X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เก้าอี้โยกเด็ก เปลโยก อันตรายกว่าที่คิด ระวังพ่อแม่ทำร้ายลูกแบบไม่รู้ตัว

บทความ 5 นาที
เก้าอี้โยกเด็ก เปลโยก อันตรายกว่าที่คิด ระวังพ่อแม่ทำร้ายลูกแบบไม่รู้ตัว

รถโยกเด็ก เก้าอี้โยกเด็ก เปลโยก เด็กอันตรายกว่าที่คิด ระวัง! พ่อแม่ทำร้ายลูกแบบไม่รู้ตัว เก้าอี้โยกเด็ก กับเปลไกว ของใช้เด็กชิ้นสำคัญที่พ่อแม่หลายคนใช้สำหรับกล่อมลูกให้นอน หรืองีบหลับ ที่คุณคิดว่าจะเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่จะช่วยผ่อนแรงให้กับคุณได้ แต่คุณเคยรู้หรือไม่ว่า หากให้ลูกใช้งานโดยขาดความระมัดระวังอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ เพราะสาเหตุอะไรนั้น มาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

เก้าอี้โยกเด็ก เปลโยก มีประโยชน์อย่างไร?

 

เก้าอี้โยกเด็ก เปลโยก อันตรายกว่าที่คิด ระวังพ่อแม่ทำร้ายลูกแบบไม่รู้ตัว

 

แน่นอนว่า คุณพ่อคุณแม่หลายคน พบว่าการแกว่งเปล หรือเก้าอี้ให้กับทารกนั้น มักจะทำให้ลูกน้อยที่ร้องไห้กระจองอแง สงบลงได้ โดยเฉพาะหากทารกคนไหนที่มักจะมีอาการจุกเสียด แน่นท้อง การแกว่ง การไกวเปล หรือเก้าอี้โยก ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี หากเราใช้การแกว่ง ไกว ที่เหมาะสม ก็ย่อมเป็นประโยชน์กับตัวเด็ก ช่วยทำให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย แถมยังช่วยผ่อนแรงคุณพ่อคุณแม่ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

 

Advertisement

เปลโยกเด็ก เก้าอี้โยกเด็ก มีแบบไหนบ้าง?

อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า อุปกรณ์สำหรับเด็ก ถูกออกแบบมาหลากหลายรูปแบบ ตามลักษณะการใช้งานที่เหมาะสม สำหรับแต่ละครอบครัว ซึ่งการเลือกเปล หรือเก้าอี้โยก ที่ดีนั้น จะต้องคำนึงถึงช่วงวัยที่เหมาะสมของลูกน้อย ขนาดลำตัวของเด็ก และตัวเปล หรือเก้าอี้ พื้นที่ในการใช้งาน และความปลอดภัยสำหรับตัวเด็ก ซึ่งเราจะแบ่งประเภทหลัก ๆ ได้ดังนี้

 

เก้าอี้โยกเด็ก เปลโยก อันตรายกว่าที่คิด ระวังพ่อแม่ทำร้ายลูกแบบไม่รู้ตัว

 

  • เปลชนิดตะกร้า

เปลประเภทนี้มีน้ำหนักเบา และมีหูจับสำหรับหิ้ว พกพาง่าย มีขนาดเล็ก และเหมาะสำหรับเด็กแรกเกิด จนถึงช่วง 3 เดือน ลักษณะของเปลจะแคบ และบาง แต่ยังคงเน้นการรองรับบริเวณศีรษะ โดยมาก มักจะสามารถประกอบกับล้อเสริมเพื่อเป็นเปลรถเข็น หรือโยกไกวได้

  • เปลโยก หรือเปลไกว

การแกว่งไกวของเปลประเภทนี้ จะมีการเคลื่อนไหวที่คล้ายกับตอนที่ทารกอยู่ในครรภ์ของคุณแม่ ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระให้คุณแม่ ไม่จำเป็นจะต้องอุ้มลูกน้อยอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเปลประเภทนี้ จะเหมาะกับทารกช่วง 2 – 3 เดือนแรกมากที่สุด และน้ำหนักตัวเด็ก ก็ไม่ควรเกิน 7 – 12 กิโลกรัม ทั้งนี้ การใช้เปลโยก หรือเปลไกวประเภทนี้ จำเป็นจะต้องกำหนดระยะเวลาการโยก หรือไกวให้เหมาะสม รวมถึงการตรวจเช็กอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย เพื่อกันไม่ให้เด็กลื่นตกลงมาจนเกิดการบาดเจ็บได้

  • เปลลูกกรง

เปลชนิดนี้ อาจจะมีอายุการใช้งานได้ยาวนานกว่าชนิดอื่น เนื่องจากมีพื้นที่กว้างพอสำหรับทารก มีที่กั้นเป็นลูกกรงค่อนข้างสูง บางประเภท สามารถแกว่งไกว หรือโยก ได้เหมือนเปลโยกอีกด้วย จะติดก็เพียงแค่เปลประเภทนี้จะต้องใช้เนื้อที่เยอะ จึงเคลื่อนย้ายค่อนข้างจะลำบาก

แม้ว่าจะดูสะดวกสบาย แต่ยังคงต้องระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยมากพอสมควร เนื่องจากพื้นที่ที่กว้าง ซึ่งบางครั้งเด็กเล็กยังไม่แข็งแรงพอในการพลิกตัว หรือเหงยหน้าขึ้น อาจส่งผลให้เด็กพลิกคว่ำตัว แล้วไม่สามารถพลิกกลับได้ ในบางรายอาจขาดอากาศหายใจ จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ จำเป็นจะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : แนะนำ! 6 เปลโยก ยี่ห้อไหนดีที่ปลอดภัย และคุ้มค่ามากที่สุด

 

ลูกอยู่บนเปลโยกได้กี่ชั่วโมง ?

 

เก้าอี้โยกเด็ก เปลโยก อันตรายกว่าที่คิด ระวังพ่อแม่ทำร้ายลูกแบบไม่รู้ตัว

 

ถึงแม้ว่าโดยปกติแล้ว การไกวเปล หรือแม้กระทั่งโยกเก้าอี้ให้กับทารก ดูผิวเผินเหมือนกับช่วยการผ่อนแรงคุณพ่อคุณแม่ แต่สุดท้าย คุณก็ไม่สามารถผละตัวออกจากอุปกรณ์เหล่านั้นไปได้ เพราะคุณยังคงต้องคอยไกว คอยแกว่งอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งมีเทคโนโลยีการไกวด้วยมอเตอร์เข้ามา เพื่อช่วยทุ่นแรง แต่สุดท้ายก็เกิดคำถามตามมาอีกว่า ลูกอยู่บนเปลโยกได้กี่ชั่วโมง ? เราสามารถปล่อยให้ลูกน้อย นอนบนเปลโยกได้เลยหรือไม่ ? และคำถามอีกมากมาย ที่เราจะมาไขคำตอบกันค่ะ

สำหรับเด็กแรกเกิด ลูกน้อยของคุณ ยังคงต้องการเวลาที่จะใกล้ชิดกับคุณให้ได้มากที่สุด ความอบอุ่นจากการกอด จะช่วยให้ลูกน้อยของคุณรู้สึกผ่อนคลาย เสมือนเขายังอยู่ในท้องของคุณ มากกว่าการนอนเปลโยก ดังนั้น อย่าพยายามพึ่งพามันให้มากจนเกินไป แต่หากคุณ เลือกที่จะต้องการพักผ่อนด้วยการใช้เปลโยก หรือเก้าอี้โยก ก็ควรใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวันค่ะ โดยให้แบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา แต่ละช่วงเวลา ไม่ควรให้มีการไกวเปลเกิน 30 นาที

 

ทำไมต้องกำหนดเวลาการนอนเปลโยก ?

  • เหตุผลอันดับ 1 สำหรับการจำกัดเวลาของทารก ในการนอนเปลโยกนั้น เป็นเพราะการนอนเปลโยก แม้ว่าจะเพลิดเพลิน และทำให้เด็กเงียบสงบลงได้ ไม่งอแงวุ่นวาย แต่ตัวเด็กจะไม่สามารถทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย และการรับรู้ต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดการพัฒนา และเรียนรู้ที่ช้ากว่าปกติ
  • การนอนเปลโยกนาน ๆ หากเด็กจะรู้สึกต้องการพลิกตัว ขยับตัว ก็จะทำได้ยาก และเมื่อมีการเคลื่อนไหวของร่างกาย ก็อาจส่งผลอันตราย ด้วยข้อจำกัดของพื้นที่ของเปล

 

อันตรายจากเปลโยก เก้าอี้โยก ที่ไม่ควรมองข้าม

รถโยกเด็ก

Dr. Ben Hoffman, กุมารแพทย์ Oregon Health and Sciences University ได้แนะนำว่า เด็กเล็กควรใช้เก้าอี้โยก เปลโยก หรือเปลไกวเด็ก ที่ทำมุม 30 และ 40 องศา เนื่องจากเด็กในวัยนี้มีความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (muscle tone) อยู่ เวลาที่น้องนอนหงาย อาจทำให้เกิดการปิดกั้นหรือขัดขวางทางเดินหายใจได้ นอกจากนี้ให้ระวังสายรัดเอาไว้ด้วย ทั้งการนอนบนเปลโยกก็มีความเสี่ยงอันตรายมากกว่าจะนอนบนเบาะ

 

คุณหมอเด็ก ยังได้บอกอีกว่า การให้เด็กนอนบน เปลโยก มันไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะกับเด็กที่นอนไม่หลับเพราะเด็กอาจจะเล่นจนหงายหลังแล้วพ่อแม่คว้าไม่ทัน และต้องเช็คดูก่อนว่าสายรัดที่รัดลูกมันรัดในที่ปลอดภัยจริงหรือเปล่า รัดแล้วลูกอึดอัดไหม ระวังอย่ารัดแน่นจนเกินไปจนทำให้ลูกน้อยหายใจไม่สะดวก และไม่เหมาะสำหรับใช้ป้อนอาหารให้ลูกเนื่องจากว่าจะทำให้ลูกเกิดกรดไหลย้อนขึ้นมา

บทความที่น่าสนใจ : ทารกควรนอน เปลเด็ก หรือไหม หัวลูกจะแบน สมองพัฒนาช้าจริงหรือเปล่า

 

รถโยกเด็ก

 

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
พลวัตของสื่อยุคใหม่ หน้าต่างสู่การสร้างสรรค์ภาวะโภชนาการสำหรับเด็กไทย
พลวัตของสื่อยุคใหม่ หน้าต่างสู่การสร้างสรรค์ภาวะโภชนาการสำหรับเด็กไทย
ทำขนมไม่เป็น ไม่รู้จะลองเรียนที่ไหน ABC Cooking Studio คือคำตอบ
ทำขนมไม่เป็น ไม่รู้จะลองเรียนที่ไหน ABC Cooking Studio คือคำตอบ

จากการศึกษาของสถาบันการศึกษากุมารเวชศาสตร์อเมริกันระบุว่า อุบัติเหตุของเด็กที่ตกจากเก้าอี้ไกวหรือเปลโยกนี้ เป็นหนึ่งในเคสที่พบบ่อยในห้องฉุกเฉินไม่ว่าจะมาจากลูกดิ้นตกเอง หรือความประมาทของคนเลี้ยง เพราะให้ลูกนั่งหรือนอนทั้ง ๆ ที่ขนาดตัวลูกใหญ่เกินหรือน้ำหนักตัวที่มากกว่าเก้าอี้โยกจะรับได้ เมื่อใช้งานเกินขีดจำกัดอุปกรณ์ที่ใช้ก็ไม่ปลอดภัยอีกต่อไป และต้องไกวบนพื้นไม่ใช่เอาขึ้นมาไกวบนโซฟาหรือโต๊ะ

 

ไม่ใช่เฉพาะในต่างประเทศ ที่ประเทศไทยเองก็เคยมีข่าวเด็กตกเตียงจนเสียชีวิต ในลักษณะแขวนคอ ขาดอากาศหายใจ เนื่องจากลูกน้อยอาจพลาดใช้ขาลอดผ่านช่องห่างของเปลไกวที่มีขนาดใหญ่กว่า 6 ซม. ส่วนหัวก็ออกไม่ได้จึงคาไว้ เมื่อขาไม่ถึงพื้นเด็กจึงเหมือนถูกแขวนคอและเสียชีวิตในที่สุด หากพ่อแม่คนไหนต้องการซื้อเปลไกว ควรเลือกซื้อที่มีช่องแคบ ๆ หน่อย โดยเฉพาะเด็กเล็ก ส่วนเด็กโตขึ้นมาในวัยเตาะแตะก็ควรระวัง เพราะเด็กเริ่มอยู่ในช่วงหัดเดินจึงอยากจะลุกยืนขึ้นเพื่อฝึกทรงตัวจนทำให้เปลเอนคว่ำลงได้

 

ทั้งหมดเป็นเพียงคำเตือนสำหรับพ่อแม่ที่ใช้เก้าอี้โยกหรือเปลไกวให้ระมัดระวังในการใช้งานเท่านั้น เพราะถ้าพ่อแม่ดูแลลูกน้อยเป็นอย่างดี เก้าอี้โยกและ เปลไกว เปลโยก ก็จะทำให้ลูกน้อยสนุกสนาน อารมณ์ดี เรียกเสียงหัวเราะให้กับคนในบ้าน และนอนได้ดีอีกด้วย แต่พ่อแม่ต้องดูแลลูกน้อยให้ดีเท่านั้นเอง

 

 

บทความที่น่าสนใจ :

เปลไกวกระตุ้นพัฒนาการด้านสมองและการทรงตัวของทารก

9 วิธีเล่นกับลูก ฉลาดทั้งปัญญา อารมณ์ดี ช่วยลูกคิดเป็น ต่อยอดได้

เล่นจ๊ะเอ๋กับลูก 2 ขวบปีแรก ฝึกการจดจำข้อมูล กระตุ้นการสื่อสาร ฉลาดแต่เล็ก

ที่มา :fatherly , babycenter , upsidedad

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • การเลี้ยงลูก
  • /
  • เก้าอี้โยกเด็ก เปลโยก อันตรายกว่าที่คิด ระวังพ่อแม่ทำร้ายลูกแบบไม่รู้ตัว
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว