วิธีปลุกลูกเข้าเต้า แบบไม่ให้ลูกร้องไห้งอแง
เวลาที่เห็นลูกหลับ คุณแม่หลายท่านก็ไม่อยากที่จะกวนลูก พยายามให้ลูกได้นอนหลับให้เต็มที่ แต่อีกใจก็กลัวว่าลูกจะหิว แต่จะปลุกลูกให้ตื่นมากินนมแม่ดีไหม และจะมี วิธีปลุกลูกเข้าเต้า อย่างไร ที่จะไม่ให้ลูกร้องไห้งอแงตอนตื่น แล้วจะรู้ได้อย่างไร ว่าลูกหิวนมหรือเปล่า วันนี้เรามีคำแนะนำดี ๆ มาฝาก
ปลุกลูกตื่นมากินนมแม่ดีไหม
คุณแม่ควรจะปลุกลูกน้อยแรกเกิด ให้ตื่นขึ้นมาดูดนมเหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับอายุ น้ำหนัก และสุขภาพโดยรวมของทารก
ส่วนใหญ่แล้ว ทารกแรกเกิดจะมีน้ำหนักลดในช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอด จึงจําเป็นมากที่จะต้องให้ลูกกินนมแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด ควรให้ลูกกินนมแม่บ่อย ๆ จนกว่าลูกจะมีน้ำหนักตัวเป็นปกติ ซึ่งหากลูกน้อยนอนยาวมากกว่า 4 ชั่วโมง คุณแม่ก็อาจต้องปลุกลูกน้อยให้ตื่นขึ้นมาดูดนมเป็นครั้งคราว
เมื่อลูกน้อยแรกเกิดมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ที่เหมาะสม คุณแม่ก็สามารถที่จะรอจนกว่าลูกจะตื่น จึงค่อยป้อนนมได้
ปลุกลูกกินนมแม่ดีไหม
ทารกแรกเกิดควรกินนมแม่บ่อยแค่ไหน
ทารกแรกเกิดส่วนใหญ่ จำเป็นต้องกินนม 8-12 ครั้งต่อวัน ในทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง ถึงแม้ว่าคุณแม่หลายท่าน อาจจะไม่อยากปลุกลูกให้ตื่นมากินนมแม่ เพราะคิดว่าการปลุกให้ลูกน้อยตื่นขึ้นมาดูดนมนั้น เป็นความคิดที่ไม่ดีเท่าไหร่นัก แต่การให้นมบ่อย ๆ ในช่วงแรกนั้น มีข้อดี คือ
- หากลูกร้องไห้เพราะหิวนม ยิ่งคุณแม่ให้นมลูกเร็วเท่าไหร่ ก็จะทำให้ลูกหยุดร้องไห้ได้เร็วเท่านั้น คุณแม่จึงควรสังเกตสัญญาณที่แสดงว่าลูกหิว เช่น ลูกขยับตัว กระสับกระส่าย ทําท่าห่อปากเหมือนอยากดูดนม หรือขยับริมฝีปาก
- การให้นมบ่อย ๆ ความถี่ในการให้นมจะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมของคุณแม่ได้ ส่งเสริมกระบวนการผลิตน้ำนม ทำให้คุณแม่มีน้ำนมเพียงพอที่จะให้ลูกกินไปจนครบเกณฑ์ที่กำหนด
นอกจากนี้ หากทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกก็จะต้องการสารอาหารเป็นพิเศษ และอาจไม่แสดงสัญญาณของความหิวที่แท้จริงได้เหมือนกับทารกที่คลอดตามกำหนดไปจนกว่าลูกจะมีอายุมากขึ้น ถ้าลูกน้อยของคุณแม่คลอดก่อนกำหนด หรือคุณแม่มีความกังวลเกี่ยวกับรูปแบบการกินนม หรือมีความสงสัย หรือสังเกตเห็นว่าน้ำหนักตัวของลูกน้อย ขึ้นช้า หรือเร็วผิดปกติ ให้คุณพ่อคุณแม่ปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำต่อไป
วิธีปลุกลูกกินนมแม่
วิธีปลุกลูกเข้าเต้า
หากทารกดูง่วงเกินไปที่จะกินนม ให้คุณแม่ลองทำตามขั้นตอนดังนี้
- หากมีผ้า หรือผ้าห่มคลุมตัวทารกอยู่ ให้เอาผ้าห่ม หรือผ้าคลุมตัวทารกออก เพื่อให้ทารกขยับแขนขาได้สะดวก
- ให้ทารกกินนมในท่าที่ลำตัวค่อนข้างอยู่ในแนวตั้ง
- นวดลำตัวทารกเบา ๆ และพูดคุยกับทารก
- ไม่ปลุกทารกด้วยการทำให้ทารกเจ็บโดยการตี หรือจิกที่แก้มหรือเท้า
อย่างไรก็ตาม คุณแม่ไม่ต้องเคร่งครัดกับการให้นมลูกตามเวลามากไปนัก เพราะในแต่ละมื้อ ลูกอาจดูดนมได้ไม่เท่ากัน เพียงแต่ต้องหมั่นสังเกตว่า ลูกต้องการอย่างไรและเมื่อไหร่ก็พอ เช่น บางครั้ง หาลูกดูดนมแม่ไปสักระยะแล้วทำท่าจะหลับ โดยที่ยังไม่อิ่ม ก็ให้ใช้มือขยับเต้านม และบีบกดลงเบา ๆ เพื่อกระตุ้นให้ลูกดูดนมต่อเนื่อง เป็นต้น
Sources: mayoclinic.org
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
จะรู้ได้ไงว่านมแม่จะหมดตอนไหน อาการแบบนี้แปลว่าน้ำนมแห้ง ใกล้หมดหรือเปล่า
Overfeeding อันตราย!!! จับตา 5 อาการ เมื่อลูกกินนมเยอะเกินไป
แผ่นป้องกันหัวนม คืออะไร ควรใช้หรือไม่ระหว่างให้นมลูก?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!