theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • Project Sidekicks
    • การตั้งครรภ์
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • การสูญเสียทารก
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • สุขภาพ
    • อาการป่วย
    • วัคซีน
    • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
    • ประกันชีวิต
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ความปลอดภัย
    • มุมคุณพ่อ
  • การศึกษา
    • ข่าวการศึกษา
    • คลีนิกพัฒนาการ
    • เตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน
    • โรงเรียนอนุบาล
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • งานบ้าน
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ดวงและราศี
    • ดารา-แฟชั่น
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ฟิตเนส
    • อีเว้นท์
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • TAP IDOL

การเปลี่ยนแปลงของร่างกายตอนท้อง 5 เรื่องนี้ต้องเจอแน่ ๆ คุณแม่พร้อมทำใจหรือยัง

บทความ 3 นาที
•••
การเปลี่ยนแปลงของร่างกายตอนท้อง 5 เรื่องนี้ต้องเจอแน่ ๆ คุณแม่พร้อมทำใจหรือยังการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตอนท้อง 5 เรื่องนี้ต้องเจอแน่ ๆ คุณแม่พร้อมทำใจหรือยัง

การเปลี่ยนแปลงของร่างกายตอนท้อง 5 เรื่องนี้ต้องเจอแน่ๆ คุณแม่พร้อมทำใจรับมือหรือยัง

การเปลี่ยนแปลงของร่างกายตอนท้อง

ในช่วงเวลาของการตั้งครรภ์นั้น เป็นช่วงที่คุณแม่ต้องเจอกับ การเปลี่ยนแปลงของร่างกายตอนท้อง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เรามาดูกันว่า การเปลี่ยนแปลงของร่างกายตอนท้อง 5 เรื่องที่ต้องเจอแน่ ๆ มีอะไรบ้าง

1. น้ำหนักตัว

ค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัวตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือนของแม่ท้อง ควรจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอยู่ที่ประมาณ 10 - 16 กิโลกรัม  โดยในแต่ละไตรมาสของการตั้งครรภ์ น้ำหนักตัวของแม่ท้องจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยดังนี้ :

  • ในช่วง 3 เดือนแรกอาจจะเพิ่มขึ้นแค่ประมาณ 1 - 1.6 กิโลกรัม ทั้งนี้ในช่วงไตรมาสแรกแม่ท้องส่วนใหญ่มักจะมีอาการแพ้ท้อง ทำให้ทานอาหารได้น้อยจึงส่งผลทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นไม่มาก
  • ไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ น้ำหนักตัวของแม่ท้องจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 4 - 5 กิโลกรัม
  • ไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ น้ำหนักตัวของแม่ท้องจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 5 - 6 กิโลกรัม

2. ขนาดมดลูกและหน้าท้อง

เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น หน้าท้องของคุณแม่ก็จะขยายออกไปมากขึ้นตามไปด้วย โดยในช่วงประมาณเดือนที่ 4 ของการตั้งครรภ์ อาจคลำพบก้อนแข็ง นูนขึ้นมาบริเวณเหนือหัวเหน่า นั่นก็คือมดลูก ที่โตจากอุ้งเชิงกรานจนไปถึงระดับสะดือ

และเมื่อเข้าสู่ช่วงใกล้คลอดยอดมดลูกที่โตขึ้นมาจนถึงระดับลิ้นปี่ ก็จะยิ่งทำให้คุณแม่ท้องรู้สึกอึดอัดมากกว่าปกติได้

การเปลี่ยนแปลงของร่างกายตอนท้อง

3. ความเปลี่ยนแปลงของเต้านม

หลังจากช่วงเดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์ไปแล้ว เส้นเลือดบริเวณเต้านมจะเริ่มขยาย หัวนมก็จะเริ่มขยายใหญ่ และมีสีคล้ำขึ้น เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนตอนท้อง

ซึ่งฮอร์โมนนี้จะไปกระตุ้นให้ร่างกายเร่งผลิตสารเมลานินออกมาเพิ่มขึ้นมากกว่าช่วงเวลาปกติ และเมื่อสารเมลานินมีมากขึ้น ก็จะทำให้ผิวหนังมีสีคล้ำลง โดยเฉพาะบริเวณที่มีเม็ดสีกระจุกรวมกันอยู่แล้ว เช่น กระ รอยแผลเป็น และบริเวณลานนม และบางครั้งก็อาจจะมีก้อนนูนที่ใต้รักแร้ ซึ่งเป็นส่วนปลายของเต้านมที่เจริญเติบโต

4. หน้าท้องลาย

ท้องลาย เกิดจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของผิวหนัง และเนื้อเยื่อในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้เส้นใยโปรตีนอีลาสตินและคอลลาเจนบริเวณผิวหนังชั้นในสุดถูกยืดออก ส่งผลให้โครงสร้างคอลลาเจนถูกทำลาย และทำงานผิดปกติ

รวมทั้งฮอร์โมนที่มีการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะในช่วงใกล้คลอด ประกอบกับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เกินกว่าที่ผิวหนังจะขยายตัวตามได้ทัน จึงทำให้เกิดรอยแตกบริเวณหน้าท้อง ทรวงอก สะโพก ต้นขา และบั้นท้าย

5. ช่องคลอดเปลี่ยนแปลง

ในระหว่างตั้งครรภ์นั้น อาจจะมีมูกและตกขาวเพิ่มขึ้น ถ้าตกขาวไม่มากก็ถือว่าปกติ แม่ท้องควรทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่แต่เพียงภายนอก แต่หากมีอาการผิดปกติ เช่นมีสีผิดปกติ หรือมีกลิ่นเหม็น ก็ให้รีบไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

สัญญาณอันตราย ที่แม่ท้องต้องรีบไปพบคุณหมอโดยด่วน

  • มีเลือดออกทางช่องคลอด
  • ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ร่วมกับมีอาการตาพร่า
  • ปวดหลัง มีไข้สูง และหนาวสั่น
  • นิ้วมือ หรือเท้าบวมมาก หรือบวมทั้งตัว
  • ปัสสาวะแสบขัด
  • มีน้ำไหลออกมาจากช่องคลอด หรือที่เรียกกันว่าน้ำเดิน
  • ปวดท้องน้อยอย่างรุนแรง
  • อาเจียนมาก และรุนแรง
  • ลูกดิ้นน้อยลง หรือไม่ดิ้นเลย

ในระหว่างตั้งครรภ์ แม้ว่าคุณแม่ท้องอาจจะต้องเจอกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มากมาย แต่ที่สำคัญคือต้องดูแลสุขภาพให้แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ ควรนอนพักผ่อนอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง และควรมีเวลางีบหลับในตอนกลางวันอย่างน้อย 1 ชั่วโมง และควรทานอาหารให้เพียงพอ ครบ 5 หมู่ และควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ อยู่เสมอนะครับ


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก paolohospital.com

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ไม่เป็นแม่ไม่รู้หรอกว่า ร่างกายคนท้อง เปลี่ยนไปได้ถึงขนาดนี้

ดูแลร่างกายให้ดูดี สวยๆ ระหว่างตั้งครรภ์ทำได้ไม่ยาก

ท้องยังไงให้สวย ให้แซ่บ ท้องนี้ไม่(อยาก)พังก็ต้องปังละค่ะ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • การตั้งครรภ์
  • /
  • การเปลี่ยนแปลงของร่างกายตอนท้อง 5 เรื่องนี้ต้องเจอแน่ ๆ คุณแม่พร้อมทำใจหรือยัง
แชร์ :
•••
  • แม่ท้องรู้ไว้! 5 การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่ต้องรับมือ

    แม่ท้องรู้ไว้! 5 การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่ต้องรับมือ

  • อาการตั้งครรภ์ ของคุณแม่แต่ละสัปดาห์ มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง

    อาการตั้งครรภ์ ของคุณแม่แต่ละสัปดาห์ มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง

  • ลูกในท้องกินอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าทารกในครรภ์กินอิ่ม ไม่ขาดสารอาหาร?

    ลูกในท้องกินอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าทารกในครรภ์กินอิ่ม ไม่ขาดสารอาหาร?

  • การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

    การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

app info
get app banner
  • แม่ท้องรู้ไว้! 5 การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่ต้องรับมือ

    แม่ท้องรู้ไว้! 5 การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่ต้องรับมือ

  • อาการตั้งครรภ์ ของคุณแม่แต่ละสัปดาห์ มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง

    อาการตั้งครรภ์ ของคุณแม่แต่ละสัปดาห์ มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง

  • ลูกในท้องกินอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าทารกในครรภ์กินอิ่ม ไม่ขาดสารอาหาร?

    ลูกในท้องกินอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าทารกในครรภ์กินอิ่ม ไม่ขาดสารอาหาร?

  • การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

    การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การตั้งชื่อลูก
    • โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์​
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • เซ็กส์และความสัมพันธ์
  • การตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • นมแม่และนมผง
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • ดวงและราศี
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ดารา-แฟชั่น
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore
  • Thailand
  • Indonesia
  • Philippines
  • Malaysia
  • Sri Lanka
  • India
  • Vietnam
  • Australia
  • Japan
  • Nigeria
  • Kenya
พันธมิตรของเรา
Mama's Choice Partner Brand Logo
© Copyright theAsianparent 2021. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้
บทความ
  • สังคมออนไลน์
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • สุขภาพ
  • ชีวิตครอบครัว
  • การศึกษา
  • ไลฟ์สไตล์​
  • วิดีโอ
  • ชอปปิง
  • TAP IDOL
เครื่องมือ
  • ?คอมมูนิตี้สำหรับคุณแม่
  • ติดตามการตั้้งครรภ์
  • ติดตามพััฒนาการของลูกน้อย
  • สูตรอาหาร
  • อาหาร
  • โพล
  • VIP Parents
  • การประกวด
  • โฟโต้บูท

ดาวน์โหลดแอปของเรา

  • ติดต่อโฆษณา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทีม
  • กฎการใช้งานคอมมูนิตี้
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดการใช้
  • มาเข้าร่วมกับเรา
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ?ฟีด
  • โพล
เปิดในแอป