TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เด็กทารกดูดนิ้วสื่ออะไร ให้ทารกเลิกดูดนิ้วได้อย่างไร ดูดมากไปไม่ดีนะ

บทความ 5 นาที
เด็กทารกดูดนิ้วสื่ออะไร ให้ทารกเลิกดูดนิ้วได้อย่างไร ดูดมากไปไม่ดีนะ

เด็กทารกดูดนิ้วสื่ออะไร ลูกชอบเอานิ้วเข้าปากตลอด หากทารกดูดมากไปอาจมีผลเสียตามมา เรามาดูกันค่ะว่า เด็กทารกดูดนิ้วสื่ออะไร ทำอย่างไรให้ลูกเลิกดูดนิ้วได้

 

ทำไมทารกชอบดูดนิ้ว

การดูดนิ้วในเด็กทารกและเด็กเล็กนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติตามพัฒนาการของเด็ก เด็กทารกและเด็กเล็กจะดูดนิ้ว หรือสิ่งของเพื่อความรู้สึกอบอุ่นปลอดภัย และเป็นจุดเริ่มต้นของการสัมผัสและเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว ในเด็กบางคนมีการดูดนิ้วมาตั้งแต่ในครรภ์ เด็กบางคนชอบดูดนิ้วเพราะรู้สึกเพลิน บางคนเหงาเลยปลอบใจตัวเอง เด็กบางคนดูดเพราะต้องการบอกว่าหิวแล้ว บางคนดูดเพราะต้องการเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่ เพราะเด็กส่วนใหญ่จะเรียนรู้ว่า พอดูดนิ้วแล้วพ่อแม่จะเข้ามาสนใจทันที

 

ทารกดูดนิ้วนาน ส่งผลเสียอย่างไร

เด็กส่วนใหญ่จะหยุดดูดนิ้วเองภายในอายุ 2-4 ปี แต่ในเด็กบางคนที่ไม่สามารถเลิกดูดได้หลังจากนี้ ก็จะเกิดผลเสีย ดังนี้

  • ทำให้โครงสร้างของฟันผิดปกติ ฟันที่ขึ้นอาจมีลักษณะเหยิน ยื่น โดยเฉพาะในเด็กที่ดูดเกินอายุ 4 ปีขึ้นไป
  • ทำให้เกิดความผิดปกติของนิ้วและทำให้เล็บขบ หรือมีความผิดปกติของข้อนิ้วจนต้องพาไปพบแพทย์ เพื่อจะได้ทำการรักษาด้วยการผ่าตัด
  • มีผลทางด้านจิตใจของตัวเอง เพราะจะถูกมองว่าเป็นเด็กไม่รู้จักโต ถูกเพื่อนล้อ ถูกพ่อแม่ดุว่า
  • เด็กๆ จะใช้มือจับสิ่งต่างๆ มากมายเพราะฉะนั้น เมื่อเวลาที่เด็กเอานิ้วเข้าปากอาจจะได้รับสารพิษ หรือเชื้อโรคปนเปื้อนเข้าไปทางปาก

 

วิดีโอจาก : เด็กทารก Everything Channel

 

ทำอย่างไรให้ทารกเลิกดูดนิ้ว

  • ใช้ของเล่นเบี่ยงเบน 

ของเล่นจะเบี่ยงเบนความสนใจ โดยใช้ของเล่นที่ต้องใช้มือ เมื่อลูกเล่นสนุกจนเด็กลืมตัว จะทำให้ลืมการดูดนิ้ว

  • หากิจกรรมให้ทำ

ในเด็กเล็กๆ ให้เน้นกิจกรรมที่ต้องใช้มือทำร่วมกัน เช่น ชวนลูกเข้าครัวช่วยคุณแม่ ช่วยถือหนังสือให้คุณพ่ออ่าน หรือเล่นปั้นแป้ง โดยไม่ควรให้ความสนใจกับพฤติกรรมดูดนิ้วของเขา

  • ชมลูกเมื่อไม่ดูดนิ้ว 

เวลาที่ลูกไม่ดูดนิ้ว ควรพูดชมเพื่อให้ลูกรู้สึกว่าถ้าไม่ดูดนิ้วแล้วคุณพ่อคุณแม่จะหันมาให้ความสนใจ และเห็นเขาเป็นเด็กน่าชื่นชม

  • ไม่ดุ หรือต่อว่า เวลาลูกดูดนิ้ว 

การให้ความสนใจด้วยการต่อว่า สั่งสอน ดุ จะยิ่งเป็นการส่งเสริมทางอ้อมหรือเวลาลูกดูดนิ้วต่อหน้าคน อย่าไปดุลูก เพราะจะทำให้ลูกเกร็ง เครียด และอาจดูดนิ้วบ่อยกว่าเดิม

  • รักษาความสะอาด

หมั่นตัดเล็บลูกให้สั้น และล้างมือลูกให้สะอาดอยู่เสมอ อย่าลืมสังเกตด้วยว่าที่มือของลูกมีอาการอักเสบ คัน หรือเป็นแผลจากการดูดนิ้วหรือไม่

  • ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายช่วงเย็นจะช่วยทำให้ลูกเพลียและง่วงนอนได้ง่าย ทำให้ลูกไม่ต้องดูดนิ้วเพื่อกล่อมตัวเองให้หลับในตอนกลางคืน

 

ทารกดูดนิ้วอาจทำให้ท้องร่วงได้

เด็กที่ชอบดูดหรืออมนิ้ว ไวรัสโรต้าจะไปทำให้เกิดการติดเชื้อในลำไส้เล็ก และทำลายเยื่อบุผนังลำไส้ทำให้มีการอักเสบในลำไส้ และมีอาการอุจจาระร่วงอย่างรุนแรง ทารกจะเริ่มมีอาการอาเจียนและท้องเสีย ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำและมีไข้ หลังจากนั้นจะมีอาการท้องเดินหรือท้องร่วงอย่างรุนแรงอยู่บ่อยครั้งประมาน 4 – 8 วัน ซึ่งหากปล่อยให้มีอาการท้องร่วงบ่อย ๆ จะทำให้ขาดสารอาหารและขาดน้ำ และอาจจะถึงขั้นเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง

 

วิธีป้องกันไม่ให้ทารกท้องร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้า

  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่จะก่อให้เกิดการติดเชื้อ ด้วยการล้างมือให้สะอาด หรือการรักษาความสะอาดของสิ่งของต่าง ๆ
  • อาหารที่ต้องรับประทานในแต่ละวัน ถ้วย ชาม แก้วน้ำต้องสะอาด เพื่อลดโอกาสที่เด็กจะติดเชื้อนี้ได้
  • ควรให้เด็กได้รับวัคซีนไวรัสโรต้าเพื่อให้เด็กมีภูมิคุ้มกันไวรัสโรต้า ซึ่งเด็กอาจจะสามารถติดเชื้อไวรัสโรต้าได้อีก แต่อาการก็จะไม่รุนแรงเนื่องจากมีภูมิคุ้มกันแล้วนั่นเอง

 

ให้ลูกใช้จุกหลอกแทนการดูดนิ้วได้หรือไม่

การดูดจุกนมปลอมเป็นเวลานานส่งผลเสียไม่ต่างจากการดูดนิ้ว แต่การดูดจุกนมปลอมนั้นเมื่อถึงเวลาเลิกจะเลิกได้ง่ายกว่า

ข้อเสียของจุกหลอก

  • สร้างปัญหาในช่องปาก : เด็กที่ใช้จุกหลอกติดต่อกันเป็นเวลานานจนกระทั่งมีอายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป อาจเกิดปัญหาภายในช่องปากได้ เช่น ฟันขึ้นในลักษณะผิดปกติหรือฟันเรียงตัวผิดปกติ เป็นต้น
  • เด็กติดจุกหลอก : หากพ่อแม่ใช้จุกหลอกเพื่อช่วยให้เด็กนอนหลับง่ายบ่อย ๆ เด็กอาจติดเป็นนิสัยจนต้องดูดจุกหลอกตลอดเวลาขณะนอนหลับ ซึ่งอาจส่งผลให้เด็กร้องไห้งอแงกลางดึกเมื่อจุกหลอกหลุดออกจากปาก
  • เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่หู : การใช้จุกหลอกอาจทำให้เด็กเสี่ยงติดเชื้อบริเวณหูชั้นกลางมากขึ้น เนื่องจากจุกหลอกอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคหากไม่มีการทำความสะอาดอย่างเหมาะสม
  • ส่งผลเสียต่อการให้นมแม่ : เด็กที่เริ่มใช้จุกหลอกเร็วเกินไปอาจสับสนระหว่างการดูดนมแม่กับการดูดจุกนมหลอกได้ เนื่องจากมีวิธีการดูดที่แตกต่างกัน หากเด็กดูดนมแม่แบบที่ดูดจุกหลอกก็อาจส่งผลกระทบต่อการดูดน้ำนมได้

 

เด็กทารกดูดนิ้วสื่ออะไร

 

วิธีล้างมือที่ถูกต้อง 

  • ฝ่ามือถูฝ่ามือ เริ่มต้นการล้างมือง่ายๆ ด้วยการถูสบู่ขึ้นมาเล็กน้อยพอขึ้นฟองก่อนนำฝ่ามือทั้งสองข้างประกบกันและถูให้ทั่ว จนรู้สึกสะอาด
  • ฝ่ามือถูหลังมือ ปาดฟองสบู่มาที่หลังมือแล้วล้างมือต่อโดยการใช้ฝ่ามือถูหลังมือและซอกนิ้วให้สะอาด จากนั้นสลับข้างวิธีนี้จะทำให้ฆ่าเชื้อโรคบริเวณหลังมือที่เรามักลืมกันไป
  • ประกบฝ่ามือถูซอกนิ้ว พลิกมือกลับมาประกบกันก่อนจะล้างมือให้สะอาดด้วยการถูซอกนิ้วด้วยสบู่ให้สะอาดหมดจด
  • ฝ่ามือขัดหลังนิ้วกำกำปั้นข้างหนึ่งขึ้นล้างมือต่อ โดยใช้ฝ่ามืออีกข้างหนึ่งขัดบริเวณหลังนิ้วสลับข้างทำแบบเดียวกันจนรู้สึกว่ามือสะอาด
  • ถูนิ้วหัวแม่โป้ง กางนิ้วหัวแม่โป้งก่อนใช้ฝ่ามืออีกข้าง กำรอบแล้วหมุนวนด้วยฟองสบู่เป็นวงกลมทำให้สะอาดทั้งสองด้าน
  • ขัดฝ่ามือด้วยปลายนิ้ว แบมือข้างหนึ่ง แล้วใช้ปลายนิ้วมืออีกข้างขัดฟองสบู่ตามแนวขวางจนทั่วแล้วสลับข้างทำวิธีเดียวกัน
  • ถูรอบข้อมือ กำมือรอบข้อมือข้างหนึ่งแล้วถูวนไปรอบๆ จากนั้นเปลี่ยนข้างทำเช่นเดียวกัน วิธีนี้จะช่วยให้ข้อมือสะอาด
  • การล้างมือด้วยวิธีข้างต้นนี้ไม่ต่ำกว่า 20 วินาทีแล้วจึงล้างออกจะช่วยป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ตัวเราได้ดียิ่งขึ้น

 

อาหารที่เหมาะกับทารกแต่ละช่วงวัย 

แรกเกิดจนถึง 6 เดือน

ทารกแรกเกิด-6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียวโดยไม่ต้องให้อาหารอื่นแม้แต่น้ำเพราะนมแม่มีสารอาหารครบถ้วนและเพียงพอ  หลัง 6 เดือนยังคงกินนมแม่จนเด็กอายุ 1-2 ปีหรือนานกว่านั้น

 

6 เดือน

  • กินอาหาร 1 มื้อ
  • เริ่มให้ข้าวแต่น้อยจนครบ 3 ช้อน
  • ไข่แดง 1/2 ฟอง ปลา 2 ช้อน หรือตับบด 1 ช้อน
  • ผักสุก 1/2  ช้อน หรือฟักทอง 1/2 ช้อน
  • มะละกอสุก 2 ชิ้น หรือ ส้ม 2 กลีบ

 

7 เดือน

  • กินอาหาร 1 มื้อ
  • ข้าว 4 ช้อน
  • ไข่ 1 ฟอง ปลา 2 ช้อน หรือหมูบด 2 ช้อน
  • ผักสุก 1/2 ช้อน หรือฟักทอง 1/2  ช้อน
  • มะละกอสุก 2 ชิ้น หรือมะม่วง 2 ชิ้น

 

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

  8-9 เดือน

  • กินอาหาร 1 มื้อ
  • ข้าว 5 ช้อน
  • ไข่ 1 ฟอง ปลา 2 ช้อน หมู 2 ช้อน หรือตับบด 1 ช้อน
  • ผักสุก 2 ช้อน หรือฟักทอง 2 ช้อน
  • มะม่วง 4 ชิ้น หรือ ส้ม 1 ผล

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ทารกแต่ละสัปดาห์เปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง เริ่มเสริมพัฒนาการได้ตั้งแต่กี่สัปดาห์

6 พฤติกรรมที่พ่อแม่ไม่ควรทำกับลูก หากพ่อแม่ยิ่งทำ พฤติกรรมลูกยิ่งแย่ลง

ทารกท้องเสีย ถ่ายบ่อย ถ่ายเหลว ทำไงดี

 

ที่มาข้อมูล : samitivejhospitals.com  , paolohospital.com  , pobpad.com

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

nantichaphothatanapongbow

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • เด็กทารกดูดนิ้วสื่ออะไร ให้ทารกเลิกดูดนิ้วได้อย่างไร ดูดมากไปไม่ดีนะ
แชร์ :
  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว