ลูกชอบเดินเขย่งเท้า เกิดจากอะไร
พัฒนาการเด็กที่เปลี่ยนแปลงไปทีละเล็กละน้อย คงทำให้คุณพ่อคุณแม่ มีความสุขมาก การที่คุณได้เฝ้าดู ลูกน้อยเติบโตในทุก ๆ วัน จะเป็นตัวช่วยให้รู้ได้ว่าลูกมีพัฒนาการที่ช้า หรือเร็วได้เช่นกันค่ะ โดยเฉพาะ พัฒนาการทางด้านร่างกาย มักจะเห็นชัดที่สุด เช่นเดียวกับการที่ ลูกชอบเดินเขย่งเท้า เดินเขย่งปลายเท้าไปมาก็เป็นหนึ่งพัฒนาการที่สำคัญของเด็กก่อน 3 ขวบ แต่ถ้า เมื่อไหร่ที่ลูกเดินได้คล่องแล้ว และ ยังคงเดินเขย่งปลายเท้าอยู่ อาจเป็นสัญญาณอันตรายได้
ปกติเด็กที่มีอายุระหว่าง 11 – 14 เดือน มักจะมีพฤติกรรมการเดินเขย่งปลายเท้าในช่วงที่เริ่มต้นเดิน และหยุดเดินเขย่งปลายเท้าหลังจากเดินได้อย่างคล่องแคล่วภายใน 6 เดือนค่ะ พออายุ 3 ขวบ น้องก็จะยืนได้เต็มเท้า พร้อมทั้งเดินหรือวิ่งค่ะ แต่ที่ลูกยังไม่หายอาจจะเกิดจากความผิดปกติบางอย่าง
ลูกเดินเขย่งเท้า
สาเหตุที่ลูกเดินเขย่งปลายเท้า
หากลูกน้อยสามารถเดิน วิ่งได้อย่างคล่องแคล่วแล้ว แต่พ่อแม่ยังเห็นว่าลูกยังชอบเดินเขย่งปลายเท้าอยู่ อาจเกิดมาจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้ค่ะ
ลูกเริ่มเดินได้ตอนกี่เดือน
1. สมองพิการ (Cerebral Palsy)
ดูเหมือนว่าสาเหตุจะเป็นไปไม่ได้ แต่ก็มีความเป็นไปได้ เนื่องจากการเกิดสมองพิการมีหลายสาเหตุหลายปัจจัยด้วยกันและสามารถส่งผลกระทบต่อการเดินและเท้าของเด็กได้ เมื่อสมองพิการอาจทำให้ความผิดปกติของกล้ามเนื้อ เช่น ความตึงตัวของกล้ามเนื้อผิดปกติ กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ควบคุมกล้ามเนื้อไม่ได้จนทำให้เสียการทรงตัว หรืออาจเกิดกล้ามเนื้อตึงอย่างรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อบริเวณเท้าและนำไปสู่ปัญหาการเดิน ของเด็ก หากลูกคุณคลอดก่อนกำหนด อาจมีอาการตกเลือดในสมอง ทำให้สมองพิการได้ค่ะ
2. ภาวะสมองผิดปกติในส่วนเนื้อสมองสีขาว (periventricular leukomalacia)
ภาวะสมองผิดปกติในส่วนเนื้อสมองสีขาว หรือ periventricular leukomalacia เป็นผลมาจากการที่คุณแม่คลอดน้องก่อนกำหนด ทำให้เกิดการบาดเจ็บที่สมอง เส้นประสาทในสมองเกิดความเสียหายในทารกบางราย จึงส่งผลให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการใช้กล้ามเนื้อ การเดิน และทักษะเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวต่างๆ
3. เอ็นร้อยหวายสั้น
เด็กเมื่อมีการเจริญเติบโตเอ็นร้อยหวายก็จะค่อย ๆ ยืดออกตาม อย่างไรก็ตามเด็กบางคนกลับไม่เป็นเช่นนั้น เอ็นร้อยหวายของพวกเขาไม่สามารถยืดได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้เด็กต้องเดินเขย่งปลายเท้าเป็นระยะเวลานาน ทำให้ลูกน้อยไม่สามารถเดินได้ถนัด เดินเต็มเท้าไม่ได้ค่ะ
4. ไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด
ในบางครั้งเวลาที่คุณให้คุณหมอตรวจและวินิจฉัยอย่างละเอียด คุณหมออาจจะดูว่า บริเวณข้อต่อบริเวณเท้ามีความผิดปกติไหม ถ้าคุณหมอดูแล้วว่ามีความปกติ นั่นก็อาจหมายความว่า อาการที่ลูกเดินเขย่งปลายเท้าอาจมาจากนิสัยหรือพฤติกรรมของลูกคุณเองได้เช่นกันค่ะ
ลูกชอบเดินเขย่งเท้า
ลูกชอบเดินเขย่งปลายเท้าต้องทำอย่างไร
ในกรณีที่ลูกน้อยชอบเดินเขย่งเท้าเอง ไม่ได้เกิดจาก ความผิดปกติของร่างกาย หรือสมอง คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องแนะนำให้ลูกได้ออกกำลังกายที่ช่วยยืดกล้ามเนื้อ (สำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ขวบ) โดยเน้นฝึกให้ลูกทำบ่อยๆ ดังนี้
1. ยืดน่อง
- ให้ลูกนอนหงายบนพื้น
- เหยียดขาตรงแล้วงอปลายเท้าขึ้นให้ได้มากที่สุด
- จากนั้นก็พัก แล้วเปลี่ยนข้าง
- ทำแบบนี้สลับกันทั้ง 2 ข้าง 10 ครั้ง
2. ยืดเส้นร้อยหวาย
- ให้ลูกนอนหงาย
- ยกขาขึ้นแล้วงอเข่าเข้ามา โดยที่เกร็งให้ปลายเท้าชี้ขึ้น ทำแบบนี้เบาๆ
- จากนั้นค้างไว้ประมาณ 15 – 30 วินาที หรือพยายามทำให้นานสุดเท่าที่จะทำได้
- จากนั้นพักที่ตำแหน่งเดิน และทำซ้ำไอีก 10 ครั้ง
ที่มา: sg.theasianparent
วิธีฝึกลูกเดิน พัฒนาการทารก เดินได้ตอนไหน สอนลูกเดิน วิธีหัดลูกเดินให้เดินได้ไว
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุด ในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่ และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารก ตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และ จิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ลูกชักจากไข้สูง อาการชักจากไข้สูงในเด็กอันตรายแค่ไหน? พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร
วิธีฝึกลูกเดิน พัฒนาการทารก เดินได้ตอนไหน สอนลูกเดิน หัดลูกเดินอย่างไร ฝึกให้ลูกเดินได้เร็วๆ
การบ้านจำเป็นต่อเด็กไหม ทำไมเด็กต้องมีการบ้าน ลูกทำการบ้านให้อะไรบ้าง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!