ระดับน้ำตาลในหญิงตั้งครรภ์ จะบอกได้ว่าคนท้องมีโอกาสเป็นเบาหวานหรือไม่ เพราะว่าปัญหาที่คนท้องส่วนใหญ่พบเจอก็คือเรื่องของเบาหวานนั่นเอง สาเหตุที่ทำให้คนท้องเป็นเบาหวานได้ง่ายก็มาจากฮอร์โมนในรก เพราะว่ารกจะคอยสร้างฮอร์โมนเอชซีจี (HCG) ที่มีฤทธิ์ในการต่อต้านการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เมื่ออินซูลินไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ก็ทำให้ค่าน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นนั่นเองค่ะ
ลักษณะอาการของคนเป็นเบาหวาน ระดับน้ำตาลในหญิงตั้งครรภ์
เวลาที่คนท้องเป็นโรคเบาหวานร่างกายจะแทบไม่แสดงอาการออกมาเลย เพราะบางครั้งก็มีอาการคล้ายกับคนท้องปกติ เช่น กินอาหารเก่ง หิวบ่อย กระหายน้ำมากกว่าปกติ ปัสสาวะบ่อย เป็นต้น ซึ่งโดยปกติแล้วคุณหมอจะทำการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานเป็นประจำอยู่แล้วหากคุณแม่เข้ารับการตรวจครรภ์ตามปกติ
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- มีน้ำหนักตัวเกินขนาด
- เคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อน
- มีพ่อแม่ พี่น้อง เคยเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มาก่อน
- มีภาวะก่อนเป็นเบาหวาน ซึ่งหมายถึงมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ไม่สูงพอที่จะวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน
- เป็นโรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (polycystic ovary syndrome (PCOS)
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ: 14 พฤศจิกายน วันเบาหวานโลก (World Diabetes Day) ลดพฤติกรรมเสี่ยง เลี่ยงเบาหวานได้
ระดับน้ำตาลในหญิงตั้งครรภ์ เบาหวานปกติเท่าไร
ค่าน้ำตางปกติในหญิงตั้งครรภ์ การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ส่วนมากจะทำเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้อายุ 24 – 28 สัปดาห์ โดยมีวิธีการตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือดเบื้องต้น ดังนี้
- ให้ดื่มน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม
- ตรวจเลือดหลังจากดื่มน้ำตาลกลูโคสไป 1 ชั่วโมง
โดยค่าระดับน้ำตาลปกติ คือ คุณแม่จะต้องมีค่าน้ำตาลอยู่ที่ต่ำกว่า 140 mg/dl หากผลการตรวจออกมาแล้วคุณแม่ได้ค่าน้ำตาลอยู่ที่ 140 – 199 mg/dl คุณหมออาจนัดมาตรวจวินิจฉัยเบาหวานอีกครั้ง แต่ถ้าผลออกมาแล้วได้ค่าน้ำตาลอยู่ที่ 200 mg/dl คุณหมอจะวินิจฉัยว่าคุณแม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์เลยค่ะ
กรณีที่คุณหมอนัดมาตรวจหาค่าระดับน้ำตาลในเลือดอีกครั้ง คุณหมอจะทำการตรวจวัด ดังนี้
- ให้คุณแม่งดน้ำและอาหารหลังเที่ยงคืนวันก่อนมาตรวจวินิจฉัย
- ตรวจเลือดครั้งที่ 1
- กินน้ำตาลกลูโคส 100 กรัม แล้วตรวจเลือด
- ดื่มน้ำตาลกลูโคสอีก 3 ครั้ง แล้วตรวจเลือด
ซึ่งค่าน้ำตาลปกติในหญิงตั้งครรภ์ ระดับน้ำตาลปกติของคุณแม่ในแต่ละครั้งคือ 95,180 , 155,140 mg/dl หากผลการตรวจน้ำตาลออกมาแล้วมีค่าสูงกว่าเกณฑ์ตั้งแต่ 2 ค่าขึ้นไป คุณหมอจะวินิจฉัยว่าคุณแม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ค่ะ
สำหรับค่าระดับน้ำตาลปกติของคุณแม่ตั้งครรภ์นั้นจะอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 95 mg/dl (ก่อนรับประทานอาหาร) และไม่เกิน 140 mg/dl หลังรับประทานอาหาร 1 ชั่วโมงค่ะ
ขั้นตอนการตรวจระดับน้ำตาลในหญิงตั้งครรภ์
ซักประวัติ
- ประวัติคนในครอบครัวว่ามีใครเป็นเบาหวานหรือไม่
- ประวัติความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน เช่น คลอดบุตรที่มีน้ำหนักมากกว่า 4,000 กรัม มีประวัติทารกตายคลอด หรือตายโดยไม่ทราบสาเหตุ
ตรวจร่างกาย
- ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เพื่อคำนวณดัชนีมวลกาย
- ตรวจครรภ์พบว่าครรภ์ใหญ่กว่าปกติ หรือพบครรภ์แฝดน้ำ
- ตรวจพบความผิดปกติของระบบต่าง ๆ จากเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในขณะตั้งครรภ์
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
- ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ
- ตรวจหาระดับน้ำตาลในกระแสเลือด โดยวิธี OGTT
กลุ่มเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นเบาหวาน
- ผู้ป่วยที่มีประวัติคลอดเด็กน้ำหนักมาก
- ผู้ป่วยที่มีประวัติคลอดเด็กเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน
ความเสี่ยงจากเบาหวานเมื่อตั้งครรภ์
- ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะความดันโลหิตสูง และอัตราการผ่าตัดคลอดอาจจะเพิ่มขึ้น
- ภาวะทารกตัวโต ในที่นี้หมายถึง ทารกที่มีน้ำหนักมากกว่า 4,000 กรัม เกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดในแม่ ซึ่งมักเกิดในครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ ทำให้น้ำตาลในทารกสูงด้วยไปกระตุ้นให้ตับอ่อนสร้างอินสุลินมากขึ้น
วิธีควบคุมอาหารสำหรับคนท้องที่เป็นเบาหวาน
- รับประทานอาหารหลัก 3 มื้อและอาหารว่าง 3 มื้อ
- รับประทานในแต่ละมื้อให้มีปริมาณใกล้เคียงกัน
- รับประทานอาหารเป็นเวลา ไม่รับประทานจุกจิก
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- สามารถใช้รายการอาหารแลกเปลี่ยนสลับไปมา ในแต่ละหมวดของอาหารเพื่อป้องกันการจำเจ
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ดูแลเบาหวานเมื่อตั้งครรภ์
เมื่อพบว่าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ แนะนำให้พบนักกำหนดอาหาร โดยให้รับประทานอาหารจำพวกโปรตีน ลดอาหารจำพวกแป้ง เพิ่มการรับประทานไฟเบอร์ เพิ่มการรับประทานนม นอกจากกนี้ควรเจาะระดับน้ำตาลในเลือดทั้งก่อนและหลังอาหาร โดยระดับน้ำตาลก่อนอาหารควรน้อยกว่า 95mg/dL และหลังอาหาร 2 ชั่วโมง ระดับน้ำตาลควรน้อยกว่า 120 mg/dL เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นภายหลัง
ที่มา: si.mahidol
บทความอื่น ๆ ที่คุณอาจจะสนใจ :
เบาหวานประเภท 2 สัญญาณเริ่มต้นของโรคเบาหวานประเภท 2 คืออะไร?
เบาหวานขึ้นตา รวมทุกเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเบาหวานขึ้นตา สาเหตุ วิธีรักษา
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภัยเงียบที่ต้องระวัง ส่งผลร้ายต่อลูกในท้องได้
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!