TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เหตุผลที่ไม่ควรปรุงรสอาหารทารก ก่อน 1 ขวบ

บทความ 3 นาที
เหตุผลที่ไม่ควรปรุงรสอาหารทารก ก่อน 1 ขวบ

คุณแม่อาจคิดเพียงว่าอยากเพิ่มรสชาติอาหารให้กับลูกน้อย แต่การ ปรุงรสอาหารทารก ด้วยเกลือและน้ำตาลมากเกินไปอาจมีความเสี่ยงต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก

เหตุผลที่ไม่ควรปรุงรสอาหารทารกก่อน 1ขวบ

ปรุงรส อาหาร ทารก

ไม่จำเป็นต้อง ปรุงรสอาหารทารก ด้วยเกลือ

เมื่อลูกน้อยถึงเวลาเริ่มอาหารเสริม คุณอาจมีคำถามผุดขึ้นมาในหัวมากมาย: อะไรคืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อย? อะไรที่คุณไม่ควรให้ลูกกินจนกว่าลูกจะเข้าสู่วัยหัดเดิน? ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

อย่างแรกเลย ควรถามตัวเองว่า ทำเมื่อลูกดูเหมือนจะไม่สนใจอาหารที่คุณเตรียมให้ ทำไมคุณจึงคิดว่าลูกน้อยต้องการการปรุงรสอาหาร เช่น การเติมเกลือหรือน้ำตาล

เกลือมักจะถูกเติมลงในอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติ แต่ลูกน้อยวัยทารกยังไม่สามารถบอกความแตกต่างได้

เหตุผลที่ลูกน้อยดูเหมือนจะไม่ชอบกินอาหารเสริม เป็นเพราะลูกคุ้นเคยกับรสชาติของนมแม่ และไม่อยากเปลี่ยนไปกินอย่างอื่นที่ไม่คุ้นเคยต่างหาก

ลูกน้อยรู้จักแต่รสชาติของนมแม่มาตลอด 6 เดือน ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องเติมเกลือลงในอาหาร เพราะลูกจะไม่สามารถบอกความแตกต่างของรสชาติอื่นๆ ได้อยู่แล้วค่ะ

ปรุงรส อาหาร ทารก

อันตรายจากการเติมเกลือลงในอาหารสำหรับทารก

ทารกต้องการเกลือน้อยกว่า 1 กรัมต่อวัน (โซเดียม 0.4 กรัม) ซึ่งในนมแม่หรือนมผสมมีปริมาณโซเดียมเพียงพอต่อความต้องการของทารกอยู่แล้ว ไตของเด็กทารกยังพัฒนาไม่เต็มที่ หากได้รับเกลือมากเกินความสามารถในการกำจัด อาจทำให้ไตทำงานหนักเกินไป ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงความดันโลหิตสูง และอาจเป็นโรคไตเมื่อโตขึ้น

การบริโภคเกลือมากเกินไปในวัยเด็ก อาจทำให้เด็กติดเค็ม และนำไปสู่โรคต่างๆ ได้อาทิ โรคกระดูกพรุน โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคระบบทางเดินหายใจ

หากคุณแม่ทำอาหารเองไม่จำเป็นต้องเติมเกลือลงในอาหารสำหรับทารก แต่หากซื้ออาหารเสริมตามห้างสรรพสินค้า ควรพิจารณาปริมาณโซเดียมที่ระบุบนฉลากบรรจุภัณฑ์เสมอนะคะ

โดย National Health Service (NHS) ในสหราชอาณาจักร แนะนำว่า อาหารที่มีเกลือในปริมาณสูง คืออาหารมีโซเดียมมากกว่า 0.6 กรัมต่ออาหาร 100 กรัม ทั้งนี้ คุณแม่สามารถคำนวณปริมาณเกลือโดยคูณปริมาณโซเดียมด้วย 2.5 ค่ะ

ทางด้าน Scientific Advisory Committee on Nutrition (SACN) ในสหราชอาณาจักร ได้แนะนำปริมาณเกลือที่เด็กแต่ละวัยควรได้รับ ดังนี้

0-6 เดือน < 1 กรัม (โซเดียม 0.4 กรัม)

6-12 เดือน < 1 กรัม (โซเดียม 0.4 กรัม)

1-3 ปี 2 กรัม (โซเดียม 0.8 กรัม)

4-6 ปี 3 กรัม (โซเดียม 1.2 กรัม)

7-10 ปี 5 กรัม (โซเดียม 2 กรัม)

11 ปีขึ้นไป 6 กรัม (โซเดียม 2.4 กรัม)

คุณแม่บางคนเชื่อว่า การเติมเกลือเพียงหยิบมือเดียวไม่น่าจะเป็นอะไร แต่ปัญหาอาจอยู่ตรงที่ ความจริงแล้วหยิบมือเดียวของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน

โดยทั่วไป เกลือ 1 หยิบมือเท่ากับ ¼ กรัม หากคุณแม่เติมเกลือในปริมาณดังกล่าวใน 3 มื้ออาหารของลูกน้อย ก็เท่ากับว่าคุณได้เติมเกลือลงไป 0.75 มิลลิกรัมแล้ว ซึ่งยังไม่รวมถึงเกลือที่ลูกน้อยได้จากนมแม่หรือนมผงเลย

ถ้าไม่เติมเกลือลูกจะขาดไอโอดีนหรือเปล่า?

พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด แนะนำว่า ไอโอดีนไม่ได้มีอยู่เฉพาะในเกลือหรืออาหารทะเลเท่านั้น แต่ยังพบในน้ำตามธรรมชาติ ในเนื้อสัตว์ นม ไข่ ขนมปัง และผักหลายชนิดในปริมาณที่เพียงพออยู่แล้ว (ยกเว้นบางท้องถิ่นที่อาจต้องเติมธาตุไอโอดีนลงไปในน้ำกินน้ำดื่มด้วย) จึงไม่ต้องกังวลว่าลูกจะขาดไอโอดีน

ไม่จำเป็นต้อง ปรุงรสอาหารทารก ด้วยน้ำตาล

ปรุงรส อาหาร ทารก

ทำไมจึงไม่แนะนำให้ปรุงรสด้วยน้ำตาลก่อน 1 ขวบ?

น้ำตาลที่เราจะพูดถึงนี้ หมายถึง น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ไม่รวมถึงน้ำตาลจากผลไม้รสหวานตามธรรมชาติหรือสารให้ความหวานธรรมชาตินะคะ สาเหตุเพราะ

  1. การบริโภคน้ำตาลมากเกินไปเป็นสาเหตุของโรคฟันผุในเด็ก
  2. ทำให้เด็กติดหวาน ไม่ชอบรสธรรมชาติหรือรสฝาดของผัก ลดโอกาสที่ร่างกายจะได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์
  3. งานวิจัยพบว่า เด็กที่รับประทานอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูงมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ โรคอ้วน และโรคเบาหวานมากขึ้นในภายหลัง

หากคุณแม่ให้ลูกกินผลไม้ลูกก็จะได้รับน้ำตาลธรรมชาติจากผลไม้อยู่แล้ว นอกจากนี้ การเติมนมแม่หรือนมผงลงในอาหารมื้อแรกๆ ของลูกก็สามารถเพิ่มความหวานได้เช่นกัน ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องใส่น้ำตาลลงไปในอาหารของลูกน้อยค่ะ

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

ที่มา sg.theasianparent.com

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

8 เมนูอร่อยน่าหม่ำจากนมแม่

11 เมนูผลไม้บดละเอียดสำหรับเบบี๋เริ่มหม่ำ

TAP mobile app

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • เหตุผลที่ไม่ควรปรุงรสอาหารทารก ก่อน 1 ขวบ
แชร์ :
  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

powered by
  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว