X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ไม่ฝากครรภ์อันตราย ! ลูกเสี่ยงติด โรคซิฟิลิสแต่กำเนิด ! คุณแม่ต้องระวัง

บทความ 5 นาที
ไม่ฝากครรภ์อันตราย ! ลูกเสี่ยงติด โรคซิฟิลิสแต่กำเนิด ! คุณแม่ต้องระวัง

การฝากครรภ์สำคัญกับคนท้อง หากคุณแม่ป่วยเป็นซิฟิลิส จะได้หาทางแก้ไขปัญหา และป้องกันไม่ให้ลูกเป็นโรคด้วยได้

โรคภัยไข้เจ็บ เป็นเรื่องที่ไม่เข้าใครออกใคร คนท้องบางคน สุขภาพแข็งแรงดี แต่บางคนก็ป่วยบ่อย เพราะภูมิคุ้มกันร่างกายไม่ค่อยดี การเข้ารับการฝากครรภ์ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ และเป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะเป็นการช่วยคัดกรองโรคและสุขภาพของคุณแม่ หากคุณแม่เกิดเป็นโรคติดต่อขึ้นมา คุณหมอก็จะได้ช่วยหาวิธีป้องกันและรักษาได้ทันท่วงที หนึ่งในโรคติดต่อที่ถ่ายทอดจากแม่ไปสู่ลูกได้ คือ ซิฟิลิส เราจะมาเล่าให้ฟัง ว่าโรคนี้ ทำไมคนท้องบางคนถึงเป็นกันได้ จะมีวิธีป้องกันยังไงบ้างในระหว่างที่ท้อง เด็ก ๆ ที่เป็น โรคซิฟิลิสแต่กำเนิด จะมีอาการแบบไหน

 

สถิติผู้ป่วยโรคซิฟิลิส ในหลายปีที่ผ่านมา

ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา มีผู้ป่วยเป็นโรคซิฟิลิสเพิ่มขึ้นมากถึง 2 เท่า หากย้อนกลับไปในปี 2548 จำนวนผู้ป่วยโรคซิฟิลิส จะอยู่ที่ 1,557 ราย และได้เพิ่มขึ้นเป็น 3,373 รายในปี 2558 นับเป็นเพศชาย 2,308 ราย และเพศหญิง 1,065 ราย โดยส่วนใหญ่ มักเป็นผู้ป่วยอายุ 15-24 ปี รองลงมาเป็นคนอายุ 25-34 ปี และกลุ่มคนอายุ 65 ปี ขึ้นไป ตามลำดับ และที่น่าตกใจยิ่งกว่านั้นคือ มีผู้ป่วยโรคซิฟิลิสที่เป็นเด็กแรกเกิดเพิ่มสูงขึ้นในทุก ๆ ปี โดยข้อมูลล่าสุดในปี 2558 พบว่า เด็กแรกเกิดที่ป่วยเป็นโรคนี้ มีมากถึง 91 รายเลยทีเดียว

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : เบาหวานขณะตั้งครรภ์อันตราย แค่ไหน? หมอให้กินน้ำตาลก่อนตรวจเบาหวาน แม่ท้องควรน้ำหนักขึ้นกี่กิโลกรัม

ซิฟิลิสตอนตั้งครรภ์2

ช่วงท้อง ต้องฝากครรภ์ ไม่งั้นอาจทำให้ลูก มีอาการของโรคต่าง ๆ สุดท้าย อาจรักษาไม่ทัน จนเด็กเสียชีวิตได้ โรคซิฟิลิสแต่กำเนิด อันตรายต่อเด็กยังไงบ้าง ซิฟิลิสตอนท้อง ซิฟิลิส ตอนตั้งครรภ์ อันตรายไหม มีภาวะ แทรกซ้อน ยังไง บ้าง ทำให้ ลูก เสียชีวิต ได้เลย หรือไม่ (ภาพโดย lifeforstock จาก freepik)

 

Advertisement

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็ก ๆ ติดโรคนี้ ก็มักมาจากการที่แม่ไม่ได้เข้าฝากครรภ์ จึงทำให้ไม่สามารถตรวจพบและรู้ได้ว่าเด็กมีความเสี่ยงติดโรคนี้จากแม่ นอกจากนี้ ถึงแม้คนท้องบางคน จะเข้ารับการฝากครรภ์ แต่หลาย ๆ คนก็ไม่ได้ตรวจหรือติดตามผลเลือดอย่างจริงจัง จึงไม่ได้รับการรักษาโรคซิฟิลิสอย่างเหมาะสม

 

โรคซิฟิลิส คืออะไร เกิดจากอะไร อาการเป็นยังไง

โรคซิฟิลิส (Syphilis) เป็นโรคความผิดปกติ ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า ทรีโพนีมาพาลลิดัม (Treponema Pallidum) โดยผ่านการมีเพศสัมพันธ์ และยังสามารถถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกได้ คนที่ป่วยโรคนี้ มักมีอาการ เช่น มีตุ่มนูนคล้ายหูด มีผื่นขึ้นตามตัว เหนื่อยง่าย ต่อมน้ำเหลืองบวมโต น้ำหนักลด ผมร่วง มีไข้ มีปื้นสีขาวขึ้นที่ปาก เป็นต้น หากปล่อยไว้ไม่รักษา และปล่อยให้โรคพัฒนาไปจนถึงระยะสุดท้าย อาจทำให้ตาบอด เป็นอัมพาต สมองเสื่อม หูหนวก เสียสติ หรือเสียชีวิตได้ในที่สุด

 

คนท้องเป็นซิฟิลิสได้หรือไม่ โรคนี้ติดต่อจากคนสู่คนยังไง

คำตอบก็คือได้ คนท้องสามารถติดซิฟิลิสได้เหมือนกับคนทั่วไป แถมหากติดโรคนี้แล้ว ก็ยังส่งต่อโรคไปให้ลูกในท้องได้อีกด้วย โรคซิฟิลิส มักจะติดต่อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง ผ่านการมีเพศสัมพันธ์เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ โรคนี้ยังสามารถติดต่อผ่านการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่นได้อีกด้วย

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : ไม่อยากให้ลูกในท้องพิการ ต้องอ่านนะ ลูกพิการแต่กำเนิด สาเหตุเพราะอะไร?

ซิฟิลิสตอนตั้งครรภ์4

ช่วงท้อง ต้องฝากครรภ์ ไม่งั้นอาจทำให้ลูก มีอาการของโรคต่าง ๆ สุดท้าย อาจรักษาไม่ทัน จนเด็กเสียชีวิตได้ โรคซิฟิลิสแต่กำเนิด อันตรายต่อเด็กยังไงบ้าง ซิฟิลิสตอนท้อง ซิฟิลิส ตอนตั้งครรภ์ อันตรายไหม มีภาวะ แทรกซ้อน ยังไง บ้าง ทำให้ ลูก เสียชีวิต ได้เลย หรือไม่ (ภาพโดย yalnalya จาก freepik)

 

อันตรายของโรคซิฟิลิสจากแม่สู่ลูก

การป่วยเป็นโรคนี้ตอนตั้งครรภ์ ถือว่ามีความอันตรายมาก เนื่องจากอาจทำให้แท้ง คลอดก่อนกำหนด ทารกพิการตอนเกิด ทารกโตช้าหรือมีอาการบวมน้ำ หรืออาจเสียชีวิตในครรภ์ได้เลย ซึ่งความรุนแรงของโรค ก็จะขึ้นอยู่กับว่า คุณแม่นั้นมีปริมาณเชื้อในกระแสเลือดมากแค่ไหน และเป็นโรคนี้ในช่วงระยะเท่าไหร่ของการตั้งครรภ์ ดังนั้น การเข้าฝากครรภ์และตรวจครรภ์จึงเป็นเรื่องจำเป็น หากตรวจเจอโรคไว ก็สามารถรักษาและป้องกันไม่ให้ทารกได้รับอันตรายได้ค่ะ

 

อาการของโรคซิฟิลิสในทารกแรกเกิด

เด็กบางคนที่เป็นโรคนี้ อาจมีอาการดังต่อไปนี้ ซึ่งอาการของเด็กแต่ละคน ก็จะขึ้นอยู่กับว่าติดโรคนี้จากแม่ในช่วงไหนของการตั้งครรภ์

 

  • เด็กมีน้ำหนักตัวน้อยและมีขนาดตัวเล็ก
  • สมองพิการ มีพัฒนาการทางสมองช้า
  • มีผื่นขึ้นตามร่างกายตั้งแต่ตอนที่เกิดมา
  • คัดจมูก มีน้ำมูกไหล คล้ายเป็นหวัด
  • ปากแหว่งเพดานโหว่ รอบปากมีแผล
  • ฟันผิดรูป ฟันผิดปกติ
  • ต่อมน้ำเหลืองและม้ามบวมโต
  • ข้อเข่าบวมอักเสบ
  • ตัวบวมไปทั้งตัว
  • ตัวซีด ตัวเหลือง
  • ปอดบวม
  • เป็นต้อหิน ตาดำอักเสบ
  • หูหนวก

 

วิธีป้องกันโรคซิฟิลิสในช่วงตั้งครรภ์

จริง ๆ แล้ว โรคนี้ป้องกันได้ง่าย ๆ เพียงแค่ไม่มีเพศสัมพันธ์แบบสุ่มสี่สุ่มห้า และใช้ถุงยางอนามัยขณะร่วมรักกับคนอื่น ทั้งนี้ คุณแม่ควรเข้ารับการฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อตรวจครรภ์และหาความเสี่ยงต่าง ๆ นอกจากนี้ ควรหมั่นทานอาหารที่มีประโยชน์ และเข้าพบคุณหมอตามนัดอย่างสม่ำเสมอด้วยนะคะ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : 

ทารกไม่มีกะโหลกและสมอง เพราะแม่ท้องขาด “โฟลิก”
แม่แชร์ประสบการณ์ ลูกเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
สังเกตอย่างไร? ว่า ลูกเป็นออทิสติก พฤติกรรมแบบไหนเสี่ยงต่อโรคนี้

ที่มา : si.mahidol , doctor , medlibes , pobpad , chulalongkornhospital

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ไม่ฝากครรภ์อันตราย ! ลูกเสี่ยงติด โรคซิฟิลิสแต่กำเนิด ! คุณแม่ต้องระวัง
แชร์ :
  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

    วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

  • เรื่องจริง! ทารกในครรภ์กลายเป็นหิน ทารกหิน คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

    เรื่องจริง! ทารกในครรภ์กลายเป็นหิน ทารกหิน คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

    วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

  • เรื่องจริง! ทารกในครรภ์กลายเป็นหิน ทารกหิน คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

    เรื่องจริง! ทารกในครรภ์กลายเป็นหิน ทารกหิน คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว