X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรค HIV คือโรคอะไร ใช่โรคเอดส์ไหม ? มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง ?

บทความ 5 นาที
โรค HIV คือโรคอะไร ใช่โรคเอดส์ไหม ? มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง ?

หลายคนยังสงสัยอยู่ว่า HIV กับ เอดส์แตกต่างกันยังไง? วันนี้ theAsianparent พามาทำความเข้าใจของ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่าง โรค HIV โรคเอดส์คือ อะไร มาทำความรู้เกี่ยวกับเอชไอวี ผลกระทบต่าง ๆ ต่อร่างกายจะเป็นยังไง อาการของโรคเป็นแบบไหน และสามารถติดต่อได้จากช่องทางไหนบ้าง มาดูกันเลยค่ะ

 

บทความนี้ได้รับการตรวจสอบโดย นพ. วรณัฐ ปกรณ์รัตน์ (แพทย์จาก Good Doctor Technology แอปพลิเคชัน) | ตุลาคม 2565

 

HIV คืออะไร? ย่อมาจากอะไร

โรคเอดส์ เป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี โดย HIV ย่อมาจาก Human Immunodeficiency Virus เป็นเชื้อไวรัส ในขณะที่โรคเอดส์หรือ Acquired Immune Deficiency Syndrome คือกลุ่มอาการของโรคนั้นเกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกเชื้อไวรัสทำลายจนร่างกายผู้ป่วยไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคทั้งหลายที่อาจจะเข้าสู่ร่างกายได้ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี อาจจะไม่พัฒนาอาการจนเป็นผู้ป่วยโรคเอดส์เต็มขั้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : เอดส์ กับ HIV แตกต่างกันอย่างไร

 

อาการของโรค HIV

โรคเอดส์แสดงอาการตอนไหน สำหรับผู้ที่ติดเชื้อ HIV นั้นในแต่ละบุคคลจะมีการแสดงอาการที่แตกต่างกันออกไป อาการคนเป็นเอดส์ ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีอาการเหมือนกัน เอดส์อาการที่พบเจอ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะของโรคด้วย โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะใหญ่ ๆ ได้ดังต่อไปนี้

 

โรค HIV4

 

Advertisement

ระยะที่ 1 : ระยะเฉียบพลัน (Acute HIV Infections)

โรคเอดส์แสดงอาการตอนไหน ระยะแรกของการติดเชื้อ HIV ซึ่งจะเกิดขึ้นระหว่าง 2-4 สัปดาห์ หลังจากติดเชื้อในระยะนี้ โดยผู้ติดเชื้อจำนวน 2 ใน 3 คนจะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นอาการตอบสนองตามธรรมชาติของร่างกายต่อเชื้อ HIV อาการส่วนใหญ่ที่ปรากฏได้แก่

    • มีไข้
    • หนาวสั่น
    • มีผื่นขึ้นตามร่างกาย
    • มีเหงื่อออกเวลากลางคืน
    • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
    • เจ็บคอ
    • รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า
    • ต่อมน้ำเหลืองบวม
    • มีแผลในปาก

โดยอาการเหล่านี้เรียกว่า acute retroviral syndrome หรือ ARS ซึ่งสามารถเกิดขึ้นตั้งแต่ 2-3 วันแรกจนถึงหลายสัปดาห์หลังจากได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย แต่ในบางคนอาจไม่แสดงอาการใด ๆ เลยช่วงแรก

อาการโรคเอดส์ผู้หญิง อาการแรกเมื่อเริ่มเป็นโรคเอดส์ในผู้ป่วยผู้หญิงกับผู้ชายจะไม่แตกต่างกัน โดยระยะแรกของโรคเอดส์เรียกได้อีกอย่างคือ ระยะที่ 3 หรือระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี (Third Stage)

 

ระยะที่ 2 : ระยะสงบทางคลินิก (Clinical Latency Stage)

ระยะที่เชื้อไวรัสจะอยู่ในร่างกาย และมีการแพร่กระจายของเชื้อไปทั่วร่างกายของเรา แต่อยู่ในระดับที่ต่ำมาก เป็นผลทำให้ไม่การแสดงอาการใด ๆ หรืออย่างมากสุดคือมีอาการป่วยเพียงเล็กน้อย หากไม่ได้รับการรักษาผู้ติดเชื้อ HIV สามารถอยู่ในระยะนี้ได้เป็นเวลานานถึง 10-15 ปี หรือ อาจจะน้อยกว่านั้น

หากคุณตรวจพบ และอยู่ในระยะนี้ คุณหมอจะจ่ายให้คุณทานทุกวัน คุณต้องทานยาที่กำหนดเพื่อรักษาปริมาณเชื้อไวรัสภายในร่างกาย ซึ่งการทานยานั้นอาจทำให้ผลการตรวจร่างกายของคุณดีขึ้น พบเชื้อไวรัสน้อยลง หรืออาจตรวจไม่พบ (ไม่ได้หมายความรวมถึงการหายขาด) และยังช่วยในเรื่องของการลดความเสี่ยงของคู่นอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ถึงอย่างไรก็ตามคุณควรที่จะป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสจากตัวของคุณด้วยถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม

บทความที่เกี่ยวข้อง : เลือก ถุงยางอนามัย อย่างไร ถึงจะเจอในแบบที่ใช่สำหรับคุณ

 

ระยะที่ 3 : ระยะโรคเอดส์ (AIDS)

ระยะสุดท้ายของ HIV คือการพัฒนาเป็นโรคเอดส์ โดยระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง มีปริมาณเซลล์ CD4 อยู่ระหว่าง 500 ถึง 1,600 ในขณะที่ผู้ป่วยโรคเอดส์มี CD4 ต่ำกว่า 200 และระบบภูมิคุ้มกันถูกทำลายอย่างรุนแรง จนผู้ป่วยมีอาการติดเชื้อ และทำให้ผู้ป่วยมีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ โดยอาการของโรคเอดส์จะมีอาการดังต่อไปนี้

    • น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว
    • มีไข้เป็นประจำ หรือเหงื่อออกเวลากลางคืน
    • อาการเหนื่อยตลอดเวลา โดยไม่สามารถหาสาเหตุได้
    • ต่อมเหลืองที่รักแร้ ขาหนีบ หรือมีอาการบวมที่บริเวณคอ
    • พบอาการท้องร่วงเป็นนานกว่า 1 สัปดาห์
    • มีแผลในปาก ทวารหนัก หรืออวัยวะเพศ
    • มีรอยสีน้ำตาล หรือสีม่วงบนหรือใต้ผิวหนัง หรือในปาก จมูก และเปลือกตา
    • สูญเสียความทรงจำ หรือมีภาวะซึมเศร้า
    • อาจมีอาการปอดอักเสบร่วมด้วย

 

โรค HIV เป็นโรคทางเพศสัมพันธ์

โรค HIV ติดได้จากช่องทางไหนได้บ้าง

คนเราสามารถติดเชื้อ HIV ได้โดยการสัมผัสกับเลือด อสุจิ ของเหลวจากช่องคลอด และน้ำนมของแม่ โดยสาเหตุการแพร่เชื้อส่วนใหญ่นั้นจะมาจากการมีเพศสัมพันธ์ และ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรือ อาจจะส่งผ่านจากแม่สู่ลูกในช่วงตั้งครรภ์อีกด้วย ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนควรจะมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย และ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเข็มฉีดยา ที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อโรค ไม่ว่าจะระหว่างการพบแพทย์ หรือ ใช้เพื่อสักลาย โดยยังมีความเข้าใจผิดกับสาเหตุของการติดเชื้อ HIV ไม่ว่าจะมาจากการทักทาย การกอด การจูบ การจาม การใช้ห้องน้ำร่วมกันอยู่ โดยกิจกรรมเหล่านี้ ไม่สามารถทำให้ติดเชื้อ HIV ได้

 

วิธีป้องกันการติดเชื้อ HIV

ถึงแม้ว่าในโลกของเราจะมีโรค HIV เกิดขึ้นมาเป็นเวลานานมาแล้ว แต่นักวิจัย และพัฒนาก็ยังไม่สามารถผลิตวัคซีนขึ้นมาป้องกันเชื้อนี้ได้ ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดการรับ หรือแพร่เชื้อนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็น และสำคัญที่สุดในตอนนี้ ซึ่งเราสามารถป้องกันได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย

วิธีที่พบบ่อยที่สุดสำหรับการโอนถ่ายเชื้อจากคนหนึ่งสู่อีกคนคือการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด หรือทางทวารหนัก โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย หรือวิธีการอื่น ๆ ความเสี่ยงนี้ไม่สามารถกำจัดได้ทั้งหมด เว้นแต่จะมีการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์นั่นเอง แต่ความเสี่ยงนี้ก็ยังคงมีอยู่ โดยคุณจะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมาก คุณควรรู้วิธีการใช้ถุงยางอนามัยที่ถูกต้อง และต้องใช้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ และที่สำคัญจงจำไว้ว่า ของเหลวก่อนหลั่ง (ของผู้ชาย) นั้นอาจจะมีเชื้อ HIV ปะปนอยู่ก็เป็นได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีใส่ถุงยางอนามัย ข้อควรระวังในการใส่ถุงยางอนามัย ถุงยางอนามัยป้องกันอะไรได้บ้าง

 

  • หลีกเลี่ยงการใช้เข็ม หรืออุปกรณ์ที่ทำให้เกิดบาดแผลร่วมกับคนอื่น

อีกหนึ่งปัจจัยที่พบไม่บ่อยมากนักในวงการแพทย์ แต่หากคุณมีการใช้เข็มฉีดยา หรืออุปกรณ์ที่ทำให้เกิดบาดแผลร่วมกับคนอื่นนั้นก็สามารถทำให้คุณได้รับเชื้อ HIV ได้ด้วยการใช้วัสดุที่มีเลือดของผู้ติดเชื้อติดอยู่ทำให้เชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายคุณผ่านบาดแผล

 

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

ผลกระทบของเอชไอวีและเอดส์ที่มีต่อร่างกายมนุษย์

โดยร่างกายที่ติดเชื้อเอชไอวี เชื้อเอชไอวีจะโจมตีระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลงจนไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายได้ จนสุดท้ายเชื้อไวรัสจะโจมตีร่างกายทั้งหมด โดยเป้าหมายของเชื้อไวรัส เอชไอวี นั้นคือการทำลายเซลล์ที่มีหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค และ การติดเชื้อไวรัสต่าง ๆ โดย เซลล์นี้มีชื่อว่า CD4 (หรือเซลล์ T-helper) ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีความสำคัญต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เอชไอวีจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายของผู้ติดเชื้ออ่อนแอลง จนทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย

ความช้าและความเร็ว ของการดำเนินโรคและผลกระทบที่เชื้อเอชไอวี มีผลต่อร่างกายอยู่กับผู้ติดเชื้อแต่ละคน โดยมีปัจจัยหลายอย่างเช่น สุขภาพ อายุ รวมถึงความเร็วช้าในการได้รับการรักษา ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินโรคทั้งสิ้น บางคนอาจจะติดเชื้อเอชไอวีหลายปี แต่ไม่มีอาการของโรคเอดส์ ปัจจัยที่อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อเอชไอวี พัฒนาเป็นอาการของโรคเอดส์โดยรวดเร็ว รวมถึงปัจจัยทางกรรมพันธุ์ การมีอายุมากขึ้น ภาวะโภชนาการไม่ดี หรือติดเชื้อร่วมกับโรคอื่น เช่น ตับอักเสบซี หรือ วัณโรค

 

วิธีการรักษา HIV

ทางเลือกในการรักษา HIV นั้นควรเริ่มรักษาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้หลังจากที่ตรวจพบเชื้อในเลือด โดยที่ไม่ต้องคำนึงถึงปริมาณไวรัส การรักษาหลักสำหรับผู้ติดเชื้อคือการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ซึ่งเป็นการใช้ยาที่ต้องรับประทานทุกวัน เพื่อหยุดยั้งการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส ซึ่งจะช่วยป้องกันการทำลายเซลล์ CD4 ที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันนั้นอ่อนแอลง นอกจากนี้ยังช่วยเรื่องการลดความเสี่ยงการเป็นโรคเอดส์ หรือการเป็นโรค HIV ระยะที่ 3 นั่นเอง แต่ถึงอย่างไรก็ตามหากตรวจไม่พบเชื้อไวรัสแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่เป็นโรคอีกต่อไป แต่คุณยังมีเชื้ออยู่ แค่ตรวจไม่พบ และหากคุณหยุดทานยาก็สามารถทำให้เชื้อไวรัสกลับมาแพร่กระจาย และทำลายเซลล์ในร่างกายได้อีกครั้ง

 

การมีเชื้อ HIV นั้นไม่ได้ร้ายแรงอย่างที่คิด หากคุณรู้ตัวทัน และรักษาอย่างถูกวิธี แต่ทางที่ดีที่สุดคือคุณควรระมัดระวังการติดเชื้อให้ได้มากที่สุด ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์คุณควรสวมถุงยางอนามัย และไม่ใช้เข็มฉีดยา หรืออุปกรณ์ที่ทำให้เกิดบาดแผลร่วมกับคนอื่น เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณ และคู่นอนของคุณนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เตือนภัยสาว ๆ ที่ชอบทำเล็บ อันตรายใกล้ตัวสาว ติด HIV เพราะการทำเล็บ

เมื่อลูกน้อยเกิดมาพร้อมกับ เชื้อเอชไอวี

แพ็คเกจตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน 2564

ที่มา : hiv.gov, bumrungrad, cdc.gov, healthline

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

bossblink

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • โรค HIV คือโรคอะไร ใช่โรคเอดส์ไหม ? มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง ?
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว