X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

7 เทคนิคปั๊มนมอย่างไรให้สำเร็จเมื่อให้นมจากเต้าไม่ได้

บทความ 5 นาที
7 เทคนิคปั๊มนมอย่างไรให้สำเร็จเมื่อให้นมจากเต้าไม่ได้

อยากเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่ลูกไม่ยอมดูดเต้า อย่าเพิ่งถอดใจ ถ้าคุณยังไม่ได้ลอง เทคนิคปั๊มนมให้สำเร็จ 7 ข้อต่อไปนี้

ลูกไม่ดูดเต้า ปั๊มอย่างเดียว

ลูกไม่เข้าเต้า ปั้มอย่างเดียว

เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่า “นมแม่” คืออาหารที่วิเศษที่สุดสำหรับทารก เพราะนมแม่มีสารอาหารกว่า 200 ชนิด มีโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ ที่เพียงพอต่อความต้องการของลูก นมแม่มีภูมิต้านทานโรคติดเชื้อ ที่ไม่มีในน้ำนมชนิดอื่น ทำให้เด็กที่กินนมแม่ไม่ต้องเสี่ยงกับโรคท้องร่วง โรคติดเชื้อระบบทางเดินทางใจ เด็กที่กินนมแม่ยังเป็นโรคหอบหืดน้อยกว่า มีอาการทางผิวหนัง ออกผื่น น้อยกว่าเด็กที่กินนมผสม และนมแม่ยังสามารถป้องกันโรคภูมิแพ้ในเด็กได้อีกด้วย

นมแม่มีคุณค่ามากมายมหาศาลขนาดนี้ คุณแม่จำนวนมากจึงตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่ก็อาจมีหลายปัจจัยทีทำให้คุณแม่ไม่สามารถให้นมจากเต้าได้ เช่น ลูกไม่ยอมดูดเต้า ลูกที่คลอดก่อนกำหนด ลูกที่มีภาวะแทรกซ้อนทำให้ต้องอยู่ในตู้อบ เป็นต้น

แม้ลูกจะไม่ดูดนมจากเต้า ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยแม่ได้ หลักในการเพิ่มน้ำนมมีอยู่ว่า ยิ่งให้ลูกดูดมากเท่าไหร่ ร่างกายคุณแม่ก็จะยิ่งผลิตน้ำนมแม่มากขึ้นเท่านั้น การปั๊มนมก็เช่นกัน ยิ่งปั๊มนมออกมากเท่าไหร่ ร่างกายก็ยิ่งสร้างน้ำนมมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อลูกไม่ดูดเต้า ปั๊มอย่างเดียวคือคำตอบ แต่จะปั๊มอย่างไรให้สำเร็จ ต้องติดตาม 7 เทคนิคปั๊มนม ต่อไปนี้

  1. ตั้งเป้าว่าจะปั๊มนมถึงเมื่อไหร่

คุณแม่อาจไม่สามารถให้นมจากเต้าได้ เพราะต้องแยกจากลูกน้อย เช่น ทารกคลอดก่อนกำหนด หรือทารกต้องอยู่ในตู้อบด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป หรือในบางกรณีลูกอาจไม่สามารถดูดนมจากเต้าได้ เช่น ลูกมีพังผืดใต้ลิ้น หรือที่เรียกว่า ลิ้นติด หรือปัญหาอื่น ๆ ทั้งที่คุณแม่ตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แล้วแท้ ๆ แต่กลับให้นมลูกไม่ได้ หากกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นกับคุณ อย่าเพิ่งถอดใจ คุณยังสามารถให้ลูกกินนมแม่ได้ ด้วยการปั๊มนม

คุณแม่ต้องตั้งเป้าว่าจะปั๊มนมนานแค่ไหน จนกว่าน้ำหนักลูกจะเพิ่มขึ้น? หรือจนกว่าลูกจะพร้อมที่จะหย่านม? คุณแม่ควรมีคำตอบในใจ เพื่อเป็นเส้นชัยที่คุณแม่จะต้องไปให้ถึง

  1. เริ่มให้ไวที่สุด

มีการศึกษาพบว่า ในช่วง 3 สัปดาห์แรกหลังคลอด ยิ่งคุณแม่ปั๊มนมออกมากเท่าไหร่ คุณแม่จะยิ่งมีน้ำนมมากในระยะยาว คุณแม่ควรจะปั๊มในบ่อยเท่ากับความถี่ที่ลูกจะดูดนมจากเต้า คือทุก ๆ 2-3 ชั่วโมงนั่นเอง

  1. เลือกเครื่องปั๊มนมที่มีคุณภาพที่สุดเท่าที่จะจ่ายไหว

หากคุณแม่ไม่สามารถซื้อเครื่องปั๊มนมราคาแพงได้ อาจเลือกวิธีเช่าเครื่องปั๊มนม หรือซื้อเครื่องปั๊มนมมือสองสภาพดีก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

แนะนำให้ใช้เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า แบบปั๊มคู่ สองข้างพร้อมกันช่วยประหยัดเวลาในการปั๊มนมได้ดีกว่าแบบปั๊มเดี่ยว ร้านขายเครื่องปั๊มนมบางร้านสามารถให้คุณแม่ไปทดลองใช้สินค้าก่อนตัดสินใจเลือกเครื่องที่เหมาะกับตนเองมากที่สุดได้ด้วย คุณแม่จะได้ศึกษาว่าเครื่องแต่ละรุ่นมีฟังก์ชั่นอะไรบ้าง และร่างกายของคุณแม่มีการตอบสนองต่อเครื่องปั๊มแต่ละรุ่นอย่างไร รุ่นไหนแรงดูดดีกว่ากัน ปั๊มนมออกมาได้มากกว่ากัน และเกลี้ยงเต้ากว่ากัน

อย่าเพิ่งท้อใจ หากได้น้ำนมน้อยในการปั๊มนมครั้งแรก ๆ ยิ่งคุณแม่เครียดยิ่งทำให้น้ำนมไม่ออก คุณแม่ควรหาวิธีผ่อนคลายขณะปั๊มนม หรือลองนวดเต้านม ประคบเต้านม หรือดื่มน้ำก่อนปั๊มนม จะช่วยให้น้ำนมออกเยอะขึ้น

ในระหว่างปั๊มนมหากคุณแม่รู้สึกเจ็บแสดงว่ามีบางอย่างผิดปกติแล้วล่ะค่ะ เครื่องปั๊มนมที่ดีปั๊มแล้วต้องไม่เจ็บนม อาจเป็นที่กรวยปั๊มไม่ได้ขนาดกับเต้านม หรือแรงดูดมากเกินไป ลองปรับการตั้งค่าให้ปั๊มแล้วรู้สึกสบายที่สุดและได้น้ำนมมากที่สุด ไม่จำเป็นกว่าการตั้งค่าในระดับสูงสุดจะดีที่สุดเสมอไปค่ะ

  1. กำหนดตารางการปั๊มนม

คุณแม่ควรปั๊มให้ได้ 8-10 ครั้งทุก 24 ช.ม. ซึ่งจะเท่ากับจำนวนครั้งที่ลูกดูดต่อวัน แต่หากคุณแม่ไม่สามารถปั๊มได้บ่อยขนาดนั้น ให้คุณแม่ลองกำหนดตารางเวลาการปั๊มที่เหมาะกับตัวคุณมากที่สุด โดยให้ตั้งเป้าว่าจะปั๊มทั้งหมดกี่ครั้งใน 24 ชั่วโมง แต่ถ้าปั๊มตามตารางนั้นแล้ว ไม่ได้ปริมาณนมมากเพียงพอกับความต้องการ ให้เพิ่มรอบปั๊มให้ถี่ขึ้นอีก รวมถึงการปั๊มตอนกลางคืนอย่างน้อย 1 ครั้ง

ปั๊มจนเกลี้ยงเต้าคือกุญแจสำคัญที่จะทำให้คุณแม่มีน้ำนมเพิ่มขึ้น ระยะเวลาการปั๊มนมแต่ละครั้ง ในช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอด ควรปั๊มนาน 10-15 นาที  ในช่วงวันที่ 3-4 หลังคลอด เมื่อน้ำนมเริ่มมามากขึ้นให้เพิ่มระยะเวลาการปั๊มเป็น 20-30 นาทีต่อครั้ง เมื่อคุณแม่ปั๊มนมได้ปริมาณนมตามที่ตั้งเป้าในแต่ละวันแล้ว อาจจะลดจำนวนครั้งที่ปั๊มลงได้ แต่ต้องมั่นใจว่ายังคงรักษาระดับปริมาณน้ำนมนี้ไว้ได้ โดยอาจปั๊มเพียง 5-7 ครั้งต่อวัน ครั้งละ 10-15 นาที ทั้งนี้คุณแม่ต้องสังเกตปริมาณน้ำนมสัปดาห์ละครั้ง ด้วยการจดบันทึกปริมาณน้ำนมที่ได้ในแต่ละวัน

  1. อย่าให้ใครมาบั่นทอน

อาจมีคนมาพูดกับคุณว่า คุณจะปั๊มนมบ่อย ๆ ไปทำไมกัน หรือทำไมคุณยังปั๊มนมอยู่อีก แม่สามีอาจถามว่า ทำไมไม่ให้ลูกกินนมผสม สามีคุณอาจไม่เข้าใจเวลาคุณทะเลาะกับเครื่องปั๊มนม อย่าให้พวกเขาทำให้คุณต้องล้มเลิกความตั้งใจ ตราบใดที่คุณยังเชื่อมั่นว่าคุณกำลังทำสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อลูกของคุณ

  1. อย่ายอมแพ้ต่ออุปสรรคที่พบบ่อย

นอกจากเสียงจากคนรอบข้างแล้ว อุปสรรคในการปั๊มนมยังมีอีกไม่น้อย ทั้งท่อน้ำนมอุดตัน เต้านมอักเสบ เจ็บหัวนม คุณแม่ต้องยอมรับว่า อุปสรรคเหล่านี้อาจไม่ได้แก้ไขได้อย่างรวดเร็วเหมือนกับเวลาเปลี่ยนอะไหล่เครื่องปั๊มนมแล้วสามารถกลับมาปั๊มนมได้ทันที เมื่อต้องพบกับปัญหาในการปั๊มนม ความคิดที่จะเลิกปั๊มนมก็จะผุดขึ้นมาในหัวทันทีเช่นกัน ซึ่งคุณแม่ต้องเข้มแข็ง และเอาชนะความคิดด้านลบนี้ให้ได้

  1. หากำลังเสริม

การได้พูดคุยกับคุณแม่ท่านอื่น ๆ ที่มีปัญหาแบบเดียวกัน เป็นคุณแม่นักปั๊มเหมือนกัน จะช่วยให้คุณแม่มีกำลังใจในการปั๊มนมมากยิ่งขึ้น เมื่อเกิดปัญหาทางเทคนิค คุณแม่จะรู้สึกต้องต่อสู้อย่างโดดเดี่ยว เพราะยังมีคนให้ปรึกษา ให้คำแนะนำ ซึ่งจะเป็นกำลังใจให้คุณแม่ประสบความสำเร็จในการปั๊มนมอย่างที่ตั้งใจ

ขอให้คุณแม่นักปั๊มทุกท่านประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นะคะ

ที่มา https://www.bellybelly.com.au/

 

ถ้าหากคุณเป็นคุณแม่สายโซเชียล ชอบเล่น Facebook หาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต 

มาร่วม join กรุ๊ป เพื่อบอกเล่าประสบการณ์ต่างๆ

ใน คลับแม่ผ่าคลอด (C Section Club) กันได้นะคะ

7 เทคนิคปั๊มนมอย่างไรให้สำเร็จเมื่อให้นมจากเต้าไม่ได้

ลูกไม่เข้าเต้า ปั้มอย่างเดียว

เคลียร์ทุกข้อสงสัย เจาะลึกทุกประเด็นของคุณแม่ผ่าคลอด

ค้นหาคำตอบกันได้ที่ “คลับแม่ผ่าคลอด” คลิก!! https://bit.ly/32T4NsU

 

 

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

ชีวิตคุณแม่นักปั๊ม จะปั๊มนมในที่ทำงานทั้งทีต้องลำบากขนาดนี้เหรอ? ดูคลิป

ทำความเข้าใจ ขนาดกระเพาะทารก ก่อนคิดว่านมแม่ไม่พอ

บทความจากพันธมิตร
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • 7 เทคนิคปั๊มนมอย่างไรให้สำเร็จเมื่อให้นมจากเต้าไม่ได้
แชร์ :
  • ลูกไม่ดูดเต้า ตั้งเป้าปั้มนมอย่างไรให้เพียงพอ

    ลูกไม่ดูดเต้า ตั้งเป้าปั้มนมอย่างไรให้เพียงพอ

  • 3 เทคนิคปั๊มนมบนรถสำหรับคุณแม่นักปั๊ม

    3 เทคนิคปั๊มนมบนรถสำหรับคุณแม่นักปั๊ม

  • เด็กหญิง 6 ขวบ อ้วกและสลบ หลังกินข้าวไข่คนมะเขือเทศ คาดเพราะมะเขือเทศไม่สุก !

    เด็กหญิง 6 ขวบ อ้วกและสลบ หลังกินข้าวไข่คนมะเขือเทศ คาดเพราะมะเขือเทศไม่สุก !

  • สามีสงสัย!? ทำไมลูกหน้าไม่เหมือนตัวเอง ยืนกราน ตรวจ DNA สรุปผลไม่พลิก

    สามีสงสัย!? ทำไมลูกหน้าไม่เหมือนตัวเอง ยืนกราน ตรวจ DNA สรุปผลไม่พลิก

  • ลูกไม่ดูดเต้า ตั้งเป้าปั้มนมอย่างไรให้เพียงพอ

    ลูกไม่ดูดเต้า ตั้งเป้าปั้มนมอย่างไรให้เพียงพอ

  • 3 เทคนิคปั๊มนมบนรถสำหรับคุณแม่นักปั๊ม

    3 เทคนิคปั๊มนมบนรถสำหรับคุณแม่นักปั๊ม

  • เด็กหญิง 6 ขวบ อ้วกและสลบ หลังกินข้าวไข่คนมะเขือเทศ คาดเพราะมะเขือเทศไม่สุก !

    เด็กหญิง 6 ขวบ อ้วกและสลบ หลังกินข้าวไข่คนมะเขือเทศ คาดเพราะมะเขือเทศไม่สุก !

  • สามีสงสัย!? ทำไมลูกหน้าไม่เหมือนตัวเอง ยืนกราน ตรวจ DNA สรุปผลไม่พลิก

    สามีสงสัย!? ทำไมลูกหน้าไม่เหมือนตัวเอง ยืนกราน ตรวจ DNA สรุปผลไม่พลิก

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ