TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

น้ำคาวปลามีกลิ่น ผิดปกติไหม น้ำคาวปลากี่วันหมด จำเป็นต้องกินยาขับหรือเปล่า

บทความ 5 นาที
น้ำคาวปลามีกลิ่น ผิดปกติไหม น้ำคาวปลากี่วันหมด จำเป็นต้องกินยาขับหรือเปล่า

น้ำคาวปลามีกลิ่น น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าน้ำคาวปลาคืออะไร ซึ่งน้ำคาวปลา  (Lochia) คือ อาการเลือดออกหลังจากที่คลอดลูก ไม่ว่าคุณแม่จะคลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอดก็ต้องเจอเหมือนกัน โดยน้ำคาวปลานั้นจะออกมาจากช่องคลอดที่เกิดจากรกที่หลุดลอกจากผนังมดลูก แต่ก็สามารถเป็นเลือดจากส่วนที่ฉีกขาดหรือโดนตัดในช่วงที่คุณกำลังทำการคลอดก็ได้ ทั้งนี้เพื่อป้องกัน น้ำคาวปลามีกลิ่น ที่เกิดจากการอักเสบของช่องคลอด คุณแม่จึงต้องคอยดูแลและสังเกตอาการของตนเองให้ดี

 

น้ำคาวปลามีกลิ่น ทำอย่างไร

น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น โดยปกติแล้วน้ำคาวปลาจะไม่มีกลิ่นเหม็น แต่หากคุณแม่พบว่า น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น เริ่มมีสีแดงขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากที่จางไปแล้ว หรือปนเลือดสด ๆ ออกมา รวมถึงคุณแม่มีไข้สูง ปวดมดลูกผิดปกติ ท้องป่องเนื่องจากมดลูกยังไม่ยอมยุบ แสดงว่าเกิดอาการอักเสบในโพรงมดลูก ซึ่งอาจมีเศษของเยื่อหุ้มรกหรือเศษรกเด็กปกอยู่ ทำให้เกิดการอักเสบในโพรงมดลูก

บทความที่เกี่ยวข้อง : ไขข้อข้องใจ น้ำคาวปลาหลังคลอด น้ำคาวปลา คืออะไร ที่นี่มีคำตอบ

 

น้ำคาวปลา หลังคลอดมี 3 ระยะ

การสังเกตความผิดปกติของน้ำคาวปลา จะปรากฏอยู่ 3 ระยะ ซึ่งคุณแม่หลังคลอดสามารถสังเกตอาการตัวเองได้ว่าแต่ละระยะเกิดความผิดปกติอย่างไรบ้าง

 

1. น้ำคาวปลาแดง

น้ำคาวปลาระยะนี้ เกิดขึ้นตั้งแต่วันแรกหลังคลอด จะมีน้ำเมือกเหลว ๆ ไหลออกอยู่ประมาณ 3-5 วัน ซึ่งระยะนี้จะมีสีแดงช้ำ ๆ คล้ำ ๆ เนื่องจากมีเลือด เมือก และเศษรกปนอยู่ คล้าย ๆ กับผู้หญิงมีประจำเดือน

 

2. น้ำคาวปลาเหลืองใส

น้ำคาวปลาจะไหลเรื่อย ๆ ประมาณอาทิตย์กว่า จนถึง 10 วัน โดยระยะนี้ สีของน้ำคาวปลาจะเริ่มจางลง สีเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือชมพูอ่อน ๆ แล้วค่อย ๆ จางกลายเป็นสีเหลืองใส ในช่วงนี้น้ำคาวปลาจะประกอบไปด้วย น้ำเหลือง เมือก เยื่อภายในมดลูกต่าง ๆ รวมถึงเม็ดเลือดแดงเม็ดเลือดขาวด้วยค่ะ

 

3. น้ำคาวปลาขาว

ระยะที่ 3 จะยาวนานหลังคลอดประมาณ 6 สัปดาห์หรือ 2 เดือนกว่า ระยะนี้น้ำคาวปลาจะมีสีเหลืองขุ่นจนออกไปทางขาว ออกต่อจากน้ำคาวปลาเหลืองใส ซึ่งจะมีเม็ดเลือดแดงน้อยลง แต่มีเม็ดเลือดขาว ไขมัน เมือก และเซลล์บุผนังช่องคลอดมากขึ้น ออกมาเป็นเศษซากที่เหลือในช่องคลอด แล้วระยะนี้ ปริมาณน้ำคาวปลาจะค่อย ๆ ลดลงจนแห้งสนิท คุณแม่หลังคลอดจำไว้ว่า น้ำคาวปลาจะมีกลิ่นเหมือนประจำเดือนปกติ ซึ่งถ้าหากมีกลิ่นเหม็นก็หมายความว่ามีการติดเชื้อขึ้น

 

วิธีรับมือกับน้ำคาวปลาหลังคลอด น้ำคาวปลามีกลิ่น

ช่วงที่คุณแม่มีเลือดออกหลังคลอด แนะนำให้เปลี่ยนผ้าอนามัยทุก ๆ  2-3 ชั่วโมง ในช่วงวันแรก ๆ และจากนั้นเมื่อเลือดเริ่มน้อยลงในวันต่อ ๆ มา นอกจากนี้ในช่วงที่มีน้ำคาวปลา คุณแม่หลังคลอดควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

 

น้ำคาวปลามีกลิ่น

 

1. รักษาความสะอาดของร่างกาย

คุณแม่อาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หมั่นดูแลอวัยวะเพศให้สะอาดอยู่เสมอ ที่สำคัญห้ามฟอกสบู่ หรือใช้น้ำยาล้างช่องคลอดเด็ดขาด

 

2. ดูแลแผลฝีเย็บ

รอยแผลฝีเย็บเป็นส่วนที่ต้องดูแลคู่กับช่องคลอดเพราะมีความบอบบางเป็นพิเศษ เพราะอาจเกิดการติดเชื้อได้ง่ายหากไม่สะอาด

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการเจ็บฝีเย็บ การดูแลแผลฝีเย็บหลังคลอด แผลแห้งไว หายไว

 

3. ใช้ผ้าอนามัยชนิดใหญ่พิเศษ

คุณแม่ควรใช้ผ้าอนามัยแบบกลางคืนและควรเปลี่ยนทุก 3 ชั่วโมง หรือเปลี่ยนทุกครั้งที่ชุ่ม ถ้ามีน้ำคาวปลามาก ๆ ให้ใช้ผ้าอนามัยของผู้ใหญ่ ขนาดใหญ่แบบโรงพยาบาลใช้ เพื่อไม่ให้เกิดการหมักหมม อับชื้น ซึ่งอาจทำให้เกิดการสะสมเชื้อโรค

 

4. ล้างมือให้สะอาดเสมอ

ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามช่วงหลังคลอดคุณแม่ต้องล้างมือให้สะอาดเสมอเพื่อสุขภาพตัวเองและลูกน้อย โดยเฉพาะก่อนเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกครั้งเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ

 

5. ห้ามใช้ผ้าอนามัยแบบสอดหรือถ้วยอนามัย

ควรใช้ผ้าอนามัยแบบผ้าแปะ จนกว่าจะถึงเวลานัดตรวจหลังคลอด 6 สัปดาห์ เพราะช่องคลอดและมดลูกอาจยังไม่ฟื้นตัวไม่ควรสอดใส่สิ่งใด ๆ ลงไปในช่องคลอดค่ะ

 

6. ไม่แช่อ่างน้ำหรือว่ายน้ำ

อย่าแช่น้ำหรืออาบน้ำนานเกินไปเนื่องจากปากมดลูกยังเปิดอยู่ อาจทำให้มีน้ำเข้าไปในโพรงมดลูก ทำให้เกิดการติดเชื้อได้

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ

 

น้ำคาวปลามีกลิ่น

 

7. ควรงดการมีเพศสัมพันธ์

ข้อนี้คุณแม่ต้องตกลงกับคุณพ่อว่าต้องของดมีเพศสัมพันธ์ 3 เดือน เพื่อสุขอนามัยของทั้งคู่ค่ะ

 

8. ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย

ไม่ควรสวมใส่เสื้อผ้ารัดรึง เช่นเสื้อรัดรูปหรือกางเกงรัดรูป เพราะอาจทำให้เกิดการอับชื้นสะสมได้

 

9. หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก

โดยเฉพาะการยกของหนัก คุณแม่อย่าเผลอถือของหนัก ยกของหนัก ก้ม ๆ เงย ๆ บ่อยเกินไป เพราะอาจทำให้มดลูกและช่องคลอดอักเสบ

 

10. เลือกรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง

คุณแม่ควรดูแลสุขภาพมาก ๆ ค่ะ รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก เช่น ผักใบเขียว ตับหมู ตับไก่ เพื่อบำรุงร่างกายที่มีการเสียเลือดในปริมาณมาก และดื่มน้ำสะอาดพร้อมกับนอนพักผ่อนมากนะคะ

 

น้ำคาวปลามีกลิ่น จำเป็นต้องกินยาขับน้ำคาวปลาไหม

จริง ๆ แล้วการที่น้ำคาวปลาหมดเร็วก็ดี เพราะไม่ทำให้คุณแม่เหนื่อยง่าย แต่การกินยาขับน้ำคาวปลาโดยเฉพาะที่มีแอลกอฮอล์คงไม่ดีแน่ เนื่องจากยาที่คุณแม่กินเข้าไปอาจกลายเป็นน้ำนม เมื่อลูกดื่มนมแม่เข้าไปก็กลายเป็นว่าได้รับยาไปด้วยซึ่งอาจไม่เป็นผลดีต่อลูกน้อยเท่าที่ควร อีกทั้งอาจทำให้คุณแม่มีเลือดออกมากขึ้นจนกลายเป็นตกเลือดหลังคลอด ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ค่ะ

 

อาการตกเลือดหลังคลอดเกิดจากอะไร

ภาวะตกเลือดหลังคลอดมีอยู่ด้วยกัน 2 ระยะ คือ

  • ภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก (Primary postpartum hemorrhage)

โดยอาการนี้สามารถเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมงหลังจากคลอดลูก ถ้าใครเป็นช่วงนี้อย่างน้อยก็ปลอดภัยกว่า เพราะยังพักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาล ซึ่งเกิดจากรกไม่ได้หลุดออกจากมดลูกอย่างเหมาะสม จากการที่เกิดการบาดเจ็บระหว่างคลอด หรือมดลูกของคุณไม่บีบตัวลงมาเพียงพอภายหลังที่รกออกมาแล้ว

 

  • ภาวะตกเลือดหลังคลอดบุตรระยะหลัง (Secondary postpartum hemorrhage)

เป็นสิ่งที่ห่วงเนื่องจากมันจะแสดงอาการหลังจากที่คุณแม่ออกจากโรงพยาบาลไปแล้ว โดยจะอยู่ในช่วง 24 ชั่วโมง  – 12 สัปดาห์หลังจากคลอดลูก ซึ่งการตกเลือดแบบนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ

 

จะรู้ได้อย่างไรว่ามีการติดเชื้อหลังคลอด

  • ปวดท้องช่วงล่างและบริเวณขาหนีบ
  • เลือดที่ไหลออกมามีกลิ่นเหม็น
  • มีไข้และ/หรือรู้สึกหนาวเย็น
  • มีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว
  • ปวดศีรษะ

 

เลือดออกแบบไหนอันตรายต้องรีบไปพบแพทย์

  • มีเลือดออกมามากจนต้องเปลี่ยนแผ่นซับมากกว่า 1 แผ่นใน  1 ชั่วโมง
  • เลือดมีสีแดงสดขึ้นเรื่อย ๆ และมีปริมาณมากขึ้นในระยะ 4 วันหรือมากกว่าภายหลังการคลอด แม้ว่าคุณจะพักผ่อนแล้ว
  • มีลิ่มเลือดขนาดใหญ่หลุดออกมา
  • มีอาการหน้ามืดจะเป็นลม
  • หัวใจเต้นแรง หรือมีอัตราการเต้นที่ผิดปกติ

หากคุณแม่มีอาการเหล่านี้ อย่านิ่งนอนใจให้รีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เนื่องจากอาจเกิดอาการตกเลือดได้ และอาจทำให้คุณแม่เสียเลือดได้มากถึง  500 มล. หรือมากกว่านี้เลยทีเดียว

การเกิดน้ำคาวปลาขึ้น ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงในช่วงหลังคลอดของคุณแม่ทุกคนที่จะต้องพบเจอการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้น ดังนั้น คุณแม่อย่าลืมดูแลตนเองด้วยการรักษาความสะอาดในช่วงเวลาหลังคลอด เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเกิดขึ้น หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้สำหรับคุณแม่ทุกคนนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

มีตกขาวสีน้ำตาลคล้ำ ใช่น้ำคาวปลาหรือไม่ ? 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้

น้ำคาวปลา หลังคลอดกี่วันถึงจะหมด ทำไมน้ำคาวปลามีหลายสี สีไหนผิดปกติ

ยาสตรีขับน้ำคาวปลาได้ไหม ใช้แทนการอยู่ไฟหลังคลอดได้หรือเปล่า

ที่มา : babycentreamarinbabyandkids

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • การคลอด
  • /
  • น้ำคาวปลามีกลิ่น ผิดปกติไหม น้ำคาวปลากี่วันหมด จำเป็นต้องกินยาขับหรือเปล่า
แชร์ :
  • หย่านมยังไงไม่ให้น้ำหนักพุ่ง! แจกสูตร คุมอาหารหลังหย่านม แบบเห็นผลจริง

    หย่านมยังไงไม่ให้น้ำหนักพุ่ง! แจกสูตร คุมอาหารหลังหย่านม แบบเห็นผลจริง

  • ลูกน้ำมูกไหลหลังว่ายน้ำ เกิดจากอะไร? ป้องกันยังไงไม่ให้ลูกป่วย?

    ลูกน้ำมูกไหลหลังว่ายน้ำ เกิดจากอะไร? ป้องกันยังไงไม่ให้ลูกป่วย?

  • เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

    เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

powered by
  • หย่านมยังไงไม่ให้น้ำหนักพุ่ง! แจกสูตร คุมอาหารหลังหย่านม แบบเห็นผลจริง

    หย่านมยังไงไม่ให้น้ำหนักพุ่ง! แจกสูตร คุมอาหารหลังหย่านม แบบเห็นผลจริง

  • ลูกน้ำมูกไหลหลังว่ายน้ำ เกิดจากอะไร? ป้องกันยังไงไม่ให้ลูกป่วย?

    ลูกน้ำมูกไหลหลังว่ายน้ำ เกิดจากอะไร? ป้องกันยังไงไม่ให้ลูกป่วย?

  • เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

    เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว