รู้จักโรคงูสวัด ให้เพิ่มขึ้นเถอะ หลังจากที่ จัสติน บีเบอร์ (Justin Bieber) ศิลปินชื่อดังระดับโลก ประกาศเลื่อนทัวร์คอนเสิร์ต เนื่องจากอาการป่วยรุนแรงจากโรคแรมเซย์ ฮันท์ (Ramsey Hunt Syndrome) คือภาวะแทรกซ้อนจาก โรคงูสวัด เกิดจาก varicella-zoster virus infection ที่หู (Herpes zoster oticus) และมีการติดเชื้อที่ ganglion ของ 8th cranial nerve และ facial nerve ที่ผ่านมาทางผนังของ external ear และเกิดจากไวรัสชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส (chickenpox) ดังนั้น ใครที่เคยเป็นอีสุกอีใสก็อาจเป็นโรคแรมเซย์ ฮันท์ได้ด้วย เนื่องจากไวรัสจะยังอยู่ในร่างกายแม้จะหายดีแล้ว
โดยอาการของ จัสติน บีเบอร์ (Justin Bieber) ที่กำลังเป็นโรครัมเซย์ ฮันต์ ซินโดรม ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนจากงูสวัด ที่ทำให้เป็นอัมพาตครึ่งหน้า ซึ่งเจ้าตัวก็ได้บอกว่าขอใช้เวลาช่วงนี้เพื่อไปพักรักษาตัวเองอย่างเต็มที่ และกำลังอยู่ในช่วงต้องฟื้นฟูร่างกายด้วยการทำกายภาพต่างๆ กับใบหน้า
บทความที่น่าสนใจ โรคงูสวัด คืออะไร อาการของโรคงูสวัดเป็นอย่างไร น่ากลัวหรือไม่ อันตรายใกล้ตัวควรระวัง!!
ทำความ รู้จักโรคงูสวัด
โรคงูสวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลลา (Varicella Virus) เป็นเชื้อตัวเดียวกันกับการที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส เมื่อหายจากโรคอีสุกอีใสแล้วเชื้อจะไปหลบซ่อนอยู่ในปมประสาทของร่างกาย
เมื่อเวลาที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ เช่น อ่อนเพลีย, พักผ่อนไม่เพียงพอ, ผู้ป่วยสูงอายุ, ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยากดภูมิต้านทาน เชื้อที่แฝงตัวอยู่ก็จะแบ่งตัว เพิ่มจำนวนทำให้เส้นประสาทอักเสบ เมื่อเวลาที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ เชื้อที่แฝงตัวอยู่ก็จะออกมาที่ผิวหนังตามแนวเส้นประสาท
ผื่นจากโรคงูสวัดมักจะเกิดขึ้นบนผิวหนังตามแนวเส้นประสาทของร่างกายตามลำตัว, หน้าอก, แผ่นหลัง, หน้า และคอ น้อยคนจะเป็นที่ฝ่ามือ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย แต่มักจะเกิดกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน
รู้จักโรคงูสวัด และอาการเป็นอย่างไร
สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้
- ระยะแรกเป็นช่วงที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำลง เชื้อไวรัสจึงเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ ในเส้นประสาท ส่งผลให้ผู้ป่วยเริ่มมีอาการปวดแสบปวดร้อน โดยหาสาเหตุไม่ได้
- ระยะที่ 2 เมื่อมีอาการแสบร้อนโดยหาสาเหตุไม่ได้ประมาณ 2-3 วัน จะเริ่มปรากฏผื่นแดงขึ้น และกลายเป็นตุ่มน้ำใสเรียงตัวกันเป็นแนวยาวตามเส้นประสาทของร่างกาย เช่น ตามความยาวของแขน รอบเอว รอบหลัง ใบหน้า ต้นขา เป็นต้น ต่อมาตุ่มน้ำใสนั้นจะแตกออกเป็นแผล จากนั้นจะตกสะเก็ด แล้วจะหายได้เองภายใน 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดศีรษะ และอาจมีไข้ร่วมด้วย
- ระยะสุดท้าย แม้แผลจะหายดีแล้ว แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะยังคงมีอาการปวดแสบปวดร้อนอยู่ตามรอยแนวของแผลที่เกิดขึ้น
นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจเกิดอาการปวดประสาทหลังเป็นโรคงูสวัด ซึ่งจะปวดต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลามากกว่า 3 เดือนหลังจากที่ตุ่มใสเริ่มเกิดขึ้น
โรคงูสวัดและอาการแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในโรคงูสวัดคือ อาการปวดตามแนวเส้นประสาทหลังการติดเชื้อ พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 50 ปี บางรายอาจปวดนานหลายปี ภาวะแทรกซ้อนอื่นที่พบ ได้แก่ การติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม, ตาอักเสบ, แผลเป็นที่กระจกตา และภาวะแทรกซ้อนทางหู นอกจากนั้นผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ, ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด อาจทำให้โรคงูสวัดอาจแพร่กระจายและรุนแรงขึ้นได้ ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงแต่พบได้น้อยคือ สมองและปอดอักเสบ
การรักษาโรคงูสวัดที่ถูกต้อง
- รักษาตามอาการ เช่น หากมีอาการปวดแพทย์จะให้ยาบรรเทาอาการ ถ้าตุ่มติดเชื้อจนกลายเป็นหนองแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ
- ให้ยาต้านไวรัส หากมีอาการปวดรุนแรงแต่แรกที่มีผื่นขึ้น เพื่อลดความรุนแรง และช่วยให้โรคหายเร็วขึ้น
- ฉีดยาต้านไวรัสเข้าหลอดเลือดดำ เป็นวิธีรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ
สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคงูสวัดขึ้นที่ตา ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายต้องได้รับการรักษาร่วมกับจักษุแพทย์ ซึ่งแพทย์จะให้ยาต้านไวรัสชนิดทาน และยาหยอดตาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางตา
การป้องกันจากโรคงูสวัด
- ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง หมั่นออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพออยู่เสมอเพื่อไม่ให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และเป็นโรคงูสวัดได้
- ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดจำนวน 1 เข็มเพื่อลดโอกาสการเกิดโรคงูสวัด และลดความรุนแรงของโรคได้
- หากยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อนควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเชื้อ หรือไม่ควรสัมผัสแผลของผู้ป่วยโรคงูสวัด
- โรคงูสวัดเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่ในปัจจุบันเราสามารถป้องกันโรคนี้ง่าย ๆ ด้วยการฉีดวัคซีนที่จะช่วยให้เราห่างไกลจากโรคร้ายนี้ได้
บทความที่น่าสนใจ
โรคงูสวัด คืออะไร อาการของโรคงูสวัดเป็นอย่างไร น่ากลัวหรือไม่ อันตรายใกล้ตัวควรระวัง!!
งูสวัด ทารก โรคงูสวัดในเด็กเล็ก อาการของทารกที่เป็นโรคงูสวัด แม่จะสังเกตได้ยังไง
เสี่ยงแท้งหรือไม่!! แม่ท้องเป็นงูสวัด
ที่มา (mahidol) (petcharavejhospital) (thonburihospital)
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!