ควรเอาไว้ 10 – 14 วัน แล้วค่อยนำออก
- กรณีผ่าตัดเสร็จในครั้งเดียว ล้างแผลด้วยเบตาดีน ผสมน้ำเกลือ หลังขับถ่ายอุจจาระ
- ป้องกันอาการระคายเคือง ให้ใช้วาสลีนทา
- หลังผ่าตัด 2 สัปดาห์ แพทย์จะนัดมาเพื่อขยายก้น
คำแนะนำก่อนกลับบ้าน
- ถุงรองรับอุจจาระ ชนิดปลายเปิด ใช้ได้นาน 3 – 5 วัน เพราะสามารถเทอุจจาระทิ้งได้
- ควรเลือกใช้ถุงให้เหมาะกัยผู้ป่วย
- หลังอาบน้ำแล้ว ซับหรือเช็ดผิวหนังให้แห้ง
- แกะเทปชั้นในของถุงออก แล้วครอบบนลำไส้ แกะเทปส่วนที่เหลือกดกับผิวหนังให้แน่น ไล่ลมในถุงออก ปิดปลายให้เรียบร้อย
- เปิดปลายถุงเทอุจจาระออก เมื่อมีอุจจาระจำนวนมาก เพื่อป้องกันถุงแตก
- เปิดปลายถุงระบายลมออก เพราะถุงอาจจะแตกได้
- เปลี่ยนถุงอุจจาระ เมื่อพบการรั่ว
- หากลำไส้ที่โผล่ออกมา มีสีคล้ำมากกว่าปกติ เลือดออก หรือยาวออกมาผิดปกติ ถ่ายเป็นน้ำ ควรรีบพามาพบแพทย์ทันที
หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกน้อยมีอาการที่น่าสงสัยว่าอาจเป็นโรค Hirschsprung ได้ ควรรีบปรึกษาคุณหมอเพื่อจะได้รับวินิจฉัยให้ชัดเจน จะได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุดที่สามารถทำได้ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ผนังหน้าท้องไม่ปิด สาเหตุการเกิด gastroschisis ที่ทำให้ลูกต้องทรมานตั้งแต่แรกเกิด
โรคตับในเด็ก จากใจของแม่ที่ลูก 9 เดือน ป่วยเป็นตับแข็งระยะสุดท้าย
พ่อสูบบุหรี่ ผลต่อลูก รุนแรงกว่าที่คิด ทารกอยู่ใกล้บุหรี่ อันตราย!
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!