X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

กลุ้มใจ! ท้องเล็ก ลูกในครรภ์ตัวเล็กไหม ถ้าลูกน้ำหนักน้อย ทำไงดี?

บทความ 3 นาที
กลุ้มใจ! ท้องเล็ก ลูกในครรภ์ตัวเล็กไหม ถ้าลูกน้ำหนักน้อย ทำไงดี?

คุณแม่กลุ้มใจ ท้องเล็ก ลูกในครรภ์จะตัวเล็กไหม ถ้าลูกในท้องน้ำหนักน้อย จะทำยังไงดี มีคำตอบจากคุณหมอค่ะ

ก่อนที่จะกังวลเรื่อง ลูกในครรภ์ตัวเล็ก ท้อง 8 เดือนท้องเล็ก แบบนี้มันผิดปกติไปหรือไม่ คุณแม่ต้องรู้ตัวเลขน้ำหนักค่าเฉลี่ย (50%) ของลูกตามอายุครรภ์ การที่ลูกในท้องมีน้ำหนักต่ำกว่าค่าเฉลี่ย หรือ 50% ไม่ถือว่าลูกตัวเล็กเกินไปนะคะ ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติค่ะ ถ้าผิดปกติคือ ต้องต่ำกว่า 10% ค่ะ

จะทราบได้อย่างไรว่า ลูกในครรภ์ตัวเล็ก

ลูกในครรภ์ตัวเล็ก

1.จากการตรวจร่างกาย : โดยวัดระยะห่างจากมดลูกถึงกระดูกหัวหน่าว เพื่อดูว่าลูกโตขึ้นทุกเดือนไหม
2.จากการอัลตราซาวด์ : ประเมินน้ำหนักลูกได้จากการคำนวณค่าที่วัดได้ วิธีนี้เชื่อถือได้มากที่สุด
3.โดยการติดตามการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักคุณแม่ : ถ้าน้ำหนักคุณแม่ไม่ขึ้นหรือลดลง ให้สงสัยว่าลูกอาจมีปัญหาตัวเล็กผิดปกติ

แต่ก็ไม่แน่เสมอไปนะคะ เพราะแม่ท้องบางคนอาจน้ำหนักขึ้นเพียง 8 กิโลกรัม แต่ลูกออกมาหนัก 4 กิโลกรัม หรือแม่ท้องที่น้ำหนักขึ้นมากแต่ลูกกลับออกมามีน้ำหนัก ซึ่งหมายความว่าน้ำหนักของลูกไม่ได้แปรผันตรงไปตรงมากับน้ำหนักของแม่ที่เพิ่มขึ้น แต่น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของแม่จะแปรผันตามพฤติกรรมการกินของแม่นั้นเอง ดังนั้น การกินมากก็ไม่ส่งผลไปถึงน้ำหนักตัวลูก แถมยังอาจเพิ่มน้ำหนักส่วนเกินของคุณแม่และเพิ่มความเสี่ยงในการที่ลูกจะแพ้อาหารที่แม่กินเข้าไป เช่น นมวัว นมถั่ว ไข่ แป้งสาลี ซีฟู้ด ได้

สาเหตุที่ลูกในท้องตัวเล็ก

Advertisement
  • อาจเป็นไปได้ว่าในขณะตั้งครรภ์คุณแม่อาจมีโรคเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ โรคหัวใจ โรคไต โรคเลือดจาง โรคปอดเรื้อรัง ติดเชื้อหัดเยอรมัน ไวรัส CMV โรคขี้แมวหรือเชื้อ Toxoplasmosis ที่อยู่ในอึแมว เชื้อซิฟิลิส มีเนื้องอกในมดลูก
  • พฤติกรรมของแม่ในตอนตั้งครรภ์ เช่น แม่สูบบุหรี่ กินเหล้า ใช้สารเสพติด
  • แม่เป็นโรคขาดสารอาหาร
  • มีความผิดปกติด้านการแข็งตัวของเลือด
  • ลูกในท้องมีความผิดปกติของโครโมโซม
  • ครรภ์แฝด เพราะขดเบียดกันอยู่ในท้องแม่ (ไม่ใช่ตัวเล็กเพราะเกิดจากการแย่งอาหารกัน) เป็นต้น

วิธีดูแลที่ถูกต้องสำหรับปัญหาลูกในครรภ์ตัวเล็กทุกกรณี คือ การพักเยอะ ๆ การนอนหลับอย่างเพียงพอ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรนอนกลางคืนอย่างน้อย 8 ชั่วโมง และกลางวันควรได้งีบหลับอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง เพื่อให้มีเลือดสูบฉีดไปเลี้ยงทารกมากขึ้น เพราะถ้าแม่ท้องทำงานเยอะ ออกแรงเยอะ เลือดก็ต้องไปเลี้ยงส่วนอื่น ๆ ของร่างกายทำให้มีเลือดมาเลี้ยงทารกในครรภ์กลดลง

ส่วนการรักษาด้านอื่น ๆ ขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้ลูกตัวเล็ก เช่น เลิกสูบบุหรี่ เลิกกินเหล้า เลิกใช้สารเสพติด รับประทานในปริมาณที่ปกติที่ร่างกายของแม่ท้องต้องการแคลอรี่เพิ่มขึ้น 500 กิโลแคลอรี่/วัน ส่วนโรคประจำตัวของคุณแม่ ควรให้คุณหมอช่วยดูแลควบคู่กันไป และถ้าเป็นการติดเชื้อหรือโครโมโซมผิดปกติ ก็ควรนอนพักผ่อนให้เต็มที่ และพบคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำปรึกษาเพิ่มเติม หากคุณแม่กังวัลว่าลูกในท้องจะตัวเล็กหรือเปล่ากันนะคะ


ที่มา : www.breastfeedingthai.com

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

ท้องเล็กกว่าอายุครรภ์อันตรายหรือไม่

เเท้งเเล้วท้องต่อได้เลย แบบนี้ก็ได้รึเปล่า น่าห่วงไหม? อันตรายแค่ไหน?

parenttown

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • กลุ้มใจ! ท้องเล็ก ลูกในครรภ์ตัวเล็กไหม ถ้าลูกน้ำหนักน้อย ทำไงดี?
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว