X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ความหมายอักษรย่ออัลตร้าซาวด์ ในแต่ละไตรมาส

บทความ 5 นาที
ความหมายอักษรย่ออัลตร้าซาวด์ ในแต่ละไตรมาส

การตรวจอัลตร้าซาวด์ครรภ์แต่ละไตรมาสนั้นมีวัตถุประสงค์แตกต่างกัน มารู้จักวิธีอ่าน ความหมายอักษรย่ออัลตร้าซาวด์ ว่าอักษรย่อเหล่านั้นบอกอะไรได้บ้าง

การอัลตราซาวด์ เป็นสิ่งที่ทำให้เราได้รู้ว่าลูก ๆ ของเราเป็นเด็กผู้หญิงหรือเด็กผู้ชาย และยังช่วยให้เราทราบได้ว่าการตั้งครรภ์ของเรา เกิดความผิดปกติขึ้นหรือเปล่า ในวันนี้ เราจะมาพูดถึงตัวอักษรต่าง ๆ ที่อยู่ในใบอัลตราซาวด์กัน ว่าแต่ละตัวย่อ หมายถึงอะไรกันบ้าง

 

ความหมายอักษรย่ออัลตร้าซาวด์ (u/s)

วิธีอ่านผลคลื่นเสียงความถี่สูงหรืออัลตร้าซาวด์ ในไตรมาสที่ 1 ของการตั้งครรภ์
(ก่อนอายุครรภ์ 14 สัปดาห์)

เนื่องจากในไตรมาสที่หนึ่งของการตั้งครรภ์ทั้งมดลูกและทารกในครรภ์ยังมีขนาดเล็ก การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงสามารถทำได้ 2 ทาง คือ การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงทางหน้าท้อง (transabdominal ultrasound, TAS) และ การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอด (transvaginal ultrasound, TVS)

 

ซึ่งเป้าหมายของการตรวจในไตรมาสที่หนึ่ง มีดังนี้

  • ยืนยันการตั้งครรภ์ในมดลูก
  • ตรวจประเมินอายุครรภ์
  • ตรวจการมีชีวิตของทารก
  • ตรวจประเมินจำนวนทารก และชนิดของครรภ์แฝด
  • ตรวจวัดความหนาของน้ำใต้ผิวหนังบริเวณต้นคอของทารก
  • การตรวจหาความผิดปกติอื่นๆ

 

สำหรับตัวอักษรย่อและศัพท์ทางการแพทย์ที่สามารถพบได้ในการอ่านผลคลื่นเสียงความถี่ มีดังนี้

  1. LMP = Last menstrual period คือ วันแรกของประจำเดือนรอบสุดท้าย
  2. EDD = Estimated date of delivery หรือ EDC = Estimated date of confinement คือ วันครบกำหนดคลอดที่อายุครรภ์ 40 สัปดาห์ ซึ่งคำนวณจาก LMP หรือ การวัดขนาดของทารก
  3. GA = Gestational age  หรือ gaคือ อายุครรภ์ (คำนวณจาก LMP)
  4. AUA = Actual ultrasound age คือ อายุครรภ์ที่คำนวณได้จากการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง
  5. CRL = Crown-rump length length แปลว่า  ความยาวของทารกวัดจากศีรษะถึงก้น
    • สามารถนำมาคำนวณอายุครรภ์ได้ ซึ่งให้ค่าความแม่นยำมากที่สุด
  6. MSD = Mean sac diameter คือ ขนาดค่าเฉลี่ยเส้นผ่าศูนย์กลางของถุงการตั้งครรภ์
    • สามารถนำมาคำนวณอายุครรภ์ได้ แต่ให้ค่าความแม่นยำต่ำ
  7. FHR = Fetal heart rate คือ อัตราการเต้นหัวใจของทารก
    • ค่าปกติ 110-160 ครั้งต่อนาที แต่อาจสูงได้ถึง 180 ครั้งต่อนาที
  8. NT = Nuchal translucency คือ ความหนาของน้ำใต้ผิวหนังบริเวณต้นคอของทารก
    • ถ้ามีความหนามากผิดปกติ ทารกจะมีความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางพันธุกรรมและโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
  9. Intrauterine pregnancy คือ การตั้งครรภ์ในมดลูก
  10. Ectopic pregnancy คือ การตั้งครรภ์นอกมดลูก
  11. Fetus คือ ทารกในครรภ์
  12. Gestational sac คือ ถุงการตั้งครรภ์ (พบได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 4½ สัปดาห์)
  13. Yolk sac คือ ถุงไข่แดง (พบได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 5 สัปดาห์)
  14. Fetal pole หรือ Fetal echo คือ ทารกที่ยังมีขนาดเล็กมาก อาจพบการเต้นของหัวใจร่วมด้วย (พบได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 6 สัปดาห์)

วิธีอ่านความหมายอักษรย่ออัลตร้าซาวด์ ในไตรมาสที่สองและสามของการตั้งครรภ์ คลิกหน้าถัดไป

วิธีอ่านผลคลื่นเสียงความถี่สูงในไตรมาสที่ 2-3 ของการตั้งครรภ์

การตรวจในไตรมาสที่สองมีเป้าหมายเพื่อตรวจหาความผิดปกติของทารกในครรภ์ (anomaly scan) ส่วนการตรวจในไตรมาสที่สามมีเป้าหมายเพื่อติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

 

สำหรับตัวอักษรย่อและศัพท์ทางการแพทย์ที่สามารถพบได้ในการอ่านผลคลื่นเสียงความถี่ มีดังนี้

  1. BPD = Biparietal diameter คือ ความกว้างของศีรษะ
  2. HC = Head circumference คือ เส้นรอบวงของศีรษะ
  3. AC = Abdominal circumference คือ เส้นรอบวงของท้อง
  4. FL = Femur length คือ ความยาวกระดูกต้นขา
  5. HL = Humerus length คือ ความยาวกระดูกต้นแขน
  6. FHR = Fetal heart rate คือ อัตราการเต้นหัวใจของทารก
    • ค่าปกติ 110-160 ครั้งต่อนาที
  7. EFW = Estimated fetal weight คือ ค่าประมาณน้ำหนักตัวของทารกในครรภ์ ซึ่งได้จากการคำนวณตามสมการของ Shepard หรือ Hadlock
    • Shepard ใช้ BPD/AC ในการคำนวณ
    • Hadlock ใช้ BPD/AC/FL ในการคำนวณ
  8. EFW percentile คือ ค่าการเปรียบเทียบน้ำหนักตัวของทารกในครรภ์กับประชากรทารกที่อายุครรภ์เดียวกัน
    • ค่าปกติจะอยู่ที่ 10-90 percentile
    • ถ้า <10 percentile แสดงว่าทารกมีน้ำหนักตัวน้อย อาจมีภาวะทารกโตช้าในครรภ์
    • ถ้า >90 percentile แสดงว่าทารกมีน้ำหนักตัวมาก อาจมีภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์
  9. AFI = Amniotic fluid index คือ ปริมาณน้ำคร่ำรวมจากการวัด 4 ตำแหน่ง
  10. DVP = Deepest vertical pocket คือ ปริมาณน้ำคร่ำที่วัดความลึกได้มากที่สุดจากการวัด 4 ตำแหน่ง
  11. Placental site คือ ตำแหน่งที่รกเกาะกับมดลูก

Placenta previa คือ มีรกเกาะต่ำ

  1. Placental grade คือ ลักษณะของเนื้อรก ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงตามอายุครรภ์
  2. Umbilical cord insertion คือ ตำแหน่งที่สายสะดือออกจากรก

Centric คือ ออกตรงกลางรก

Eccentric คือ ออกค่อนมาด้านข้างของรก

Marginal คือ ออกมาที่ขอบรก ซึ่งพบว่าสัมพันธ์กับภาวะทารกโตช้าในครรภ์

  1. Presentation คือ ท่าของทารกในครรภ์

Vertex หรือ Cephalic คือ ทารกท่าศีรษะ

Breech คือ ทารกท่าก้น

Transverse lie คือ ทารกท่านอนขวาง

 

นพ.อดิศร

นพ.อดิศร อักษรภูษิตพงศ์

สูตินรีแพทย์ เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์

ประจำโรงพยาบาลพญาไท 3

 

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

โรงพยาบาลพญาไท 3

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ความหมายอักษรย่ออัลตร้าซาวด์ ในแต่ละไตรมาส
แชร์ :
  • ความหมายอักษรย่อในใบตรวจอัลตร้าซาวด์

    ความหมายอักษรย่อในใบตรวจอัลตร้าซาวด์

  • ข้อดี ข้อเสียของ การทำอัลตร้าซาวด์

    ข้อดี ข้อเสียของ การทำอัลตร้าซาวด์

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ความหมายอักษรย่อในใบตรวจอัลตร้าซาวด์

    ความหมายอักษรย่อในใบตรวจอัลตร้าซาวด์

  • ข้อดี ข้อเสียของ การทำอัลตร้าซาวด์

    ข้อดี ข้อเสียของ การทำอัลตร้าซาวด์

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ