X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

5 เรื่องที่ แม่นักปั๊ม อาจพลาดไป ทำแบบนี้ส่งผลให้น้ำนมน้อยนะจะบอกให้

บทความ 5 นาที
5 เรื่องที่ แม่นักปั๊ม อาจพลาดไป ทำแบบนี้ส่งผลให้น้ำนมน้อยนะจะบอกให้

คุณแม่ที่ตั้งใจให้ลูกน้อยได้ดื่มนมแม่ได้นานที่สุด กำลังมีช่วงเวลาที่ยากลำบากในการปั๊มน้ำนมหรือเปล่า ? คุณอาจจำเป็นจะต้องอ่านสิ่งนี้

แม่มือใหม่ที่กำลังกลายมาเป็น แม่นักปั๊ม คุณแม่นักปั๊ม ควรอ่าน เพราะการปั๊มนมแม่นั้นก็ไม่ต่างกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งมันก็ไม่ได้เป็นเรื่องง่าย ๆ อย่างที่หลาย ๆ คนคิด และสิ่งที่ดีคือการที่พบว่าตัวเองกำลังมีปัญหาในการปั๊มน้ำนมเพียงเพราะยังปั๊มนมไม่ถูก เว้นเสียแต่ว่าคุณแม่ประสบปัญหาเรื่องน้ำนมน้อย มีน้ำนมไม่เพียงพอ ในการปั๊มน้ำนมแต่ละครั้ง ซึ่งสาเหตุอาจเป็นเพราะทำสิ่งเหล่านี้พลาดไปหรือเปล่า

 

5 เรื่องที่ แม่นักปั๊ม คุณแม่นักปั๊ม อาจพลาดไป ในการปั๊มน้ำนมแม่

#1 คุณแม่อาจยังดื่มน้ำไม่เพียงพอ

เคยรู้สึกกระหายน้ำเวลาที่ปั๊มน้ำนมหรือเปล่า ? เป็นเรื่องปกติที่แม่นักปั๊มจะต้องเจอบ่อย ๆ เพราะน้ำนมแม่นั้นประกอบด้วยน้ำถึง 90% แม่ที่อยู่ในช่วงให้นมนั้นจึงจำเป็นต้องดื่มน้ำให้ได้มากขึ้นกว่าที่เคยดื่มปกติหรือตอนก่อนที่จะตั้งท้อง เพื่อชดเชยน้ำที่จะสูญเสียไปในขณะที่ให้นม ซึ่งทารกแรกเกิดนั้นจะบริโภคนมประมาณ 750 มิลลิลิตรต่อวัน นั่นก็หมายความว่าคุณแม่ควรได้รับน้ำเพิ่มขึ้นในร่างกายอีก 700 มิลลิลิตรต่อวัน ดังนั้นคุณแม่ควรได้ดื่มน้ำซักแก้วก่อนและหลังการให้นมหรือปั๊มนมให้ลูกนะคะ

 

แม่นักปั๊ม

 

Advertisement

#2 เครื่องปั๊มนมนั้นมันไม่เหมาะกับคุณแม่หรือเปล่า

ถ้าคุณแม่ตัดสินใจที่จะเป็นคุณแม่นักปั๊มโดยแน่แท้ การมองที่จะซื้อเครื่องปั๊มนมราคาถูกเพื่อจะประหยัดค่าใช้จ่ายอาจจะกลายเป็นต้นเหตุของปัญหาการปั๊มนมก็ได้ เนื่องจากเครื่องปั๊มน้ำนมราคาถูกนั้นก็จะได้ประสิทธิภาพตามราคา เสียงดัง เสียบ่อย และอาจนำไปสู่การทำให้หัวนมเจ็บ เป็นแผลได้ นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาดูหัวปั๊มซึ่งมีหลายขนาด การได้เลือกหัวปั๊มที่พอดีจะทำให้รู้สึกแตกต่างได้อย่างมาก เพราะฉะนั้นถ้าอยากปั๊มนมให้ลูกได้กินยาวนาน ควรมองหาเครื่องปั๊มนมที่ได้คุณภาพ หรือมองหาเช่าเครื่องปั๊มนมที่ปัจจุบันกลายเป็นตัวเลือกให้กับคุณแม่นักปั๊มยุคใหม่ได้อีกทางนะคะ

 

#3 คุณแม่นักปั๊ม คุณแม่อาจใช้เวลาสั้นเกินไปในการปั๊มน้ำนม

การปั๊มน้ำนมควรใช้เวลาประมาณ 10 – 15 นาที สำหรับการปั๊มทั้งสองข้างพร้อมกัน หรือ 20 – 30 นาทีถ้าปั๊มน้ำนมทีละข้าง แม้ว่าจะมีเครื่องปั๊มน้ำนมที่ดีและดูดได้อย่างรวดเร็วแต่ถ้าคุณแม่ปั๊มน้ำนมในเวลาที่สั้นเกินไปก็ไม่อาจได้น้ำนมเพียงพอที่จะมีน้ำนมเก็บไว้เพิ่มขึ้น

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : เครื่องปั๊มนมแบบไฟฟ้า คุณภาพแน่น ๆ ถูกใจแบบไหน โดนใจดีไซน์ไหน เลือกเลย!

แม่นักปั๊ม

 

#4 คุณแม่ไม่จัดตารางเวลาในการปั๊มนมหรือไม่ค่อยได้ทำตามตาราง

การเป็นคนที่ต้องปั๊มน้ำนมให้ลูกเพียงอย่างเดียว สิ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่งคือ จะต้องปฏิบัติตามตารางเวลาการปั๊มนม เพื่อที่ให้มีน้ำนมเก็บไว้ตลอด แต่ถ้าคุณแม่ยังให้ลูกดูดเต้าและปั๊มนมไปด้วย ก็อาจจะเว้นการปั๊มน้ำนมไปบ้างก็ได้

 

แม่นักปั๊ม

 

#5 คุณแม่นักปั๊ม คุณแม่นักปั๊มจำเป็นที่จะต้องได้รับการช่วยเหลือ

ในการปั๊มนมนั้นคุณแม่สามารถขอความช่วยเหลือจากคนข้าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อ ญาติพี่น้องในบ้าน ที่จะช่วยดูแลลูกน้อยให้ในขณะที่คุณกำลังปั๊มน้ำนม และสามารถทำตามตารางเวลาการปั๊มน้ำนมได้

 

ปั๊มนม เป็นวิธีเก็บสำรองนมแม่ที่สะดวกและประหยัดเวลาในการให้นมลูก และยังช่วยให้คุณแม่หมดกังวลเรื่องปริมาณนมที่อาจไม่เพียงพอเมื่อให้นมจากเต้า นอกจากนี้ ในกรณีที่ไม่ว่างหรือต้องไปทำงานนอกบ้าน ผู้ที่รับหน้าที่แทนก็ป้อนนมให้เด็กได้ทันที สิ่งสำคัญคือคุณแม่ควรเรียนรู้วิธีการปั๊มและการเก็บรักษานม เพื่อให้มั่นใจได้ว่าลูกน้อยได้รับนมที่มีคุณภาพ และยังเป็นผลดีต่อสุขภาพเต้านมของตัวคุณแม่เองด้วย

 

ทำไมต้องปั๊มนม ?

คุณแม่จำนวนไม่น้อยเลือกการปั๊มนมเป็นตัวช่วยในการให้นมลูก เนื่องจากเป็นวิธีที่ผู้อื่นสามารถป้อนนมแทนได้ ทำให้คุณแม่มีเวลาทำกิจกรรมอื่น ๆ หรือพักผ่อนจากการให้นม ทั้งยังช่วยเปิดโอกาสให้คุณพ่อได้ใกล้ชิดกับลูกยิ่งขึ้นเมื่อต้องให้นมแทนแม่ นอกจากนี้ การปั๊มนมยังมีข้อดีอีกหลายประการ เช่น

 

  • ช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำนม ส่งผลให้คุณแม่มีปริมาณน้ำนมเพิ่มมากขึ้น
  • ช่วยเก็บสำรองนมแม่ไว้ให้ทารก ในกรณีที่คลอดก่อนกำหนดหรือแม่ให้นมจากเต้าโดยตรงไม่ได้
  • ช่วยเก็บสำรองนมแม่ ในกรณีที่แม่อาจต้องหยุดให้นมเนื่องจากใช้ยาหรือรับการรักษาที่ส่งผลต่อคุณภาพและการปนเปื้อนของน้ำนมแม่
  • ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดจากการคัดเต้านม แต่หากปั๊มนมมากเกินไปในช่วงที่คัดเต้านมอาจทำให้อาการเจ็บยิ่งรุนแรงขึ้นได้

 

ควรเริ่มปั๊มนมเมื่อใด ?

การปั๊มนมควรเริ่มหลังคลอดบุตร โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีปัญหาเรื่องน้ำนมไม่เพียงพอ อาจเริ่มปั๊มนมทันทีหลังคลอด เพราะจะช่วยให้น้ำนมไหลออกมามากขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่ควรให้เด็กเรียนรู้การดูดนมจากขวดเร็วเกินไป เพราะอาจทำให้เด็กสับสนและติดดูดนมจากขวด ทว่าอาการนี้อาจไม่เกิดขึ้นเสมอไป เด็กบางคนปรับตัวได้ดี ทำให้ดูดนมจากเต้าและขวดนมสลับกันได้โดยไม่มีปัญหา

 

ทั้งนี้ หากคุณแม่ไม่ได้เริ่มปั๊มนมตั้งแต่หลังคลอด และต้องกลับไปทำงานหลังครบกำหนดลาคลอด ควรเริ่มฝึกปั๊มนมอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ก่อนหน้า โดยอาจปั๊มนมหลังจากให้นมลูกเรียบร้อยแล้วหรือปั๊มระหว่างให้นมเลยก็ได้ การฝึกปั๊มนมจะช่วยให้คุณแม่เรียนรู้วิธีปั๊มนมได้อย่างถูกต้อง และยังเป็นการเริ่มเก็บสำรองน้ำนมไว้สำหรับลูกน้อยเมื่อถึงเวลาต้องกลับไปทำงาน

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน กุญแจสำคัญเลี้ยงลูกเจนใหม่ให้สมองไวกว่าที่แม่คิด
แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน กุญแจสำคัญเลี้ยงลูกเจนใหม่ให้สมองไวกว่าที่แม่คิด
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : เครื่องปั๊มนม แนะนำเครื่องปั๊มน้ำนม มาดูกันว่ายี่ห้อไหน ประเภทไหนเหมาะกับเรา

 

เลือกเครื่องปั๊มนมอย่างไรให้เหมาะสม

เครื่องปั๊มนมเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ปั๊มนมได้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งการเลือกชนิดเครื่องปั๊มนมที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับความถี่ในการใช้ ระยะเวลาที่คุณแม่สะดวกปั๊มนม รวมทั้งปริมาณน้ำนมที่ต้องการ ทั้งนี้ เครื่องปั๊มนมที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 2 ชนิด ได้แก่

 

  • เครื่องปั๊มนมธรรมดา เป็นที่ปั๊มนมชนิดใช้มือ ราคาถูกและมีขนาดเล็ก เหมาะสำหรับคุณแม่ที่ต้องการปั๊มนมเป็นครั้งคราว ไม่เหมาะสำหรับคุณแม่ที่ต้องทำงานประจำ เนื่องจากต้องใช้เวลานาน
  • เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า มีราคาค่อนข้างแพง แต่ใช้งานง่ายกว่าชนิดธรรมดา ทั้งยังช่วยทุ่นเวลาในการปั๊มนม และได้ปริมาณนมมากกว่า โดยเครื่องปั๊มชนิดนี้มีให้เลือกใช้ทั้งแบบปั๊มทีละข้างหรือปั๊มพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง

 

นอกจากนี้ การเลือกเครื่องปั๊มนมยังควรคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่สำคัญเช่นกัน เช่น เครื่องปั๊มแบบไฟฟ้าอาจส่งเสียงดังขณะเครื่องทำงาน ขนาดและน้ำหนักของเครื่องอาจไม่สะดวกต่อการพกพา อีกทั้งต้องใช้กระแสไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่ในการทำงาน คุณแม่บางคนอาจเลือกใช้เครื่องปั๊มนมทั้ง 2 ชนิดสลับกัน เพื่อให้ได้น้ำนมตามปริมาณที่ต้องการ และยังปั๊มนมได้ในกรณีที่ไฟดับหรืออยู่ในบริเวณที่ไม่มีกระแสไฟฟ้า

 

วิธีปั๊มนมที่ถูกต้อง

ปัจจุบันคุณแม่ส่วนใหญ่นิยมปั๊มนมด้วยเครื่อง เนื่องจากใช้เวลาไม่มาก และได้ปริมาณน้ำนมมากกว่าการปั๊มด้วยมือ โดยการปั๊มนมด้วยมือและการปั๊มนมด้วยเครื่อง มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

การปั๊มนมด้วยมือ

  • ล้างมือและขวดนมให้สะอาด
  • นวดหน้าอกหรือใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบบริเวณเต้านม เพื่อช่วยให้น้ำนมไหลได้ดีขึ้น
  • นั่งลงแล้วเอนตัวไปด้านหน้า
  • วางนิ้วโป้งเหนือหัวนม นิ้วชี้อยู่ด้านใต้หัวนม โดยให้นิ้วทั้งสองห่างจากลานหัวนมประมาณ 1 นิ้ว และมืออยู่ในลักษณะรูปตัวซี (C)
  • กดนิ้วทั้งสองลงไปพร้อมกันช้า ๆ เพื่อบีบน้ำนมออกมา หากยังไม่ออกให้ค่อย ๆ ปรับทิศทางจนน้ำนมไหลออกมาอย่างต่อเนื่อง
  • เปลี่ยนบริเวณที่บีบไปรอบ ๆ ลานนม เพื่อไม่ให้รู้สึกเจ็บจากการบีบน้ำนมบริเวณเดิมซ้ำ ๆ
  • เก็บน้ำนมไว้ในบรรจุภัณฑ์หรือขวดนมที่สะอาด

 

การปั๊มนมด้วยเครื่อง

  • ล้างมือ อุปกรณ์ปั้มนม และขวดนมให้สะอาด
  • วางกรวยเต้าสำหรับปั๊มนมบนหัวนม โดยให้กรวยอยู่ตรงกลางหัวนม
  • ประคองเต้านมด้วยมือข้างเดียว โดยให้นิ้วโป้งอยู่ด้านบน ส่วนนิ้วที่เหลือประคองอยู่ด้านใต้เต้านม และระมัดระวังอย่าออกแรงดันหัวนมกับกรวยเต้านมมากเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดรอยที่ผิวบริเวณเต้านมได้
  • ปรับความเร็วและอัตราการปั๊มนมตามคู่มือการใช้เครื่อง โดยควรเริ่มต้นจากอัตราการปั๊มที่ต่ำและเร็ว เมื่อน้ำนมเริ่มไหลอย่างคงที่่ ซึ่งปกติจะใช้เวลาประมาณ1-3 นาที แล้วจึงค่อยปรับความเร็วให้ช้าลงและเพิ่มอัตราการปั๊มขึ้น
  • การปั๊มนมแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที เมื่อเรียบร้อยแล้ว ให้ค่อย ๆ นำกรวยเต้าสำหรับปั๊มนมออกจากเต้านม จากนั้นนำน้ำนมที่ได้ไปเก็บไว้ในที่เย็นทันที เพื่อรักษาคุณภาพของน้ำนม
  • ทำความสะอาดเครื่องปั๊มนมตามคู่มือการใช้ และเก็บให้มิดชิดเพื่อป้องกันเชื้อโรคและสิ่งสกปรก

 

ทั้งนี้ การใช้เครื่องปั๊มนมจะไม่ทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บขณะปั๊ม หากมีอาการเจ็บแสดงว่าขนาดของกรวยเต้าที่ใช้ปั๊มนมนั้นผิดขนาดหรือตั้งอัตราการปั๊มนมสูงเกินไป ทว่าหากลองปรับเปลี่ยนตามนี้แล้วยังรู้สึกเจ็บขณะปั๊มนม ควรไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านนมแม่ เพื่อช่วยหาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขที่ถูกต้องต่อไป

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : การระบายน้ำนม 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 97

 

นมแม่เก็บรักษาอย่างไร ?

หลังจากปั๊มนมเรียบร้อยแล้ว คุณแม่ควรเก็บรักษานมในขวดแก้ว ขวดพลาสติก หรือถุงชนิดปลอดสารบีพีเอ BPA ที่ปิดสนิทโดนทันที จากนั้นควรนำไปแช่เย็นในปริมาณ 60-120 มิลลิลิตรต่อ 1 บรรจุภัณฑ์ นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการบรรจุนมแม่ในบรรจุภัณฑ์อื่น ๆ ที่ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับแช่แข็งหรือใส่น้ำนมแม่ เพราะอาจทำให้คุณภาพของนมลดลงหรือเสียได้

 

ทั้งนี้ หากทิ้งนมแม่ไว้ระยะหนึ่ง ไขมันที่อยู่ในนมจะแยกตัวจากน้ำนมและลอยขึ้นมาอยู่ด้านบน ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดปกติ เช่นเดียวกับสีของนมแม่ที่อาจแตกต่างจากสีนมปกติที่มีสีเหลืองนวล โดยเป็นผลจากการรับประทานอาหารหรือใช้ยารักษาโรคบางชนิด อย่างไรก็ตาม ควรสังเกตลักษณะของนมแม่ก่อนนำมาใช้เสมอ ไม่ควรให้เด็กดื่ม หากนมมีกลิ่นเหม็นหรือกลิ่นเปรี้ยวผิดปกติ  โดยระยะเวลาการเก็บรักษานมแม่จะขึ้นอยู่กับลักษณะการเก็บรักษา ดังนี้

 

  • ในห้องที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส เก็บรักษาได้ไม่เกิน 6 ชั่วโมง
  • ในกระเป๋าเก็บความเย็นที่มีถุงน้ำแข็ง เก็บรักษาได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง
  • ในตู้เย็นช่องปกติ เก็บรักษาได้ประมาณ 3-8 วัน
  • ในช่องแช่แข็ง เก็บรักษาได้ไม่เกิน 6 เดือน

 

การแช่แข็งอาจทำให้สารภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดีที่อยู่ในนมถูกทำลายได้ หากไม่จำเป็นจึงไม่ควรแช่น้ำนมในช่องแช่แข็ง อย่างไรก็ตาม คุณแม่ให้ลูกดื่มนมแม่ที่แช่แข็งได้ตามปกติ เพราะยังคงมีประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร ทั้งยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันในการป้องกันโรคที่อาจเกิดกับเด็กได้ เพียงแต่วิธีการนำน้ำนมแช่แข็งมาใช้นั้นควรแกว่งถุงที่ใส่นมเบา ๆ ในน้ำอุ่น หลีกเลี่ยงการใช้น้ำร้อนจัด เพราะอาจทำให้สูญเสียคุณค่าทางอาหาร และไม่ควรอุ่นนมแม่ด้วยเตาไมโครเวฟ เพราะนมจะร้อนเกินไปจนเด็กดื่มไม่ได้ รวมทั้งอาจทำลายสารอาหารที่มีประโยชน์ในน้ำนมอีกด้วย ทั้งนี้ นมแม่ที่นำมาอุ่นแล้วจะอยู่ในอุณหภูมิห้องได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมง และนำกลับไปแช่ตู้เย็นได้อีกไม่เกิน 24 ชั่วโมง แต่ไม่อาจนำกลับไปแช่แข็งได้ เพราะจะทำให้นมเสื่อมคุณภาพ

 


credit content : sg.theasianparent.com

บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ :

3 เทคนิคปั๊มนมบนรถสำหรับคุณแม่นักปั๊ม
เผยภาพชีวิตจริงของแม่ปั๊มนม อยากให้รู้ “นมแม่” แต่ละหยดไม่ใช่ออกมาง่ายๆ
100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 7 เอาลูกเข้าเต้า การปั๊มนมครั้งแรก

 

parenttown

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • 5 เรื่องที่ แม่นักปั๊ม อาจพลาดไป ทำแบบนี้ส่งผลให้น้ำนมน้อยนะจะบอกให้
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว