แม่รู้หรือไม่ ลูกแรกเกิด – 1 ปี มีตารางการนอนที่แตกต่างกัน การนอนของทารกแต่ละช่วงวัย ต้องนอนกี่ชั่วโมงกันนะ ฝึกลูกนอน ฝึกลูกนอนเอง ให้ลูกหลับเป็นเวลา แม่ต้องทำไง แจกตาราง การนอนของทารก ทารกแรกเกิด – 1 ปี ลูกต้องนอนกี่ชั่วโมง/วัน
การนอนของทารก 1 ปีแรก
การนอนของทารก 1 ปีแรก เป็นอย่างไร โดยทารกแรกเกิด – 3 เดือนแรก ทารกจะนอนเป็นช่วง ๆ และลูกแรกเกิดจะตื่นมากินนมทุก 2 – 4 ชั่วโมง สำหรับการนอนของทารกมีรายละเอียด ดังนี้
|
อายุ |
ช่วงเวลา |
|
1-3 เดือน |
กลางวัน |
4-5 งีบ งีบละ 1-2 ชั่วโมง
|
|
กลางคืน |
10-12 ชั่วโมง อาจตื่นขึ้นมาร้องกินนม 2-3 ครั้ง
|
4-6 เดือน |
กลางวัน |
3-4 งีบ งีบละ 1-2 ชั่วโมง
|
|
กลางคืน |
10-11 ชั่วโมง อาจตื่นขึ้นมาร้องกินนม 1-2 ครั้ง
|
7-9 เดือน |
กลางวัน |
2-3 งีบ งีบละ 1-2 ชั่วโมง
|
|
กลางคืน |
10-11 ชั่วโมง อาจตื่นขึ้นมาร้องกินนม 1 ครั้ง
|
10-12 เดือน |
กลางวัน |
1-2 งีบ งีบละ 1-2 ชั่วโมง
|
|
กลางคืน |
11-12 ชั่วโมง อาจตื่นขึ้นมาร้องกินนม 0-1 ครั้ง
|
การนอนของทารก 1 ปีขึ้นไป
โดยเฉลี่ยแล้ว ทารกอายุ 1 ปีขึ้นไป ควรนอนหลับประมาณ 11-14 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งระยะเวลานี้จะแตกต่างกันไปในแต่ละทารก บางทารกอาจต้องการนอนหลับเพียง 10 ชั่วโมงต่อวัน ในขณะที่บางทารกอาจต้องการนอนหลับถึง 15 ชั่วโมงต่อวัน
|
ช่วงเวลา |
กิจกรรม |
06:00 – 07:00 |
ตื่นนอน อาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า ทานอาหารเช้า
|
07:00 – 09:00 |
เล่นอิสระ |
09:00 – 10:00 |
งีบหลับช่วงสั้นๆ (ประมาณ 1-2 ชั่วโมง)
|
10:00 – 12:00 |
เล่นอิสระ ทานอาหารกลางวัน
|
12:00 – 13:00 |
งีบหลับช่วงยาว (ประมาณ 2-3 ชั่วโมง)
|
13:00 – 15:00 |
|
15:00 – 17:00 |
เล่นอิสระ |
17:00 – 18:00 |
อาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า ทานอาหารเย็น
|
18:00 – 19:00 |
กิจกรรมผ่อนคลาย เช่น อ่านนิทาน เล่นเพลงกล่อมนอน
|
19:00 – 20:00 |
เข้านอน |
หมายเหตุ: ตารางนี้เป็นเพียงแนวทางคร่าวๆ ระยะเวลาการนอนของทารกแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตพฤติกรรมการนอนของลูกน้อยและปรับตารางให้เหมาะสม
แม่จะรู้ได้ยังไงว่า ลูกมีปัญหาการนอนหลับ
คณะแพทย์ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อธิบายว่า ทารกเรียนรู้ที่จะนอนหลับอย่างน้อย 9 ชั่วโมงรวดในเวลากลางคืน ตั้งแต่ทารกอายุได้ 6 เดือน ถึงแม้ชั่วโมงการนอนหลับของเด็กแต่ละคนจะต่างกันอาจสั้นหรือยาวกว่า โดยสัญญาณที่แสดงว่าลูกกำลังมีปัญหาด้านการนอนหลับ
- พ่อแม่ใช้เวลามากเกินไปที่จะช่วยให้ลูกนอนหลับ
- ลูกตื่นขึ้นมาซ้ำแล้วซ้ำเล่าตลอดทั้งคืน
- พ่อแม่อดนอน เนื่องจากปัญหาด้านการนอนหลับของลูก
ทั้งนี้ การนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพ ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมและอารมณ์ของลูกได้ โดยปัญหาการนอนหลับที่พบบ่อยคือ การนอนหลับต่อเองไม่ได้ (Sleep onset association) โดยธรรมชาติ คนเรามักตื่นขึ้นมาหลายครั้ง เป็นระยะเวลาสั้น ๆ ในช่วงกลางคืนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างการนอนหลับฝัน (REM sleep หรือการหลับช่วงที่มีการกลอกตาอย่างรวดเร็ว) เรามักไม่รู้ตัว และสามารถกลับไปนอนต่อได้อย่างรวดเร็ว แต่เด็กเล็ก ตอบสนองต่อการตื่นนี้แตกต่างออกไป เด็กมักร้องไห้หรือรู้สึกไม่มั่นคงเมื่อตื่น
พ่อแม่มักพยายามที่จะปลอบโยนเด็กที่กำลังกังวลและร้องขอความสนใจ มักรู้สึกว่าจำเป็นต้อง “ช่วย” ลูกให้สามารถกลับไปนอนต่อ โดยการให้อาหาร, อุ้มกล่อม, ตบก้น, กอด หรือนอนลงไปข้าง ๆ ลูก แต่การทำเช่นบ่อยครั้ง เป็นการทำให้ลูกเรียนรู้โดยอัตโนมัติว่า การ “ช่วย” จำเป็นต้องเกิดขึ้น ทำให้เด็กที่ได้รับการช่วยเช่นนี้ กลายเป็นไม่สามารถที่จะหลับไปโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ หรือเด็กบางคนเด็กไม่สามารถนอนในเปลหรือเตียงนอนของตัวเอง แต่สามารถนอนหลับอยู่ในรถที่กำลังเคลื่อนที่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ, รถเข็นเด็ก หรือเปลไกว แสดงว่า เด็กได้เชื่อมโยงการนอนหลับ กับการเคลื่อนไหว
วิธีแก้ไขปัญหาการนอนของลูก
ฝึกทั้งตอนนอนกลางวัน เข้านอนกลางคืนหรือหลังตื่นขึ้นมากลางดึก ด้วยการสร้างความเชื่อมโยง ที่ไม่ต้องอาศัยการตอบสนองจากพ่อแม่ อาจจะเริ่มฝึกจากการเข้านอนตอนกลางคืนก่อน หรือจากการเข้านอนกลางวันก็ได้
ระหว่างการฝึกนอน ในช่วงแรกเด็กจะร้องไห้ พ่อแม่จะต้องระลึกไว้ว่า ไม่ได้กำลังทอดทิ้งลูกอยู่ ด้วยการให้กำลังใจ และสร้างความมั่นใจ ลูกจะสามารถหลับได้ด้วยตนเอง หากเลือกใช้จุกหลอกในการช่วยกล่อมลูก พึงระลึกไว้ว่า การเชื่อมโยงลูกกับวัตถุสิ่งของเพื่อช่วยให้นอนหลับ เป็นสิ่งที่ไม่แนะนำให้ทำตั้งแต่ลูกอายุหลังหกเดือนแล้ว เนื่องจากเมื่อลูกหลับ จุกหลอกก็จะหลุดจากปาก พ่อแม่จะต้องคอยตื่นใส่จุกหลอกเข้าปากให้ใหม่ซ้ำ ๆ การใช้ผ้าห่ม หรือตุ๊กตาสัตว์น่าจะดีกว่า เพราะเมื่อเด็กตื่นขึ้นมา และเห็นตุ๊กตาอยู่ในเตียงตลอดเวลา ก็จะสามารถหลับต่อได้
เทคนิคฝึกการนอนของทารก
เทคนิคฝึกการนอนของทารก ช่วยให้เด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือน – 3 ปีสามารถหลับได้ด้วยตนเอง ควรให้เด็กนอนอยู่บนเตียงเมื่อเริ่มง่วงนอน แต่ยังตื่น หลังจากการทำกิจวัตรก่อนนอนแล้ว พูดราตรีสวัสดิ์กับลูก แล้วออกจากห้องไป ให้มีแสงลอดเข้ามาในห้องนอนได้เล็กน้อย แต่ถ้าสองนาทีผ่านไปลูกยังคงร้องไห้ ก็ให้กลับเข้ามาในห้อง อย่าเปิดไฟ หรืออุ้มลูกออกจากเตียง อย่ากอด อย่าทำตามคำขอร้องใหม่ ๆ เช่น ขอน้ำกิน ขอนิทานอีกเรื่อง หรือขอให้คุณนอนลงข้าง ๆ เค้า ให้คุณปลอบลูก ด้วยคำพูด หรือวางมือบนหลัง เพื่อให้เค้าอุ่นใจ พอลูกสงบลง ก็ให้เดินออกจากห้องอีกครั้ง อย่าอยู่ในห้องเกินสองนาที
ถ้าลูกยังคงร้องไห้อยู่ ให้รอนานขึ้นกว่าครั้งแรก แล้วค่อยกลับเข้าไปใหม่ พยายามใจแข็ง เพราะเสียงร้องของลูกอาจจะบาดใจ อันที่จริงขั้นตอนนี้มักทรมานใจพ่อแม่มากกว่าลูกมาก พ่อแม่จึงต้องคอยระลึกไว้ว่า จะต้องฝึกให้ลูกสามารถนอนได้ด้วยตนเอง โดยพยายามไม่ให้ลูกลุกออกจากเปลหรือเตียงเป็นอันขาด
เมื่อปฏิบัติตามรูปแบบนี้อย่างสม่ำเสมอ ก็จะสามารถเห็นความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นได้ โดยทั่วไปจะเห็นหลังสามคืนแรก แต่หากไม่พบการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเลย ภายในเวลาห้าวัน ต้องกลับมาทบทวนว่า ได้ปฏิบัติถูกต้องดังคำแนะนำเบื้องต้นหรือไม่ หรือพ่อแม่อาจต้องอดทนมากขึ้นอีกนิด เพราะเด็กบางคนอาจต้องใช้ระยะเวลาที่นานกว่า เพื่อปรับตัวเองให้นอนหลับได้ สิ่งที่มักทำให้เทคนิคนี้ล้มเหลว ก็คือความกังวลใจของพ่อแม่เอง เพราะโดยมาก พ่อแม่จะทนฟังเสียงลูกร้องไม่ได้ และจะพยายามเข้าไปกล่อม ตบก้น ปลอบโยน หรือให้จุกหลอก ซึ่งมีแต่จะทำให้เด็กนอนหลับเองได้ช้าลง
การนอนของทารก 1 ปีแรก ลูกจะนอนมากในช่วงวัยแรกเกิด จากนั้นค่อย ๆ ลดจำนวนชั่วโมงลง แล้วนอนนานขึ้นในเวลากลางคืน แม่ ๆ ได้รู้ตารางการนอนของทารกไปแล้ว มาโหวตกันหน่อยว่า ลูกของคุณแม่ตื่นตอนไหนบ่อยที่สุดคะ กดโหวตไม่ได้ คลิกที่นี่
ที่มา : www.sleepcenterchula.org
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ทารกสามารถกินสับปะรดได้ไหม จะเป็นอันตรายไหมถ้าจะให้ลูกกิน
10 วิธีดูแลทารกแรกเกิด พ่อแม่ควรทำอะไร ไม่ควรทำอะไรบ้าง
ทารกนอนกรน ปกติไหม ลูกเป็นอะไรหรือเปล่า
เทคนิคอาบน้ำให้ทารก ควรอาบน้ํากี่ครั้ง ต้องใช้อุณหภูมิเท่าไหร่จึงเหมาะสม
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!