theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • Project Sidekicks
    • การตั้งครรภ์
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • การสูญเสียทารก
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • สุขภาพ
    • อาการป่วย
    • วัคซีน
    • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ความปลอดภัย
    • มุมคุณพ่อ
  • การศึกษา
    • ข่าวการศึกษา
    • คลีนิกพัฒนาการ
    • เตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน
    • โรงเรียนอนุบาล
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • งานบ้าน
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ดวงและราศี
    • ดารา-แฟชั่น
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ฟิตเนส
    • อีเว้นท์
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง

ตะคริวเจ้ากรรม ทำยังไงถึงจะหาย?

บทความ 5 นาที
แชร์ :
•••
ตะคริวเจ้ากรรม ทำยังไงถึงจะหาย?

ตะคริวเจ้ากรรม ทำยังไงถึงจะหาย? มันคือความทรมานที่แสนจะเกินความบรรยาย เมื่ออาการตะคริวเกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว บางคนนั่งอยู่เฉย ๆ หรือนอนอยู่นิ่ง ๆ ก็ต้องเด้งตัวขึ้นทันทีเมื่อเกิดอาการตะคริว

 

ตะคริว หรือ Cramp หรือ Muscle Cramp คือการที่กล้ามเนื้อมีการหดเกร็งเองกระทันหัน จนทำให้เกิดเป็นลูก ๆ และมีอาการเจ็บปวด ซึ่งสาเหตุอาจจะเกิดจากกล้ามเนื้อนั้น เมื่อยล้าจากการทำงาน หรืออาจจะมีอาการบาดเจ็บจากการถูกกระแทก ทำให้เกิดการฟกช้ำต่อกล้ามเนื้อนั้น ๆ แล้ว ตะคริวเจ้ากรรม ทำยังไงถึงจะหาย? หรือทำให้อาการดีขึ้นได้บ้างนะ

 

 

กล้ามเนื้อที่เป็นตะคริวบ่อยมีส่วนไหนบ้าง

กล้ามเนื้อที่เป็นตะคริวบ่อย ๆ ได้แก่

 

  • กล้ามเนื้อน่อง (Calf Muscles หรือ Gastro – Soleus Muscles)
  • กล้ามเนื้อต้นขาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง (Quadriceps และ Hamstring Muscles)
  • กล้ามเนื้อบริเวณหลัง (Back Muscles)

ตะคริวเจ้ากรรม ทำยังไงถึงจะหาย?

 

 

สาเหตุที่ทำให้เป็นตะคริว

1. ใช้งานกล้ามเนื้อหนักเกินไป

สาเหตุหลัก ๆ ของการเป็นตะคริว มักจะเกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อมัดนั้น ๆ มาก เกินกว่าที่กล้ามเนื้อส่วนนั้น ๆ จะรับไหว เช่น การวิ่ง การออกกำลังกาย ที่ต้องมีการเคลื่อนไหวบริเวณขา การยกของหนัก ๆ รวมไปถึง กิจกรรมที่ต้องยืน หรือเดินเป็นเวลานาน ๆ โดยที่ไม่ได้มีการยืด หรือคลายกล้ามเนื้อเลย จึงเป็นเหตุให้กล้ามเนื้อ มีการหดตัวกลายเป็นโรคตะคริวได้

 

2. ขาดเกลือแร่

หลายคนอาจจะรู้ว่า เกลือแร่มีความสำคัญต่อร่างกาย แต่ในขณะเดียวกัน หลายคนก็ไม่รู้ว่า เกลือแร่มีความสำคัญอย่างไรต่อร่างกายบ้าง ก็ขอบอกเลยว่า เกลือแร่มีความสำคัญต่อการทำงานของกล้ามเนื้อเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะโพแทสเซียม โซเดียม แมกนีเซียม และแคลเซียม ถ้าหากว่าเราขาดแร่ธาตุเหล่านี้ จากการออกกำลังกายอย่างหนัก การเป็นโรคท้องเสีย ก็มีผลที่จะทำให้เป็นตะคริวได้ด้วยเช่นกัน

 

3. มวลกล้ามเนื้อลดลง

การที่มวลกล้ามเนื้อ ของร่างกายหดตัวลงไปอย่างรวดเร็ว เช่น การออกกำลังกายอย่างหนัก การมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น การเจ็บป่วยด้วยโรคบางอย่าง เป็นเหตุให้ร่างกายซูบผอม มวลกล้ามเนื้อก็จะสูญเสียไป จึงทำให้กล้ามเนื้อเกิดการหดตัวลง

 

4. อายุมากขึ้น

เมื่อมีอายุมากขึ้น เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายรวมทั้งกล้ามเนื้อ ก็จะเริ่มเสื่อมสภาพลง จึงทำให้มีปัญหาสุขภาพมากมายตามมา และเป็นปัญหาคุกคามผู้ที่อยู่ในช่วงวัยนี้ ไม่เว้นแม้กระทั่งการเป็นตะคริวที่มักจะพบได้บ่อยกว่าวัยอื่น ๆ (ในกรณีที่ไม่ได้มีพฤติกรรมทำลายใช้งานกล้ามเนื้อหนักเกินไปเหมือนกัน) บางครั้งอาจะพบว่าการเป็นตะคริวเพียงหนึ่งครั้งในผู้สูงอายุ สามารถกินเวลาได้เป็นชั่วโมง

 

5. ไม่ค่อยชอบดื่มน้ำ

วันทั้งวันไม่ดื่มน้ำเลย หรือดื่มน้ำน้อยมาก ๆ ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ กล้ามเนื้อก็จะขาดน้ำเช่นกัน จึงทำให้เกิดการหดเกร็งบริเวณกล้ามเนื้อ ยิ่งถ้าหากอากาศเปลี่ยนจากร้อนเป็นหนาวอย่างรวดเร็ว ก็จะพบการเป็นตะคริวบ่อยยิ่งขึ้น

 

ตะคริวเจ้ากรรม ทำยังไงถึงจะหาย?

 

 

ตะคริวประเภทที่มีสาเหตุร่วมด้วย

ตะคริวประเภทนี้สามารถระบุสาเหตุของการเป็นตะคริวได้ ได้แก่

  • การออกกำลังกาย ซึ่งตะคริวมักจะเกิดขึ้นขณะที่กำลังพักหลังจากการออกกำลังกาย
  • ภาวะที่เกี่ยวกับระบบประสาท เช่น ปลายประสาทอักเสบ
  • โรคตับ หากตับทำงานได้อย่างไม่ถูกต้อง จะทำให้เกิดสารพิษไปยังกระแสเลือด ซึ่งสามารถทำให้กล้ามเนื้อเกิดการกระตุกหรือหดเกร็งตัว
  • โรคไต อาจทำให้มีเกลือแร่บางชนิดต่ำ และส่งผลให้มีตะคริวได้
  • ภาวะเกลือแร่ในร่างกายต่ำ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม

 

 

  • โรคที่ทำให้มีภาวะแคลเซียมต่ำ เช่น บกพร่องฮอร์โมนพาราไทรอยด์
  • การติดเชื้อ เกิดจาดการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น บาดทะยัก (Tetanus) ซึ่งทำให้เกิดตะคริวและการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ
  • ในบางรายที่มีสารพิษ (Poisonous) ในเลือด เช่น ตะกั่วหรือปรอท
  • ในบางรายที่มีภาวะขาดน้ำก็สามารถกระตุ้นให้กล้ามเนื้อเป็นตะคริวได้
  • ยาบางชนิดสามารถทำให้เกิดตะคริวได้ในบางราย ได้แก่
  • ยาขับปัสสาวะ (Diuretics) ซึ่งจะขับของเหลวออกจากร่างกายและใช้เพื่อรักษาโรคหรือภาวะต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง หัวใจวายและโรคเกี่ยวกับไตบางประเภท

 

ตะคริวเจ้ากรรม ทำยังไงถึงจะหาย?

 

  • กลุ่มยาสแตติน (Statins) ใช้รักษาผู้ที่มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
  • ยากรดนิโคตินิก (Nicotinic Acid) รักษาผู้ที่มีคอเลสเตอรอลสูง
  • ยาราโลซิฟีน (Raloxifene) ใช้ในการป้องกันโรคกระดูกพรุนในผู้หญิงวัยทอง
  • ยาไนเฟดิปีน (Nifedipine) ที่ใช้ในการรักษาอาการเจ็บหน้าอก (Angina) หรือโรคโรคเรเนาด์ (Raynaud’s Phenomenon)

 

 

ป้องกันตะคริวได้อย่างไร?

ผู้ที่มีปัญหาเรื่องตะคริว ส่วนใหญ่มักไม่ค่อยทราบสาเหตุ แม้ว่าจะไปพบแพทย์แล้วก็ตาม แพทย์ไม่สามารถบอกคนไข้ได้ว่า สาเหตุที่แท้จริงคืออะไร คงบอกได้รวม ๆ ว่าควรระมัดระวังอย่างไรเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดตะคริวอีกมากกว่า โดยมีข้อแนะนำดังนี้

 

  • พยายามออกกำลังกาย และหมั่นฝึกซ้อมให้สม่ำเสมอ

เพื่อเพิ่ม Physical Fitness โดยภาพรวม และต้องพยายามเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่เคยเป็นตะคริว เพื่อให้มี Muscular Fitness เป็นอย่างดีด้วย เพราะการมีกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น อาการล้า (Fatigue) ก็เกิดช้าลง โอกาสเกิดตะคริวก็น้อยลงไปด้วย

 

 

  • Warm – up

 

การอบอุ่นร่างกาย รวมทั้งการยืดกล้ามเนื้อ (Muscle Stretching) จะช่วยป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อได้ ซึ่งกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บ ก็จะมีการหดเกร็งตัว มีโอกาสเกิดตะคริวได้ง่ายขึ้น ดังนั้นทุกครั้งก่อนที่จะออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาต้องให้เวลากับการ Warm – up ให้เพียงพอ รวมทั้งการยืดกล้ามเนื้อด้วย

 

 

  • Hydration

การทำให้ร่างกายชุ่มชื่นด้วยการรับประทานน้ำให้เพียงพอ ดูแลร่างกายไม่ให้มีภาวะขาดน้ำที่เรียกว่า Dehydration โดยเฉพาะคนที่ต้องออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาต้องเตรียมความพร้อม โดยสังเกตที่สีของน้ำปัสสาวะ ถ้าหากมีสีค่อนข้างเหลืองแสดงว่าน้ำในร่างกายมีน้อยกว่าที่ควรจะเป็น การรับประทานน้ำก่อนการออกกำลังกายประมาณ 1 ชั่วโมง ประมาณ 100 ซีซีขึ้นไป โดยค่อย ๆ จิบไปเรื่อย ๆ จะช่วยทำให้ร่างกายมีน้ำเพียงพอ และเวลาออกกำลังกายมีเหงื่อออกมาก็ต้องมีการชดเชยระหว่างเล่นกีฬาไปด้วย เพราะขาดน้ำมาก ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น อาจทำให้เกิด “Heat Cramp” ได้

 

 

  • การแต่งตัว

ผู้ที่เคยมีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อเป็นตะคริวโดยเฉพาะระหว่างกล้ามเนื้อน่อง ต้องพยายามหลีกเลี่ยงการใส่ถุงเท้าที่ยาวจนถึงใต้ข้อเข่า และโดยเฉพาะอย่างยิ่งถุงเท้าที่ยิ่งคับรัดแน่น จะยิ่งทำให้เกิดตะคริวได้ง่าย เพราะจะทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อน่องลดน้อยลง ทำให้เกิดตะคริวได้ง่าย

 

 

วิธีรักษาเบื้องต้น

กล้ามเนื้อที่เป็นตะคริวจะหดเกร็ง ดังนั้นต้องค่อย ๆ ยืดกล้ามเนื้อออก ให้มาอยู่ในความยาวปกติของกล้ามเนื้อนั้น ๆ และให้ยืดกล้ามเนื้อนั้น ๆ ให้ยาวขึ้น อยู่จนกระทั่งหายปวด อาจใช้เวลาประมาณ 1 – 2 นาที แล้วลองปล่อยดูอาการ ว่ายังหดเกร็งอยู่หรือไม่ ถ้าเป็นอีกให้ทำซ้ำได้อีกจนหายเกร็ง

เช่น ถ้ากล้ามเนื้อน่องเป็นตะคริว ให้นั่งลงเหยียดเข่าข้างนั้นออกให้ตรง และให้คนข้าง ๆ ช่วยจับกระดูกข้อเท้าข้างนั้น ดันขึ้นจนสุดเท่าที่จะทำได้ ก็สามารถแก้อาการปวด จากการเป็นตะคริวได้อย่างดีเยี่ยม หรือถ้าไม่มีใครอาจโน้มตัวไปแล้วดึงปลายเท้าเข้าหาลำตัวก็ได้

 

 

ข้อควรระวัง

บ่อยครั้ง ที่พบเห็นผู้ที่มีอาการของตะคริว แล้วมีการบีบนวด บางครั้งทำให้เกิดการเกร็งรุนแรงมากขึ้น บางคน มาช่วยกระดกข้อเท้า แต่ไม่ค้างเอาไว้ กระดกขึ้นลงเป็นแบบกระตุก ซึ่งไม่ส่งผลดีกับกล้ามเนื้อเลยค่ะ

 

ขอให้จำไว้เลยว่า กระดกข้อเท้าขึ้นลงแล้วค้างเอาไว้ 1 – 2 นาที จนอาการเกร็ง และปวดหายไป ถ้าจะใช้การบีบนวดภายหลังหายปวดแล้ว ขอให้ใช้วิธีบีบนวดไล่จากเอ็นร้อยหวายขึ้นไปที่น่องจนถึงข้อพับไปในทิศทางเดียว เพื่อให้ทิศทางการไหลกลับของเลือดดำที่ไปยังหัวใจ ทำให้มีการไหลเวียนของโลหิตที่ดีขึ้นจะมีส่วนช่วยได้

 

 

ใครที่ชอบเป็นตะคริวบ่อย ๆ จนรู้สึกหงุดหงิดเป็นประจำต้องดูเลยว่า เกิดจากสาเหตุเหล่านี้หรือไม่ เพื่อที่จะได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างที่ทำเป็นประจำ เช่น ออกกำลังกายโดยไม่ยืดกล้ามเนื้อ หรือออกกำลังกายหนักแต่ไม่ยอมดื่มเกลือแร่ทดแทน เป็นต้น

 

 

ที่มา : bangkokhospital , pobpad

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เป็นตะคริวขาดวิตามินอะไร ปัญหาใหญ่ของคนท้อง เป็นตะคริวบ่อยทำไงดี?

แม่ท้องเป็นตะคริวแทบทุกคืน สามีช่วยยังไงดี

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

บทความโดย

arunsri

  • หน้าแรก
  • /
  • อาการป่วย
  • /
  • ตะคริวเจ้ากรรม ทำยังไงถึงจะหาย?
แชร์ :
•••
  • ตะคริวที่ท้องขณะตั้งครรภ์ เป็นได้ยังไง แก้ยังไงให้หาย?

    ตะคริวที่ท้องขณะตั้งครรภ์ เป็นได้ยังไง แก้ยังไงให้หาย?

  • เป็นตะคริวขาดวิตามินอะไร ปัญหาใหญ่ของคนท้อง เป็นตะคริวบ่อยทำไงดี?

    เป็นตะคริวขาดวิตามินอะไร ปัญหาใหญ่ของคนท้อง เป็นตะคริวบ่อยทำไงดี?

  • พ่อกับแม่ใครมีสิทธิในตัวลูกมากกว่ากัน

    พ่อกับแม่ใครมีสิทธิในตัวลูกมากกว่ากัน

  • คําคมวันวาเลนไทน์ คําคมความรักวันวาเลนไทน์ แคปชั่นวันวาเลนไทน์

    คําคมวันวาเลนไทน์ คําคมความรักวันวาเลนไทน์ แคปชั่นวันวาเลนไทน์

app info
get app banner
  • ตะคริวที่ท้องขณะตั้งครรภ์ เป็นได้ยังไง แก้ยังไงให้หาย?

    ตะคริวที่ท้องขณะตั้งครรภ์ เป็นได้ยังไง แก้ยังไงให้หาย?

  • เป็นตะคริวขาดวิตามินอะไร ปัญหาใหญ่ของคนท้อง เป็นตะคริวบ่อยทำไงดี?

    เป็นตะคริวขาดวิตามินอะไร ปัญหาใหญ่ของคนท้อง เป็นตะคริวบ่อยทำไงดี?

  • พ่อกับแม่ใครมีสิทธิในตัวลูกมากกว่ากัน

    พ่อกับแม่ใครมีสิทธิในตัวลูกมากกว่ากัน

  • คําคมวันวาเลนไทน์ คําคมความรักวันวาเลนไทน์ แคปชั่นวันวาเลนไทน์

    คําคมวันวาเลนไทน์ คําคมความรักวันวาเลนไทน์ แคปชั่นวันวาเลนไทน์

  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การตั้งชื่อลูก
    • โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์​
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • เซ็กส์และความสัมพันธ์
  • การตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • นมแม่และนมผง
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • ดวงและราศี
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ดารา-แฟชั่น
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore
  • Thailand
  • Indonesia
  • Philippines
  • Malaysia
  • Sri Lanka
  • India
  • Vietnam
  • Australia
  • Japan
  • Nigeria
  • Kenya
พันธมิตรของเรา
Mama's Choice Partner Brand Logo
© Copyright theAsianparent 2021. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้
  • สังคมออนไลน์
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
  • สุขภาพ

ดาวน์โหลดแอปของเรา

google play store
Appstore
  • ติดต่อโฆษณา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทีม
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดการใช้
  • มาเข้าร่วมกับเรา
เปิดในแอป