X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ระวัง! ติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ เสี่ยงตายทั้งเเม่ทั้งลูก

บทความ 5 นาที
ระวัง! ติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ เสี่ยงตายทั้งเเม่ทั้งลูก

ตลอด 9 เดือนของการตั้งครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่มักกังวลเกี่ยวกับลูกน้อยในครรภ์ว่าลูกจะปกติไหม จะมีโรคหรือติดเชื้ออะไรหรือเปล่า ซึ่งแน่นอนว่าโอกาส ติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ นั้นมีสูงมาก ปกติร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ โดยผลิตสารภูมิต้านทาน หรือ Antibody มาสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ อยู่แล้ว แต่ก็มีเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียบางตัว ที่ร่างกายของคุณแม่ผลิตสารภูมิต้านทานได้น้อยเกินไป จึงทำให้ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อได้เอง

 

ติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ มีโรคอะไรบ้าง ?

1. โรคอีสุกอีใส

โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Varicella ซึ่งเป็นเชื้อตัวเดียวกับโรคงูสวัด สามารถติดต่อได้โดยการหายใจเอาเชื้อไวรัสที่กระจายอยู่ในอากาศและการสัมผัสเข้าสู่ร่างกาย โดยมีระยะฟักตัวประมาณ 10-20 วัน เมื่อเป็นแล้วจะมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต และผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่เป็นซ้ำอีกค่ะ แต่บางรายก็อาจจะมีเชื้อซ่อนอยู่ในปมประสาท และมีโอกาสเป็นงูสวัดได้เช่นกัน

ส่วนการติดเชื้ออีสุกอีใสในคุณแม่ตั้งครรภ์ช่วงสามเดือนแรก อาจส่งผลทำให้ทารกในครรภ์พิการได้ เช่น แขนขาผิดรูป จอประสาทตาอักเสบ และตาบอด ลำไส้ตีบฝ่อเป็นช่วง ๆ และมีความผิดปกติของระบบประสาทค่ะ นอกจากนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นอีสุกอีใสในระยะก่อนคลอด 5 วันหรือเป็นหลังคลอด 2 วัน ทารกก็มีความเสี่ยงเป็นอีสุกอีใสชนิดรุนแรงได้ การป้องกันโรคอีสุกอีใสสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนค่ะ

 

ติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์

 

2. โรคหัดเยอรมัน

สำหรับโรคหัดเยอรมัน จะเป็นไข้ออกผื่นที่มาจากเชื้อไวรัส อาการไม่ค่อยรุนแรงเท่าไร สามารถติดต่อได้ทางการหายใจ โดยเชื้อในละอองน้ำมูกและน้ำลายของผู้ป่วยในอากาศ ระยะเวลาที่สามารถแพร่เชื้อได้ก็คือ 7 วันก่อนออกผื่น คุณแม่ที่ตั้งครรภ์จะไม่มีอันตรายจากโรคหัดเยอรมัน แต่ทารกในครรภ์ที่อาจจะติดเชื้อและทำให้เกิดความผิดปกติได้ค่ะ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ตอนที่ติดเชื้อด้วยค่ะ หากอยู่ในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ความพิการที่เห็นได้ชัด คือ ตาเป็นต้อกระจก ตาเป็นต้อหิน หูหนวก หัวใจพิการ เด็กตัวเล็กกว่าปกติ เกล็ดเลือดต่ำ รวมไปจนถึงอาจจะมีความผิดปกติทางสมองได้ หรือบางครั้งอาจทำให้ทารกในครรภ์เสียชีวิตเพราะติดเชื้อได้ค่ะ

การป้องกันโรคหัดเยอรมันคือการฉีดวัคซีน และควรฉีดตั้งแต่ช่วงวัยเด็กหรือไม่ก็ช่วงวัยสาวตอนที่ยังไม่เคยเป็นหัดเยอรมันมาก่อน แต่ในระหว่างที่ตั้งครรภ์อยู่ไม่สามารถฉีดได้นะคะ หากคุณแม่กังวลให้เลี่ยงการอยู่ใกล้กับคนที่เป็นโรคนี้ เพราะหากคุณแม่ติดเชื้อแล้ว ทีมแพทย์ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ยุติการตั้งครรภ์ค่ะ เนื่องจากทารกมีโอกาสพิการมากถึง 50-90 % เลยค่ะ

 

3. ตกขาวระหว่างตั้งครรภ์

จริง ๆ แล้วการตกขาวถือเป็นเรื่องปกติของคุณแม่ตั้งครรภ์ จะมีลักษณะเป็นมูกใสหรือขาวขุ่นคล้ายแป้งเปียก และมีปริมาณไม่มากเท่าไร แต่อาจจะมีทุกวัน วันละเล็กน้อย ส่วนลักษณะและปริมาณขึ้นอยู่กับฮอร์โมนในร่างกายของคุณแม่ด้วยค่ะ แต่อย่างไรก็ตาม คุณแม่ก็ควรระวังการมีตกขาวที่ผิดปกติจากเชื้อโรคด้วยนะคะ ซึ่งมันจะทำให้ช่องคลอดอักเสบและติดเชื้อได้ง่าย บางครั้งก็ก่อให้เกิดอันตรายต่อการตั้งครรภ์ด้วยค่ะ ส่วนมีตกขาวที่อันตรายหลัก ๆ แล้วจะแบ่งได้ ดังนี้

  • ตกขาวมีสีเทาหรือขาวเข้มเหมือนกับเมือกนม
  • คุณแม่มีอาการแสบร้อนด้านในช่องคลอด
  • เกิดอาการคันรุนแรงตรงบริเวณช่องคลอด
  • ส่งกลิ่นอับคล้ายกลิ่นคาวปลา หรือมีกลิ่นเหม็นแรงผิดปกติ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตกขาวระหว่างตั้งครรภ์ อันตรายไหม? เรื่องของ “ตกขาว” ที่แม่ท้องต้องรู้

 

ติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์

 

4. โรคขี้แมว

โรคขี้แมวจะเป็นโรคจากปรสิตที่ชื่อว่า Toxoplasma gondii สามารถพบได้ในมูลของแมว หรือไม่ก็การกินเนื้อสัตว์ดิบ ๆ หรือปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ ทำให้ผู้ป่วยบางรายมีอาการคล้ายกับเป็นไข้หวัด แถมเชื้อมันยังสามารถแพร่จากแม่สู่ทารกในครรภ์ได้ด้วยค่ะ หากได้รับเชื้อในช่วงแรกของการตั้งครรภ์จะถ่ายทอดเชื้อไปยังทารกได้เพียงเล็กน้อย แต่ในบางรายก็ส่งผลทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์ได้เช่นกันค่ะ บ้านไหนที่เลี้ยงแมวอาจจะต้องรักษาเรื่องความสะอาดด้วย

 

เกิดอะไรขึ้นถ้าคุณแม่ติดเชื้อ

แน่นอนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเลวร้ายค่ะ เชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียจะเข้ามาทำลายเนื้อเยื่อ ขยายจำนวน และปล่อยพิษขึ้นตามส่วนต่าง ๆ โดยที่สาเหตุของการติดเชื้อนั้นมาจาก

  • ไวรัส (virus)
  • ไวรอยด์ (viroid)
  • โปรตีนพรีออน (prion)
  • แบคทีเรีย (bacteria)
  • พยาธิตัวกลม (roundworm)
  • พยาธิเข็มหมุด (Pinworm)หรือพยาธิเส้นด้าย (Threadworm)
  • เห็บ (tick)
  • ไร (mite)
  • หมัด (flea)
  • เหา (lice)
  • เชื้อรา (fungi)
  • กลากหรือขี้กลาก (ringworm)
  • พยาธิตัวตืด (tapeworm)

ปัญหาการติดเชื้อนี้จะยิ่งมีความซับซ้อนขึ้นไปอีก เนื่องจากคุณแม่กำลังตั้งครรภ์ เช่น อาจจะส่งผลต่อลูกที่อยู่ในครรภ์ทำให้ติดเชื้อได้เช่นกัน คุณแม่ตั้งครรภ์มีแนวโน้มที่จะติดเชื้อได้ง่ายขึ้น เนื่องจากร่างกายอ่อนแอ ความอ่อนเพลีย และอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์ ซึ่งในบางกรณีที่มีการติดเชื้อที่ร้ายแรง อาจจะส่งผลทำให้แท้ง คลอดก่อนกำหนด ทารกตายในครรภ์ ทารกพิการแต่กำเนิด และอาจทำให้คุณแม่เสียชีวิตได้ นี่จึงเป็นเหตุผลนึงที่ต้องมีการป้องกันการติดเชื้อ และการรักษาที่ทันท่วงทียังไงละคะ

 

ติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์

 

ป้องกันการติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์

  • รับวัคซีนก่อนการตั้งครรภ์และระหว่างตั้งครรภ์
  • สังเกตอาการผิดปกติของตัวเองอย่างละเอียดและตรวจครรภ์ตามนัด
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์หากคุณพ่อมีการติดเชื้อใด ๆ ก็ตาม
  • เลือกคลินิกและโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องมือและเข็มฉีดยามีการฆ่าเชื้อที่ได้มาตรฐาน
  • รับประทานแต่อาหารที่ปรุงสุกด้วยอุณหภูมิที่สูงพอแก่การฆ่าเชื้อ ดื่มน้ำสะอาด ล้างมือทุกครั้งหลังการสัมผัสกับสัตว์เลี้ยง
  • ปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาต่อไปค่ะ

 

จะเห็นได้ชัดเลยว่าคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่นั้นเกิดการติดเชื้อได้ง่ายมาก เพราะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนรวมไปจนถึงเรื่องของภูมิคุ้มกันต่าง ๆ ดังนั้น อย่าลืมเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ด้วยการเข้ารับวัคซีนเพื่อป้องกัน หากตรวจพบเชื้อก่อนตั้งครรภ์ก็ควรรักษาตัวเองให้เรียบร้อยก่อนค่ะ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะส่งผลถึงเจ้าตัวเล็กในท้องได้

 

บทความจากพันธมิตร
5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
แม่รู้มั้ย ป้องกันลูกเป็น โรคภูมิแพ้ เริ่มต้นจากบ้านสะอาด อากาศสดชื่น ปราศจากฝุ่น และไวรัส
แม่รู้มั้ย ป้องกันลูกเป็น โรคภูมิแพ้ เริ่มต้นจากบ้านสะอาด อากาศสดชื่น ปราศจากฝุ่น และไวรัส

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

9 โรคอันตรายที่เกิดขึ้นได้ระหว่างตั้งครรภ์

แม่ติดโควิด ยังสามารถให้นมลูกได้หรือไม่

โรคทางเดินปัสสาวะติดเชื้อคืออะไร ทำไมแม่ท้องถึงไม่ควรเป็น

ที่มา : 1, 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • ระวัง! ติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ เสี่ยงตายทั้งเเม่ทั้งลูก
แชร์ :
  • 5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
    บทความจากพันธมิตร

    5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้

  • หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์

  • ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
    บทความจากพันธมิตร

    ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์

  • 5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
    บทความจากพันธมิตร

    5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้

  • หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์

  • ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
    บทความจากพันธมิตร

    ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว