กินอย่างไรให้ลงลูก ลูกสมบูรณ์แข็งแรง เพราะคุณแม่หลายท่านล้วนแล้วแต่อยากให้ลูกคลอดออกมาแข็งแรง กินอย่างไรให้ลงลูก เพื่อให้สุขภาพครรภ์นี้แข็งแรงสมบูรณ์กันค่ะ
กินอย่างไร ให้ลงลูก เพิ่มน้ำหนักลูกในท้อง
คุณแม่ที่สงสัยว่าลูกในท้องตัวเล็กหรือเปล่า ให้ลองชั่งน้ำหนักตัวของคุณแม่ เมื่ออายุครรภ์เริ่มเข้าสู่เดือนที่ 3 หากเป็นการตั้งครรภ์ทารกเพียงคนเดียว น้ำหนักตัวของคุณแม่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยจะเฉลี่ยการเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 0.5 กิโลกรัม/สัปดาห์ ถ้าหากน้ำหนักตัวของคุณแม่ไม่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ที่ควรจะเป็น ก็อาจเป็นไปได้ว่าลูกในท้องมีน้ำหนักน้อย เพื่อยืนยันว่าทารกตัวเล็กจริงหรือไม่ คุณหมอที่ดูแลจะทำการตรวจทารกด้วยอัลตราซาวน์ ถ้าตรวจพบว่าทารกตัวเล็กจริง คุณหมอจะทำการตรวจอย่างละเอียดเพื่อหาสาเหตุและวางแผนการดูแลรักษาต่อไป เพื่อไม่ให้มีความเสี่ยงต่อสุขภาพที่ไม่แข็งแรง และต้องคลอดก่อนกำหนด
ดังนั้น หากคุณแม่กังวลว่าลูกในท้องจะตัวเล็ก มีน้ำน้อย วิธีดูแลครรภ์เพิ่มน้ำหนักเจ้าตัวน้อยในท้องให้ได้มาตรฐานที่สามารถทำได้ง่ายที่สุด คือ การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารครบถ้วน ซึ่งต่างจากกินอาหารที่เน้นพลังงาน รับประทานอาหารที่หลากหลาย เช่น เนื้อสัตว์ ปลา ไก่ หมู ไข่ นม ผัก ผลไม้ โดยเน้นโปรตีนที่มาจากแหล่งอาหารที่หลากหลายและจากธรรมชาติ ไม่ควรเน้นทานอาหารอย่างเดียวปริมาณมาก นอกจากการเลือกรับประทานแล้ว คุณแม่ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ทำให้ตัวเองเครียดหรือมีความกังวล หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็น การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ เพราะพฤติกรรมเหล่านี้ก็ส่งผลต่อน้ำหนักตัวและพัฒนาการเจริญเติบโตของทารกในท้องได้ หมั่นการออกกำลังกายด้วยกีฬาสำหรับคนท้องที่มีส่วนช่วยให้สุขภาพคุณแม่ละลูกในครรภ์แข็งแรงไปพร้อมกัน
เคล็ดลับกินอาหารอย่างไรให้ลงที่ลูก ได้สารอาหารครบถ้วนตั้งแต่ในท้องแม่
หากไม่อยากอ้วนถาวร ในช่วงที่คุณแม่ตั้งท้อง คุณแม่ควรเลือกอาหารที่มีประโยชน์ทั้ง 5 หมู่ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนไปเรื่อย ๆ ไม่กินอาหารแบบเดิม ซ้ำ ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน การที่คุณแม่กินอาหารแบบเดิม จะทำให้ได้รับสารอาหารชนิดหนึ่ง ที่เกินความจำเป็น
เมื่อทารกในครรภ์ เริ่มโตขึ้น พื้นที่ลำไส้ และกระเพาะอาหารของคุณแม่จะถูกเบียด ทำให้คุณแม่บางคนมีอาการ แน่นท้อง ท้องอืด การกินอาหารน้อย ๆ แต่เน้นหลาย ๆ มื้อ เป็นวิธีที่คุณแม่จะสบายท้องได้มากขึ้น และทานได้เยอะกว่าในมื้อเดียว
ไม่ใช่เพียงน้ำตาลเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึง น้ำตาล ในผลไม้อีกด้วย หากคุณแม่ทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น ทุเรียน เงาะ มะม่วงสุก สามารถทานได้แต่ควรทานในปริมาณที่น้อย เน้นทานผลไม้ที่มีเนื้อแข็ง ส่วนอาหาร ให้ทานเป็นข้าวกล้อง ขัดสีน้อย แทนข้าวขาว หรือขนมปังขาว
คุณแม่สามารถทานอาหาร Superfoods ได้ ซึ่งเป็นการรับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงสุขภาพ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรัง
คนท้องก็สามารถออกกำลังกายได้เช่นกัน และการออกกำลังกาย จะช่วยให้เลือดไหลเวียนดี ร่างกายได้รับการเผาผลาญ สุขภาพร่างกายแข็งแรง และไม่หักโหมมากเกินไป การออกกำลังกายก็ช่วยให้คุณแม่หุ่นดี น้ำหนักลงได้เร็ว
บทความที่เกี่ยวข้อง : ออกกำลังกายสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ด้วย พิลาทิส ดีหรือไม่
ลูกในท้องตัวเล็ก ไม่ได้ผิดปกติเสมอไป
อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่ทารกตัวเล็กนั้นไม่ได้หมายความว่าทารกผิดปกติเสมอไป สาเหตุหลักจะมาจากพันธุกรรมพ่อแม่ ที่มีขนาดร่างกายที่เล็กเหมือนกันนั่นเอง ถ้าทารกในครรภ์ยังคงมีการพัฒนาของร่างกายและระบบประสาทและสมองปกติ ก็อาจมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติได้ ดังนั้นการดูแลรักษาที่สำคัญ คือ การส่งเสริมสุขภาพทารกให้แข็งแรงตลอดการตั้งครรภ์ และคลอดเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ตามแนวทางการดูแลที่กล่าวมา และสำหรับคุณแม่ที่ตรวจพบว่าทารกในครรภ์ตัวเล็ก คุณหมออาจนัดตรวจติดตามถี่กว่าปกติ เพื่อได้รับการตรวจสุขภาพทารกอย่างต่อเนื่อง
ตั้งท้อง น้ำหนักคุณแม่เพิ่งขึ้นเท่าไหร่
น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของคุณแม่ จะขึ้นอยู่กับค่า BMI สามารถแบ่งได้ ดังนี้
- คุณแม่น้ำหนักตัวน้อย จะมีน้ำหนักอยู่ที่ 15 – 18 กก.
- น้ำหนักตัวปานกลาง น้ำหนักจะอยู่ที่ 12 – 15 กก.
- น้ำหนักตัวมาก ไม่ควรน้ำหนักเพิ่มขึ้นเกิน 10 กก.
หลังคลอดในช่วงแรก ๆ น้ำหนักของคุณแม่อาจจะยังไม่คงที่ แต่การให้นมลูก ในช่วง 3 เดือนแรก จะช่วยทำให้น้ำหนักตัวของคุณแม่ลดลง
คนท้องออกกำลังกายได้หรือไม่
คนท้องสามารถออกกำลังกายได้ แต่ควรเลือกท่าออกกำลังกายที่เหมาะสม ไม่สะเทือนมาถึงท้อง และควรปรึกษาคุณหมอ หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอ
- การออกกำลังกาย จะช่วยให้กล้ามเนื้อยืดได้มากขึ้น เช่น การเล่นโยคะ และจะช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย และอาการกล้ามเนื้อตึงได้อีกด้วย
- ออกกำลังกายที่ไม่มีแรงกระแทก เช่น การว่ายน้ำ การว่ายน้ำ จะช่วยให้การเคลื่อนไหว และสรีระ แต่ไม่ควรหักโหมจนเกินไป เพราะอาจจะสะเทือน ส่งผลต่อลูกในท้องได้
- งดการออกกำลังกาย ด้านการเล่นคาร์ดิโอ แอร์โรบิก หรือวิ่งเบา ๆ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
อยากให้ลูกเกิดมาสมองดี 4 สิ่งที่เป็นอันตรายต่อสมอง ของลูกในท้องให้เลี่ยงไปเลย
นักวิจัยชี้ แม่เครียดตอนท้อง เป็นภัยเครียดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมลูกในท้องสูง
คนท้องอดอาหาร กินข้าวไม่ตรงเวลา ระวังลูกสมองไม่ดี
ที่มา : Sanook
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!