TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีปลุกทารกแรกเกิด ทารกนอนนานควรปลุกกินนมไหม ?

บทความ 5 นาที
วิธีปลุกทารกแรกเกิด ทารกนอนนานควรปลุกกินนมไหม ?

ทารกแรกเกิดส่วนใหญ่น้ำหนักมักจะลดลงในช่วง 2-3 วันแรกหลังการคลอด จึงต้องให้นมลูกน้อยวัยแรกเกิดบ่อย ๆ เพื่อให้ลูกกลับมามีน้ำหนักตัวอีกครั้ง โดยปกติจะใช้เวลาภายในหนึ่งสัปดาห์หลังคลอดเท่านั้น วันนี้เราจึงมี วิธีปลุกทารกแรกเกิด มาฝากและไม่ให้ลูกร้องไห้ หากลูกน้อยนอนยาวมากกว่า 4 ชั่วโมงค่ะ

 

ทารกแรกเกิดกินนมบ่อยแค่ไหน

ปริมาณนมที่ทารกต้องการต่อการกินนมหนึ่งครั้งในเดือนแรกหลังคลอด จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตามขนาด กระเพาะทารกแรกเกิด ที่ค่อย ๆ ขยายขึ้น สำหรับกระเพาะทารกแรกเกิด มีขนาดดังนี้

  • 1 วันแรก กระเพาะของทารกยังมีขนาดเท่าลูกแก้ว สามารถรับนม 5 – 7 ซีซี
  • 3 วันหลังคลอด กระเพาะทารกเริ่มใหญ่เท่าลูกวอลนัต รับนมได้ 22 – 27 ซีซี
  • 7 วัน กระเพาะทารกมีขนาดเท่าผลแอปริคอต ควรได้รับนม 45 – 60 ซีซี
  • ครบ 30 วัน กระเพาะของทารกมีขนาดเท่าไข่ไก่ ควรได้รับนม 80 -150 ซีซี

บทความที่เกี่ยวข้อง : เรื่องนิสัยการ ดูดนมเด็ก ทำไมเด็ก 1-2 เดือนแรกจึงไม่ควรดูดนมจากขวด?

 

วิธีปลุกทารกแรกเกิด

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าทารกกินนมอิ่มแล้ว

สำหรับเด็กวัยแรกเกิด ที่ยังไม่สามารถสื่อสารออกมาเป็นคำพูดได้ และด้วยความที่คุณแม่ก็มักจะกังวลว่าลูกจะกินนมไม่อิ่ม กลัวลูกจะโตช้าถ้าหากกินนมน้อย จึงพยายามให้ลูกกินนมเยอะ ๆ และกลายเป็นว่าลูกกินนมเยอะเกินไป จนล้นกระเพาะ หรือที่เราเรียกกันว่า Overfeeding

 

วิธีสังเกตว่าทารกแรกเกิดอิ่ม

  1. ถ้าลูกหลับขณะกินนมและคายหัวนมออกเอง แสดงว่าลูกกินอิ่ม
  2. หากลูกยังไม่คายออก เพียงแต่อมหัวนมไว้ หรือดูดแค่เบา ๆ คุณแม่ควรกระตุ้นให้ลูกดูดต่อ โดยเขี่ยเบา ๆ บริเวณริมฝีปากด้านล่าง
  3. ปัสสาวะทารกแรกเกิดมักจะมีสีเหลืองอ่อนใส ชุ่มผ้าอ้อมประมาณวันละ 6-8 ครั้ง นั่นแสดงว่าทารกแรกเกิดได้รับน้ำนมอย่างเพียงพอ
  4. น้ำหนักลูกควรขึ้นตามเกณฑ์ปกติ ไม่มาก หรือน้อยเกินไป โดยน้ำหนักของทารกแรกเกิดถึง 3 เดือน ควรเพิ่มขึ้น 600-900 กรัม/เดือน

 

วิธีปลุกทารกแรกเกิด

 

ทารกนอนนานควรปลุกกินนมไหม

สำหรับทารกแรกเกิดถึง 1 เดือนนั้น ถ้าลูกมีน้ำหนักทารกต่ำกว่าเกณฑ์ก็ควรปลุกลูกแรกเกิดให้ตื่นมากินน้ำนมแม่ โดยเฉพาะทารก 2-3 วันแรกหลังคลอด เพราะวันแรก ๆ ทารกมักจะมีน้ำหนักน้อย ดังนั้น ในสัปดาห์แรกหลังคลอด แม่ให้นมควรปลุกทารกแรกเกิด ให้ตื่นมากินนมแม่ถ้าทารกนอนนานเกิน 4 ชั่วโมง เพราะทารกแรกเกิดต้องกินนมทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง นับเป็นครั้งคือ ทารกแรกเกิดควรกินนมแม่ 8-12 ครั้งต่อวัน ซึ่งแม่สามารถจับอาการหิวนมของลูกได้ เมื่อทารกแรกเกิดขยับตัว ขยับปากคล้ายดูดนม นั่นคือลูกหิวแล้ว อยากกินนมแม่แล้วค่ะ นอกจากนี้ การให้ทารกแรกเกิดเข้าเต้าดูดนมแม่บ่อย ๆ ยังช่วยให้น้ำนมแม่ผลิตอย่างเพียงพออีกด้วย

ถ้าทารกอายุ 2-3 เดือนนอนนาน ๆ ไม่ตื่นมากินนมมื้อดึก ก็ไม่ต้องปลุกนะคะ เพียงแต่ระหว่างวัน แม่ให้นมอย่างเพียงพอ โดยดูได้จากน้ำหนักของทารก

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีปลุกลูกเข้าเต้า แบบไม่ให้ลูกร้องไห้งอแง

 

วิธีปลุกทารกแรกเกิด

 

วิธีปลุกทารกแรกเกิด เข้าเต้าไม่ให้งอแง

  • หากมีผ้า หรือผ้าห่มคลุมตัวทารกอยู่ ให้เอาผ้าห่ม หรือผ้าคลุมตัวทารกออกก่อน เพื่อให้ทารกขยับแขนขาได้สะดวก แล้วค่อย ๆ อุ้มลูก ให้ริมฝีปากได้สัมผัสกับหัวนม ค่อย ๆ เขี่ยริมฝีปากลูก ให้ลูกรับรู้ว่า ถึงเวลากินนมแล้วนะ
  • ให้ทารกกินนมในท่าที่ลำตัวอยู่ในแนวตั้ง
  • นวดลำตัวทารกเบา ๆ และพูดคุยกับทารก
  • ไม่ปลุกทารกด้วยการทำให้ทารกเจ็บโดยการตี หรือจิกที่แก้มหรือเท้า

 

คุณแม่สามารถประเมินว่า ลูกดื่มนมพอหรือไม่ ดังนี้

1. สังเกตจากการผิวหนัง ถ้ากดลงไปแล้วผิวหนังยืดหยุ่นดีก็แปลว่าได้รับนมพอเพียง
2. ปัสสาวะของทารก มีสีเหลืองใส
3. หลังดูดนมแล้วนมเบาลง หรือนมเกลี้ยงเต้าแล้ว น่าจะแสดงว่าลูกได้รับนมที่เพียงพอแล้วค่ะ แต่ถ้าไม่แน่ใจว่าลูกอาจจะยังไม่อิ่ม หรือบางทีดูดนมไปแล้วลูกเผลอหลับ ให้กระตุ้นโดยเขี่ยเบา ๆ ที่บริเวณริมฝีปากด้านล่าง เพื่อกระตุ้นให้ลูกดูดนมต่อค่ะ

 

จริง ๆ แล้วการเลี้ยงลูกไม่ได้มีกฎตายตัว เพราะเด็กในแต่ละช่วงอายุมีความต้องการนมแตกต่างกัน และในเด็กช่วงอายุเดียวกันก็มีความต้องการนมแตกต่างกันได้เช่นกันค่ะ บางคนหิวเก่ง สามารถทานนมได้ทีละมาก ๆ แล้วหลับยาว 3-4 ชั่วโมง แต่เด็กบางคนกระเพาะเล็ก ทานได้ทีละน้อย ๆ ซึ่งในส่วนนี้คุณแม่ต้องสังเกตด้วยตัวเอง หากลูกตัวเล็กเกินไปก็ควรปลุกมาเข้าเต้าทุก ๆ 3-4 ชั่วโมงค่ะ

 

ความคิดเห็นของคุณคืออะไร

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

จำเป็นไหมที่ต้องให้ทารกกินนมตอนกลางคืน ลูกจะเคยตัวหรือเปล่า

ให้ลูกดูด นมจากเต้า เท่าไหร่ถึงพอ กับอีกสารพัดเรื่องเกี่ยวกับ “นมแม่”

ตารางเลี้ยงเด็ก วัย 0-1 ปี นอนกี่ชั่วโมง กินนมตอนไหน กินนมบ่อยแค่ไหน

ที่มา : s-momclub, babimild

บทความจากพันธมิตร
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • วิธีปลุกทารกแรกเกิด ทารกนอนนานควรปลุกกินนมไหม ?
แชร์ :
  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

  • 12 วิธี เลี้ยงลูกให้คิดเป็น ในยุคที่ AI ตอบทุกอย่างให้หมด

    12 วิธี เลี้ยงลูกให้คิดเป็น ในยุคที่ AI ตอบทุกอย่างให้หมด

  • 9 วิธี สอนลูกให้มีความพยายาม แนวทางสร้างลูกที่ไม่ยอมแพ้ตั้งแต่วัยเด็ก

    9 วิธี สอนลูกให้มีความพยายาม แนวทางสร้างลูกที่ไม่ยอมแพ้ตั้งแต่วัยเด็ก

powered by
  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

  • 12 วิธี เลี้ยงลูกให้คิดเป็น ในยุคที่ AI ตอบทุกอย่างให้หมด

    12 วิธี เลี้ยงลูกให้คิดเป็น ในยุคที่ AI ตอบทุกอย่างให้หมด

  • 9 วิธี สอนลูกให้มีความพยายาม แนวทางสร้างลูกที่ไม่ยอมแพ้ตั้งแต่วัยเด็ก

    9 วิธี สอนลูกให้มีความพยายาม แนวทางสร้างลูกที่ไม่ยอมแพ้ตั้งแต่วัยเด็ก

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว