X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ท้องนอกมดลูก อันตรายไหม สาเหตุ วิธีรักษา ใครบ้างต้องระวัง ตั้งครรภ์นอกมดลูก

บทความ 8 นาที
ท้องนอกมดลูก อันตรายไหม สาเหตุ วิธีรักษา ใครบ้างต้องระวัง ตั้งครรภ์นอกมดลูกท้องนอกมดลูก อันตรายไหม สาเหตุ วิธีรักษา ใครบ้างต้องระวัง ตั้งครรภ์นอกมดลูก

หากคุณแม่ตั้งครรภ์รู้สึก ปวดท้องน้อยแบบเฉียบพลัน หรือพบเลือดออกกะปริดกะปรอยทางช่องคลอด อย่าชะล่าใจ เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเสี่ยง ตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือ ท้องนอกมดลูก อันตรายไหม รักษาอย่างไร เรามีคำตอบ

ผู้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนต้องระวังเรื่องของ ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งอาจทำให้สูญเสียลูกได้ หนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นก็คือ การตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือ ท้องนอกมดลูก (Ectopic Pregnancy) บทความนี้จะทำให้คุณเข้าใจมากขึ้นว่า ท้องนอกมดลูกคืออะไร ท้องนอกมดลูก หรือ ท้องนอกมดลูกอาการ อันตรายไหม สาเหตุ วิธีป้องกัน ตลอดจนการดูแลตัวเอง เมื่อตกอยู่ในภาวะท้องนอกมดลูก

 

  1. ท้องนอกมดลูก คืออะไร
  2. ท้องนอกมดลูกพบได้บ่อยหรือไม่
  3. อาการท้องนอกมดลูก สังเกตได้อย่างไร
  4. ใครบ้างที่มีความเสี่ยงท้องนอกมดลูก
  5. อาการแทรกซ้อนของการท้องนอกมดลูก
  6. วิธีรักษาภาวะท้องนอกมดลูก
  7. การพักฟื้นร่างกายและจิตใจ
  8. การป้องกันการท้องนอกมดลูก
  9. เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์

 

ท้องนอกมดลูก อาการท้องนอกมดลูก คืออะไร

ท้องนอกมดลูก หรือ ท้องนอกมดลูกอาการ โดยปกติแล้ว รังไข่จะผลิตไข่และปล่อยให้ไข่เดินทางผ่านท่อนำไข่ จากนั้นก็ปฏิสนธิกับอสุจิและเคลื่อนตัวมาที่มดลูก แต่กรณีของการ ท้องนอกมดลูก คือ การที่ไข่ได้รับการปฏิสนธิแต่ไม่เคลื่อนลงมาฝังตัวที่มดลูก เลยค้างอยู่ที่บริเวณท่อนำไข่ โดยประมาณสัปดาห์ที่ 8 คุณแม่จะเริ่มสังเกตอาการต่าง ๆ อย่าง ปวดท้องเฉียบพลัน มีเลือดออกจากช่องคลอด เวียนศีรษะ ความดันต่ำ

การท้องนอกมดลูกเป็นเรื่องที่น่าเศร้าและส่งผลกระทบต่อจิตใจของว่าที่คุณแม่ เนื่องจากต้องเอาเด็กออก การสูญเสียในครั้งนี้ต้องใช้เวลาฟื้นตัวทั้งทางร่างกายและจิตใจมากทีเดียว คุณอาจจะตั้งความหวังไว้ว่า คุณสามารถตั้งครรภ์ปกติในครั้งต่อไปก็ได้ เพื่อให้คุณทำใจได้เร็วขึ้นและก้าวผ่านประสบการณ์นี้ไปอย่างเจ็บปวดน้อยที่สุด

การท้องนอกมดลูกพบได้ไม่บ่อยนัก แต่อันตรายมาก เพราะไข่ยังคงติดอยู่ที่รังไข่หรืออวัยวะภายในช่องท้องส่วนล่าง หากตัวอ่อนยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องอาจทำให้อวัยวะฉีกขาด ทำให้มีเลือดออกเป็นจำนวนมาก และสร้างความเจ็บปวดได้

 

ท้องนอกมดลูก อาการ ตั้ง ครรภ์ นอก มดลูก ท้องนอกมดลูกอันตรายไหม ตัวอ่อนติดอยู่ตรงท่อนำไข่ ท้อง นอก มดลูก อันตราย ไหม ท้องนอกมดลูกอาการ

 

ท้องนอกมดลูกพบได้บ่อยหรือไม่ ท้องนอกมดลูกอันตรายไหม

อาการท้องนอกมดลูก ท้องนอกมดลูกอาการ การท้องนอกมดลูกเกิดขึ้นไม่บ่อย อาจพบในผู้หญิงร้อยละ 1 การที่ท่อรังไข่อุดตัน อาจเกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดการท้องนอกมดลูก

  • หากคุณผู้หญิงกำลังวางแผนจะมีลูก แต่กำลังเป็นโรคติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ หรืออุ้งเชิงกรานอักเสบ ทางออกที่ดีที่สุดคือ รักษาตัวให้หายดีเสียก่อนแล้วจึงค่อยพยายามมีลูก
  • ช่วงที่พักรักษาตัวหลัง รักษาอาการท้องนอกมดลูก คุณควรพักสักระยะหนึ่ง เพื่อฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ หลังจากต้องเผชิญกับความผิดหวังและสูญเสียลูกในเวลาเดียวกัน เรื่องที่เกิดเป็นเรื่องธรรมชาติ คุณไม่ควรโทษตัวเองและทำร้ายจิตใจตัวเอง
  • คุณสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มต่าง ๆ ที่คอยให้กำลังใจ และความช่วยเหลือแก่ผู้หญิงที่ต้องเสียลูก นอกจากนี้คุณควรทิ้งช่วงสักระยะหนึ่งก่อนจะเริ่มพยายามมีลูกอีกครั้ง โดยทั่วไปแล้วคุณหมอแนะนำว่าควรรอสัก 3-6 เดือน
  • ผู้หญิงที่ท้องนอกมดลูกมาก่อน สามารถมีลูกที่แข็งแรงได้ในอนาคตเหมือนคนอื่นทั่วไป แม้ว่าบางคนจะเหลือท่อนำไข่ข้างเดียวก็ตาม หากสาเหตุที่คุณท้องนอกมดลูกเกิดจากความเจ็บป่วยหรือการติดเชื้อแล้วแพทย์ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : แนะนำ 13 วิธี หยุดอาการปวดประจำเดือน มดลูกจ๋า อย่าใจร้าย

 

อาการท้องนอกมดลูก อาการตั้งครรภ์นอกมดลูก สังเกตได้อย่างไร

อาการท้องนอกมดลูก หรือ ท้องนอกมดลูก คนที่ท้องนอกมดลูกมักจะมีอาการ 3 อย่าง ประจำเดือนขาด เลือดออกทางช่องคลอด และปวดท้องน้อย และอาจมีอาการอื่น ๆ ตามมา เช่น

  • ปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน
  • มีเลือดไหลออกจากช่องคลอดจำนวนมาก
  • ปวดไหล่ คอ และ บริเวณทวารหนัก
  • หน้ามืดเป็นลม
  • มีภาวะช็อก

อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ มักจะไม่มีอาการชัดเจน หรืออาจจะมีอาการคล้ายการตั้งครรภ์ทั่วไป ได้แก่

  • ประจำเดือนไม่มา
  • มีเลือดไหลออกจากช่องคลอด
  • เจ็บหน้าอก
  • คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนศีรษะ

 

ใครบ้างที่มีความเสี่ยงท้องนอกมดลูก ท้องนอกมดลูกเกิดจากกรณีใด

  • เคยท้องนอกมดลูกมาก่อน หากคุณผู้หญิงเคยท้องนอกมดลูกบ่อย ๆ นั่นแสดงว่า เป็นคนตั้งครรภ์ยาก มดลูกไม่แข็งแรง
  • ตั้งครรภ์ในช่วงที่อายุมากแล้ว ผู้หญิงที่อายุมากหรือวัย 35 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูก มากกว่าผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า
  • การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน บริเวณอุ้งเชิงกราน อาจเกิดพังผืดบริเวณปีกมดลูก มีการขัดขวางการเดินทางของตัวอ่อน หรือทำให้ตัวอ่อนเดินทางช้าลง จนต้องฝังตัวที่บริเวณปีกมดลูกเสียก่อน
  •  การผ่าตัดในอุ้งเชิงกราน ผู้หญิงที่เคยมีปัญหาเรื่องท่อนำไข่จนเคยผ่าตัดอุ้งเชิงกราน อาจก่อให้เกิดพังผืด หรือท่อนำไข่ตีบตันบางส่วน ทำให้การเดินทางของตัวอ่อนช้าลง และอาจฝังตัวบริเวณปีกมดลูกก่อนไปถึงโพรงมดลูกได้
  • การรับประทานยาคุมกำเนิด ผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสโตรเจนเพียงอย่างเดียว ส่งผลให้ท่อนำไข่บีบตัวช้าลง และทำให้ตัวอ่อนเคลื่อนที่ได้ช้าลง จนอาจต้องไปฝังตัวก่อนที่จะถึงโพรงมดลูก
  • การใส่ห่วงอนามัย วิธีคุมกำเนิดแบบใส่ห่วงอนามัย อาจสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ในโพรงมดลูกได้ แต่ไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้
  • การใช้เทคโนโลยีช่วยในการตั้งครรภ์ สืบเนื่องมาจากการตั้งท้องยาก หรือตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก ผู้หญิงมักจะอาศัยการตั้งครรภ์โดยวิธีการสมัยใหม่ แต่จริง ๆ แล้ว การกระตุ้นการตกไข่ด้วยฮอร์โมน หรือ การทำกิฟท์ (Gamete Intrafallopian Tube Transfer) ค่อยข้างยาก และลูกหลุดง่าย บางรายอาจต้องทำถึง 10 ครั้ง
  • ท่อนำไข่มีความผิดปกติ ผู้หญิงที่มีปัญหา รังไข่และท่อนำไข่มีพังผืด หรือบีบตัวได้น้อยกว่าปกติ ก็เป็นสาเหตุทำให้ไม่สามารถช่วยตัวอ่อนให้เคลื่อนไปฝังตัวในโพรงมดลูกได้สำเร็จ ส่งผลให้ท้องนอกมดลูกได้ และอาจจะเกิดขึ้นหลายครั้ง

 

อาการแทรกซ้อนของการท้องนอกมดลูก

ภาวะแทรกซ้อนของการท้องนอกมดลูก จะไม่เกิดขึ้น หากผู้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาได้ทันท่วงที แต่ในบางกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยช้าเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เนื่องจากท่อนำไข่ และอวัยวะในบริเวณที่ไข่ฝังตัว เกิดความเสียหาย ฉีกขาด หรือเกิดการติดเชื้อ ทำให้ผู้ป่วยเกิดการตกเลือด ทั้งนี้ ยังนำไปสู่ ภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย (Disseminated Intravascular Coagulopathy: DIC) จนเกิดอาการช็อกจนนำไปสู่การเสียชีวิต

บทความที่เกี่ยวข้อง: ท้องลมคืออะไร? ที่มา สาเหตุเกิดจากอะไร รักษาได้อย่างไร?

 

ท้องนอกมดลูกอันตรายไหม อาการ ตั้ง ครรภ์ นอก มดลูก ท้องนอกมดลูกอันตรายไหม ท้อง นอก มดลูก อันตราย ไหม ท้องนอกมดลูกอาการ

 

 

วิธีรักษาภาวะท้องนอกมดลูก ท้องนอกมดลูก อันตรายไหม

การท้องนอกมดลูก สามารถรักษาได้โดยไม่ต้องอาศัยการผ่าตัด ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและอายุครรภ์ของแต่ละคน ดังนั้น หากคุณแม่คิดว่ามีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์นอกมดลูก ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที หากปล่อยรอไว้จนกระทั่งอวัยวะภายในมีการฉีกขาด อาจมีอันตรายถึงชีวิต แพทย์ต้องใช้การผ่าตัดฉุกเฉินเพื่อรักษาอาการท้องนอกมดลูก

หากตรวจพบตอนอายุครรภ์ยังไม่มาก และไม่มีภาวะแทรกซ้อนอะไร แพทย์จะใช้วิธีการผ่าตัดส่องกล้อง เพื่อนำตัวอ่อนออก และเย็บซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย อีกทางเลือกหนึ่งคือแพทย์อาจใช้ยา เพื่อยุติการตั้งครรภ์ แต่ทั้งนี้ การรักษาการท้องนอกมดลูก ขึ้นอยู่กับพัฒนาการของตัวอ่อนที่ฝังตัวไปแล้ว และบริเวณที่ตัวอ่อนฝังตัว โดยแพทย์จะมีวิธีการรักษาผู้ป่วยท้องนอกมดลูก ดังนี้

 

1. การใช้ยา

แพทย์อาจจ่ายยาเพื่อรักษาอาการต่าง ๆ ให้เหมาะสมตามอาการของผู้ป่วย ซึ่งยาที่ใช้นั้นจะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ ป้องกันไม่ให้ตัวอ่อนที่ฝังตัวกลายเป็นเนื้อเยื่อเจริญเติบโตต่อไป เช่น ยาเมโธเทรกเซท (Methotrexate) แพทย์อาจฉีดยานี้แล้วคอยตรวจเลือดเรื่อย ๆ เพื่อดูผลการรักษาต่อไป นอกจากนี้การใช้ยาดังกล่าวจะมีผลข้างเคียงคล้ายอาการแท้งลูก คือจะมีอาการชาหรือปวดเกร็งหน้าท้อง มีเลือดและเนื้อเยื่อไหลออกจากช่องคลอด และผู้ป่วยจะยังไม่สามารถตั้งครรภ์ได้เป็นเวลาอีกหลายเดือนหลังการใช้ยา

 

2. แพทย์จะใช้วิธีการผ่าตัด

โดยทำการผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparotomy) เป็นวิธีการผ่าตัดสร้างรูเล็ก ๆ แล้วนำเครื่องมือชนิดพิเศษสอดเข้าไปในรู เช่น กล้องขยายขนาดเล็ก แพทย์จะสามารถมองเห็นส่วนต่าง ๆ ที่ต้องการผ่าตัดด้วยภาพจากกล้อง แล้วนำตัวอ่อนที่ฝังตัวนอกมดลูกออกมา รวมถึงทำการรักษาซ่อมแซมเนื้อเยื่อบริเวณที่ได้รับความเสียหาย ซึ่งหากปรากฏว่า เนื้อเยื่อบริเวณท่อนำไข่มีความเสียหายมาก อาจต้องผ่าตัดนำท่อนำไข่ออกไปด้วย

 

บทความจากพันธมิตร
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ

3. การรักษาภาวะแทรกซ้อน

แพทย์จะดูอาการข้างเคียง อย่างภาวะแทรกซ้อนจากการท้องนอกมดลูก เช่น ภาวะช็อกจากการเสียเลือดมาก จำเป็นต้องได้รับเลือด หรือภาวะอักเสบติดเชื้อ อาจต้องได้รับยาลดการอักเสบและยาปฏิชีวนะเข้ามาช่วยในการรักษาด้วย แต่ทั้งนี้ อาการแทรกซ้อนต่าง ๆ จะเกิดขึ้นได้นั้นมาจากสุขภาพของคุณแม่เป็นสำคัญ

 

การพักฟื้นร่างกายและจิตใจ

การรักษาอาการท้องนอกมดลูก คุณควรพักสักระยะหนึ่งเพื่อฟื้นฟูร่างกายและจิตใจหลังจากต้องเผชิญกับความผิดหวังและสูญเสียลูกในเวลาเดียวกัน   เรื่องที่เกิดเป็นเรื่องธรรมชาติ คุณไม่ควรโทษตัวเองและทำร้ายจิตใจตัวเอง คุณสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และกลุ่มต่าง ๆ ที่คอยให้กำลังใจ และความช่วยเหลือแก่ผู้หญิงที่ต้องเสียลูกและควรทิ้งช่วงสักระยะหนึ่ง ก่อนจะเริ่มพยายามมีลูกอีกครั้ง โดยทั่วไปแล้ว คุณหมอแนะนำว่าควรรอสัก 3-6 เดือนค่ะ

ทั้งนี้ คุณสามารถเข้าไปปรับทุกข์ พูดคุยกับคนที่มีประสบการณ์คล้าย ๆ กันได้ที่ แอปพลิเคชั่น theAsianparent โดยตั้งค่าโปรไฟล์ให้อยู่ในโหมด รายงานการสูญเสียบุตร คุณจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลตัวเอง การฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ อยู่เคียงข้างคุณตลอด 24 ชั่วโมง จนกว่าคุณจะพร้อมกลับมามีเจ้าตัวน้อยใหม่อีกครั้ง

บทความที่เกี่ยวข้อง : มะเร็งปากมดลูก ภัยร้ายใกล้ตัวของผู้หญิง อันตรายถ้าไม่รีบตรวจ?

 

ท้องนอกมดลูก ท้อง นอก มดลูก อันตราย ไหม อาการ ตั้ง ครรภ์ นอก มดลูก ท้องนอกมดลูกอันตรายไหม ท้อง นอก มดลูก อันตราย ไหม ท้องนอกมดลูกอาการ

 

การป้องกันการท้องนอกมดลูก ท้องนอกมดลูก อันตรายไหม

จริงอยู่ภาวะท้องนอกมดลูกเป็นปัญหาสุขภาพที่ไม่สามารถป้องกันได้ 100%  แต่คุณแม่หรือคุณผู้หญิงที่เตรียมตัวตั้งครรภ์ สามารถลดความเสี่ยงที่อาจก่อความเสียหายต่ออวัยวะในช่องท้องและระบบสืบพันธุ์ได้ เพราะหากเกิดอาการท้องนอกมดลูกบ่อย ๆ จะมีผลต่อมดลูกได้

 

1. ควรมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

การป้องกันการเจ็บป่วยจากโรคทางเพศสัมพันธ์ คุณและคนรักควรใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ และไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรคติดต่อ แต่หากติดเชื้อให้รีบไปพบแพทย์และรักษาโรคให้หายขาด หากซื้อยามาทานเองบ่อยครั้งมักไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดอาการติดเชื้อเรื้อรัง และทำให้เกิดพังผืดอุ้งเชิงกรานได้

 

2. งดสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

ผู้ที่สูบบุหรี่หรือเคยสูบบุหรี่ มีความเสี่ยงที่จะท้องนอกมดลูกสูงกว่าคนทั่วไปที่ไม่สูบบุหรี่เลย นอกจากนี้ แม้ไม่สามารถป้องกันการท้องนอกมดลูกได้ แต่ผู้ป่วยสามารถป้องกันไม่ให้อาการป่วยที่เกิดขึ้นลุกลามรุนแรงไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้

 

3. สังเกตอาการที่เป็นสัญญาณสำคัญ

หมั่นตรวจเช็กสุขภาพตนเองว่าเสี่ยงต่อการท้องนอกมดลูกหรือไม่ หรือมีอาการอย่างที่กล่าวข้างต้นหรือไม่ เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย และรับการรักษาให้ทันการณ์

 

4. วางแผนการดูแลครรภ์ให้ดี

ช่วงสัปดาห์แรก ๆ ของการตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่ยังอ่อนแอ เสี่ยงต่อการแท้งง่ายมาก ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์ควรอยู่ภายใต้การดูแลและคำแนะนำจากแพทย์ ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด จนกว่าจะพ้นช่วงไปสู่ระยะปลอดภัยของการตั้งครรภ์

 

เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์

หากคุณแม่พบว่าประจำเดือนขาดหรือกำลังตั้งครรภ์ ร่วมกับมีอาการปวดท้อง มีเลือดออกกะปริดกะปรอยทางช่องคลอด อย่ารอช้า ควรรีบไปพบคุณหมอโดยเร็วที่สุด เพราะโดยทั่วไปแล้ว การตั้งครรภ์ที่ปกติจะไม่มีอาการปวดท้องน้อยอย่างมาก หรือมีเลือดออกทางช่องคลอด แต่ทางที่ดีที่สุดสำหรับคุณแม่ก็คือ เมื่อทราบว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์ ก็ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อฝากครรภ์ในทันที คุณหมอจะได้ช่วยตรวจหาความผิดปกติต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทันเวลา

 

ผู้หญิงที่ท้องนอกมดลูกมาก่อน ก็สามารถมีลูกที่แข็งแรงได้ในอนาคต เหมือนคนอื่นทั่วไป แม้ว่า จะเหลือท่อนำไข่ข้างเดียวก็ตาม หากสาเหตุที่คุณท้องนอกมดลูก เกิดจาก ความเจ็บป่วย หรือการติดเชื้อแล้ว แพทย์ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้

 

บทความที่น่าสนใจ :
ปวดท้องหลังคลอด ปวดมดลูกหลังคลอดเกิดจากอะไร มีวิธีลดอาการปวดไหม
แม่อยากคลอดจะแย่! ทำไมไม่ออกมาสักทีลูกจ๋า ปากมดลูกเปิดช้า แต่แม่เจ็บเกินทนแล้วลูก
เย็บปากมดลูก ป้องกันคลอดก่อนกำหนด ทำไมต้องเย็บปากมดลูก คนท้องต้องเย็บปากมดลูกทุกคนหรือไม่

แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับอาการท้องนอกมดลูก ได้ที่นี่!

ตั้งครรภ์นอกมดลูก เกิดจากอะไรคะ มีวิธีป้องกันไหมคะ กลัวมากๆเลยค่ะ

ที่มา : 1 , 2 , 3 , 4

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

จุฑาทิพ ดันน์

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • ท้องนอกมดลูก อันตรายไหม สาเหตุ วิธีรักษา ใครบ้างต้องระวัง ตั้งครรภ์นอกมดลูก
แชร์ :
  • 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 38 ท้องนอกมดลูกคืออะไร อันตรายไหม

    100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 38 ท้องนอกมดลูกคืออะไร อันตรายไหม

  • ท้องนอกมดลูกคืออะไร?

    ท้องนอกมดลูกคืออะไร?

  • 11 ข้อห้ามคนท้อง แม่ท้องต้องรู้ ดูแลลูกในท้องให้ปลอดภัย อย่าทำแบบนี้ !

    11 ข้อห้ามคนท้อง แม่ท้องต้องรู้ ดูแลลูกในท้องให้ปลอดภัย อย่าทำแบบนี้ !

  • โป๊ะเช๊ะ! วิทยาศาสตร์ชี้ ผู้หญิงอายุ30 ตัวเลขนี้คือช่วงเวลาดีที่สุดของหล่อน!

    โป๊ะเช๊ะ! วิทยาศาสตร์ชี้ ผู้หญิงอายุ30 ตัวเลขนี้คือช่วงเวลาดีที่สุดของหล่อน!

app info
get app banner
  • 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 38 ท้องนอกมดลูกคืออะไร อันตรายไหม

    100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 38 ท้องนอกมดลูกคืออะไร อันตรายไหม

  • ท้องนอกมดลูกคืออะไร?

    ท้องนอกมดลูกคืออะไร?

  • 11 ข้อห้ามคนท้อง แม่ท้องต้องรู้ ดูแลลูกในท้องให้ปลอดภัย อย่าทำแบบนี้ !

    11 ข้อห้ามคนท้อง แม่ท้องต้องรู้ ดูแลลูกในท้องให้ปลอดภัย อย่าทำแบบนี้ !

  • โป๊ะเช๊ะ! วิทยาศาสตร์ชี้ ผู้หญิงอายุ30 ตัวเลขนี้คือช่วงเวลาดีที่สุดของหล่อน!

    โป๊ะเช๊ะ! วิทยาศาสตร์ชี้ ผู้หญิงอายุ30 ตัวเลขนี้คือช่วงเวลาดีที่สุดของหล่อน!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ