คุณแม่ที่ตั้งใจให้นมแม่กับลูกน้อยนั้นล้วนรู้ดีว่า น้ำนมแม่นั้นเป็นนมที่ดีที่สุดสำหรับทารกและควรได้ให้ลูกน้อยได้กินหลังจากที่คลอดออกมา นี่คือ เคล็ดลับเพิ่มน้ำนม เพื่อที่จะช่วยให้คุณแม่มือใหม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นสามารถแน่ใจได้ว่าจะมีน้ำนมแม่เพียงพอและต่อเนื่องในช่วง 6 เดือนแรก
11 เคล็ดลับเพิ่มน้ำนม ให้มีน้ำนมแม่เพียงพอและต่อเนื่องในช่วง 6 เดือนแรก
#1 พักผ่อนให้เพียงพอ
แน่นอนว่าในช่วง 3 เดือนแรก มันอาจจะหาเวลายากมากสำหรับการพักผ่อนของคุณแม่ แต่เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่จะต้องดูแลตัวเองหากเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะความเหนื่อยล้านั้นมีผลต่อปริมาณน้ำนมแม่ การได้พักผ่อนอย่างเพียงพอวิธีที่ดีที่สุดที่จะเพิ่มปริมาณน้ำนมได้ ดังนั้นเมื่อลูกหลับคุณแม่ก็ควรจะหลับด้วย ปล่อยวางงานบ้านที่ไม่สำคัญไปก่อนและให้ความสำคัญกับการนอนในช่วงที่คุณแม่ต้องการเพิ่มปริมาณน้ำนมให้ลูกอยู่นี้
#2 หมั่นให้นมบ่อย ๆ
ช่วง 1 – 2 สัปดาห์หลังการคลอดเป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการเสริมสร้างน้ำนม ความถี่ในการให้ลูกน้อยได้ดูดนมแม่ทุก ๆ 2 ชั่วโมง จะไปกระตุ้นฮอร์โมนในการผลิตน้ำนม ยิ่งลูกของคุณต้องการนมมากเท่าไหร่ การผลิตน้ำนมก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
#3 ปั๊มน้ำนมออกมาบ้าง
เมื่อคุณแม่บางคนก็ประสบปัญหาในการให้นม การใช้เครื่องปั๊มน้ำนมแม่จะเป็นตัวช่วยในการเพิ่มปริมาณน้ำนมให้แม่ได้ เครื่องปั๊มจะทำงานเลียนแบบเคลื่อนไหวการดูดนมของทารก ซึ่งช่วยส่งผลในการเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำนม คุณแม่ควรทำการปั๊มน้ำนมประมาณ 8 – 10 ครั้งต่อวัน รวมถึงในเวลากลางคืนด้วย
#4 นวดเต้าเบา ๆ
อีกวิธีหนึ่งในการกระตุ้นการสร้างน้ำนม คือการนวดหน้าอกเบา ๆ หลังจากที่ได้ให้นมไปแล้วทั้ง 2 เต้า หรือตอนก่อนที่ยังไม่ได้ให้นม การบีบนวดหน้าอกจะช่วยให้การไหลเวียนของนมนั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง การนวดเต้านมจะช่วยให้น้ำนมส่วนหลังไหลออกมาได้ดียิ่งขึ้น ในช่วง 3 – 6 สัปดาห์แรก เมื่อลูกน้อยเริ่มที่จะนอนหลับคาอก กระตุ้นทารกให้ดูดนมด้วยการนวดเต้าเป็นจังหวะเบา ๆ ก็จะทำให้ทารกน้อยได้รับน้ำนมส่วนหลังมากขึ้นด้วย
#5 หลีกเลี่ยงการใช้จุกนมหลอก
ถ้าเป็นไปได้ในช่วงแรก ๆ ทารกควรได้ดื่มนมจากอกแม่ การให้ลูกได้ใช้จุกนมหลอกนั้น ต้องแน่ใจว่าไม่ได้ใช้เพื่อส่งเสริมให้ลูกดูดเล่น ๆ และถ้าคุณแม่จำเป็นต้องเสริมด้วยการให้นมชงแล้วล่ะก็ ให้พยายามปั๊มน้ำนมเพื่อให้เต้านมได้รับการกระตุ้นเพื่อที่จะผลิตน้ำนมได้
#6 รับประทานอาหารให้สมดุลและเพิ่มแคลอรี่ในแต่ละวัน
คุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควรได้รับปริมาณอาหารอย่างเหมาะสม ในมื้ออาหารที่เหมาะสมควรประกอบไปด้วยอาหารที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรด โปรตีน ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่ เพราะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นจำเป็นต้องได้รับพลังงานเพิ่มอีก 500 แคลอรี่ต่อวัน ถ้าคุณแม่รู้สึกหิวระหว่างมื้อควรทานผลไม้เพิ่มเติม และอย่าเพิ่งรับเข้าคอร์สโปรแกรมลดน้ำหนักหรือจำกัดอาหารในช่วงที่ให้ลูกกินนมแม่นี้อยู่นะคะ เพราะอาจจะส่งผลกับการผลิตน้ำนม ซึ่งจริง ๆ แล้วการที่ลูกดูดนมแม่ช่วยเผาผลาญแคลอรี่ลดน้ำหนักลงได้นะคะ
#7 สร้างสรรค์เมนูอาหารเพิ่มน้ำนมแม่
นอกจากการรักษาสมดุลของมื้ออาหารแล้ว ยังมีอาหารและสมุนไพรพื้นบ้านบางอย่างซึ่งเชื่อกันว่าช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมได้ เช่น สมุนไพรจีนอย่าง ตังกุย และอินทผลัม จัดเป็นสมุนไพรที่ช่วยบำรุงร่างกาย กำจัดสิ่งอุดตันต่าง ๆ และยังช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนม หรือสมุนไพรไทยอย่าง หัวปลี ดอกแค ฟักทอง กะเพรา ขิง มะรุม ฯลฯ เหล่านี้จะเพิ่มประสิทธิภาพต่อการกระตุ้นปริมาณน้ำนมที่เร็วขึ้นและมีปริมาณที่มาก
#8 ดื่มของเหลวมากๆ
ของเหลวนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องหมายถึงแต่เพียงน้ำ มันอาจหมายถึง น้ำผลไม้ นม หรือซุป การดื่มของเหลวจำนวนมากนั้นจะช่วยทดแทนของเหลวที่คุณแม่เสียไปในขณะที่ให้นมลูก คุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นควรที่จะดื่มของเหลวอย่างน้อย 2 ลิตรต่อวัน และของเหลวที่ดื่มได้ในที่นี้ไม่รวมเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์นและคาเฟอีนนะคะ เพราะแอลกอฮอล์นั้นเป็นสาเหตุให้เกิดการการหลั่งน้ำนมที่ช้าลงได้ในแม่บางคน รสขมในเบียร์นั้นอาจทำให้ทารกบางคนไม่กินนมจากแม่ด้วย และยังสามารถส่งผลต่อความตื่นตัวของทารกและความสามารถในการให้นมของคุณแม่ ส่วนคาเฟอีนนั้นอาจทำให้ทารกที่ดูดนมแม่เข้าไปรู้สึกกระสับกระส่ายได้ อย่าลืมนะคะว่า ว่าอะไรก็ตามที่คุณแม่กินเข้าไปลูกน้อยก็ได้รับเช่นกัน
#9 หลีกเลี่ยงอาหารที่มีผลต่อการเพิ่มปริมาณน้ำนม
อาหารที่มีรสชาติรุนแรงอย่างเช่น กระเทียมและหัวหอม เมื่อคุณแม่รับประทานเข้าไปรสชาติจะผสมเข้าไปในนมแม่ ทำให้ทารกบางคนที่มีความรู้สึกไวต่อการเปลี่ยนแปลงของรสชาติของนมแม่อาจเบือนหน้าหนี ไม่เข้าเต้า ซึ่งเป็นผลทำให้ลธกไม่ยอมดูดนมแม่ กินลดลง เป็นผลต่อการเพิ่มปริมาณน้ำนมได้
#10 หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
คุณแม่ที่สูบบุหรี่นั้นจะผลิตน้ำนมได้น้อยกว่าคุณแม่ที่ไม่ได้สูบบุหรี่ และมีรายงานว่าสารนิโคตินในบุหรี่นั้นมีผลกระทบโดยตรงกับทารกน้อย เป็นสาเหตุของการอาเจียน ปวดท้อง ท้องร่วง คลื่นไส้ เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและความกระสับกระส่ายของทารก และอาจทำให้ทารกมีความเสี่ยงสูงของการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ และโรคที่เกี่ยวข้องกับโรคภูมิแพ้ได้
อ่านเพิ่ม : จริงจังแค่ไหนที่คิดจะสูบบุหรี่ในช่วงให้นมลูก
#11 หลีกเลี่ยงความเครียด
ผลการวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่าการมีความเครียดที่สูงมาก ๆ นั้นส่งผลให้การผลิตน้ำนมลดลง ดังนั้นอยู่ให้ห่างจากสิ่งที่ทำให้เครียดหรืออย่างน้อยที่สุดคือไม่พยายามทำให้เกิดความเครียดเข้าไว้ เช่น ถ้างานบ้านเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณแม่เครียด ก็ลองจ้างแม่บ้านไม่ว่าจะเป็นแบบพาร์ทไทม์หรือเต็มเวลามาทำแทน หรือหาตัวช่วย เพื่อมาช่วยเลี้ยงลูกในบางครั้ง ลองแบ่งงานให้กับคุณสามีหรือสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัวให้ทำแทน เพื่อคุณแม่จะได้หาเวลาว่างในการผ่อนคลายให้กับตัวเองได้บ้าง
หวังว่าเคล็ดลับเหล่านี้พอที่จะช่วยคุณแม่มือใหม่หายกังวลกับปัญหาเรื่องน้ำนมน้อยลงได้นะคะ
sg.theasianparent.com
บทความอื่นที่น่าสนใจ :
5 เคล็ดลับ เลี้ยงทารกให้อารมณ์ดี มีความสุข ต้องทำแบบนี้กับลูกทุกวัน
7 เคล็ดลับดูแลลูกน้อย ช่วยชีวิตแม่มือใหม่ใน 2-3 สัปดาห์แรกให้ง่ายขึ้น
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!