X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

สิ่งที่ควรรู้! โรคติดต่อที่มักพบในโรงเรียนอนุบาล

บทความ 5 นาที
สิ่งที่ควรรู้! โรคติดต่อที่มักพบในโรงเรียนอนุบาล

เมื่อลูกน้อยถึงวัยเข้าโรงเรียนอนุบาลแล้ว ลูกจะได้เจอะเจอสังคมข้างนอกทำให้ลูกได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆมากขึ้นนอกจากคนในครอบครัว เพราะเขาจะได้มีเพื่อน มีครู ได้อยู่ในสถานที่ใหม่ ๆ ก็คือโรงเรียน ทุกอย่างแปลกใหม่สำหรับเจ้าหนู แต่สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่อดห่วงไม่ได้ การอยู่ร่วมกันของเด็ก ๆจำนวนมาก เสี่ยงต่อการรับเชื้อโรคมาดูกันว่าโรคติดต่อที่มักพบในโรงเรียนอนุบาลมีโรคอะไรบ้างและมีวิธีการรับมืออย่างไร ติดตามอ่าน

โรคติดต่อที่มักพบในโรงเรียนอนุบาล

1. โรคไข้หวัดธรรมดา (Common cold)

โรคติดต่อที่พบในโรงเรียนอนุบาล

เป็นโรคที่พบบ่อยมาก โดยเฉพาะเด็กเล็ก ซึ่งมักพบเป็นหวัดได้บ่อยถึงปีละ 6 – 8 ครั้ง เพราะเด็กมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำกว่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเด็กอนุบาล ในห้องเรียนมีเด็กอยู่กัน 20 – 30 คน แต่ละคนอาจมีเชื้อไวรัสไข้หวัดคนละชนิด รวม ๆ กันแล้วในห้องนั้นอาจมีเชื้อไวรัสที่ไม่ซ้ำกันถึง 10 – 20 ชนิด เด็กในห้องนั้นก็จะหมุนเวียนกันติดเชื้อไวรัสที่ไม่ซ้ำกันจนครบ ซึ่งอาจใช้เวลา 3 – 4 เดือน เรียกว่าตลอดทั้งเทอม จึงผลัดกันเป็นไข้หวัดอยู่บ่อย ๆ เมื่อรับเชื้อจนครบ ร่างกายจะมีภูมิต้านทานต่อไวรัสทุกตัวที่มีอยู่ในห้องนั้น เด็กก็จะห่างหายจากไข้หวัดไปในที่สุด

โรคหวัดจะพบได้บ่อยในช่วง 2 – 3 ปีแรกที่เข้าโรงเรียนใหม่ๆ ส่วนใหญ่เป็นเด็กวัยอนุบาล เมื่ออายุเกิน 6 ปี ก็จะเป็นหวัดน้อยลงเหลือเพียงปีละ 2 -3 ครั้ง เชื้อที่เป็นสาเหตุของหวัดส่วนใหญ่เป็นเชื้อไวรัส

อาการ

มีน้ำมูกใส ๆ ไหล จาม คัดจมูก บางคนครั่นเนื้อครั่นตัว อาจมีอาการไอตามมาทีหลังได้ อาการไข้มักจะไม่สูงมากและเป็นอยู่ไม่เกิน 3 วัน อาการหวัดมักจะหายไปเองใน 3 – 4 วัน หรือไม่เกิน 7 วัน

การรักษา

ให้ยาแก้ไข้แก้หวัด ชนิดน้ำเชื่อม ในขวดเดียวมีตัวยาผสมกันทั้ง 2 อย่าง เช่น ยาแก้หวัดแก้ไอคลอริเอต ยาแก้หวัดแก้ไอไพร์ตอน เป็นต้น ให้กินครั้งละ ครึ่ง-1 ช้อนชา วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหาร เมื่ออาการดีขึ้นก็หยุดได้ แต่ถ้าอาการไม่ดี หรือมีไข้สูงมากควรพบคุณหมอค่ะ

บทความนแนะนำ เนอสเซอรี่อันตราย แอบป้อนยาให้เด็กหลับ

2. คออักเสบ/ทอนซิล อักเสบ (Pharygitis/Tonsilitis)

โรคติดต่อที่พบในโรงเรียนอนุบาล

ทอนซิลอักเสบจากไวรัส อาจมีไข้หรือไม่มีก็ได้ ผนังคอหอยอาจมีลักษณะแดงเพียงเล็กน้อย ทอนซิลแดง โตเล็กน้อย อาจพบมีน้ำมูกใส ตาแดง คออักเสบ/ทอนซิลอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

อาการ

อาจมีอาการไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่นำมาก่อน 1-3 วัน มักจะมีไข้ ผนังคอ หรือเพดานอ่อนมีลักษณะแดงจัดและบวม ทอนซิลบวมโต มีสีแดงจัด มักมีแผ่นหรือจุดหนองขาว ๆ เหลือง ๆ อยู่บนทอนซิล อาจพบต่อมน้ำเหลืองที่ข้างคอด้านหน้า หรือใต้ขากรรไกรบวมโตและเจ็บ

การรักษา

ถ้ามีอาการเจ็บคอหรือระคายคอ ให้ลูกรับประทานอาหารอ่อน ๆ เช่น โจ๊ก หรือข้าวต้มที่ไม่ร้อนจนเกินไป หลีกเลี่ยงการใช้เสียงชั่วคราว ควรพยายามทำความสะอาดคอบ่อย ๆ โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหาร ด้วยการแปรงฟันหรือกลั้วคอด้วยน้ำยาบ้วนปาก,น้ำเกลืออุ่น ๆ หรือน้ำเปล่าหลังอาหารทุกมื้อ หากอาการไม่ดีขึ้นควรพบคุณหมอเพราะอาจต้องรักษาด้วยการทานยาแก้อักเสบหรือตามที่คุณหมอวินิจฉัย

บทความแนะนำ ลูกเกือบไม่รอดเพราะโรคต่อมทอนซิลอักเสบ

3. โรคไวรัสลงกระเพาะและลำไส้ (viral gastroenteritis)

โรคติดต่อที่พบในโรงเรียนอนุบาล

พญ. สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ อธิบายเกี่ยวกับโรคไวรัสลงกระเพาะและลำไส้ (viral gastroenteritis) ว่า เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งมีหลายสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรค ที่สำคัญและเป็นที่รู้จักกันมาก คือ เชื้อโรต้าไวรัส การติดต่อของเชื้อไวรัส เกิดจากการสัมผัสกับน้ำมูก น้ำลาย อุจจาระ จากการคลุกคลีกับเด็กที่มีเชื้อโดยตรงหรือการสัมผัสสิ่งของที่มีเชื้ออยู่แล้วเอามือเข้าปาก

บทความแนะนำ หยอดวัคซีนโรต้าแล้ว ทำไมลูกยังท้องเสียจากไวรัสโรต้าอีก

อาการ

ระยะฟักตัวหลังการสัมผัสโรคจนแสดงอาการอาจใช้เวลาสั้นเพียงไม่กี่ชั่วโมงจนถึง 2 วัน เริ่มจากอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งเป็นนานประมาณ 1-5 วัน ต่อมาอาจมีถ่ายเหลว ซึ่งอาจเป็นอยู่ 2-3 วันหรือนานเป็นสัปดาห์ มักถ่ายเป็นน้ำหรืออาจมีมูกเลือด มีไข้ต่ำๆ หรือไข้สูงก็ได้

การรักษา

1. หมอจะฉีดยาแก้อาเจียนเข้ากล้ามเนื้อต้นขาหรือสะโพก แล้วสังเกตอาการประมาณครึ่งชั่วโมง แล้วให้ลองจิบน้ำ ถ้าไม่มีอาเจียนอีก ให้กลับไปดูอาการต่อที่บ้านได้

2. ยาฉีดจะออกฤทธิ์นาน 6 ชั่วโมง เมื่อใกล้หมดฤทธิ์ยาฉีด ให้ยาแก้อาเจียนทานต่อเนื่องอีกประมาณ 1-2 วัน

3. ถ้าฉีดยาแล้วยังมีอาเจียนอีกหรือไม่อาเจียนแล้วแต่ไม่ยอมทานอะไรเลย หมอจะรับตัวไว้ในโรงพยาบาลเพื่อให้น้ำเกลือทางเส้นเลือด เพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ำและพลังงาน

4. โรคมือ เท้า ปาก (Hand Foot an Mouth disease)

โรคติดต่อที่พบในโรงเรียนอนุบาล

แรกเริ่มลูกจะมีอาการไข้ และอาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหารร่วมด้วย หลังจากนั้น 1-2 วัน จะมีน้ำมูก เจ็บปาก เจ็บคอ ไม่อยากกินอาหาร ในช่องปากจะพบมีจุดนูนแดง ๆ หรือมีตุ่มน้ำใสขึ้นตามเยื่อบุปาก ลิ้นและเหงือก ซึ่งต่อมาจะแตกกลายเป็นแผลตื้น ๆ เจ็บมาก ขณะเดียวกันก็มีผื่นขึ้นที่มือและเท้า ตรงฝ่ามือ ฝ่าเท้า ซอกนิ้วมือ ตอนแรกจะเป็นจุดแดงราบก่อน แล้วกลายเป็นตุ่มน้ำตามมา

อาการ

มักมีอาการไข้ประมาณ 3-4 วัน แผลในปากหายภายใน 7 วัน ตุ่มที่มือและเท้าหายภายใน 10 วัน ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง ส่วนน้อยที่มีอาการรุนแรง อาจมีอาการปวดศีรษะมาก อาเจียน ซึม ไม่ค่อยรู้ตัว ชัก แขนขาอ่อนแรง หรือหายใจหอบ

การรักษา

1. การรักษาจึงเป็นการรักษาอาการทั่วๆ ไปตามแต่อาการของผู้ป่วย เช่น เจ็บคอมาก รับประทานอะไรไม่ได้ เด็กจะดูเพลียจากการขาดอาหารและน้ำ ก็จะให้พยายามป้อนน้ำ นมและอาหารอ่อน

2. หากลูกเพลียมากอาจให้นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล และให้น้ำเกลือทางหลอดเลือด ร่วมกับให้ยาลดไข้แก้ปวด และ/หรือหยอดยาชาในปากเพื่อลดอาการเจ็บแผลในปาก และเฝ้าระวังสังเกตอาการของภาวะแทรกซ้อนทางสมองและหัวใจ เป็นต้น

คำแนะนำของคุณหมอ

ในกรณีที่มีการติดเชื้อโรคมือเท้าปากเปื่อยชนิดที่มีอาการรุนแรงโดยเฉพาะมีการเสียชีวิต เช่น เชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 สถานรับเลี้ยงเด็กหรือโรงเรียนอนุบาลอาจจำเป็นต้องใช้มาตรการการป้องกันที่เข้มข้นขึ้น เช่น

1. การปิดทั้งโรงเรียนเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ทำความสะอาดห้องเรียนและของเล่นต่างๆ

2. การคัดแยกเด็กป่วยออกตั้งแต่เดินเข้าที่หน้าประตูโรงเรียน

3. การหมั่นล้างมือ เช็ดถูทำความสะอาดห้องเรียนและของเล่นต่างๆ

บทความแนะนำ โรคมือเท้าปากจากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 (Enterovirus 71-EV 71)

5. โรคตาแดง

โรคติดต่อที่พบในโรงเรียนอนุบาล

โรคตาแดงจากเชื้อไวรัส เกิดขึ้นได้บ่อย โดยเฉพาะในเด็กเล็กระดับอนุบาล และเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา เป็นโรคที่ไม่มีอันตรายรุนแรง แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษา ตั้งแต่เริ่มเป็น ก็อาจติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ทำให้ตาพิการได้

อาการ

หากลูกเป็นโรคตาแดง ดวงตาของลูกจะมีขี้ตามาก โดยเฉพาะ ในช่วงเช้าๆ น้ำตาไหล เจ็บตา เคืองหรือแสบตา เกิดตุ่มเล็กๆ ขึ้นบริเวณดวงตา และอาจมีเลือดออกใต้เยื่อบุตา ทำให้ตาดูแดงจัด นอกจากนี้เด็กที่เป็นโรคตาแดงมักมีอาการไข้หวัดนำมาก่อน เช่น เจ็บคอ มีไข้ เพราะเกิดจากเชื้อไวรัสตัวเดียวกัน

การรักษา

1. เมื่อคุณแม่รู้ว่าลูกน้อยเป็นตาแดง ก็ควรพาลูกไปพบคุณหมอ ไม่ควรซื้อยาทาหรือยาหยอดตาเอง

2. ส่วนเด็กที่ยังเล็กมาก การหยอดยาอาจทำได้ลำบาก คุณหมออาจให้ยาป้ายตาเพียงอย่างเดียว

3. วิธีการหยอดตาหรือป้ายตานั้น ให้คุณแม่ดึงเปลือกตาล่างลงมาพร้อมกับให้ลูกเหลือบตา มองขึ้นด้านบน ก็จะมีช่องพอที่จะให้คุณแม่หยอดยาหรือป้ายยาลูกได้ถนัดขึ้น ในเด็กเล็กอาจต้องมีคนช่วยจับศีรษะ หรือหาของเล่นมาล่อ ให้ลูกเหลือกตาขึ้นด้านบนกันลูกดิ้น

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

4. ถ้ามีอาการไม่สบายตาหรือตาบวมมาก คุณแม่ก็สามารถใช้น้ำแข็งประคบบริเวณรอบดวงตาให้ลูกได้ และถ้ามีขี้ตามาก ควรทำความสะอาดเปลือกตาหรือขอบตาด้วยสำลีชุบน้ำสะอาด

ได้ทราบกันแล้วนะคะสำหรับโรคติดต่อที่ลูกน้อยอาจจะต้องพบเจอเมื่อเข้าโรงเรียนอนุบาล คุณแม่ควรสอนให้ลูกใช้ของใช้ส่วนตัวของตนเอง บอกลูกไม่ควรใช้แก้วน้ำ ผ้ากันเปื้อน ผ้าเช็ดหน้า หมอน ผ้าห่มของเพื่อน แม้จะห้ามยากแต่ก็ควรสอนไว้ก่อนคะ แต่ถ้าเกิดเจ็บป่วยขึ้นมาซึ่งหลีกเลี่ยงได้ยากก็รักษาตามอาการก่อน หากมีอาการไม่น่าไว้วางใจต้องไปพบคุณหมอโดยด่วนนะคะ

 

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์ คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

อ้างอิงข้อมูล

https://www.childrenhospital.go.th

https://www.facebook.com

https://www.bloggang.com

https://www.bumrungrad.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

5 โรคติดต่อควรเฝ้าระวังในปี 2559

ทำไมเด็กๆ จึงควรได้รับวัคซีน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • สิ่งที่ควรรู้! โรคติดต่อที่มักพบในโรงเรียนอนุบาล
แชร์ :
  • โรคติดต่อที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

    โรคติดต่อที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

  • โรคติดต่อในสถานศึกษา 5 โรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล มีอะไรบ้าง

    โรคติดต่อในสถานศึกษา 5 โรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล มีอะไรบ้าง

  • การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

    การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • โรคติดต่อที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

    โรคติดต่อที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

  • โรคติดต่อในสถานศึกษา 5 โรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล มีอะไรบ้าง

    โรคติดต่อในสถานศึกษา 5 โรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล มีอะไรบ้าง

  • การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

    การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ