สำหรับเจ้าตัวน้อยแล้ว ผ้าห่ม หมอนข้าง หรือตุ๊กตา เป็นสิ่งที่ช่วยให้ลูกรู้สึกอบอุ่น และเป็นเหมือนเพื่อนอยู่ข้างกาย ไปไหนไปด้วย แต่เมื่อลูกโตขึ้น การติดผ้าห่ม อาจเป็นเรื่องที่ไม่ดีแน่ ๆ เพราะนอกจากจะทำให้ลูกติดสิ่งของแล้ว ยังส่งผลเสียต่อร่างกายของลูกอีกด้วย เนื่องจากในผ้าห่มมักมีไรฝุ่น และแบคทีเรียซึ่งเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคนั่นเอง วันนี้ theAsianparent จะพามาดูวิธี แก้ปัญหาลูกติดผ้าห่ม กันค่ะ รับรองว่าจะช่วยให้ลูกเลิกติดผ้าห่มเน่า หมอนเน่า หรือตุ๊กตาเน่าแน่นอน
แก้ปัญหาลูกติดผ้าห่ม ทำอย่างไร?
เด็ก ๆ มักจะมีของที่ชอบติดตัว เป็นเรื่องปกติอยู่แล้วสำหรับเด็กทุกคน เด็กบางคนอาจจะติดหมอน ตุ๊กตา เสื้อผ้า หรืออาจจะติดผ้าห่ม เมื่อโตขึ้นแล้ว พ่อแม่ ผู้ปกครอง อาจจะคิดว่า นี่เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ทำให้เด็กไม่รู้จักโต และอยากให้ลูกเลิกพฤติกรรมนี้ซะ เรามาดูมีเคล็ดลับในการช่วยให้ลูกเลิกติดผ้าห่ม โดยที่ไม่ต้องทำร้ายจิตใจลูกกันค่ะ
-
พ่อแม่ต้องเข้าใจก่อนว่านี่คือเรื่องปกติ
เด็กส่วนใหญ่มีสิ่งของยึดเหนี่ยวกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นจุกนม ตุ๊กตา หมอนข้าง หรือแม้กระทั่งผ้าห่มลายการ์ตูน ผ้าห่มผืนนั้น ไม่รู้ว่าอยู่กับลูกมานานแค่ไหนแล้วนะเนี่ย อันที่จริง การติดผ้าห่ม ดูไม่ได้เป็น นิสัยที่ส่งผล ร้ายอะไรและเป็นวิธีง่าย ๆ ที่ให้ลูกได้ปลอบโยนตัวเองอีกด้วย แต่มันจะเริ่มเป็นเรื่องแปลก ๆ เมื่อลูกยืนกรานไม่ยอมออกจากบ้าน หากไม่มีผ้าห่มผืนนั้น แม้กระทั่งเมื่อลูกโตจนต้องไปโรงเรียนแล้ว คุณจะทำยังไงให้ลูกปล่อยผ้าห่มผืนนั้นท่ามกลางน้ำตา และเสียงกรีดร้องกันล่ะ
เริ่มต้นโดยการบอกกับลูกว่าผ้าห่มผืนนั้น ต้องอยู่กับบ้านในห้องนอน เมื่อลูกออกจากบ้าน หากลูกต่อต้าน คุณต้องต่อรองกับลูก บอกกับลูกว่าลูกเอาผ้าห่มไป ด้วยก็ได้ แต่ผ้าห่มต้อง อยู่ในรถ ไม่ตามลูก ไปโรงเรียน เป็นต้น หากผ้าห่มอยู่ในบ้าน คุณก็ใช้โอกาสนี้ซักผ้าห่มเสียเลย การที่ลูกไม่ได้มีผ้าห่มอยู่ใกล้ ๆ บ้างในระหว่างวัน ก็ช่วยให้ลูกเลิกพึ่งพาผ้าห่มอย่างค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไปได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : รับมืออย่างไรเมื่อลูก ‘ติดผ้าเน่า’ ควรทิ้งดีไหม คุณพ่อคุณแม่ทำได้หรือเปล่า ?
หากลูกเป็นเด็กวัยไปโรงเรียนแล้ว ใช้จังหวะนี้ เป็นโอกาสในการกำจัดผ้าห่มผืนนั้นทิ้งไปโดยการให้ทางเลือกกับลูก แทนที่จะให้ลูกเอาผ้าห่มไปด้วย คุณให้ลูกเอา รูปถ่ายของผ้าห่มไปแทนการที่ลูกได้เห็นผ้าห่ม แม้จะเป็นเพียงผ้าห่มในรูป ก็ช่วยให้ลูกลดความรู้สึกกระวนกระวาย จากการแยกจาก ผ้าห่มไปได้ สำหรับ เด็กผู้หญิง คุณพ่อคุณแม่สามารถให้พวงกุญแจ ตุ๊กตาสัตว์เล็ก ๆ หรือผ้าเช็ดหน้า เป็นสิ่งแทนที่ดีได้เช่นกัน สำหรับเด็กผู้ชาย คุณให้ผ้าเช็ดหน้า หรือสติกเกอร์ติด กล่องดินสอ เป็นสิ่งแทนก็ได้ เมื่อลูกกลับถึงบ้าน คุณก็บอกลูกว่าผ้าห่มของลูกยังคงอยู่ดี และจะอยู่ดีเสมอ แม้ว่าจะอยู่ในตู้เสื้อผ้าก็ตาม
-
ให้เวลาลูกได้ “แยกจาก” กับผ้าห่ม
อย่ากดดันลูก ให้เลิกติดผ้าห่มทันทีทันใด แม้ว่าอาจดูเป็นเรื่องง่ายกว่าที่จะหักดิบ แต่คุณควรให้ลูกได้ “แยกจาก” กับผ้าห่ม อย่างเหมาะสม ให้ลูกได้ทำอะไรสักอย่างกับผ้าห่ม เพื่อลดการกระชาก ความรู้สึก อะไรสักอย่างที่ว่าอาจเป็นการให้ลูก ได้เป็นคนนำผ้าห่ม เก็บเข้าตู้เสื้อผ้า เองทุกวันหรือให้ ลูกได้กอดกับผ้าห่ม ก่อนออกจากบ้าน
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกติดตุ๊กตา ลูกติดหมอนเน่า แม่เอาไปทิ้งเลยได้ไหม แต่กลัวทำร้ายจิตใจลูก
ลูกอาจต่อต้าน แต่เมื่อถึงเวลาที่คุณต้องเอาผ้าห่มไปจากลูกจริง ๆ คุณก็ต้องให้คำอธิบายที่เหมาะสมให้กับลูกว่าทำไมคุณถึงต้องทำแบบนั้น เช่น คุณใช้ตัวเองหรือคนในครอบครัวเพื่อเป็นตัวอย่างของคนที่ลูกรู้จักและรักก็ได้ว่า ไม่มีใครกอดผ้าห่มไปไหนมาไหนตลอดเวลา เพราะมีอะไรสนุก ๆ อื่น ๆ อีกตั้งเยอะแยะให้ทำ อย่าลืมเตือนลูกว่า ส่วนใหญ่แล้วการเล่น กิน และทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ที่ลูกชอบทำก็ต้องใช้สองมือ ณ จุด ๆ นี้ ลูกอาจยังเจรจาและตั้งคำถาม แต่อย่าเพิ่งหมดความอดทนไปถ้าลูกถามว่าผ้าห่มของลูกยังอยู่ดีในตู้เสื้อผ้ารึเปล่า การที่คุณย้ำให้ลูกมั่นใจจะช่วยลูกได้มาก
-
ให้แรงกระตุ้น แต่อย่าทำโทษ
สิ่งที่แย่ที่สุดในการพยายามที่จะแยกลูกจากผ้าห่มคือการทำโทษลูกหรือทำให้ลูกอาย ทำความเข้าใจสถานการณ์และให้ทางเลือกในการชื่นชมกับพฤติกรรมดี ๆ แทนจะดีกว่า เมื่อลูกยอมแยกจากผ้าห่ม (แม้ว่าจะเป็นเวลาไม่กี่ชั่วโมง) ชื่นชมความสำเร็จเล็ก ๆ นี้ด้วยอะไรใหม่และสนุก เช่น การอบคุกกี้ด้วยกัน หรือ การเล่นระบายสี คุณควรใช้ความคิดสร้างสรรค์กับรางวัลและสิ่งล่อใจเพื่อให้แน่ใจว่าลูกคุณจะสนุกสนาน แต่อย่าให้รางวัลลูกด้วยอะไรก็ตามที่คุณมักจะห้ามลูกไม่ให้ได้รับหรือได้ทำมากเกินไป เช่น การให้ลูกได้กินไอศกรีมหรือดูโทรทัศน์
แก้ปัญหาลูกติดผ้าห่ม อาจเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา เพราะเมื่อลูกโตขึ้น พฤติกรรมนี้จะค่อย ๆ หายไป แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกเลิกติดผ้าห่มจริง ๆ ให้ค่อย ๆ นำผ้าเหล่านั้นออกจากลูก และไม่ควรแยกผ้าห่มออกจากลูกเลยทันที เพราะอาจส่งผลต่อจิตใจของลูกได้ค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
หมอนหัวทุย สำหรับเด็ก อยากให้หัวลูกทุยสวย ไม่แบน ต้องทำยังไง?
การถดถอยการนอนหลับทารก อาการของทารก ตื่นบ่อย ตื่นถี่ ไม่เป็นเวลา
ลูกนอนหนุนหมอน และผ้าห่มได้เมื่อไหร่ ทารกคออ่อนนอนหมอนได้ไหม?
ที่มา : goodparentingbrighterchildren
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!