X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

จริงจังแค่ไหนที่คิดจะสูบบุหรี่ในช่วงให้นมลูก

บทความ 5 นาที
จริงจังแค่ไหนที่คิดจะสูบบุหรี่ในช่วงให้นมลูก

สำหรับผู้หญิงที่กลายมาเป็นแม่นั้นควรคิดให้รอบคอบทั้งในระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด เพราะผลจากการกระทำของคุณแม่ส่วนใหญ่ล้วนส่งผลต่อลูกน้อยทั้งสิ้น แม่ท้องที่สูบบุหรี่จะมีผลกระทบต่อลูกในครรภ์สูงมาก และหลังคลอดการที่ทารกได้รับควันบุหรี่มือสองจากคุณแม่นั้นลูกจะปลอดภัยแค่ไหนมาดูคำตอบได้ที่นี่

ถึงแม้ว่าอันตรายจากสารพิษที่ แม่สูบบุหรี่ ในช่วงให้นมลูกจะส่งผลกระทบต่อลูกที่กินนมแม่น้อย แต่เมื่อเทียบกับการที่ลูกได้รับควันบุหรี่มือสองในขณะดูดนมจากแม่ด้วยนั้นมันถือเป็นอันตรายที่ควรต้องให้ทารกหลีกเลี่ยง!!

มีหลายงานวิจัยและการศึกษาที่มีการยืนยันว่าการสูบบุหรี่ที่นอกจากไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพแล้วนั้น แม่ที่สูบบุหรี่ในขณะให้นมลูกไปด้วยก็จะส่งผลให้ทารกได้รับควันบุหรี่ด้วย ถึงแม้ว่านมแม่ที่จะมีภูมิคุ้มกันดีที่สุดก็ตาม แต่ก็ไม่หมายความว่าจะปกป้องสุขภาพของลูกจากควันบุหรี่ไปได้

แม่สูบบุหรี่-01

แม่สูบบุหรี่-01

แม่ที่สูบบุหรี่ในระหว่างให้นมมีผลต่อทารกแค่ไหน

  • ทารกอาจจะมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกผลกระทบจากการติดเชื้อที่หู ติดเชื้อไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ เป็นปอดบวม โรคหอบหืด และเกิดการระคายเคืองตาได้
  • แม่สูบบุหรี่อาจทำให้ทารกมีความเสี่ยงสูงของการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ และโรคที่เกี่ยวข้องกับโรคภูมิแพ้ได้
  • แม่ที่สูบบุหรี่จัดยังส่งผลให้ลูกน้อยมีอาการบางอย่าง เช่น ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ และอาเจียนได้
  • แม่ที่สูบบุหรี่ในระหว่างการเลี้ยงลูกด้วยนม ส่งผลให้ทารกมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปอด หรือมีแนวโน้มที่จะสูบบุหรี่เองในอนาคตได้
  • การที่ลูกน้อยได้สัมผัสควันบุหรี่ไปเรื่อย ๆ จะทำให้ทารกมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้

นอกจากผลกระทบที่ลูกได้รับขณะที่แม่สูบบุหรี่แล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวแม่แน่นอนว่าเป็นเรื่องของสุขภาพแล้ว การสูบบุหรี่อาจจะทำให้ระดับของฮอร์โมนโปรแลคตินในร่างกายของแม่ลดลง และลดการผลิตของน้ำนม นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการขาดไอโอดีนในน้ำนมลงได้

Advertisement

 

แม่สูบบุหรี่-02

แม่สูบบุหรี่-02

ผลของการสูบบุหรี่ในระหว่างการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นจะส่งผลกระทบต่อทั้งแม่และลูกน้อยเป็นอย่างมาก เพื่อลดความเสี่ยงที่ทารกจะได้รับควันบุหรี่มือสอง สิ่งที่แม่ควรทำคือ

  • หยุดสูบบุหรี่ให้ได้อย่างเด็ดขาดในระหว่างเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และถ้าเป็นไปไม่ได้ก็ไม่ควรจะสูบบุหรี่ในช่วงก่อนหรือในขณะที่ให้นมลูก
  • เพื่อลดความเสี่ยงในการได้ลูกน้อยจะได้รับนิโคตินผ่านทางน้ำนมแม่ คุณแม่ที่ตั้งใจให้ลูกกินนมแม่ควรเลิกสูบบุหรี่หรือลดจำนวนการสูบบุหรี่ต่อวันลงให้น้อยที่สุด
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ในณะที่อยู่ในห้องเดียวกับลูกน้อย หรือออกไปสูบข้างนอกให้ห่างไกลจากทารกน้อย เพื่อลดความเสี่ยงที่ทารกจะได้รับควันบุหรี่มือสองจากแม่

ถ้าหากคุณแม่พยายามและมีความตั้งใจในการไม่สูบบุหรี่ หรือรู้สึกว่ากำลังติดยาเสพติดอย่างจริงจัง ทางออกที่ดีคือการพูดคุยหรือปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำได้นะคะ หลังคลอดลูกแล้วสามารถสูบบุหรี่ได้หรือไม่ ลูกโตแล้วพ่อแม่สูบบุหรี่ใกล้ๆลูกได้หรือไม่? คำถามเหล่านี้มักจะได้ยินเป็นประจำค่ะ ว่าคุณแม่ที่ตอนนี้ไม่ได้ท้องสูบบุหรี่ใกล้ๆลูกจะมีผลเสียหรือไม่ ตรงนี้ขอบอกไว้เลยค่ะว่าการที่คุณสูบบุหรี่เมื่ออยู่ใกล้ๆลูก ซึ่งทำให้ลูกได้กลิ่นไปด้วยจะมีผลเสียพอๆกับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์แล้วสูบบุหรี่ไปด้วยเลยค่ะ ถ้าหากคุณสูบบุหรี่ใกล้ๆลูกของคุณที่เป็นเด็กวัยหัดเดินหรือใกล้กับเด็กคนอื่นๆที่อยู่บริเวณใกล้เคียงพอที่จะสูดกลิ่นควันนั้นได้ เด็กเหล่านั้นจะมีความเสี่ยงเรื่องน้ำหนักที่ต่ำกว่ามาตรฐานได้ในอนาคต มีผลเสียเหมือนกับเด็กทารกที่อยู่ในครรภ์แม่ที่สูบบุหรี่ตอนตั้งครรภ์ เด็กที่คลอดออกมาจะมีน้ำหนักน้อยและอาจคลอดก่อนกำหนดได้เช่นกัน มีผลวิจัยพบว่า เด็กในปัจจุบันจะมีร่างกายที่ไม่แข็งแรงตามวัยที่ควรจะเป็น ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยออกกำลังกายให้แข็งแรง และเด็กส่วนมากเหล่านี้จะอาศัยอยู่กับครอบครัวที่มีผู้สูบบุหรี่ถึงร้อยละ 40 เปอร์เซ็นต์ของเด็กทั่วโลกเลยที่เดียวค่ะ เด็กที่มีอายุตั้งแต่ แรกเกิด-10 ปี ถ้าอาศัยอยู่ในครอบครัวที่มีผู้สูบบุหรี่ จะทำให้ การทำงานของระบบประสาททำงานได้ไม่ดี เจริญเติบโตช้า และระบบประสาทบางส่วนอาจเกิดความเสียหาย จนทำให้เด็กสูญเสียพัฒนาการบางอย่าง เพียงแค่ได้สูดควันและได้กลิ่นของบุหรี่เข้าไปเพียงแค่วันละ 2-3  ครั้งเท่านั้น ดังนั้น ครอบครัวไหนที่มีเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปีควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ในบ้าน หรือ สูบบุหรี่ใกล้ๆเด็กโดยเด็ดขาด เพราะอาจส่งผลเสียร้ายแรงต่อร่างกายของเด็กในอนาคตได้ค่ะ

ควันบุหรี่มือสอง อันตรายต่อคนใกล้ตัว

ลูกเกิดมาเพื่อดื่มนมแม่  

แม่สูบบุหรี่ เป็นต้นเหตุของโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดอื่น ๆ รวมถึงเส้นเลือดสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของโลก การที่คนไม่ได้สูบบุหรี่ได้รับควันเข้าไป ก็จะทำให้เกิดโทษเหมือนกับคนที่สูบบุหรี่ได้เช่นกัน วันนี้เรามีข้อมูลสุขภาพเกี่ยวกับอันตรายของควันบุหรี่มือสองที่จะส่งผลต่อคนรอบข้างมาบอกเล่าให้ฟังกันค่ะ

ควันบุหรี่เป็นอันตรายไม่ว่าจะเป็นผู้ที่สูบหรือไม่ได้สูบบุหรี่ก็ตาม เพราะในควันบุหรี่ประกอบด้วยสารเคมีอันตรายหลายชนิด ซึ่งเมื่อสูดดมควันบุหรี่เป็นประจำอาจเสี่ยงต่อโรคร้ายแรงได้ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคปอด โรคมะเร็ง เป็นต้น สารพิษจากควันบุหรี่มือสองที่ผู้ใกล้ชิด หรือผู้ที่อยู่รอบข้างสูดดมเข้าไปจะอันตรายกว่าผู้สูบบุหรี่โดยตรง เพราะเป็นควันบุหรี่ที่ออกมาทางปลายมวนที่ติดไฟจะไม่ผ่านสารตัวกรองอะไรทั้งนั้นซึ่งในส่วนนี้เองจะมีสารพิษค่อนข้างมาก ควันบุหรี่เกิดได้จากสองแหล่งด้วยกัน คือ ควันบุหรี่ที่ผู้สูบพ่นออกมา และควันที่ลอยจากตอนปลายมวนบุหรี่ ควันบุหรี่เหล่านี้อันตราย ถึงแม้ตัวเองจะไม่ได้เป็นผู้สูบโดยตรงก็ตาม แต่ก็จะทำให้เกิดความระคายเคืองต่อ ตา จมูก คอ ส่งผลให้เกิดการคลื่นไส้ ปวดศีรษะ รวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น หอบ ภูมิแพ้ อาจทำให้กำเริบได้

อันตรายจากควันบุหรี่มือสองต่อกลุ่มคนต่าง ๆ
หญิงมีครรภ์และเด็กทารก
– มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์และคลอดบุตร โดยอาจมีอาการครรภ์เป็นพิษ แท้ง คลอดก่อนกำหนด และเกิดอาการไหลตายในเด็กสูงขึ้น
– มีความเสี่ยงที่ทารกแรกคลอดจะมีน้ำหนักตัวและความยาวน้อยกว่าปกติ  พัฒนาการทางสมองช้ากว่าปกติ และอาจมีความผิดปกติทางระบบประสาท และระบบความจำ
เด็กเล็ก
– ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบและปอดบวมสูงกว่าเด็กทั่วไป
– มีอัตราการเกิดโรคหืดเพิ่มขึ้น
– เกิดการติดเชื้อของหูส่วนกลางในระยะยาว
– เด็กที่ได้รับควันบุหรี่มือสองจะมีพัฒนาการของปอดน้อยกว่าเด็กที่ไม่ได้รับควันบุหรี่
ผู้ใหญ่
– เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ
– เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอด
– เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งที่ลำคอมากกว่าผู้ที่ไม่ได้รับควันบุหรี่ 3 เท่า
– เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งอื่นๆ มากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า
– ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบหลอดเลือดหัวใจทันทีที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง      

หลีกเลี่ยงควันบุหรี่มือสองอย่างไรดี
สำหรับผู้ที่สูบบุหรี่ ควรตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับคนในครอบครัว ไม่ควรสูบบุหรี่ภายในบ้าน เปลี่ยนเสื้อผ้าและล้างมือที่อาจปนเปื้อนสารเคมีจากควันบุหรี่ก่อนสัมผัสหรืออุ้มเด็กและทารก ทางที่ดีที่สุดในการป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากควันบุหรี่ คือหลีกเลี่ยงสถานที่ ๆ มีควันบุหรี่ และไม่อยู่ในบริเวณเขตสูบบุหรี่ ซึ่งจะช่วยให้คุณมีสุขภาพร่างกายที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน

ระโยชน์ของนมแม่ต่อลูกและแม่มีดังนี้

แม่สูบบุหรี่-03

แม่สูบบุหรี่-03

– จากการศึกษาในปัจจุบันพบว่าทารกที่ดื่มนมแม่อย่างเดียวเป็นเวลานาน 6 เดือน  จะมีปัญหาน้อยลงเกี่ยวกับหูอักเสบ  ท้องเดิน  โรคทางเดินหายใจ  และปัญหาเรื่องเด็กอ้วน

– การให้นมแม่ช่วยยืดระยะการมีประจำเดือนและยืดระยะการตั้งครรภ์ถัดไป

– การให้นมแม่  ลดอุบัติการณ์เกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ในแม่

– การให้นมแม่  ช่วยเพิ่มความสัมพันธ์แนบแน่นระหว่างแม่กับลูก

– การให้นมแม่ทำให้ทำให้แม่มีความมั่นใจและภาคภูมิใจตนเองในการเลี้ยงลูก

ผลดีของการให้นมแม่ต่อครอบครัว

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

– ประหยัดค่าซื้อนมหลายพันบาท(อาจถีงหมื่น)
– ลดค่าใช้จ่ายจากความไม่สบายของเด็กจากการให้นมขวด
– เป็นการสร้างสุขภาพให้ชุมชน

เคล็ดลับการเริ่มต้นให้นมแม่ที่ราบรื่น

1. ให้แม่ศึกษาการให้นมแม่ตั้งแต่เมื่อตั้งครรภ์เพื่อให้ทราบว่าควรจะเริ่มต้นทำอย่างไรตั้งแต่ครั้งแรกที่มีลูกเข้าสู่อ้อมกอดแม่

2. ฝากครรภ์สม่ำเสมอเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์และการคลอดก่อนกำหนด

3. ขณะฝากครรภ์ควรบอกแพทย์ด้วยถ้าเคยมีการผ่าตัดหรืออุบัติเหตุที่เต้านม  หรือมีหัวนมสั้น/หัวนมบอด  เพื่อหาวิธีแก้ไข

4. คุยกับเพื่อนหรือญาติที่เคยให้นมลูกว่ามีปัญหาและวิธีแก้อย่างไรบ้าง  หรือเข้า class support group เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

5. เริ่มให้นมแม่เร็วที่สุดนับตั้งแต่หลังคลอด  เพราะหลังคลอดใหม่ ๆ ลูกมีสัญชาติญาณการดูดที่ดีมาก

6. หลังคลอดให้ลูกนอนอยู่ในห้องเดียวกับแม่ตลอดเวลา  เพื่อสามารถดูดนมแม่ได้บ่อยเท่าที่ต้องการและได้เรียนรู้กันและกัน

7. ถ้าลูกถูกเลี้ยงอยู่ในห้องเด็กอ่อน  ควรบอกพยาบาลว่าต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  และไม่ต้องการให้นมวัวกับลูก  บอกให้นำลูกมา หรือเรียกแม่ไปให้นมลูกทุกครั้งที่ลูกต้องการ

8. การให้ลูกดูดนมไม่ควรจะเจ็บมาก  ถ้ามีอาการเจ็บมากควรต้องร้องขอความช่วยเหลือแนะนำจากพยาบาลและแพทย์

9. ให้นมแม่ตามความต้องการของลูก  ทารกทั่ว ๆ ไปต้องการดูดนม 8-12 ครั้งต่อ 24 ช.ม.

10. การให้นมแม่เป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้กันไปและปรับตัวเข้าหากัน

ข้อมูลจาก :vibhavadi, quitforbetterlife, smokefreezone, Prudential 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ระวัง! ลูกอาจป่วยเป็นโรคปอดอักเสบเพราะบุหรี่มือสอง
คุณสูบ ลูกสูบ…มหันตภัยจากบุหรี่ ร้ายกว่าที่คิด

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • จริงจังแค่ไหนที่คิดจะสูบบุหรี่ในช่วงให้นมลูก
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว