X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

น้ำนมเยอะ ปัญหาที่คุณแม่ต้องเจอ พร้อมแชร์เคล็ดลับในการรับมือ

บทความ 5 นาที
น้ำนมเยอะ ปัญหาที่คุณแม่ต้องเจอ พร้อมแชร์เคล็ดลับในการรับมือ

เป็นเรื่องปกติค่ะ ที่คุณแม่ส่วนใหญ่จะเป็นกังวลว่า น้ำนมจะไม่พอ แต่ในขณะเดียวกันก็มีคุณแม่ที่กังวลเรื่อง น้ำนมเยอะ จนเกินความต้องการของลูกน้อยเช่นกัน แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเต้านมของคุณแม่ผลิตน้ำนมเยอะเกินไป สามารถสังเกตได้จากสัญญาณเหล่านี้

 

สัญญาณเตือนแม่มี น้ำนมเยอะ

  1. คุณแม่จะรู้สึกว่าน้ำนมเต็มเต้ารวดเร็ว แม้ว่าลูกน้อยเพิ่งจะดูดไปได้ไม่นาน แถมยังรูกสึกว่าหน้าอกแข็งเป็นก้อน และรู้สึกเจ็บ
  2. ท่อน้ำนมอุดตันและเต้านมอักเสบได้ง่าย เนื่องจากเต้านมยังคงมีน้ำนมตลอดเวลา จึงเพิ่มโอกาสให้ท่อน้ำนมอุดตันและเต้านมอักเสบได้มากกว่า
  3. ลูกถอนปากออกจากเต้านมบ่อย ๆ เพราะน้ำนมพุ่งแรงเกินไปจนลูกกลืนไม่ทัน ทำให้ลูกมีอาการไอ หรือสำลัก หลังจากถอนปากออก คุณแม่จะสังเกตเห็นว่าน้ำนมพุ่งเป็นสายออกจากหัวนม
  4. ลูกน้อยดูเหมือนจะท้องอืด หรือมีลมในกระเพาะ โดยลูกจะมีอาการหงุดหงิด งอแง ร้องไห้หนัก นอนหลับยาก
  5. หากแม่มีน้ำนมเยอะเกินไป ลูกมักจะตัวใหญ่กว่าเกณฑ์เฉลี่ย และทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากเกินไป
  6. ลูกน้อยอึบ่อย ไม่ว่าจะเป็นอึระหว่างดูดนม หลังจากดูดนม และระหว่างมื้อนม โดยลักษณะของอึมักจะมีสีเขียวและเป็นฟอง
  7. ลูกมีอาการฉี่บ่อยอาจถึง 10 ครั้งขึ้นไป ในเวลา 24 ชั่วโมง
  8. ลูกแหวะนมบ่อย แหวะนมทุกครั้งหลังให้นม

บทความที่น่าสนใจ : ถ้วยเก็บน้ำนม มีประโยชน์อย่างไร ช่วยเก็บน้ำนมแม่ได้จริงหรือ ??

 

หากคุณแม่ท่านใดที่ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำนม ก็เป็นเรื่องที่ดีไป แต่ถ้ามีน้ำนมมากเกินไป คุณจะวิธีรับมือกับปัญหาน้ำนมเยอะเกินความต้องการอย่างไร เพราะสำหรับคุณแม่มือใหม่นั้น ย่อมมีคำถามที่มากมายเกี่ยวกับการให้นมแม่ และเวลาจะหาข้อมูลทีก็ต้องเปิดไปดูตรงนู้นตรงนี้ที ดังนั้นเพื่อให้ทุกคำถามอยู่ในที่เดียวกัน วันนี้เราได้รวบรวมทุกคำถามและคำตอบของการให้นมแม่ไว้ที่แล้วละค่ะ

 

น้ำนมเยอะ

 

ตอบคำถามคุณแม่ทำไมถึง น้ำนมเยอะ

เพราะการที่ น้ำนมเยอะ จนเกินไป จะทำให้ลูกกินนมลำบาก เพราะว่าลูกต้องรีบดูดน้ำนมด้วยความแรง จากการที่ร่างกายของคุณผลิตจำนวนมาก ในทางกลับกันร่างกายของคุณจะค่อย ๆ ปรับตัวเพื่อผลิตน้ำนมในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของลูก ซึ่งก่อนที่ร่างกายจะคุณแม่จะเข้าสู่การปรับตัวในการผลิตน้ำนม คุณแม่อาจจะยังต้องรับมือกับปริมาณของน้ำนมที่มียังคงเหลือเฟือ หนึ่งในทางเลือกที่ดีที่สุด สำหรับกรณีนี้ คือการเก็บรักษาน้ำนมส่วนเกินของคุณไว้ นี่คือทางออกที่ดีที่สุด หากคุณเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่เพียงอย่างเดียว

การทำเช่นนี้ สามารถกระตุ้นร่างกายของคุณ ให้เข้าสู่วิธีของการผลิตนม “ในปริมาณที่ลูกต้องการ” ซึ่งจะนำไปสู่ความสม่ำเสมอ ของการผลิตน้ำนมแม่ ถึงแม้ว่าจะมีปริมาณมากเกินความต้องการ เวลาปั๊มนมเก็บ คุณควรปั๊มน้ำนมจากเต้านมทั้งสองข้างจนหมดเกลี้ยงจริง ๆ น้ำนมจากเต้าสามารถเก็บรักษาไว้ในช่องแช่แข็งของตู้เย็นเพื่อใช้ในวันหลังได้

หากคุณต้องการให้ร่างกายผลิตน้ำนมน้อยลง คุณควรให้นมลูก จากเต้านมข้างดียวกัน 2-4 มื้อ ก่อนจะเปลี่ยนข้าง ในระหว่างเวลาที่ให้นมลูก ให้คุณปั๊มน้ำนมเพียงเล็กน้อยจากเต้านมข้างอีกข้าง เพื่อบรรเทาอาการเต้าคัด วิธีนี้ จะเห็นว่ามีการผลิตน้ำนมลดลงภายในเวลา 48 ชั่วโมง

 

น้ำนมเยอะ

 

การเก็บรักษาน้ำนมในช่องแช่แข็ง

การเก็บรักษาน้ำนมในช่องแช่แข็ง มีประโยชน์ เวลาที่คุณไม่สามารถให้นมลูกเองได้ แต่น้ำนมที่ปั๊มออกมา ก็มีระยะเวลาในการเก็บ แม้ว่าจะเก็บไว้ในช่องแช่แข็งก็ตาม วันนี้ theAsianparent มี 2-3 เพื่อใช้เก็บรักษาน้ำนมส่วนเกิน แทนที่จะต้องทิ้งน้ำนมที่มีมากเกินความต้องการไปโดยเปล่าประโยชน์

  • ลองคิดถึง วิธีการแช่แข็งน้ำนมในถาดทำน้ำแข็ง แล้วเก็บก้อนน้ำนมที่แช่แข็งไว้ในถุงใส เขียนวันที่นำเข้าแช่ไว้ที่ถุง นี่เป็นวิธีที่สะดวกที่สุด ที่จะนำน้ำนมไปใช้เมื่อคุณต้องการให้นมลูก อย่างฉุกเฉิน หรือ เมื่อลูกต้องการนมเพิ่ม
  • น้ำนมจากเต้า เป็นที่รู้กันดี ว่ามีคุณสมบัติในการต่อสู้กับเชื้อโรค คุณสามารถเอาก้อนน้ำนมที่แช่แข็งมาช่วยทาเพื่อรักษาแผลถลอก แผลโดนขีดข่วน บาดแผล จากของมีคม แมลงสัตว์กัดต่อย และ แผลไฟลวกพุพองได้ คุณทำได้แม้แต่การนำมาถูรอบๆตอสายสะดือของทารกเพื่อช่วยให้แผลแห้งเร็วยิ่งขึ้น
  • น้ำนมแม่ ได้รับการทดสอบแล้ว ว่าใช้รักษาโรคตาแดงได้ หรือ แม้แต่เอาก้อนน้ำนมที่แช่แข็งไว้จำนวน2-3ก้อน นำมาละลายแล้วใช้ล้างนัยตาที่แสบ และ มีอาการเมื่อยล้าได้อีกด้วย คุณสมบัติที่เป็นเอกลัษณ์ของน้ำนมจากเต้า คือสามารถยับยั้งเชื้อราได้ดี การเติมน้ำนมที่เก็บสะสมไว้ ลงในน้ำที่คุณใช้ชำระล้างร่างกาย หรือ แม้แต่จะใช้ในการป้องกัน และ ระงับอาการคันจากผื่นที่เกิดจากการแพ้ผ้าอ้อมของทารก
  • สำหรับอาการคันเหงือกของลูก ไม่มีอะไรที่ใช้ได้ดี และ เร็วไปกว่าการใช้ก้อนน้ำนมแช่แข็ง ห่อด้วยผ้าที่นิ่ม และ สะอาด ดูให้แน่ใจว่า ก้อนน้ำแข็งถูกห่อ อย่างปลอดภัยภายในผ้า และ รัดด้วยหนังยางอย่างแน่นหนา ทีนี้ก็ปล่อยให้เจ้าตัวน้อยของคุณสนุกอยู่กับการเคี้ยว และ ดูดอย่างมีความสุข
  • น้ำนมแม่ มีคุณสมบัติเป็นเหมือนสบู่ที่ดีเยี่ยม อีกทั้งยังใช้ในการกำจัดสิว และ รักษาผิวหนังที่แห้งได้อีกด้วย

 

น้ำนมเยอะ

 

หากคุณต้องการบริจาค น้ำนมแม่ที่มีมากเกินความต้องการให้กับโรงพยาบาลที่อยู่ในท้องถิ่นของคุณ เพื่อช่วยเหลือเด็ก ๆ ที่ไม่สามารถกินนมจากแม่ของตัวเองได้ ก็มีโรงพยาบาลเป็นจำนวนมาก ที่มีโครงการรับบริจาคน้ำนมจากแม่ เพื่อใช้ช่วยเหลือบรรดาคุณแม่ ที่ยังไม่สามารถผลิตน้ำนมได้เอง การบริจาคน้ำนมแม่ เป็นความสมัครใจ และ เป็นรางวัลอันยิ่งใหญ่ ที่คุณได้มอบความช่วยเหลือ แก่แม่ที่ไม่สามารถผลิตน้ำนมให้ลูก ๆ ของเธอได้ หรือ รวมทั้ง แม่ที่ไม่สามารถซื้อนมผงที่มีราคาแพงเพื่อใช้เลี้ยงลูก

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

ถุงเก็บน้ำนม น่าใช้! รวม 5 อันดับถุงเก็บน้ำนม พร้อมวิธีการเลือกซื้อให้ได้ของดีโดนใจ

เจาะลึกทุกคำถามและคำตอบของการให้นมแม่

สัญญาณและวิธีแก้ปัญหา “นมแม่มากเกินไป”

ที่มา : 1

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Angoon

  • หน้าแรก
  • /
  • การให้นมลูก
  • /
  • น้ำนมเยอะ ปัญหาที่คุณแม่ต้องเจอ พร้อมแชร์เคล็ดลับในการรับมือ
แชร์ :
  • สังเกตอย่างไรเมื่อลูกได้รับนมมากเกินไป จากปัญหานมแม่มากเกินไป พร้อมวิธีแก้ปัญหา!

    สังเกตอย่างไรเมื่อลูกได้รับนมมากเกินไป จากปัญหานมแม่มากเกินไป พร้อมวิธีแก้ปัญหา!

  • ลูก ๆ ติดทีวี แก้ปัญหานี้ยังไงดี มาดูวิธีรับมือก่อนที่จะสายเกินไป

    ลูก ๆ ติดทีวี แก้ปัญหานี้ยังไงดี มาดูวิธีรับมือก่อนที่จะสายเกินไป

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • สังเกตอย่างไรเมื่อลูกได้รับนมมากเกินไป จากปัญหานมแม่มากเกินไป พร้อมวิธีแก้ปัญหา!

    สังเกตอย่างไรเมื่อลูกได้รับนมมากเกินไป จากปัญหานมแม่มากเกินไป พร้อมวิธีแก้ปัญหา!

  • ลูก ๆ ติดทีวี แก้ปัญหานี้ยังไงดี มาดูวิธีรับมือก่อนที่จะสายเกินไป

    ลูก ๆ ติดทีวี แก้ปัญหานี้ยังไงดี มาดูวิธีรับมือก่อนที่จะสายเกินไป

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ