X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกร้องไห้แบบไหนไม่ปกติ 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 70

บทความ 5 นาที
ลูกร้องไห้แบบไหนไม่ปกติ 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 70

อยู่ดี ๆ ลูกก็ร้องไห้ขึ้นมาอย่างไม่มีสาเหตุ แบบนี้ลูกจะเป็นอะไรหรือเปล่านะ มาดูกันว่าลูกร้องไห้แบบไหนที่ไม่ปกติ

เมื่อเด็กอายุยังน้อย และยังพูดไม่เป็นถ้อยเป็นคำ เสียงร้องไห้ของเด็ก ถือว่าเป็นสัญญาณหนึ่งเดียว ที่เด็กสามารถถ่ายทอดสิ่งที่ต้องการจะบอกกับเราได้ แม้ว่าเราอาจจะไม่สามารถเข้าใจในสิ่งที่ลูกน้อยต้องการจะสื่อ แต่ว่าเราสามารถสังเกตเสียงร้องไห้ของลูกได้ เพื่อเดาว่าลูกต้องการอะไร เด็กบางคนร้องไห้แบบไม่มีสาเหตุ ซึ่งบางที ก็อาจเป็นสัญญาณร้ายได้เหมือนกัน วันนี้ เรามาดูกันว่า ลูกร้องไห้แบบไหนไม่ปกติ เสียงร้องไห้เด็กแบบไหน ที่เป็นสัญญาณอันตรายได้บ้าง

 

เสียงร้องไห้บอกอะไรกับพ่อแม่ ทำไมเด็กทารกจึงร้องไห้

เด็กบางคนชอบส่งเสียงร้องบ่อย ๆ ซึ่งเสียงร้องหรือลักษณะการร้องแต่ละแบบ บอกกับเราได้ดังนี้

 

1. หิวนม

ส่วนใหญ่ เด็กมักจะส่งเสียงร้องไห้เพราะหิวนม เนื่องจากเด็กมีกระเพาะอาหารที่เล็กมาก ๆ เด็กจึงอิ่มไวและหิวไว แม้เราจะเพิ่งให้นมไปไม่นาน แต่อีก 2 ชั่วโมงถัดมา ลูกก็อาจจะหิวอีกรอบ

 

2. เพลียและเหนื่อย

เด็กทารกอาจร้องไห้ เพียงเพราะแค่ต้องการนอน เหนื่อย และเพลีย ให้คุณแม่ลองสังเกตดูว่า ลูกร้องไห้ พร้อมกับมีท่าทีไม่สนใจของเล่นหรือเปล่า ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็แสดงว่าถึงเวลาเข้านอนแล้วล่ะค่ะ

 

3. ไม่สบายตัว

หากเด็กต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น อากาศร้อน อากาศหนาว หรือผ้าอ้อมเปียกชื้น เป็นต้น อาจทำให้ทารกเกิดความไม่สบายตัว ดังนั้น จึงพยายามส่งเสียงร้องเพื่อบอกคุณแม่ เบื้องต้น คุณแม่ควรลองเช็คอุณหภูมิห้องดูก่อน ว่าเปิดแอร์เย็นเกินไปหรือห้องอากาศร้อนอบอ้าวเกินไปหรือไม่

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ทำไมทารกร้องไห้หลังกินนม ลูกดูดนมแล้วร้องไห้เป็นเพราะอะไร??

ลูกร้องไห้แบบไหนไม่ปกติ

เสียงร้องไห้ เด็ก แบบไหน ไม่ปกติ อันตราย ลูกร้องไห้ไม่หยุด ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ

 

4. ถูกกระตุ้นมากเกินไป

เด็ก ๆ อาจอยู่ในสภาวะที่มีสิ่งรบกวน หรือสิ่งมากระตุ้นมากเกินไป เช่น อยู่ในห้องที่เสียงดัง มีคนรุมล้อมจะเล่นด้วยเยอะ หรือได้ยินเสียงดนตรีดัง เป็นต้น ทำให้เด็กรำคาญใจ และเริ่มร้องโยเย ซึ่งการพาเด็กออกจากสถานที่ที่มีเสียงอึกทึกโครมครามจะช่วยให้เด็กรู้สึกดีขึ้นได้

 

5. อยากให้อุ้ม

เด็กบางคนชอบให้กอด ชอบให้อุ้ม และชอบอ้อนตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะเมื่อโดนอุ้ม เด็กจะรู้สึกปลอดภัย อบอุ่นและสบายใจนั่นเอง

 

6. รู้สึกกลัว

เด็กทารก อาจร้องไห้เพราะรู้สึกกลัว หรือเมื่อต้องเจอสิ่งที่ไม่คุ้นเคย เช่น โดนคนแปลกหน้าอุ้ม หรือเจอเสียงอะไรแปลก ๆ ดัง ๆ อยู่ใกล้ตัว เป็นต้น

 

7. สภาพแวดล้อมใหม่

ทารกแรกเกิด ยังไม่คุ้นชินกับสภาวะหลังคลอด เพราะสิ่งแวดล้อมรอบนอก ค่อนข้างแตกต่างจากท้องของแม่ จึงต้องใช้เวลาสักระยะ เพื่อปรับตัวให้เข้ากับโลกภายนอก และบุคคลในครอบครัว ทั้งด้านร่างกาย และอารมณ์

 

8. เจ็บป่วย

อีกสาเหตุหนึ่งที่มักทำให้เด็กร้องงอแง คือ อาการเจ็บป่วยของเด็ก ๆ เด็กทารกอาจร้องไห้เพราะเจ็บ มีบาดแผล หรือมีอาการป่วย เช่น ท้องอืด เป็นไข้ ตัวร้อน เป็นต้น จึงแผดเสียงร้องไห้ไม่ยอมหยุด ซึ่งคุณแม่อาจจะลองตรวจดูตามร่างกายเด็ก ๆ ดูก่อน ว่าเกิดแผล มีสิ่งผิดปกติติดอยู่ตามร่างกายเด็กหรือไม่

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ลูกงอแง ร้องไห้โยเย อาจเป็นเพราะผื่นผ้าอ้อมทำให้ลูกรักไม่สบายตัว

ลูกร้องไห้แบบไหนไม่ปกติ

เด็กร้องไห้แบบไหนถึงเป็นโคลิค ? เสียงร้องไห้ เด็ก แบบไหน ไม่ปกติ อันตราย ลูกร้องไห้ไม่หยุด ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ

 

เด็กร้องไห้แบบไหน ถือว่าอันตราย

การร้องไห้ของทารกแต่ละคน มีความแตกต่างกัน ถือเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการเด็ก ไม่ใช่สิ่งที่น่ากังวลใจ เด็กบางคนอาจร้องไห้เป็นเวลานาน แต่เด็กบางคนก็ร้องไห้น้อย อย่างไรก็ตาม เสียงร้องไห้ หรืออาการขณะร้องไห้ของเด็กบางอย่าง ก็บอกได้ว่าลูกเป็นโรคร้ายที่เรียกว่า โคลิค 

 

บทความจากพันธมิตร
รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!
รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ

โรคโคลิค เป็นโรคที่มักเกิดขึ้นได้กับเด็กแรกเกิดที่อายุได้ประมาณ 2-3 สัปดาห์ รวมไปถึงเด็กที่มีอายุราว ๆ 3 เดือน อาการของโรคนี้ สังเกตได้ง่าย ๆ คือ เด็กจะร้องไห้หนัก และร้องนานกว่า 3 ชั่วโมงโดยไม่มีสาเหตุ หรือบางครั้ง เด็กอาจร้องไห้ติดต่อกันหลายวันเป็นสัปดาห์ และจู่ ๆ ก็มักจะหยุดร้องในทันที ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตอาการน้อง ๆ ให้ดีด้วยว่า การร้องไห้ของลูกน้อยนั้น ไม่ได้มีสาเหตุมาจากเรื่องอื่น ๆ เช่น หิวนม ไม่สบายตัว เป็นหวัด เป็นต้น โดยในปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ที่ทำให้เด็ก ๆ เป็นโรคนี้

 

ลูกร้องไห้แบบไหน ต้องพาไปหาหมอ

หากลูก ๆ ร้องไห้ และมีอาการต่อไปนี้ ต้องพาไปหาหมอโดยด่วน

  • ร้องไห้ติดต่อกันเป็นเวลานาน รวมทั้งมีไข้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องผูก ผิวคล้ำหรือซีด
  • ไม่ยอมกินนมตามปกติ หรือกินได้น้อยลงเกินครึ่งหนึ่งของปริมาณปกติ
  • เด็กร้องไห้ไม่ยอมหยุด ไม่ว่าจะปลอบยังไงก็ตาม
  • เด็กไม่ตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัว

นอกจากนี้ หากคุณแม่คนไหน เริ่มมีความกังวลเกี่ยวกับอาการโคลิคและความผิดปกติของลูกน้อย รวมทั้งลูกร้องไห้บ่อย จนไม่สามารถปลอบให้เด็กสงบลงได้ ควรรีบพาเด็กเข้าพบหมอในทันทีค่ะ

 

ข้อแนะนำในการดูแลเด็กเมื่อเด็กร้องไห้

เมื่อลูก ๆ ร้องไห้ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การร้องไห้เป็นเรื่องปกติของทารกแรกเกิด ทารกแต่ละคนมีความแตกต่างกัน บางคนอาจร้องไห้นานกว่าเด็กอีกคน ซึ่งเราเองควรพยายามตอบสนองอย่างอ่อนโยน ไม่โมโหรุนแรงหรือตีลูก หากเหนื่อยเกินไป ก็ให้ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนหรือคนในครอบครัว ให้ช่วยดูแลลูกน้อยเป็นครั้งคราวได้ ซึ่งโดยปกติแล้ว เด็กจะร้องไห้น้อยลงเมื่อเริ่มมีอายุมากขึ้นค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : เทศกาล เด็กร้องไห้ Naki Sumo เด็กคนไหนร้องไห้ก่อน คนนั้นชนะ

ลูกร้องไห้แบบไหนไม่ปกติ

เสียงร้องไห้ เด็ก แบบไหน ไม่ปกติ อันตราย เสียงร้องไห้ แบบไหน บอกว่าเด็กเป็นโคลิค ปรับตัวอย่างไรไม่ให้หัวเสียเมื่อลูกร้องไห้ ลูกร้องไห้ไม่หยุด ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ ลูกร้องไห้ไม่ยอมนอน

 

นอกจากนี้ การดูแลตนเองให้อยู่ในสภาพพร้อม ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน คุณแม่ไม่ควรปล่อยให้ตนเองหิว หรือนอนหลับไม่เพียงพอ จนอาจโมโหลูกได้ง่าย ในปัจจุบัน มีศูนย์ให้คำปรึกษาด้านการเลี้ยงลูกมากมายที่คอยให้คำแนะนำเมื่อเกิดปัญหากับลูกน้อย ทั้งโรงพยาบาลของรัฐบาลและเอกชน รวมไปถึงสายด่วนขององค์กร โรงพยาบาล หรือมูลนิธิ เช่น สายด่วนกรมสุขภาพจิต โทร. 1323 หรือสายด่วนโรงพยาบาลเด็ก โทร. 1415 เป็นต้น หากคุณแม่ไม่สบายใจและต้องการปรึกษาใครจริง ๆ ก็สามารถขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานเหล่านี้ได้ทุกเมื่อนะคะ

 

ที่มา : 1 , 2 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ลูกร้องไห้ขณะนอนหลับ มีสาเหตุมาจากอะไร? ฝันร้ายหรือเปล่า
ลูกนอนละเมอ ร้องไห้ ฝันร้าย เดินละเมอ อันตรายไหม ดูแลและป้องกันอย่างไร
เผยเทคนิค หยุดน้ำตาเจ้าตัวเล็ก จบปัญหา ลูกร้องไห้ไม่หยุด พาพ่อแม่แฮปปี้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ammy

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ลูกร้องไห้แบบไหนไม่ปกติ 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 70
แชร์ :
  • ลูกร้องกลางดึก 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 69

    ลูกร้องกลางดึก 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 69

  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 18 ลูกร้องไม่หยุด

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 18 ลูกร้องไม่หยุด

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ลูกร้องกลางดึก 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 69

    ลูกร้องกลางดึก 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 69

  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 18 ลูกร้องไม่หยุด

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 18 ลูกร้องไม่หยุด

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ