X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เสียลูกจากความเครียด เครียดตอนท้องอ่อน คนท้องเครียดมาก ต้องระวัง!

บทความ 5 นาที
เสียลูกจากความเครียด เครียดตอนท้องอ่อน คนท้องเครียดมาก ต้องระวัง!

อุทาหรณ์เสียลูกจากความเครียด เตือนแม่ทุกคน คนท้องเครียดมาก คนท้องร้องไห้บ่อย อย่าคิดว่าไม่เป็นไร

แม่แชร์เรื่องราว สุดสะเทือนใจ ! เสียลูกจากความเครียด เมื่อต้องสูญเสียลูกน้อยในครรภ์ไปตลอดกาล เหตุเกิดจากความเครียดตอนท้องอ่อน คนท้องเครียด ร้องไห้บ่อย ต้องระวัง ! ทารกเสียชีวิตในครรภ์จากการขาดออกซิเจน แม่ท้องควรรู้ !

 

ทารกเสียชีวิตในครรภ์ จากการขาดออกซิเจน

คุณแม่ท่านหนึ่งได้แชร์การสูญเสียครั้งใหญ่หลวง เมื่อต้องเสียลูกจากความเครียด ว่า ฝากเตือนแม่ ๆ หน่อยค่ะ ระวังเสียลูกจากความเครียด

เราเป็นคนคิดมาก เก็บมาคิดทุกเรื่อง ร้องไห้แทบทุกวัน ท้อง 16 สัปดาห์ อาการแรกปวดท้องแบบบีบ ๆ ปวด ๆ หาย ๆ เราคิดว่าปวดเพราะมดลูกบีบตัวปกติ แต่ไม่ใช่ค่ะ สุดท้ายหาหมอ (วันที่ 25 /11/61 เวลา : 04.30 น.) นอนรอดูอาการจนเช้า หมอเข้ามาตรวจ ไม่มีการเต้นของหัวใจเด็ก อัลตร้าซาวด์ดูพบเด็กไม่หายใจ

สรุป น้องขาดออกซิเจน เพราะเลือดแม่ข้น ค่าเม็ดเลือดขาวสูง น้องขาดอากาศหายใจมา 2 วันแล้ว คือน้องเสียในท้อง หมอให้เหน็บยาเอาน้องออก เหตุเกิดจากความเครียดของแม่ แม่ร้องไห้ ออกซิเจนจะลงไปไม่ถึงน้อง ฝากแม่ ๆ นะคะ ทำใจให้สบาย อย่าเครียด อย่าคิดมาก ไม่คุ้มกับที่เสีย การสูญเสียที่ไม่มีวันได้คืน สุดท้ายแล้วมีแต่เราที่นั่งเสียใจ เสียลูกไปเพราะเรา เราเห็นแก่ตัว ทำอะไรไม่นึกถึงลูก แม่ ๆ จะทำอะไรให้นึกถึงลูกไว้มาก ๆ นะคะ จะได้ไม่มาเสียใจทีหลัง และแก้ไขอะไรไม่ได้แบบเรา

คุณแม่ยังได้ย้ำเตือนเรื่องนี้กับทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ว่า อยากให้แม่คนอื่นรู้ว่าความเครียดอันตรายต่อลูกแบบที่เราคิดไม่ถึง แม้ห้ามความคิดไม่ได้ แต่อย่างน้อยมีเคสตัวอย่างอาจจะทำให้แม่คำนึงถึงลูกมากขึ้น สำหรับสาเหตุการเสียชีวิตของน้อง คุณหมอลงในใบสรุปผลว่า ทารกเสียชีวิตในครรภ์จากการขาดออกซิเจนค่ะ

ทางทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ ขอขอบคุณคุณแม่มาก ๆ ที่มาแบ่งปันประสบการณ์ เพื่อเตือนใจคุณแม่ท่านอื่น ๆ นะคะ และขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่ด้วยค่ะ

 

เสียลูกจากความเครียด

 

Advertisement

สาเหตุการเสียลูกจากความเครียด

เสียลูกจากความเครียด ความเครียดของแม่ท้องส่งผลต่อทารกในครรภ์

ภาวะเครียดของแม่ ทำให้สารเคมีและฮอร์โมนที่เกิดจากความเครียดหลั่งออกมามาก ส่งผลให้เส้นเลือดที่ไปยังมดลูกและรกเกิดการหดตัว ปริมาณออกซิเจนที่ไปยังทารกในครรภ์ลดน้อยลง จึงเกิดอันตรายและความเสี่ยงมากมาย ดังนี้

  • เกิดการแท้ง
  • ทารกเติบโตช้าในครรภ์
  • ทารกติดเชื้อในครรภ์สูงขึ้น
  • มีรายงานว่าทารกที่คลอดจากมารดาที่มีภาวะเครียด ในระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในการตั้งครรภ์ช่วงแรกจะมีอารมณ์ซึมเศร้า และไวต่อการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมภายนอก
  • ผลที่เกิดกับทารกในระยะยาว จะทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อ โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น
    ส่งผลถึงปัญหาทางจิตใจ และการปรับตัวทางสังคมตามมา

 

อาการเครียดในระยะสั้นของคนท้อง

หากแม่เครียดเล็กน้อย และสามารถปรับตัวได้ จะไม่มีผลเสียต่อการตั้งครรภ์ แม่บางคนแปรเปลี่ยนความเครียดเป็นการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ให้ดีขึ้น ส่งผลให้สุขภาพแม่แข็งแรง ทารกในครรภ์เติบโตดี แต่ถ้าแม่ท้องเครียดมาก ๆ รู้หรือเปล่าว่า ผลเสียต่อตัวแม่ท้องและทารกในครรภ์นั้นรุนแรงมาก สำหรับอาการเครียดในระยะสั้นของคนท้อง เช่น

  • เกิดอาการเหนื่อย
  • นอนไม่หลับ
  • ตื่นเต้น
  • เบื่ออาหารหรือเจริญอาหารมาก
  • ปวดศีรษะ และปวดหลัง
  • ถ้าปล่อยให้เครียดนานจะทำให้ภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อลดลง ความดันโลหิตสูง และเกิดโรคหัวใจตามมาได้

 

วิธีลดความเครียด ก่อนจะเสียลูกจากความเครียด

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ และครบ 3 มื้อ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6 – 8 ชั่วโมง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ลดการทำงานลง
  • การพูดคุยหรือระบายความในใจหรือความเครียดกับสามี เพื่อนฝูงที่สนิทสนม หรือกับคุณพ่อคุณแม่
  • ทำกิจวัตรประจำวันหรือสิ่งที่คุณชอบ อย่างน้อยวันละ 20 – 30 นาที
  • ออกไปเที่ยว ทำกิจกรรมนอกบ้านหรือพักผ่อน
  • นั่งสมาธิ
  • ฝึกโยคะสำหรับสตรีตั้งครรภ์
  • ฝึกจินตนาการ แต่เรื่องที่ดีหรือทำให้เรามี
  • หาความรู้ถึงอาการที่พบบ่อยระหว่างการตั้งครรภ์และวิธีการแก้ไข
  • หลีกเลี่ยงการพึ่งสารเสพติด เช่น บุหรี่ แอลกอฮอล์ หรือยาระงับประสาท
  • หาโอกาสอบรมการตั้งครรภ์คุณภาพ เพื่อให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การคลอดและการดูแลบุตรหลังคลอด

 

ถ้าคุณแม่ไม่อยากเสียลูกจากความเครียด ลองวิธีบรรเทาความเครียดดูนะคะ แต่ถ้าแม่รู้สึกว่า ร่างกายผิดปกติ หรือเครียดมาก ๆ จนกลัวจะเป็นอันตราย แนะนำให้รีบปรึกษาคุณหมอด่วน ๆ เลยค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

วิธีรักษาโรควิตกกังวล และโรคเครียด ด้วยวิธีทางธรรมชาติทำได้ที่บ้าน

คนท้องเครียด ขี้บ่น โมโหร้าย รู้ไหมว่าส่งผลอย่างไรต่อลูกในท้อง

ป้องกันแท้งลูกและลดพิการตั้งแต่เกิดได้ ด้วยวิตามินบี 3 ท้องนี้อย่าลืมกิน

ที่มา : sg.theasianparent

บทความจากพันธมิตร
ก้าวไปอีกขั้น! PalFish Thailand จัดงานอลัง “ฉลองรับการขยายออฟฟิศใหม่”
ก้าวไปอีกขั้น! PalFish Thailand จัดงานอลัง “ฉลองรับการขยายออฟฟิศใหม่”
วิธีเลือกยาสีฟันเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้
วิธีเลือกยาสีฟันเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้
ครีมปลอดภัยแม่ใช้ได้ แบรนด์ไหนดีนะ?
ครีมปลอดภัยแม่ใช้ได้ แบรนด์ไหนดีนะ?
ไขข้อสงสัย! คุณแม่ท้องน้ำหนักเกิน เสี่ยงเบาหวานขณะตั้งครรภ์ กินอย่างไรให้สุขภาพดี?
ไขข้อสงสัย! คุณแม่ท้องน้ำหนักเกิน เสี่ยงเบาหวานขณะตั้งครรภ์ กินอย่างไรให้สุขภาพดี?

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • การสูญเสียบุตร
  • /
  • เสียลูกจากความเครียด เครียดตอนท้องอ่อน คนท้องเครียดมาก ต้องระวัง!
แชร์ :
  • เรื่องจริง! ทารกในครรภ์กลายเป็นหิน ทารกหิน คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

    เรื่องจริง! ทารกในครรภ์กลายเป็นหิน ทารกหิน คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

  • theAsianparent Thailand ผนึกกำลังพันธมิตร สร้างรอยยิ้มให้ชาวแม่สาย ฟื้นฟูหลังน้ำท่วม

    theAsianparent Thailand ผนึกกำลังพันธมิตร สร้างรอยยิ้มให้ชาวแม่สาย ฟื้นฟูหลังน้ำท่วม

  • นานแค่ไหน? จึงจะปลอดภัยสำหรับการ มีเพศสัมพันธ์หลังทำแท้ง !

    นานแค่ไหน? จึงจะปลอดภัยสำหรับการ มีเพศสัมพันธ์หลังทำแท้ง !

  • เรื่องจริง! ทารกในครรภ์กลายเป็นหิน ทารกหิน คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

    เรื่องจริง! ทารกในครรภ์กลายเป็นหิน ทารกหิน คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

  • theAsianparent Thailand ผนึกกำลังพันธมิตร สร้างรอยยิ้มให้ชาวแม่สาย ฟื้นฟูหลังน้ำท่วม

    theAsianparent Thailand ผนึกกำลังพันธมิตร สร้างรอยยิ้มให้ชาวแม่สาย ฟื้นฟูหลังน้ำท่วม

  • นานแค่ไหน? จึงจะปลอดภัยสำหรับการ มีเพศสัมพันธ์หลังทำแท้ง !

    นานแค่ไหน? จึงจะปลอดภัยสำหรับการ มีเพศสัมพันธ์หลังทำแท้ง !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว